"อภิสิทธิ์" เตรียมหารือประธานสภา ให้เจรจาพรรคร่วมรัฐบาล เลิกคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ร้อน จี้รัฐบาลทบทวนท่าทีแข็งกร้าว ปชป.ไฟเขียว ส.ส.สังเกตการณ์ม็อบได้ แต่ห้ามขึ้นเวทีปราศรัย จับตา 9 มิ.ย. วันเปิดสภาวิสามัญ ชี้รัฐบาลยังหาจังหวะสลายม็อบ
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (1มิ.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุม ส.ส.ของพรรคนัดพิเศษ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานที่ประชุม โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภายหลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้แสดงท่าทีที่จะให้กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว สลายตัวไป
สำหรับบรรยากาศการประชุม ได้มีส.ส.หลายคนลุกขึ้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย โดยมีการวิเคราะห์ว่า ถ้านายสมัคร ไปประกาศจะแตกหัก จะสลายการชุมนุม กลุ่มพันธมิตรฯ อาจจะไม่มีประเด็น หรือเหตุผลที่จะมารองรับการชุมนุมต่อไป แต่นายสมัคร กลับประกาศจะสลายการชุมนุมด้วยท่าทีแข็งกร้าว จึงกลายเป็นโชคของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่จะชุมนุมต่อ และวิธีเดียวในตอนนี้คือ รัฐบาลต้องหยุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น และยอมให้มีการชุมนุมต่อไปได้
**จับตา 9มิ.ย.วันเปิดสภาวิสามัญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมส่วนใหญ่อนุญาตให้ส.ส.ของพรรคไปสังเกตการณ์การชุมนุมได้ แต่ถ้าจะขึ้นเวทีปราศรัย ต้องคิดให้รอบคอบก่อน เพราะพรรคอาจจะถูกโจมตีว่าอยู่เบื้องหลังการชุมนุม และทำให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือของกลุ่มนี้ลดลง เนื่องจากถูกมองว่า มีส่วนได้ส่วนเสียในทางการเมือง อีกทั้งยังเชื่อว่ารัฐบาลยังมีความคิดที่จะสลายการชุมนุม เพียงแต่กำลังรอจังหวะที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการชุมนุมดังกล่าวจะยืดเยื้อไปถึงวันที่ 9 มิ.ย.นี้ ที่เป็นวันเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ และส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เชื่อว่าสถานการณ์จะยิ่งรุนแรง และบานปลายได้ จึงขอให้ส.ส.ทุกคนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ภายหลังการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคมีความเป็นห่วงใยต่อประเทศ เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสลายการชุมนุม และใช้ความรุนแรงจัดการกับประชาชนที่มาชุมนุม ซึ่งพรรคไม่ต้องการเห็นความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น และอยากให้ประชาชนคนไทยสามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสวงหาทางออก เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า โดยขอให้รัฐบาลยึดการดำเนินการดังนี้
1. ขอให้นายกฯ ต้องไม่ทำอะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะจากสถานการณ์ความตึงเครียด เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา จากการประกาศขั้นแตกหักของนายกฯ แม้จะมีการคลี่คลายลงมาระดับหนึ่ง จากการให้สัมภาษณ์ของ รมว.มหาดไทย แต่นายกฯยังมียืนยันท่าทีเช่นเดิมว่า จะไม่ให้ประชาชนชุมนุมต่อไป พรรคจึงขอให้รัฐบาลทบทวนท่าที และวิธีการสื่อสารกับประชาชน
2. รัฐบาลยอมประกาศยุติต้นตอความขัดแย้ง คือการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้งในการประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญและการเดินหน้าการทำประชามติที่ไม่น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง และมีวาระแอบแฝง ซึ่งถ้ายุติเรื่องเหล่านี้ได้ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและคลี่คลายสถานการณ์ได้
