ไฟแนนเชียลไทมส์ – สิงคโปร์แซงหน้าฮ่องกงในการจัดอันดับศูนย์กลางการพาณิชย์ของโลกครั้งใหม่ล่าสุด อันเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่า การชิงชัยกันที่ดำเนินอยู่ระหว่างคู่แข่งสำคัญทั้งสองเพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินแห่งเอเชีย ทางสิงคโปร์เริ่มมีภาษีดีกว่าเล็กน้อย
ในรายงานการจัดอันดับศูนย์การพาณิชย์ชั้นนำของโลกรวม 75 แห่ง ซึ่งทำโดยมาสเตอร์การ์ด ปรากฏว่าในปีนี้ฮ่องกงหล่นจากที่ 5 ของเมื่อปีที่แล้วมาอยู่ที่ 6 ขณะที่สิงคโปร์พุ่งขึ้นสองอันดับจากอันดับ 6 ปีที่แล้วมาเป็น 4 ในปีนี้ โดยที่มีคะแนนตามหลังเพียงเล็กน้อยจากที่ 3 คือโตเกียวที่หนุนหลังด้วยการมีตลาดการเงินขนาดใหญ่อยู่ภายในประเทศ ส่วนอันดับ 1 คือลอนดอน และที่ 2 ก็คือนิวยอร์ก
ผลการสำรวจนี้น่าจะสร้างความกังวลให้คณะผู้บริหารฮ่องกงเพิ่มขึ้นไม่น้อย เพราะตอนนี้ผู้บริหารฮ่องกงนั้นกำลังต้องทำสองอย่างในเวลาเดียวกันก็คือ พยายามทำให้ความสัมพันธ์ด้านการเงินกับจีนแน่นแฟ้นขึ้น แต่ก็ต้องทำให้รักษาสถานะความเป็นประตูสู่การค้าระหว่างประเทศที่มีมาแต่ดั้งเดิมเอาไว้ด้วย
การจัดอันดับของมาสเตอร์การ์ดนั้น ใช้ดัชนีคำนวณจากตัววัดความสามารถทางการพาณิชย์ 7 ด้านด้วยกัน ในขณะที่ฮ่องกงยังคงอยู่ในอันดับหนึ่งด้านศูนย์กลางธุรกิจ แต่ก็ตามสิงคโปร์อยู่ในด้านการเป็นศูนย์กลางการเงิน รวมทั้งยังเป็นรองด้านความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง ตลอดจนความน่าอยู่อีกด้วย
ตัวเลขแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์เริ่มแซงฮ่องกงตั้งแต่ในปีที่แล้ว เมื่อสิงคโปร์ผ่อนคลายระเบียบด้านการทำธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการของภาครัฐที่กำหนดเกี่ยวกับการเปิดตัวและปิดตัวของธุรกิจ การจ้างพนักงานและรวมทั้งภาระภาษีของบริษัทต่าง ๆ
ดร. ยูวา เฮดริก วอง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเขตเอเชียแปซิฟิกของมาสเตอร์เวิร์ลดิ์ไวด์ซึ่งเป็นผู้เขียนคนหนึ่งของรายงานชิ้นนี้กล่าวว่า ตอนนี้สถานะของฮ่องกงที่เป็นอันดับหนึ่งด้านศูนย์กลางธุรกิจของโลกก็กำลังถูกท้าทายไม่น้อยเลย
“แม้ว่าบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ยังคงตั้งสำนักงานใหญ่เขตเอเชียอยู่ที่ฮ่องกง แต่ก็มีสัญญาณแล้วว่าหลายบริษัทจะโยกย้ายแผนกต่าง ๆเข้าไปที่เซี่ยงไฮ้ แม้ว่าฮ่องกงยังจะอยู่ในอันดับหนึ่งแต่ก็ง่อนแง่นเต็มที”
ดร เฮดริก วองยังได้กล่าวอีกว่าฮ่องกงควรจะปรับตัวให้ดีขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศหากว่าต้องการที่จะเลื่อนอันดับให้ดีกว่านี้
“การขยายตัวของจีนและเซี่ยงไฮ้นั้นแน่นอนว่าอยู่เกินกว่าการควบคุมของฮ่องกง แม้กระนั้นพวกผู้บริหารในฮ่องกงจะต้องเร่งกระตุ้นประสิทธิภาพด้านอื่น ๆอย่างเช่น พัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ, เปิดเสรีระเบียบด้านแรงงานเข้าเมือง รวมทั้งลดภาวะมลพิษลงด้วย”
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ดึงดูดความสนใจของบรรษัทข้ามชาตินานา ด้วยการลดภาษีอย่างกล้าหาญ รวมทั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมวาณิชธนกิจและเฮดจ์ฟันด์ โดยใช้ระเบียบกำกับดูแลภาคธุรกิจนี้ที่มีความก้าวหน้าและสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ยิ่งกว่าที่ฮ่องกงมาก
อนึ่ง ในดัชนีมาสเตอร์การ์ดปีนี้ มีเมืองต่างๆ ของจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับอยู่ 5 แห่ง กล่าวคือ เซี่ยงไฮ้ไต่ขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 8 จากที่ 24 เมื่อปีก่อน ในขณะที่ปักกิ่งอยู่ที่ 57 เซินเจิ้นอยู่ที่ 60 เฉิงตูเมืองเอกของมณฑลเสฉวนซึ่งเพิ่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อยู่ในอันดับ 72 ส่วนฉงชิ่งอยู่ในอันดับ 73
