12. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
พวกนกดุเหว่าไหนเลยจะล่วงรู้จิตปณิธานของเหล่านกอินทรี จงอย่าใช้จิตใจอันต่ำช้ามาประเมิน จิตปณิธานของเหล่าผู้พิทักษ์ธรรมแห่งขบวนการยามเฝ้าแผ่นดิน เลย
คนจริง เมื่อถือกำเนิดมาใน กลียุค ก็ย่อมต้องเผชิญกับความผิดหวังบ้าง ได้รับความกระทบกระเทือนใจบ้าง แต่นี่ก็ต้องถือว่าเป็น การบำเพ็ญตน อย่างหนึ่ง คนเรามีแต่ต้องยืนหยัดเผชิญหน้ากับความเป็นจริงอันโหดร้ายที่ “พวกอันธพาลครองเมือง” ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ผู้กล้า ใช่หรือมิใช่?
อันระบบการฝึกฝนตนตามแนวทางพรตแบบเต๋านั้น ถือว่าเป็นระบบการฝึกฝนตนที่มีลักษณะบูรณาการอย่างสมบูรณ์แบบระบบหนึ่งเท่าที่มนุษยชาติเคยมีมาเลยทีเดียว โดยที่ เป้าหมายอันสูงส่ง ของแนวทางพรตแบบเต๋านี้ก็ไม่ต่างไปจากภูมิปัญญาตะวันออกสายอื่น ไม่ว่าจะเป็นสายพุทธหรือสายโยคะ กล่าวคือ ทุกสายล้วนมุ่งไปที่ การปลุกศักยภาพทางจิตวิญญาณ ที่แฝงเร้นอยู่ในส่วนลึกสุดของแต่ละปัจเจกให้ตื่นขึ้นมา เพื่อที่แต่ละคนจะได้สามารถสร้าง ความหมายที่ยิ่งใหญ่และสูงส่ง ให้แก่ชีวิตของตนได้
ศักยภาพทางจิตวิญญาณ ที่แนวทางพรตแบบเต๋ามุ่งหวังนี้ จึงกินความไปถึงสภาวะ ความเป็นไปได้ของอิสรภาพทางจิตวิญญาณภายหลังการละร่างในชาตินี้ ของปัจเจกด้วย เพื่อการนี้ ผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางพรตแบบเต๋า จึงให้ความสำคัญกับการฝึกฝนบำเพ็ญตนในทุกๆ ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตนของเขา ซึ่งได้แก่ในระดับ กายเนื้อ (physical body) ในระดับ กายทิพย์ (soul body หรือ energy body) และในระดับ ธรรมกาย (spirit body)
การฝึกฝนบำเพ็ญตนทั้ง 3 ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตนนี้มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันในสายตาของเต๋า ที่มองว่า ร่างกายของคนเราเป็นแพวิเศษสำหรับข้ามโลกหล้าและวัฏสงสาร ภายในซ่อนความลับของฟ้าดิน อาศัยกาย วาจา และใจของคนเรานี้เชื่อมโยงเข้ากับจักรวาฬ บรรลุถึงขอบเขตชั้นฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว สำเร็จเป็นพุทธะได้
ระดับทั้ง 3 ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตน จึงเป็นดุจ บันได ให้ตัวตนนั้นสามารถพัฒนาตัวตนแห่งตนได้อย่างสมบูรณ์พร้อม ทั้งใน โลกทางกายภาพ และ โลกทางความคิดอารมณ์จิตใจ ไปจนถึง โลกทางจิตวิญญาณ ได้ในที่สุดบันไดทั้ง 3 ระดับแห่งการพัฒนาตัวตนแห่งตนนี้แหละ ที่เป็นทั้ง ระบบความเชื่อ และ อภิปรัชญา ของผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางพรตแบบเต๋า จนทำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่า พวกเขาจะสามารถดำรงจิตสำนึกแห่งตนอย่างเชื่อมต่อกับภพภูมิภายใน (inner worlds) ต่างๆ ได้ในฐานะที่ตนเองเป็นตัวแทนของภพภูมิบนโลกนี้ และในขณะเดียวกัน เมื่อผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางนี้ละร่างกายหยาบนี้ไปแล้ว ผู้นั้นก็มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า จิตสำนึกแห่งตน ของตัวเขายังสามารถเชื่อมต่อกับภพภูมิบนโลกนี้ได้อีก โดยผ่าน กายอมตะ (immortal body) ของผู้นั้น ซึ่งก็คือ กายทิพย์ (energy body) ของตัวเขาที่ยังคงดำรงอยู่ในโลกหลังความตาย ในฐานะที่เป็นผลพวงของการบำเพ็ญบ่มเพาะ พลังหยาง ในขณะที่ตัวเขายังมีชีวิตอยู่ โดยที่ พลังหยาง นี้ได้ ปราณหยาง (หยางชี่) กับ จิตหยาง (หยางเสิน)
ถ้าไม่เข้าใจ ระบบความเชื่อ และ อภิปรัชญา ตามแนวทางพรตแบบเต๋าดังข้างต้นนี้ ผู้คนทั่วไปก็คงยากที่จะเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋าถึงต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการบ่มเพาะบำเพ็ญ เพื่อแปรพลังทางเพศ (จิง) ไปเป็นพลังปราณ (ชี่) และบ่มเพาะบำเพ็ญเพื่อแปรพลังปราณ (ชี่) ไปเป็นพลังทางจิตวิญญาณ (เสิน)?
ผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋า บ่มเพาะ พลังทางเพศ ไปเป็น พลังปราณ ก็เพื่อพัฒนา กายเนื้อ ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อม หลังจากนั้น
ผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋าจะบ่มเพาะ พลังปราณ ไปเป็น พลังทางจิตวิญญาณ ก็เพื่อพัฒนา กายทิพย์ ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อม ก่อนที่จะบ่มเพาะบำเพ็ญเพื่อแปร พลังทางจิตวิญญาณ ไปสู่ ความว่าง เพื่อพัฒนา ธรรมกาย ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อมในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะหลอมรวม ธรรมกาย นี้เข้ากับ วิถี (เต๋า) ในที่สุด
แต่อะไรเล่า? คือ ความสูงส่งทางจิตวิญญาณ ในทัศนะแบบเต๋า บางทีนิทานเต๋าเรื่อง “เด็กรับใช้เฝ้ากระถางยา” ที่ หวงอี้ นำมาถ่ายทอดใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขา คงจะช่วยให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้กระจ่างชัดขึ้น นิทานเต๋าเรื่องนี้เป็นดังนี้...
กาลครั้งหนึ่ง มีเต้าหยินฝ่ายพรตท่านหนึ่งตั้งกระถางปรุงโอสถทุกสิ่งตระเตรียมพร้อมสรรพ เพียงขาดเด็กรับใช้เฝ้ากระถางคนหนึ่ง ในที่สุด มีคนมาสมัครเป็นเด็กรับใช้เฝ้ากระถาง เต้าหยินนั้นกล่าวว่า
“นับแต่นี้เป็นต้นไป หากเจ้าสามารถปิดปากไม่กล่าววาจา จะได้เป็นเด็กรับใช้ของเรา เจ้ายอมทดลองดูหรือไม่”
คนผู้นั้นผงกศีรษะยืนยัน ครั้นแล้วฟ้าดินเปลี่ยนแปรเข้าสู่วัฏสงสาร ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดนับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่ว่ายากดีมีจนเป็นขุนนางอำมาตย์หรือกรรมกรแบกหาม มันยังยืนกรานไม่พูดไม่จาเป็นคนใบ้ตลอดมา
สุดท้ายมันจุติเป็นสตรี แต่งงานกำเนิดบุตร มิคลาดคลอดบุตรไม่ครบเดือน กลับปรากฏโจรปล้นบ้าน โจรผู้ร้ายฆ่าสามีนาง และข่มขืนนาง แต่นางยังคงยืนกรานไม่ส่งเสียง สุดท้ายโจรผู้ร้ายคิดฆ่าเด็กทารกด้วย นางจึงลืมเลือนจุดหมายแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ส่งเสียงร้องห้ามปรามออกมา
ครั้นแล้วมันตื่นจากห้วงวัฏสงสาร พบว่าตัวเองยังอยู่ในห้องปรุงยาทุกประการไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่บนใบหน้าเพิ่มน้ำตาสองสาย
เต้าหยินนั้น ทอดถอนใจ กล่าวว่า
“แล้วกันไปเถอะ เจ้ายังไม่อาจตัดรอนน้ำใจแม่ลูกได้”...