**ถกปธ.สภาหาทางยุติความขัดแย้ง
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า สำหรับพรรคจะพยายามหาวิธีที่จะให้บ้านเมืองเดินไปอย่างมีเป้าหมายและสงบสุข โดยในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ได้นัดตน และคณะกรรมการประสานงาน(วิป) พรรคฝ่ายค้านไปหารือร่วมกับวิปรัฐบาล เกี่ยวกับการเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ ซึ่งตนจะถือโอกาสนี้เสนอให้ประธานสภาฯ มีบทบาทในการแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าว โดยการใช้อำนาจความเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ไปพูดคุยกับทุกพรรคการเมืองที่มีส.ส.ในสภาฯ เพื่อให้ส.ส.ทั้งหมดให้ความมั่นใจได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง และทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม
"ผมอยากวิงวอนไปถึงเพื่อน ส.ส.ทุกคนว่าทางที่ดีที่สุด คือ อย่าเพิ่งไปยื่นแก้รัฐธรรมนูญเลย ควรช่วยกันแก้ไขความขัดแย้งในบ้านเมืองก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบ เพื่อให้รัฐบาลได้ทำงานและบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า อย่าเพิ่งไปสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอีก" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่าจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการขับไล่รัฐบาล ขณะที่มี ส.ส.ของพรรคเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มนี้ด้วย เกรงหรือไม่ที่จะถูกมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ร่วมขับไล่รัฐบาลด้วย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้าใครเคลื่อนไหวภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิของแต่ละคน ส่วนจะมีจุดยืนอย่างไร พรรคจะไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง
**ปชป.ไม่เชื่อลมปาก"หมัก"
ทั้งนี้ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนการประชุมว่านาย อภิสิทธิ์ ได้เรียกประชุมด่วนแกนนำพรรค กรรมการบริหารพรรค และส.ส.ของพรรค เพื่อประเมินสถานการณ์ และติดตามการดำเนินการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม อย่างใกล้ชิด เนื่องจากจากคำแถลงของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะเข้าสลายการชุมนุม ต่อเนื่องมาถึง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย บอกว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม และนายกฯ ก็ออกมาพูดเมื่อเช้าอีก โดยพยายามอธิบายว่าไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะสลายการชุมนุม ก็ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ
นายองอาจ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาผู้ชุมนุม อยู่ในขั้นตอนที่สุ่มเสี่ยง ขาดความรอบคอบ ระมัดระวังและพยายามใช้เงื่อนไขที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมมาดำเนินการก่อให้เกิดผลกระทบกับประเทศต่อไป ซึ่งวันนี้นายกฯ ได้แสดงตัวตนออกมาอีกครั้ง ในการพยายามเอาสีข้างเข้าถู เพราะออกมาบอกว่า คำพูดเมื่อวานนี้ไม่ได้เป็นคำสั่งเพื่อที่จะให้สลายการชุมนุม และจะไม่มีการใช้กำลัง ถ้ากำลังตำรวจเข้าไปก็จะให้ทีวี เข้าไปถ่ายทอดด้วย
“คำพูดของนายกฯวันนี้ แตกต่างจากเมื่อวาน เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ นักการเมือง ฝ่ายค้าน หรือรัฐบาล ต่างมีความเห็นตรงกันว่า คำพูดของนากยกฯใช้คำแตกหัก เพราะจะเอาตำรวจทหารเข้าไปดำเนินการ ไม่ว่านายกฯ จะใช้คำอะไรในวันนี้ ก็ไม่สามารถลบล้างที่ท่านแสดงออกเมื่อวาน และแม้เมื่อวานจะไม่ใช้คำพูดว่าสลายการชุมนุม แต่องค์ประกอบโดยรวมก็ไม่สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้ ทำให้วันนี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต้องกลับจากภาระกิจในต่างจังหวัดและเรียกประชุมแกนนำด่วน เพื่อประเมินสถานการณ์ เพราะไม่เชื่อมั่นรัฐบาล ที่พูดกลับไป กลับมา จะตีสองหน้าหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจ ในการแก้ปัญหานี้อย่างแท้จริง" นายองอาจกล่าว
