เอเอฟพี - กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ที่ "เป็นจริง" แม้ว่าจะมีเหตุโจมตีลดน้อยลงในระยะหลังก็ตามที และรัฐบาลในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องเฝ้าระวังด้วยความไม่ประมาท โดยเฉพาะใน"พื้นที่ที่รัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึง" เช่นทางภาคใต้ของไทย และเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์
สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์แห่งออสเตรเลีย เผยรายงานเมื่อวันพุธ (25) ระบุว่า กลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม อาทิ ญะมาอะห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) แห่งอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อเหตุวางระเบิดคร่าชีวิตผู้คน 200 คนที่บาหลีเมื่อปี 2002 นั้น ยังสามารถที่จะก่อเหตุโจมตีอย่างรุนแรงได้อีก
รายงานดังกล่าว ซึ่งระบุว่าได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเคลื่อนไหวมุสลิมหัวรุนแรงทั้งในฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทยด้วย ได้เตือนเหล่าผู้กำหนดนโยบายว่าอย่ามัวนอนใจ แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าปราบปรามกลุ่มเจไอในอินโดนีเซียเมื่อปี 2002 และสังหารและจับกุมสมาชิกของกลุ่มได้ถึงกว่า 200 คนก็ตาม อีกทั้งได้เตือนเป็นพิเศษต่อออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ด้วย
นอกจากนั้น เมื่อปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินโดนีเซียระบุว่ากลุ่มเจไอยังคงมีการดำเนินงานอยู่ และแม้ว่ากลุ่มเจไอจะมีการแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างพวกหัวรุนแรงสุดขั้วที่นิยมใช้กำลัง กับอีกพวกที่นิยมความรุนแรงน้อยกว่า แต่โดยรวมแล้วอาจมีกองกำลังมากถึง 900 คน ซึ่งรวมทั้งผู้นำรุ่นแรกของกลุ่มอย่างน้อย 15 คนด้วย
"ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่กลุ่มเจไอนั้นยังคงเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงทั้งของออสเตรเลียและภูมิภาคนี้" รายงานระบุ
"ภัยคุกคามในเชิงยุทธศาสตร์จากการก่อการร้ายยังคงมีอยู่อย่างมากมายหลายรูปแบบและเป็นภัยแท้จริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน "พื้นที่ที่รัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึง" เช่นทางภาคใต้ของไทยและเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา
"ดังนั้นรัฐบาลออสเตรเลียและรัฐบาลของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังต่อไป ในขณะที่พื้นที่เหล่านี้กำลังมีพัฒนาการด้านการเมือง และมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจอย่างถูกต้องในอันที่จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่รัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึงได้น้อยลง"
รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า "จับตาเพื่อนบ้าน: ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่เติบโตขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จัดทำขึ้นโดยปีเตอร์ ชอล์ก นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโส โดยร่วมกับแรนด์ คอร์ปอเรชันแห่งสหรัฐฯ และคาร์ล อันเกอเรอร์ นักวิชาการและอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของพรรคแรงงานออสเตรเลีย
การเผยแพร่รายงานดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ เควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียให้คำมั่นว่าจะเพิ่มความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับอินโดนีเซียในระหว่างการเยือนกรุงจาการ์ตาอย่างเป็นทางการ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ นักโทษสามคนที่เป็นผู้วางแผนการระเบิดในบาหลี ซึ่งเป็นเหตุให้ชาวออสเตรเลียเสียชีวิตไปถึง 80 คนนั้น กำลังรอรับโทษประหารอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่งบนเกาะชวา โดยยังมีผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวอีกหลายคน ซึ่งรวมทั้งบุคคลที่รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการตัวอย่างมากที่สุดคือชาวมาเลเซียชื่อ นูร์ดิน โมฮัมหมัด ท็อป ซึ่งคาดว่ายังหลบซ่อนตัวอยู่ในอินโดนีเซีย และอาริส ซุมาร์โซโน ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่าซุลคาร์นาเอน และมีรายงานว่าเขาเป็นแกนนำของกลุ่มอัลกออิดะห์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