นิทานเต๋าเรื่องนี้ต้องการจะบอกกับคนอ่านว่า เป้าหมายสูงส่ง ของการเป็น จอมคนในแนวทางเต๋า นั้นก็คือ การจะไม่ยอมให้ตัวเองจมปลักอยู่ในโลกแห่งอารมณ์ความรู้สึกใดๆ ที่กล่าวอย่างนี้ มิได้ต้องการจะบอกว่าโลกแห่งอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะความเคลิบเคลิ้มดื่มด่ำเป็นสิ่งไม่ดี ตรงกันข้าม แนวทางแบบเต๋า จะสอนให้ ผู้บำเพ็ญ เผชิญหน้า และเรียนรู้อารมณ์ทุกชนิด เพื่อข้ามพ้นมัน เพื่อตระหนักถึงความไม่เที่ยงของอารมณ์จะได้หมดความอาลัย หมดความยึดติดในอารมณ์ต่างๆ หมดความอาวรณ์อ้อยอิ่งในอารมณ์ต่างๆ โดยเปรียบเปรยเอาไว้อย่างน่าฟังดังต่อไปนี้
ดุจมีห้องที่ว่างเปล่าห้องหนึ่ง กับสัตว์ร้ายนานาชนิดภายในห้อง ผู้บำเพ็ญ จะต้องไม่หลีกหนีห้องแห่งนี้ แต่จะต้องเดินเข้าไปในห้องนั้นเพื่อเผชิญกับสัตว์อันตรายเหล่านั้นโดยไม่สะทกสะท้าน
ห้องที่ว่างเปล่านั้นคือ ความสงบว่าง สัตว์ร้ายต่างๆ คือความหลงทุกประเภทที่อาศัยอยู่ในห้อง การอยู่กับความสงบว่างร่วมกับความหลงนานาชนิด คือ การบำเพ็ญที่แท้จริงและเป็นการฝึกเจริญมหาสติอันยิ่งใหญ่ การมีสติคือการบำเพ็ญเจริญภาวนา การเข้าสู่ธรรมชาติดั้งเดิมโดยไม่สับสน คือ ฌานที่แท้จริง ฌานสมาบัติที่แท้จึงเป็นความโปร่งโล่งกระจ่างที่สะท้อนถึงจิตเดิมแท้
ในขณะที่ ผู้บำเพ็ญ กำลังบำเพ็ญอยู่ในขั้นตอนของการบ่มเพาะเพื่อแปร พลังทางเพศ ไปเป็น พลังปราณ นั้น ผู้บำเพ็ญ จะเพ่งจิตไปที่จุดตันเถียนบริเวณท้องน้อยเป็นหลัก หลังจากผ่านขั้นตอนนี้จนสามารถสะสม หยางชี่ (ปราณหยาง) ในจุดตันเถียนได้จนเต็มบริบูรณ์ โดยมีกฎเกณฑ์มาตรฐานที่แนวทางแบบเต๋ากำหนดไว้ดังนี้ว่า
ทุกๆ การนั่ง สมาธิเต๋า หนึ่งชั่วโมง จะก่อเกิด หยางชี่ แค่ 1.3 นาที ผู้บำเพ็ญจะต้องสะสม หยางชี่ 1.3 นาทีจากทุกๆ การนั่ง สมาธิเต๋า หนึ่งชั่วโมงนี้ให้ครบเป็น หยางชี่ 81 ชั่วโมง กล่าวคือ ถ้าฝึก สมาธิเต๋า วันละหนึ่งชั่วโมงมิได้ขาดก็จะใช้เวลาสิบปีถึงจะมี หยางชี่ เต็มบริบูรณ์ในจุดตันเถียนล่าง ก่อนที่จะเลื่อนขั้นไปฝึกแปร พลังปราณ ไปเป็น พลังทางจิตวิญญาณ ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้บำเพ็ญ จะหันไปเพ่งจิตที่ จุดหนีอวน ที่ยอดศีรษะเป็นหลัก
จุดหนีอวน นี้ตั้งชื่อเลียนเสียงมาจากคำว่า “นิรวาณ” ในภาษาสันสฤกต หรือ “นิพพาน” ในภาษาบาลีอยู่ในตำแหน่งเดียวกับ ต่อมไพนีล (pineal gland) ในสมอง เมื่อ ผู้บำเพ็ญ กำหนดจิตไปที่ จุดหนีอวน บนยอดศีรษะ ในขณะที่ทำ สมาธิเต๋า หลังจากที่ผู้นั้นได้ฝึกลมปราณจุลจักรวาลจนรุดหน้าแล้ว และสามารถเดินลมผ่านเส้นชีพจรพิสดารทั้งแปด ที่วนรอบเอวไปเชื่อมกับสองแขนและสองขาได้แล้ว ผู้บำเพ็ญจะค่อยๆ ลืมเลือนร่างกายของตน ในขณะที่กำลังนั่งสมาธิ และหันไปรู้สึกถึงกระแสพลังงานในร่างกายตนแทน โดยเฉพาะที่บริเวณ จุดหนีอวน บนยอดศีรษะ