**จวกรัฐบาลสร้างเงื่อนไขการชุมนุม
นายองอาจ กล่าวต่อว่า อยากฝากถึงรัฐบาล อย่ามองปัญหาอย่างผิวเผิน และอย่ามองเรื่องการกีดขวางจราจร เพราะเป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่คนมาชุมนุม ก็เพราะรัฐบาลสร้างเงื่อนไข ที่เริ่มจากการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เมื่อเห็นว่าประชาชนไม่ทำอะไร ก็ออกมาแก้ไขมาตรา 309 จนกระทั่งมาถึง การแก้ทั้งฉบับ ยกเว้นเพียงสองมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ และเมื่อประชาชนจับได้ไล่ทัน ก็แก้เกี้ยวได้การเสนอทำประชามติ สะท้อนให้เห็นว่า เล่นเล่ห์เพทุบาย สร้างเกมการเมืองเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ มากกว่าจะแก้ที่ปลายเหตุ
นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยัง มีข้อเสนอถึงรัฐบาลดังนี้
1. ให้อดทน อดกลั้น ในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลต้องพึงระวังเสมอว่าใครที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลก็มีสิทธิที่จะชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่ถ้าทำอะไรที่ผิดกฎหมายก็สามารถจัดการได้ แต่ไม่ควรใช้กำลัง
2. รัฐบาลต้องยุติการสร้างเงื่อนไข ใดๆ ที่จะเกิดการชุมนุมขึ้นมาอีก
3. รัฐบาลต้องยุติการใช้อำนาจเกินขอบเขต และการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลต้องยุติการเล่นเล่ห์เพทุบาย อย่างมองประเทศชาติเป็นเกม เอาชนะคะคานกัน เมื่อเป็นรัฐบาลก็ต้องคำนึงถึงความสงบสุขของประชาชนแม้จะเข้ามาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ต้องมีความชอบธรรมด้วย ยกตัวอย่างการขายหุ้นของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ขาดความชอบธรรม รวมทั้งกรณีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยการยกมือสนับสนุนของส.ส.ซึ่งแม้จะชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ชอบธรรม เพราะว่ามาจากการยึดอำนาจและส.ส.ก็ซื้อเสียงเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้นำบทเรียนไปทบทวนด้วย
**เตือนอย่าใช้พ.ร.ก.สลายชุมนุม
นายองอาจ กล่าวอีกว่า จากการที่มีรายงานข่าวมาจากกระทรวงกลาโหมที่มีนายสมัครเป็น รมว.กลาโหม ว่าจะมีการหยิบยก พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เข้ามาดำเนินการกับผู้ชุมนุมที่สามารถทำให้ตำรวจ ทหาร สามารถใช้กำลัง อาวุธ วิธีการหลายรุปแบบที่จะดำเนินการ จึงขอเตือนว่า อย่าพยายามใช้ พ.ร.ก.นี้กับผู้ชุมนุม เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช่อาชญากร หรือผู้ก่ออาชญากรรม หรือผู้ทำลายความมั่นคงของประเทศ หากมีการทำผิดอะไรก็ต้องจัดการตามกฎหมาย
“ผมขอเตือนรัฐบาลว่า แม้จะมีความพยายามจับกุมแกนนำทั้ง5 ของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่สามารถยุติการชุมนุมนี้ได้ เพราะการเรียกร้องเกิดความกลุ่มคนที่มีความคิดที่ ดังนั้นอย่าใช้เงื่อนไข หรืออำนาจจัดการ เพราปัญหาการเมืองเป็นเรื่องความคิดที่แตกต่าง ไม่ว่าจะจับกุมแกนนำอย่างไรก็จะมีคนใหม่เข้ามาทดแทน หากรัฐบาลบริหารราชการตามปกติไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญใครจะมาชุมนุมได้ ทุกคนให้โอกาสรัฐบาลแล้ว แต่ดูเหมือนรัฐบาลจะใช้โอกาสใช้เหลือแบบปล่อยไปวัน ๆ สุดท้ายก็จะหมดโอกาส"
**จวก"เหลิม"รู้แล้วทำไมไม่จับ
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการที่ ร.ต.อ.เฉลิม ประกาศจะไม่มีการสลายการชุมนุม เพราะมีการสกัดกั้นกลุ่มมือที่ 3 ได้แล้ว และพบว่ามีการชุมนุมที่สำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่ง ที่ย่านบางโพ เพื่อวางแผนวางระเบิด และยิงผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น ตนอยากถามว่า ถ้ารมว.หมาดไทย ทราบข้อมูลเชิงลึกเช่นนี้ ก็ควรที่จะมีการดำเนินการ และขณะนี้ได้ดำเนินการอย่างไรไปบ้างแล้ว และเหตุใดจึงอออกมาพูดกับสื่อแทนที่จะเก็บไว้เป็นความลับ แล้วสั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปจัดการกับคนที่จะทำร้ายประชาชน แต่กลับเอามาเป็นเหตุที่จะไม่สลายการชุมนุม