เป็นที่คาดว่า พวกหัวรุนแรงสุดโต่งของเจไอ รวมทั้งพวกมือระเบิด กำลังหลบซ่อนตัวอยู่กับกองกำลังอิสลามอาบู ไซยาฟ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันหากรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่สามารถเจรจากับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรได้สำเร็จ ก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้อีก
สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์แห่งออสเตรเลีย เผยรายงานเมื่อวันพุธ (25) ระบุว่า กลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม อาทิ ญะมาอะห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) แห่งอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อเหตุวางระเบิดคร่าชีวิตผู้คน 200 คนที่บาหลีเมื่อปี 2002 นั้น ยังสามารถที่จะก่อเหตุโจมตีอย่างรุนแรงได้อีก
รายงานดังกล่าว ซึ่งระบุว่าได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเคลื่อนไหวมุสลิมหัวรุนแรงทั้งในฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทยด้วย ได้เตือนเหล่าผู้กำหนดนโยบายว่าอย่ามัวนอนใจ แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าปราบปรามกลุ่มเจไอในอินโดนีเซียเมื่อปี 2002 และสังหารและจับกุมสมาชิกของกลุ่มได้ถึงกว่า 200 คนก็ตาม อีกทั้งได้เตือนเป็นพิเศษต่อออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ด้วย
นอกจากนั้น เมื่อปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินโดนีเซียระบุว่ากลุ่มเจไอยังคงมีการดำเนินงานอยู่ และแม้ว่ากลุ่มเจไอจะมีการแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างพวกหัวรุนแรงสุดขั้วที่นิยมใช้กำลัง กับอีกพวกที่นิยมความรุนแรงน้อยกว่า แต่โดยรวมแล้วอาจมีกองกำลังมากถึง 900 คน ซึ่งรวมทั้งผู้นำรุ่นแรกของกลุ่มอย่างน้อย 15 คนด้วย
"ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่กลุ่มเจไอนั้นยังคงเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงทั้งของออสเตรเลียและภูมิภาคนี้" รายงานระบุ
"ภัยคุกคามในเชิงยุทธศาสตร์จากการก่อการร้ายยังคงมีอยู่อย่างมากมายหลายรูปแบบและเป็นภัยแท้จริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน "พื้นที่ที่รัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึง" เช่นทางภาคใต้ของไทยและเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา
"ดังนั้นรัฐบาลออสเตรเลียและรัฐบาลของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังต่อไป ในขณะที่พื้นที่เหล่านี้กำลังมีพัฒนาการด้านการเมือง และมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจอย่างถูกต้องในอันที่จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่รัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึงได้น้อยลง"
รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า "จับตาเพื่อนบ้าน: ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่เติบโตขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จัดทำขึ้นโดยปีเตอร์ ชอล์ก นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโส โดยร่วมกับแรนด์ คอร์ปอเรชันแห่งสหรัฐฯ และคาร์ล อันเกอเรอร์ นักวิชาการและอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของพรรคแรงงานออสเตรเลีย
การเผยแพร่รายงานดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ เควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียให้คำมั่นว่าจะเพิ่มความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับอินโดนีเซียในระหว่างการเยือนกรุงจาการ์ตาอย่างเป็นทางการ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ นักโทษสามคนที่เป็นผู้วางแผนการระเบิดในบาหลี ซึ่งเป็นเหตุให้ชาวออสเตรเลียเสียชีวิตไปถึง 80 คนนั้น กำลังรอรับโทษประหารอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่งบนเกาะชวา โดยยังมีผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวอีกหลายคน ซึ่งรวมทั้งบุคคลที่รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการตัวอย่างมากที่สุดคือชาวมาเลเซียชื่อ นูร์ดิน โมฮัมหมัด ท็อป ซึ่งคาดว่ายังหลบซ่อนตัวอยู่ในอินโดนีเซีย และอาริส ซุมาร์โซโน ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่าซุลคาร์นาเอน และมีรายงานว่าเขาเป็นแกนนำของกลุ่มอัลกออิดะห์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
เป็นที่คาดว่า พวกหัวรุนแรงสุดโต่งของเจไอ รวมทั้งพวกมือระเบิด กำลังหลบซ่อนตัวอยู่กับกองกำลังอิสลามอาบู ไซยาฟ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันหากรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่สามารถเจรจากับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรได้สำเร็จ ก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้อีก