สมองใหญ่ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะต้องฉลาดเสมอไป นักวิจัยชี้กลไกสำคัญอยู่ที่การประมวลผลข้อมูลเช่นเดียวกับสมองกลคอมพิวเตอร์มากกว่า
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า การที่มนุษย์ฉลาดกว่าสัตว์อื่นเนื่องจากมีสมองใหญ่กว่า ซึ่งหมายถึงการมีเส้นประสาทเชื่อมโยงกันมากกว่า นักวิจัยยังเชื่อว่าองค์ประกอบของโปรตีนในจุดประสานประสาท (synapses) ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน
อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงระบุว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีขนาดสมองเล็กกว่าคนรุ่นปัจจุบัน โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่า ขนาดของสมองมนุษย์อาจมีวิวัฒนาการเพื่อแก้ไขจุดอ่อนบางอย่าง โดยเฉพาะความเสี่ยงระหว่างคลอดบุตร และการที่ต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำงานของสมองที่มีขนาดใหญ่
แต่นักวิจัยของสถาบันเวลคัม ทรัสต์ แซงเกอร์ในเมืองฮิงซ์ตัน เคมบริดจ์เคาน์ตี้ อังกฤษ มหาวิทยาลัยคีลีของอังกฤษเช่นกัน และมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก สก็อตแลนด์ เชื่อว่าวิวัฒนาการดังกล่าวไม่ใช่คำอธิบายทั้งหมดของเรื่องนี้ และการปฏิวัติที่สำคัญอาจมีอะไรมากไปกว่าจำนวนเซลล์สมอง
นักวิจัยกลุ่มนี้พุ่งประเด็นไปที่โปรตีน 600 ชนิดที่พบในจุดประสานประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีการศึกษาจากสัตว์สามประเภท ได้แก่ ยีสต์เซลล์เดียว แมลงวันผลไม้ และหนู ซึ่งเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญสามขั้นตอน
ผลปรากฏว่านักวิจัยพบโปรตีนเหล่านั้นเพียงครึ่งเดียวในแมลงวันผลไม้ และ 25% ในยีสต์เซลล์เดียวที่ไม่มีสมอง
ผลการค้นพบนี้บ่งชี้ว่า มีความก้าวหน้าอย่างสำคัญในวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากสัตว์เซลล์เดียวเป็นสัตว์หลายเซลล์ และการเปลี่ยนแปลงระหว่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจได้รับการกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความซับซ้อนของจุดประสานประสาท
“การปฏิวัติโมเลกุลในจุดประสานประสาทมีรูปแบบเดียวกับการปฏิวัติของชิปคอมพิวเตอร์ กล่าวคือมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นจึงทำให้มีพลังเพิ่มขึ้น
“การศึกษาของเราไม่สนับสนุนมุมมองง่ายๆ ที่ว่าการมีเส้นประสาทจำนวนมากคือคำอธิบายของการมีพลังสมองสูง แต่เราพบว่ามีความแตกต่างอย่างมากในปริมาณของโปรตีนในจุดประสานประสาทระหว่างสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ” ศาสตราจารย์เซ็ต แกรนต์ หนึ่งในผู้นำการวิจัยอธิบาย
ทีมนักวิจัยยังแจกแจงว่า จำนวนและความซับซ้อนของโปรตีนในจุดประสานประสาทเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อเกิดสัตว์หลายเซลล์ขึ้นมาบนโลกราวหลายพันล้านปีก่อน ขั้นตอนที่สองของวิวัฒนาการคือ เมื่อเกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว
“การศึกษานี้จะนำไปสู่แบบแผนใหม่ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิดและความหลากหลายของสมอง และพฤติกรรมของสัตว์ทุกสายพันธุ์ เราเข้าใกล้การทำความเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังความซับซ้อนของสมองมนุษย์อีกก้าวหนึ่งแล้ว” ศาสตราจารย์แกรนต์สำทับ
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า การที่มนุษย์ฉลาดกว่าสัตว์อื่นเนื่องจากมีสมองใหญ่กว่า ซึ่งหมายถึงการมีเส้นประสาทเชื่อมโยงกันมากกว่า นักวิจัยยังเชื่อว่าองค์ประกอบของโปรตีนในจุดประสานประสาท (synapses) ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน
อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงระบุว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีขนาดสมองเล็กกว่าคนรุ่นปัจจุบัน โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่า ขนาดของสมองมนุษย์อาจมีวิวัฒนาการเพื่อแก้ไขจุดอ่อนบางอย่าง โดยเฉพาะความเสี่ยงระหว่างคลอดบุตร และการที่ต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำงานของสมองที่มีขนาดใหญ่
แต่นักวิจัยของสถาบันเวลคัม ทรัสต์ แซงเกอร์ในเมืองฮิงซ์ตัน เคมบริดจ์เคาน์ตี้ อังกฤษ มหาวิทยาลัยคีลีของอังกฤษเช่นกัน และมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก สก็อตแลนด์ เชื่อว่าวิวัฒนาการดังกล่าวไม่ใช่คำอธิบายทั้งหมดของเรื่องนี้ และการปฏิวัติที่สำคัญอาจมีอะไรมากไปกว่าจำนวนเซลล์สมอง
นักวิจัยกลุ่มนี้พุ่งประเด็นไปที่โปรตีน 600 ชนิดที่พบในจุดประสานประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีการศึกษาจากสัตว์สามประเภท ได้แก่ ยีสต์เซลล์เดียว แมลงวันผลไม้ และหนู ซึ่งเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญสามขั้นตอน
ผลปรากฏว่านักวิจัยพบโปรตีนเหล่านั้นเพียงครึ่งเดียวในแมลงวันผลไม้ และ 25% ในยีสต์เซลล์เดียวที่ไม่มีสมอง
ผลการค้นพบนี้บ่งชี้ว่า มีความก้าวหน้าอย่างสำคัญในวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากสัตว์เซลล์เดียวเป็นสัตว์หลายเซลล์ และการเปลี่ยนแปลงระหว่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจได้รับการกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความซับซ้อนของจุดประสานประสาท
“การปฏิวัติโมเลกุลในจุดประสานประสาทมีรูปแบบเดียวกับการปฏิวัติของชิปคอมพิวเตอร์ กล่าวคือมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นจึงทำให้มีพลังเพิ่มขึ้น
“การศึกษาของเราไม่สนับสนุนมุมมองง่ายๆ ที่ว่าการมีเส้นประสาทจำนวนมากคือคำอธิบายของการมีพลังสมองสูง แต่เราพบว่ามีความแตกต่างอย่างมากในปริมาณของโปรตีนในจุดประสานประสาทระหว่างสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ” ศาสตราจารย์เซ็ต แกรนต์ หนึ่งในผู้นำการวิจัยอธิบาย
ทีมนักวิจัยยังแจกแจงว่า จำนวนและความซับซ้อนของโปรตีนในจุดประสานประสาทเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อเกิดสัตว์หลายเซลล์ขึ้นมาบนโลกราวหลายพันล้านปีก่อน ขั้นตอนที่สองของวิวัฒนาการคือ เมื่อเกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว
“การศึกษานี้จะนำไปสู่แบบแผนใหม่ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิดและความหลากหลายของสมอง และพฤติกรรมของสัตว์ทุกสายพันธุ์ เราเข้าใกล้การทำความเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังความซับซ้อนของสมองมนุษย์อีกก้าวหนึ่งแล้ว” ศาสตราจารย์แกรนต์สำทับ