นานวันเข้า ผู้บำเพ็ญก็จะมี ประสบการณ์ ที่ทางเต๋าเรียกว่า “สามบุปผาชุมนุมบนยอดเศียร” เกิดขึ้น คือเห็นโอกาสหรือแสงสว่างเกิดขึ้นในสมองของผู้นั้น อันเป็นความรู้สึกดุจเดียวกับคนที่อยู่ในห้องมืดมิดอย่างสงบเงียบ แล้วจู่ๆ หลังคาของห้องมืดนั้นก็เปิดโล่งออกมาอย่างฉับพลัน และมีแสงอาทิตย์สอดส่องเข้ามาข้างใน “สามบุปผา” ที่ว่านี้คือพลังงานของจิง ชี่และเสิน ที่มาชุมนุมกันที่ยอดศีรษะของ ผู้บำเพ็ญ จนทำให้ผู้บำเพ็ญรู้สึกเกิดความกระจ่างแจ้งขึ้นภายในศีรษะ โดยที่แสงสว่างนี้ค่อยๆ เปล่งประกายเจิดจ้า และครอบคลุมไปทั่วร่างของผู้บำเพ็ญในที่สุด (ยังมีต่อ)
พวกนกดุเหว่าไหนเลยจะล่วงรู้จิตปณิธานของเหล่านกอินทรี จงอย่าใช้จิตใจอันต่ำช้ามาประเมิน จิตปณิธานของเหล่าผู้พิทักษ์ธรรมแห่งขบวนการยามเฝ้าแผ่นดิน เลย
คนจริง เมื่อถือกำเนิดมาใน กลียุค ก็ย่อมต้องเผชิญกับความผิดหวังบ้าง ได้รับความกระทบกระเทือนใจบ้าง แต่นี่ก็ต้องถือว่าเป็น การบำเพ็ญตน อย่างหนึ่ง คนเรามีแต่ต้องยืนหยัดเผชิญหน้ากับความเป็นจริงอันโหดร้ายที่ “พวกอันธพาลครองเมือง” ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ผู้กล้า ใช่หรือมิใช่?
อันระบบการฝึกฝนตนตามแนวทางพรตแบบเต๋านั้น ถือว่าเป็นระบบการฝึกฝนตนที่มีลักษณะบูรณาการอย่างสมบูรณ์แบบระบบหนึ่งเท่าที่มนุษยชาติเคยมีมาเลยทีเดียว โดยที่ เป้าหมายอันสูงส่ง ของแนวทางพรตแบบเต๋านี้ก็ไม่ต่างไปจากภูมิปัญญาตะวันออกสายอื่น ไม่ว่าจะเป็นสายพุทธหรือสายโยคะ กล่าวคือ ทุกสายล้วนมุ่งไปที่ การปลุกศักยภาพทางจิตวิญญาณ ที่แฝงเร้นอยู่ในส่วนลึกสุดของแต่ละปัจเจกให้ตื่นขึ้นมา เพื่อที่แต่ละคนจะได้สามารถสร้าง ความหมายที่ยิ่งใหญ่และสูงส่ง ให้แก่ชีวิตของตนได้
ศักยภาพทางจิตวิญญาณ ที่แนวทางพรตแบบเต๋ามุ่งหวังนี้ จึงกินความไปถึงสภาวะ ความเป็นไปได้ของอิสรภาพทางจิตวิญญาณภายหลังการละร่างในชาตินี้ ของปัจเจกด้วย เพื่อการนี้ ผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางพรตแบบเต๋า จึงให้ความสำคัญกับการฝึกฝนบำเพ็ญตนในทุกๆ ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตนของเขา ซึ่งได้แก่ในระดับ กายเนื้อ (physical body) ในระดับ กายทิพย์ (soul body หรือ energy body) และในระดับ ธรรมกาย (spirit body)
การฝึกฝนบำเพ็ญตนทั้ง 3 ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตนนี้มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันในสายตาของเต๋า ที่มองว่า ร่างกายของคนเราเป็นแพวิเศษสำหรับข้ามโลกหล้าและวัฏสงสาร ภายในซ่อนความลับของฟ้าดิน อาศัยกาย วาจา และใจของคนเรานี้เชื่อมโยงเข้ากับจักรวาฬ บรรลุถึงขอบเขตชั้นฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว สำเร็จเป็นพุทธะได้