"ตอนนี้มท. 1 กำลังสร้างตัวละคร ตัวใหม่ ซึ่งความจริงอาจไม่มีจริงในสถานการณ์ครั้งนี้ เหมือนอย่างที่เคยสร้างสำเร็จมาแล้ว เหมือนอย่างที่เคยสร้างไอ้ปื้ด นั่นเอง กับพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่น่าเชื่อถือ ที่กลับคำพูดว่าจะไม่สลายการชุมนุม เพราะว่ามีประชาชนออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อมีเป้าหมาย ให้กลุ่มผู้ชุมนุมมาร่วมน้อยลง และก็จะมาสลายในอีกไม่ช้า อยากเรียกร้องว่า การแก้ปัญหาการชุมนุม ต้องทำอย่างตรงไป ตรงมา งดใช้ความรุนแรงใดๆ " นายสาธิตกล่าว
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (1มิ.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุม ส.ส.ของพรรคนัดพิเศษ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานที่ประชุม โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภายหลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้แสดงท่าทีที่จะให้กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว สลายตัวไป
สำหรับบรรยากาศการประชุม ได้มีส.ส.หลายคนลุกขึ้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย โดยมีการวิเคราะห์ว่า ถ้านายสมัคร ไปประกาศจะแตกหัก จะสลายการชุมนุม กลุ่มพันธมิตรฯ อาจจะไม่มีประเด็น หรือเหตุผลที่จะมารองรับการชุมนุมต่อไป แต่นายสมัคร กลับประกาศจะสลายการชุมนุมด้วยท่าทีแข็งกร้าว จึงกลายเป็นโชคของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่จะชุมนุมต่อ และวิธีเดียวในตอนนี้คือ รัฐบาลต้องหยุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น และยอมให้มีการชุมนุมต่อไปได้
**จับตา 9มิ.ย.วันเปิดสภาวิสามัญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมส่วนใหญ่อนุญาตให้ส.ส.ของพรรคไปสังเกตการณ์การชุมนุมได้ แต่ถ้าจะขึ้นเวทีปราศรัย ต้องคิดให้รอบคอบก่อน เพราะพรรคอาจจะถูกโจมตีว่าอยู่เบื้องหลังการชุมนุม และทำให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือของกลุ่มนี้ลดลง เนื่องจากถูกมองว่า มีส่วนได้ส่วนเสียในทางการเมือง อีกทั้งยังเชื่อว่ารัฐบาลยังมีความคิดที่จะสลายการชุมนุม เพียงแต่กำลังรอจังหวะที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการชุมนุมดังกล่าวจะยืดเยื้อไปถึงวันที่ 9 มิ.ย.นี้ ที่เป็นวันเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ และส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เชื่อว่าสถานการณ์จะยิ่งรุนแรง และบานปลายได้ จึงขอให้ส.ส.ทุกคนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ภายหลังการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคมีความเป็นห่วงใยต่อประเทศ เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสลายการชุมนุม และใช้ความรุนแรงจัดการกับประชาชนที่มาชุมนุม ซึ่งพรรคไม่ต้องการเห็นความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น และอยากให้ประชาชนคนไทยสามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสวงหาทางออก เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า โดยขอให้รัฐบาลยึดการดำเนินการดังนี้
1. ขอให้นายกฯ ต้องไม่ทำอะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะจากสถานการณ์ความตึงเครียด เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา จากการประกาศขั้นแตกหักของนายกฯ แม้จะมีการคลี่คลายลงมาระดับหนึ่ง จากการให้สัมภาษณ์ของ รมว.มหาดไทย แต่นายกฯยังมียืนยันท่าทีเช่นเดิมว่า จะไม่ให้ประชาชนชุมนุมต่อไป พรรคจึงขอให้รัฐบาลทบทวนท่าที และวิธีการสื่อสารกับประชาชน
2. รัฐบาลยอมประกาศยุติต้นตอความขัดแย้ง คือการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้งในการประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญและการเดินหน้าการทำประชามติที่ไม่น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง และมีวาระแอบแฝง ซึ่งถ้ายุติเรื่องเหล่านี้ได้ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและคลี่คลายสถานการณ์ได้
