ผลศึกษาใหม่ระบุการสื่อสารด้วยมือเป็น ‘ภาษาสากล’ ช่วยอธิบายข้อถกเถียงที่ว่า ภาษามีอิทธิพลต่อกระบวนการคิดของคนเราหรือไม่
นักจิตวิทยาทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 40 คน ที่ประกอบด้วยคนที่พูดภาษาอังกฤษ 10 คน, ภาษาจีนแมนดาริน 10 คน, ภาษาสเปน 10 คน และภาษาตุรกี 10 คน
เริ่มแรกนักจิตวิทยาขอให้กลุ่มตัวอย่างอธิบายการกระทำที่เห็นในวิดีโอออกมาเป็นคำพูด ก่อนที่จะให้อธิบายด้วยภาษามือ
สิ่งที่น่าสังเกตคือ เมื่อถูกขอให้อธิบายฉากเดียวกันโดยใช้ภาษามือ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่ว่าจะพูดภาษาใด จะอธิบายในโครงสร้างประโยคแบบเดียวกันคือ ประธาน กรรม กิริยา (เช่น หญิงสาว ลูกบิด บิด)
ขณะเดียวกัน เมื่อถูกขอให้อธิบายฉากต่างๆ เป็นคำพูด กลุ่มตัวอย่างจะเรียงลำดับประโยคตามโครงสร้างภาษาของตนเอง
กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษ สเปน และจีนจะเริ่มต้นประโยคด้วยประธาน ตามด้วยกิริยาและกรรม (หญิงสาวบิดลูกบิด)
ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาตุรกีจะเริ่มต้นประโยคด้วยประธาน ตามด้วยกรรมและกิริยา
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกระบุว่า ผลศึกษานี้บ่งชี้ว่าสมองมีวิธีการที่แน่นอนในการเรียงลำดับเหตุการณ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าประธาน กิริยาและกรรม จะอยู่ในตำแหน่งใดของประโยคในภาษาต่างๆ
“ท่าทางที่คนเราแสดงออกมาเมื่อพูดไม่ถือเป็นภาษาสากล แต่จะแตกต่างกันไปตามโครงสร้างของภาษา ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ที่เรากำลังอธิบายอยู่นี้น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ปกติแล้วพูดภาษาต่างกันและทำไม้ทำมือประกอบต่างกัน กลับใช้ภาษามือเหมือนกันเมื่อถูกขอให้งดใช้คำพูด” ศาสตราจารย์ซูซาน โกลดิน-มีโดว์ ระบุไว้ในวารสารโปรซีดดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์
“ไม่แปลกที่กลุ่มตัวอย่างที่พูดคนละภาษาอธิบายเหตุการณ์เดียวกันโดยใช้ลำดับคำตามโครงสร้างภาษาของตัวเอง แต่ที่แปลกก็คือ เมื่อคนๆ เดียวกันถูกขอให้ ‘พูด’ ด้วยมือ ไม่ใช่ด้วยปาก เขากลับละเลยการเรียงลำดับในประโยคตามโครงสร้างภาษา แต่ใช้การเรียงลำดับแบบเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาอื่นเมื่อต้องใช้ภาษามือเช่นเดียวกัน”
อย่างไรก็ตาม ภาษามือที่เกิดขึ้นใหม่บ่งชี้ชัดเจนว่ามีโครงสร้างการเรียงลำดับคำในประโยคแบบใหม่เป็นประธาน-กรรม-กิริยา
ทั้งนี้ ภาษามืออัล-เซยิด เบดูอินเกิดขึ้นเมื่อ 70 ปีที่แล้วในชุมชนห่างไกลที่มีปัญหาเด็กหูหนวกจำนวนมาก
งานวิจัยชิ้นนี้ท้าทายแนวคิดที่ว่า ภาษาที่คนเราพูดเป็นตัวกำหนดวิธีคิดของเราขณะที่ไม่ได้พูดออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือการเรียงลำดับประโยคในภาษาที่ไม่ใช่คำพูดอาจเป็นตัวกำหนดรูปแบบภาษาพูดในช่วงต้นของพัฒนาการ”
นักจิตวิทยาทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 40 คน ที่ประกอบด้วยคนที่พูดภาษาอังกฤษ 10 คน, ภาษาจีนแมนดาริน 10 คน, ภาษาสเปน 10 คน และภาษาตุรกี 10 คน
เริ่มแรกนักจิตวิทยาขอให้กลุ่มตัวอย่างอธิบายการกระทำที่เห็นในวิดีโอออกมาเป็นคำพูด ก่อนที่จะให้อธิบายด้วยภาษามือ
สิ่งที่น่าสังเกตคือ เมื่อถูกขอให้อธิบายฉากเดียวกันโดยใช้ภาษามือ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่ว่าจะพูดภาษาใด จะอธิบายในโครงสร้างประโยคแบบเดียวกันคือ ประธาน กรรม กิริยา (เช่น หญิงสาว ลูกบิด บิด)
ขณะเดียวกัน เมื่อถูกขอให้อธิบายฉากต่างๆ เป็นคำพูด กลุ่มตัวอย่างจะเรียงลำดับประโยคตามโครงสร้างภาษาของตนเอง
กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษ สเปน และจีนจะเริ่มต้นประโยคด้วยประธาน ตามด้วยกิริยาและกรรม (หญิงสาวบิดลูกบิด)
ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาตุรกีจะเริ่มต้นประโยคด้วยประธาน ตามด้วยกรรมและกิริยา
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกระบุว่า ผลศึกษานี้บ่งชี้ว่าสมองมีวิธีการที่แน่นอนในการเรียงลำดับเหตุการณ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าประธาน กิริยาและกรรม จะอยู่ในตำแหน่งใดของประโยคในภาษาต่างๆ
“ท่าทางที่คนเราแสดงออกมาเมื่อพูดไม่ถือเป็นภาษาสากล แต่จะแตกต่างกันไปตามโครงสร้างของภาษา ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ที่เรากำลังอธิบายอยู่นี้น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ปกติแล้วพูดภาษาต่างกันและทำไม้ทำมือประกอบต่างกัน กลับใช้ภาษามือเหมือนกันเมื่อถูกขอให้งดใช้คำพูด” ศาสตราจารย์ซูซาน โกลดิน-มีโดว์ ระบุไว้ในวารสารโปรซีดดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์
“ไม่แปลกที่กลุ่มตัวอย่างที่พูดคนละภาษาอธิบายเหตุการณ์เดียวกันโดยใช้ลำดับคำตามโครงสร้างภาษาของตัวเอง แต่ที่แปลกก็คือ เมื่อคนๆ เดียวกันถูกขอให้ ‘พูด’ ด้วยมือ ไม่ใช่ด้วยปาก เขากลับละเลยการเรียงลำดับในประโยคตามโครงสร้างภาษา แต่ใช้การเรียงลำดับแบบเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่พูดภาษาอื่นเมื่อต้องใช้ภาษามือเช่นเดียวกัน”
อย่างไรก็ตาม ภาษามือที่เกิดขึ้นใหม่บ่งชี้ชัดเจนว่ามีโครงสร้างการเรียงลำดับคำในประโยคแบบใหม่เป็นประธาน-กรรม-กิริยา
ทั้งนี้ ภาษามืออัล-เซยิด เบดูอินเกิดขึ้นเมื่อ 70 ปีที่แล้วในชุมชนห่างไกลที่มีปัญหาเด็กหูหนวกจำนวนมาก
งานวิจัยชิ้นนี้ท้าทายแนวคิดที่ว่า ภาษาที่คนเราพูดเป็นตัวกำหนดวิธีคิดของเราขณะที่ไม่ได้พูดออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือการเรียงลำดับประโยคในภาษาที่ไม่ใช่คำพูดอาจเป็นตัวกำหนดรูปแบบภาษาพูดในช่วงต้นของพัฒนาการ”