ระดับทั้ง 3 ระดับแห่งการดำรงอยู่ของตัวตน จึงเป็นดุจ บันได ให้ตัวตนนั้นสามารถพัฒนาตัวตนแห่งตนได้อย่างสมบูรณ์พร้อม ทั้งใน โลกทางกายภาพ และ โลกทางความคิดอารมณ์จิตใจ ไปจนถึง โลกทางจิตวิญญาณ ได้ในที่สุดบันไดทั้ง 3 ระดับแห่งการพัฒนาตัวตนแห่งตนนี้แหละ ที่เป็นทั้ง ระบบความเชื่อ และ อภิปรัชญา ของผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางพรตแบบเต๋า จนทำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่า พวกเขาจะสามารถดำรงจิตสำนึกแห่งตนอย่างเชื่อมต่อกับภพภูมิภายใน (inner worlds) ต่างๆ ได้ในฐานะที่ตนเองเป็นตัวแทนของภพภูมิบนโลกนี้ และในขณะเดียวกัน เมื่อผู้บำเพ็ญเพียรตามแนวทางนี้ละร่างกายหยาบนี้ไปแล้ว ผู้นั้นก็มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า จิตสำนึกแห่งตน ของตัวเขายังสามารถเชื่อมต่อกับภพภูมิบนโลกนี้ได้อีก โดยผ่าน กายอมตะ (immortal body) ของผู้นั้น ซึ่งก็คือ กายทิพย์ (energy body) ของตัวเขาที่ยังคงดำรงอยู่ในโลกหลังความตาย ในฐานะที่เป็นผลพวงของการบำเพ็ญบ่มเพาะ พลังหยาง ในขณะที่ตัวเขายังมีชีวิตอยู่ โดยที่ พลังหยาง นี้ได้ ปราณหยาง (หยางชี่) กับ จิตหยาง (หยางเสิน)
ถ้าไม่เข้าใจ ระบบความเชื่อ และ อภิปรัชญา ตามแนวทางพรตแบบเต๋าดังข้างต้นนี้ ผู้คนทั่วไปก็คงยากที่จะเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋าถึงต้องทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการบ่มเพาะบำเพ็ญ เพื่อแปรพลังทางเพศ (จิง) ไปเป็นพลังปราณ (ชี่) และบ่มเพาะบำเพ็ญเพื่อแปรพลังปราณ (ชี่) ไปเป็นพลังทางจิตวิญญาณ (เสิน)?
ผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋า บ่มเพาะ พลังทางเพศ ไปเป็น พลังปราณ ก็เพื่อพัฒนา กายเนื้อ ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อม หลังจากนั้น
ผู้บำเพ็ญพรตแบบเต๋าจะบ่มเพาะ พลังปราณ ไปเป็น พลังทางจิตวิญญาณ ก็เพื่อพัฒนา กายทิพย์ ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อม ก่อนที่จะบ่มเพาะบำเพ็ญเพื่อแปร พลังทางจิตวิญญาณ ไปสู่ ความว่าง เพื่อพัฒนา ธรรมกาย ของตนเองให้สมบูรณ์พร้อมในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะหลอมรวม ธรรมกาย นี้เข้ากับ วิถี (เต๋า) ในที่สุด
แต่อะไรเล่า? คือ ความสูงส่งทางจิตวิญญาณ ในทัศนะแบบเต๋า บางทีนิทานเต๋าเรื่อง “เด็กรับใช้เฝ้ากระถางยา” ที่ หวงอี้ นำมาถ่ายทอดใน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของเขา คงจะช่วยให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้กระจ่างชัดขึ้น นิทานเต๋าเรื่องนี้เป็นดังนี้...