**ถกปธ.สภาหาทางยุติความขัดแย้ง
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า สำหรับพรรคจะพยายามหาวิธีที่จะให้บ้านเมืองเดินไปอย่างมีเป้าหมายและสงบสุข โดยในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ได้นัดตน และคณะกรรมการประสานงาน(วิป) พรรคฝ่ายค้านไปหารือร่วมกับวิปรัฐบาล เกี่ยวกับการเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ ซึ่งตนจะถือโอกาสนี้เสนอให้ประธานสภาฯ มีบทบาทในการแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าว โดยการใช้อำนาจความเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ไปพูดคุยกับทุกพรรคการเมืองที่มีส.ส.ในสภาฯ เพื่อให้ส.ส.ทั้งหมดให้ความมั่นใจได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง และทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม
"ผมอยากวิงวอนไปถึงเพื่อน ส.ส.ทุกคนว่าทางที่ดีที่สุด คือ อย่าเพิ่งไปยื่นแก้รัฐธรรมนูญเลย ควรช่วยกันแก้ไขความขัดแย้งในบ้านเมืองก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบ เพื่อให้รัฐบาลได้ทำงานและบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า อย่าเพิ่งไปสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอีก" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่าจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการขับไล่รัฐบาล ขณะที่มี ส.ส.ของพรรคเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มนี้ด้วย เกรงหรือไม่ที่จะถูกมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ร่วมขับไล่รัฐบาลด้วย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้าใครเคลื่อนไหวภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิของแต่ละคน ส่วนจะมีจุดยืนอย่างไร พรรคจะไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง
**ปชป.ไม่เชื่อลมปาก"หมัก"
ทั้งนี้ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนการประชุมว่านาย อภิสิทธิ์ ได้เรียกประชุมด่วนแกนนำพรรค กรรมการบริหารพรรค และส.ส.ของพรรค เพื่อประเมินสถานการณ์ และติดตามการดำเนินการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม อย่างใกล้ชิด เนื่องจากจากคำแถลงของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะเข้าสลายการชุมนุม ต่อเนื่องมาถึง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย บอกว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม และนายกฯ ก็ออกมาพูดเมื่อเช้าอีก โดยพยายามอธิบายว่าไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะสลายการชุมนุม ก็ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ
นายองอาจ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาผู้ชุมนุม อยู่ในขั้นตอนที่สุ่มเสี่ยง ขาดความรอบคอบ ระมัดระวังและพยายามใช้เงื่อนไขที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมมาดำเนินการก่อให้เกิดผลกระทบกับประเทศต่อไป ซึ่งวันนี้นายกฯ ได้แสดงตัวตนออกมาอีกครั้ง ในการพยายามเอาสีข้างเข้าถู เพราะออกมาบอกว่า คำพูดเมื่อวานนี้ไม่ได้เป็นคำสั่งเพื่อที่จะให้สลายการชุมนุม และจะไม่มีการใช้กำลัง ถ้ากำลังตำรวจเข้าไปก็จะให้ทีวี เข้าไปถ่ายทอดด้วย
“คำพูดของนายกฯวันนี้ แตกต่างจากเมื่อวาน เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ นักการเมือง ฝ่ายค้าน หรือรัฐบาล ต่างมีความเห็นตรงกันว่า คำพูดของนากยกฯใช้คำแตกหัก เพราะจะเอาตำรวจทหารเข้าไปดำเนินการ ไม่ว่านายกฯ จะใช้คำอะไรในวันนี้ ก็ไม่สามารถลบล้างที่ท่านแสดงออกเมื่อวาน และแม้เมื่อวานจะไม่ใช้คำพูดว่าสลายการชุมนุม แต่องค์ประกอบโดยรวมก็ไม่สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้ ทำให้วันนี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต้องกลับจากภาระกิจในต่างจังหวัดและเรียกประชุมแกนนำด่วน เพื่อประเมินสถานการณ์ เพราะไม่เชื่อมั่นรัฐบาล ที่พูดกลับไป กลับมา จะตีสองหน้าหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจ ในการแก้ปัญหานี้อย่างแท้จริง" นายองอาจกล่าว