ทางด้านอินเดียนั้น ก็มีมุมไบอยู่อันดับที่ 48, นิวเดลีอยู่ที่ 61 และบังกาลอร์ในอันดับ 66
ในรายงานการจัดอันดับศูนย์การพาณิชย์ชั้นนำของโลกรวม 75 แห่ง ซึ่งทำโดยมาสเตอร์การ์ด ปรากฏว่าในปีนี้ฮ่องกงหล่นจากที่ 5 ของเมื่อปีที่แล้วมาอยู่ที่ 6 ขณะที่สิงคโปร์พุ่งขึ้นสองอันดับจากอันดับ 6 ปีที่แล้วมาเป็น 4 ในปีนี้ โดยที่มีคะแนนตามหลังเพียงเล็กน้อยจากที่ 3 คือโตเกียวที่หนุนหลังด้วยการมีตลาดการเงินขนาดใหญ่อยู่ภายในประเทศ ส่วนอันดับ 1 คือลอนดอน และที่ 2 ก็คือนิวยอร์ก
ผลการสำรวจนี้น่าจะสร้างความกังวลให้คณะผู้บริหารฮ่องกงเพิ่มขึ้นไม่น้อย เพราะตอนนี้ผู้บริหารฮ่องกงนั้นกำลังต้องทำสองอย่างในเวลาเดียวกันก็คือ พยายามทำให้ความสัมพันธ์ด้านการเงินกับจีนแน่นแฟ้นขึ้น แต่ก็ต้องทำให้รักษาสถานะความเป็นประตูสู่การค้าระหว่างประเทศที่มีมาแต่ดั้งเดิมเอาไว้ด้วย
การจัดอันดับของมาสเตอร์การ์ดนั้น ใช้ดัชนีคำนวณจากตัววัดความสามารถทางการพาณิชย์ 7 ด้านด้วยกัน ในขณะที่ฮ่องกงยังคงอยู่ในอันดับหนึ่งด้านศูนย์กลางธุรกิจ แต่ก็ตามสิงคโปร์อยู่ในด้านการเป็นศูนย์กลางการเงิน รวมทั้งยังเป็นรองด้านความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง ตลอดจนความน่าอยู่อีกด้วย
ตัวเลขแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์เริ่มแซงฮ่องกงตั้งแต่ในปีที่แล้ว เมื่อสิงคโปร์ผ่อนคลายระเบียบด้านการทำธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการของภาครัฐที่กำหนดเกี่ยวกับการเปิดตัวและปิดตัวของธุรกิจ การจ้างพนักงานและรวมทั้งภาระภาษีของบริษัทต่าง ๆ
ดร. ยูวา เฮดริก วอง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเขตเอเชียแปซิฟิกของมาสเตอร์เวิร์ลดิ์ไวด์ซึ่งเป็นผู้เขียนคนหนึ่งของรายงานชิ้นนี้กล่าวว่า ตอนนี้สถานะของฮ่องกงที่เป็นอันดับหนึ่งด้านศูนย์กลางธุรกิจของโลกก็กำลังถูกท้าทายไม่น้อยเลย
“แม้ว่าบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ยังคงตั้งสำนักงานใหญ่เขตเอเชียอยู่ที่ฮ่องกง แต่ก็มีสัญญาณแล้วว่าหลายบริษัทจะโยกย้ายแผนกต่าง ๆเข้าไปที่เซี่ยงไฮ้ แม้ว่าฮ่องกงยังจะอยู่ในอันดับหนึ่งแต่ก็ง่อนแง่นเต็มที”
ดร เฮดริก วองยังได้กล่าวอีกว่าฮ่องกงควรจะปรับตัวให้ดีขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศหากว่าต้องการที่จะเลื่อนอันดับให้ดีกว่านี้
“การขยายตัวของจีนและเซี่ยงไฮ้นั้นแน่นอนว่าอยู่เกินกว่าการควบคุมของฮ่องกง แม้กระนั้นพวกผู้บริหารในฮ่องกงจะต้องเร่งกระตุ้นประสิทธิภาพด้านอื่น ๆอย่างเช่น พัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ, เปิดเสรีระเบียบด้านแรงงานเข้าเมือง รวมทั้งลดภาวะมลพิษลงด้วย”
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ดึงดูดความสนใจของบรรษัทข้ามชาตินานา ด้วยการลดภาษีอย่างกล้าหาญ รวมทั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมวาณิชธนกิจและเฮดจ์ฟันด์ โดยใช้ระเบียบกำกับดูแลภาคธุรกิจนี้ที่มีความก้าวหน้าและสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ยิ่งกว่าที่ฮ่องกงมาก
อนึ่ง ในดัชนีมาสเตอร์การ์ดปีนี้ มีเมืองต่างๆ ของจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับอยู่ 5 แห่ง กล่าวคือ เซี่ยงไฮ้ไต่ขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 8 จากที่ 24 เมื่อปีก่อน ในขณะที่ปักกิ่งอยู่ที่ 57 เซินเจิ้นอยู่ที่ 60 เฉิงตูเมืองเอกของมณฑลเสฉวนซึ่งเพิ่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อยู่ในอันดับ 72 ส่วนฉงชิ่งอยู่ในอันดับ 73
ทางด้านอินเดียนั้น ก็มีมุมไบอยู่อันดับที่ 48, นิวเดลีอยู่ที่ 61 และบังกาลอร์ในอันดับ 66