กาลครั้งหนึ่ง มีเต้าหยินฝ่ายพรตท่านหนึ่งตั้งกระถางปรุงโอสถทุกสิ่งตระเตรียมพร้อมสรรพ เพียงขาดเด็กรับใช้เฝ้ากระถางคนหนึ่ง ในที่สุด มีคนมาสมัครเป็นเด็กรับใช้เฝ้ากระถาง เต้าหยินนั้นกล่าวว่า
“นับแต่นี้เป็นต้นไป หากเจ้าสามารถปิดปากไม่กล่าววาจา จะได้เป็นเด็กรับใช้ของเรา เจ้ายอมทดลองดูหรือไม่”
คนผู้นั้นผงกศีรษะยืนยัน ครั้นแล้วฟ้าดินเปลี่ยนแปรเข้าสู่วัฏสงสาร ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดนับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่ว่ายากดีมีจนเป็นขุนนางอำมาตย์หรือกรรมกรแบกหาม มันยังยืนกรานไม่พูดไม่จาเป็นคนใบ้ตลอดมา
สุดท้ายมันจุติเป็นสตรี แต่งงานกำเนิดบุตร มิคลาดคลอดบุตรไม่ครบเดือน กลับปรากฏโจรปล้นบ้าน โจรผู้ร้ายฆ่าสามีนาง และข่มขืนนาง แต่นางยังคงยืนกรานไม่ส่งเสียง สุดท้ายโจรผู้ร้ายคิดฆ่าเด็กทารกด้วย นางจึงลืมเลือนจุดหมายแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ส่งเสียงร้องห้ามปรามออกมา
ครั้นแล้วมันตื่นจากห้วงวัฏสงสาร พบว่าตัวเองยังอยู่ในห้องปรุงยาทุกประการไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่บนใบหน้าเพิ่มน้ำตาสองสาย
เต้าหยินนั้น ทอดถอนใจ กล่าวว่า
“แล้วกันไปเถอะ เจ้ายังไม่อาจตัดรอนน้ำใจแม่ลูกได้”...
นิทานเต๋าเรื่องนี้ต้องการจะบอกกับคนอ่านว่า เป้าหมายสูงส่ง ของการเป็น จอมคนในแนวทางเต๋า นั้นก็คือ การจะไม่ยอมให้ตัวเองจมปลักอยู่ในโลกแห่งอารมณ์ความรู้สึกใดๆ ที่กล่าวอย่างนี้ มิได้ต้องการจะบอกว่าโลกแห่งอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะความเคลิบเคลิ้มดื่มด่ำเป็นสิ่งไม่ดี ตรงกันข้าม แนวทางแบบเต๋า จะสอนให้ ผู้บำเพ็ญ เผชิญหน้า และเรียนรู้อารมณ์ทุกชนิด เพื่อข้ามพ้นมัน เพื่อตระหนักถึงความไม่เที่ยงของอารมณ์จะได้หมดความอาลัย หมดความยึดติดในอารมณ์ต่างๆ หมดความอาวรณ์อ้อยอิ่งในอารมณ์ต่างๆ โดยเปรียบเปรยเอาไว้อย่างน่าฟังดังต่อไปนี้
ดุจมีห้องที่ว่างเปล่าห้องหนึ่ง กับสัตว์ร้ายนานาชนิดภายในห้อง ผู้บำเพ็ญ จะต้องไม่หลีกหนีห้องแห่งนี้ แต่จะต้องเดินเข้าไปในห้องนั้นเพื่อเผชิญกับสัตว์อันตรายเหล่านั้นโดยไม่สะทกสะท้าน
