นักวิจัยอเมริกันเผยสาเหตุของอันตรายจากการขับไปคุยไป ระบุการรบกวนจากภาษาต่อภารกิจที่ต้องใช้สายตา และการพูดคุยที่ทำให้สมองรับภาระมากกว่าการฟังคือต้นเหตุสำคัญ ไม่เกี่ยวกับการละมือจากพวงมาลัยไปถือโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นแฮนด์ฟรีจึงไม่ได้ทำให้ปลอดภัยขึ้น
ดร.เอมิต อัลเมอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา และทิม บอยโท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ร่วมกันวัดระดับความสนใจของกลุ่มตัวอย่าง 94 คนและพบว่า การพูดหรือการเตรียมที่จะพูดเบี่ยงเบนความสนใจได้มากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียวถึงสี่เท่า
ในการศึกษา อาสาสมัครถูกขอให้ทำภารกิจที่ต้องใช้สายตา เช่น การใช้เมาส์ไล่ตามเป้าหมายที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมกับการฟังเสียงเทปการบรรยาย โดยเสียงจะดังมาจากทั้งด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านข้าง
งานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเอ็กเพริเมนต์ ไซโคโลจี้ แสดงให้เห็นว่าภารกิจที่ต้องใช้สายตาลุล่วงง่ายกว่าเมื่อเปิดเสียงบรรยายจากด้านหน้า แม้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างอย่างชัดเจนเหมือนกับผลระหว่างการฟังกับการพูดก็ตาม บ่งชี้ว่าการทำภารกิจหลายอย่างที่ต้องใช้ความสนใจในพื้นที่หรือทิศทางเดียวกันจะทำได้ง่ายกว่า
นักวิจัยทำการทดลองซ้ำกับเพื่อน 20 คู่ แต่ครั้งนี้เป็นการพูดคุยกันสดๆ พร้อมทำภารกิจเดิม ซึ่งบ่งชี้ว่ายิ่งถูกกระตุ้นให้พูดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ความสนใจถูกเบี่ยงเบนไปจากภารกิจมากขึ้นเท่านั้น
อัลเมอร์อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อทำการทดลองนี้โดยเปลี่ยนภารกิจเป็นการขับรถ ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีไม่ได้ช่วยอะไร และเสริมว่าการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถต่างจากการคุยกับคนที่อยู่บนรถด้วยกัน
“การมีคนนั่งมาในรถด้วย จะเท่ากับมีตาพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกคู่ และสามารถเตือนคนขับได้ ขณะที่คนในสายทำแบบนี้ไม่ได้”
ดร.เอมิต อัลเมอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา และทิม บอยโท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ร่วมกันวัดระดับความสนใจของกลุ่มตัวอย่าง 94 คนและพบว่า การพูดหรือการเตรียมที่จะพูดเบี่ยงเบนความสนใจได้มากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียวถึงสี่เท่า
ในการศึกษา อาสาสมัครถูกขอให้ทำภารกิจที่ต้องใช้สายตา เช่น การใช้เมาส์ไล่ตามเป้าหมายที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมกับการฟังเสียงเทปการบรรยาย โดยเสียงจะดังมาจากทั้งด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านข้าง
งานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเอ็กเพริเมนต์ ไซโคโลจี้ แสดงให้เห็นว่าภารกิจที่ต้องใช้สายตาลุล่วงง่ายกว่าเมื่อเปิดเสียงบรรยายจากด้านหน้า แม้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างอย่างชัดเจนเหมือนกับผลระหว่างการฟังกับการพูดก็ตาม บ่งชี้ว่าการทำภารกิจหลายอย่างที่ต้องใช้ความสนใจในพื้นที่หรือทิศทางเดียวกันจะทำได้ง่ายกว่า
นักวิจัยทำการทดลองซ้ำกับเพื่อน 20 คู่ แต่ครั้งนี้เป็นการพูดคุยกันสดๆ พร้อมทำภารกิจเดิม ซึ่งบ่งชี้ว่ายิ่งถูกกระตุ้นให้พูดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ความสนใจถูกเบี่ยงเบนไปจากภารกิจมากขึ้นเท่านั้น
อัลเมอร์อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อทำการทดลองนี้โดยเปลี่ยนภารกิจเป็นการขับรถ ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีไม่ได้ช่วยอะไร และเสริมว่าการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถต่างจากการคุยกับคนที่อยู่บนรถด้วยกัน
“การมีคนนั่งมาในรถด้วย จะเท่ากับมีตาพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกคู่ และสามารถเตือนคนขับได้ ขณะที่คนในสายทำแบบนี้ไม่ได้”