ห้องที่ว่างเปล่านั้นคือ ความสงบว่าง สัตว์ร้ายต่างๆ คือความหลงทุกประเภทที่อาศัยอยู่ในห้อง การอยู่กับความสงบว่างร่วมกับความหลงนานาชนิด คือ การบำเพ็ญที่แท้จริงและเป็นการฝึกเจริญมหาสติอันยิ่งใหญ่ การมีสติคือการบำเพ็ญเจริญภาวนา การเข้าสู่ธรรมชาติดั้งเดิมโดยไม่สับสน คือ ฌานที่แท้จริง ฌานสมาบัติที่แท้จึงเป็นความโปร่งโล่งกระจ่างที่สะท้อนถึงจิตเดิมแท้
ในขณะที่ ผู้บำเพ็ญ กำลังบำเพ็ญอยู่ในขั้นตอนของการบ่มเพาะเพื่อแปร พลังทางเพศ ไปเป็น พลังปราณ นั้น ผู้บำเพ็ญ จะเพ่งจิตไปที่จุดตันเถียนบริเวณท้องน้อยเป็นหลัก หลังจากผ่านขั้นตอนนี้จนสามารถสะสม หยางชี่ (ปราณหยาง) ในจุดตันเถียนได้จนเต็มบริบูรณ์ โดยมีกฎเกณฑ์มาตรฐานที่แนวทางแบบเต๋ากำหนดไว้ดังนี้ว่า
ทุกๆ การนั่ง สมาธิเต๋า หนึ่งชั่วโมง จะก่อเกิด หยางชี่ แค่ 1.3 นาที ผู้บำเพ็ญจะต้องสะสม หยางชี่ 1.3 นาทีจากทุกๆ การนั่ง สมาธิเต๋า หนึ่งชั่วโมงนี้ให้ครบเป็น หยางชี่ 81 ชั่วโมง กล่าวคือ ถ้าฝึก สมาธิเต๋า วันละหนึ่งชั่วโมงมิได้ขาดก็จะใช้เวลาสิบปีถึงจะมี หยางชี่ เต็มบริบูรณ์ในจุดตันเถียนล่าง ก่อนที่จะเลื่อนขั้นไปฝึกแปร พลังปราณ ไปเป็น พลังทางจิตวิญญาณ ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้บำเพ็ญ จะหันไปเพ่งจิตที่ จุดหนีอวน ที่ยอดศีรษะเป็นหลัก
จุดหนีอวน นี้ตั้งชื่อเลียนเสียงมาจากคำว่า “นิรวาณ” ในภาษาสันสฤกต หรือ “นิพพาน” ในภาษาบาลีอยู่ในตำแหน่งเดียวกับ ต่อมไพนีล (pineal gland) ในสมอง เมื่อ ผู้บำเพ็ญ กำหนดจิตไปที่ จุดหนีอวน บนยอดศีรษะ ในขณะที่ทำ สมาธิเต๋า หลังจากที่ผู้นั้นได้ฝึกลมปราณจุลจักรวาลจนรุดหน้าแล้ว และสามารถเดินลมผ่านเส้นชีพจรพิสดารทั้งแปด ที่วนรอบเอวไปเชื่อมกับสองแขนและสองขาได้แล้ว ผู้บำเพ็ญจะค่อยๆ ลืมเลือนร่างกายของตน ในขณะที่กำลังนั่งสมาธิ และหันไปรู้สึกถึงกระแสพลังงานในร่างกายตนแทน โดยเฉพาะที่บริเวณ จุดหนีอวน บนยอดศีรษะ
นานวันเข้า ผู้บำเพ็ญก็จะมี ประสบการณ์ ที่ทางเต๋าเรียกว่า “สามบุปผาชุมนุมบนยอดเศียร” เกิดขึ้น คือเห็นโอกาสหรือแสงสว่างเกิดขึ้นในสมองของผู้นั้น อันเป็นความรู้สึกดุจเดียวกับคนที่อยู่ในห้องมืดมิดอย่างสงบเงียบ แล้วจู่ๆ หลังคาของห้องมืดนั้นก็เปิดโล่งออกมาอย่างฉับพลัน และมีแสงอาทิตย์สอดส่องเข้ามาข้างใน “สามบุปผา” ที่ว่านี้คือพลังงานของจิง ชี่และเสิน ที่มาชุมนุมกันที่ยอดศีรษะของ ผู้บำเพ็ญ จนทำให้ผู้บำเพ็ญรู้สึกเกิดความกระจ่างแจ้งขึ้นภายในศีรษะ โดยที่แสงสว่างนี้ค่อยๆ เปล่งประกายเจิดจ้า และครอบคลุมไปทั่วร่างของผู้บำเพ็ญในที่สุด (ยังมีต่อ)