**จวกรัฐบาลสร้างเงื่อนไขการชุมนุม
นายองอาจ กล่าวต่อว่า อยากฝากถึงรัฐบาล อย่ามองปัญหาอย่างผิวเผิน และอย่ามองเรื่องการกีดขวางจราจร เพราะเป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่คนมาชุมนุม ก็เพราะรัฐบาลสร้างเงื่อนไข ที่เริ่มจากการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เมื่อเห็นว่าประชาชนไม่ทำอะไร ก็ออกมาแก้ไขมาตรา 309 จนกระทั่งมาถึง การแก้ทั้งฉบับ ยกเว้นเพียงสองมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ และเมื่อประชาชนจับได้ไล่ทัน ก็แก้เกี้ยวได้การเสนอทำประชามติ สะท้อนให้เห็นว่า เล่นเล่ห์เพทุบาย สร้างเกมการเมืองเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ มากกว่าจะแก้ที่ปลายเหตุ
นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยัง มีข้อเสนอถึงรัฐบาลดังนี้
1. ให้อดทน อดกลั้น ในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลต้องพึงระวังเสมอว่าใครที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลก็มีสิทธิที่จะชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่ถ้าทำอะไรที่ผิดกฎหมายก็สามารถจัดการได้ แต่ไม่ควรใช้กำลัง
2. รัฐบาลต้องยุติการสร้างเงื่อนไข ใดๆ ที่จะเกิดการชุมนุมขึ้นมาอีก
3. รัฐบาลต้องยุติการใช้อำนาจเกินขอบเขต และการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลต้องยุติการเล่นเล่ห์เพทุบาย อย่างมองประเทศชาติเป็นเกม เอาชนะคะคานกัน เมื่อเป็นรัฐบาลก็ต้องคำนึงถึงความสงบสุขของประชาชนแม้จะเข้ามาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ต้องมีความชอบธรรมด้วย ยกตัวอย่างการขายหุ้นของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ขาดความชอบธรรม รวมทั้งกรณีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยการยกมือสนับสนุนของส.ส.ซึ่งแม้จะชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ชอบธรรม เพราะว่ามาจากการยึดอำนาจและส.ส.ก็ซื้อเสียงเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้นำบทเรียนไปทบทวนด้วย
**เตือนอย่าใช้พ.ร.ก.สลายชุมนุม
นายองอาจ กล่าวอีกว่า จากการที่มีรายงานข่าวมาจากกระทรวงกลาโหมที่มีนายสมัครเป็น รมว.กลาโหม ว่าจะมีการหยิบยก พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เข้ามาดำเนินการกับผู้ชุมนุมที่สามารถทำให้ตำรวจ ทหาร สามารถใช้กำลัง อาวุธ วิธีการหลายรุปแบบที่จะดำเนินการ จึงขอเตือนว่า อย่าพยายามใช้ พ.ร.ก.นี้กับผู้ชุมนุม เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช่อาชญากร หรือผู้ก่ออาชญากรรม หรือผู้ทำลายความมั่นคงของประเทศ หากมีการทำผิดอะไรก็ต้องจัดการตามกฎหมาย
“ผมขอเตือนรัฐบาลว่า แม้จะมีความพยายามจับกุมแกนนำทั้ง5 ของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่สามารถยุติการชุมนุมนี้ได้ เพราะการเรียกร้องเกิดความกลุ่มคนที่มีความคิดที่ ดังนั้นอย่าใช้เงื่อนไข หรืออำนาจจัดการ เพราปัญหาการเมืองเป็นเรื่องความคิดที่แตกต่าง ไม่ว่าจะจับกุมแกนนำอย่างไรก็จะมีคนใหม่เข้ามาทดแทน หากรัฐบาลบริหารราชการตามปกติไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญใครจะมาชุมนุมได้ ทุกคนให้โอกาสรัฐบาลแล้ว แต่ดูเหมือนรัฐบาลจะใช้โอกาสใช้เหลือแบบปล่อยไปวัน ๆ สุดท้ายก็จะหมดโอกาส"
**จวก"เหลิม"รู้แล้วทำไมไม่จับ
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการที่ ร.ต.อ.เฉลิม ประกาศจะไม่มีการสลายการชุมนุม เพราะมีการสกัดกั้นกลุ่มมือที่ 3 ได้แล้ว และพบว่ามีการชุมนุมที่สำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่ง ที่ย่านบางโพ เพื่อวางแผนวางระเบิด และยิงผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น ตนอยากถามว่า ถ้ารมว.หมาดไทย ทราบข้อมูลเชิงลึกเช่นนี้ ก็ควรที่จะมีการดำเนินการ และขณะนี้ได้ดำเนินการอย่างไรไปบ้างแล้ว และเหตุใดจึงอออกมาพูดกับสื่อแทนที่จะเก็บไว้เป็นความลับ แล้วสั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปจัดการกับคนที่จะทำร้ายประชาชน แต่กลับเอามาเป็นเหตุที่จะไม่สลายการชุมนุม
"ตอนนี้มท. 1 กำลังสร้างตัวละคร ตัวใหม่ ซึ่งความจริงอาจไม่มีจริงในสถานการณ์ครั้งนี้ เหมือนอย่างที่เคยสร้างสำเร็จมาแล้ว เหมือนอย่างที่เคยสร้างไอ้ปื้ด นั่นเอง กับพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่น่าเชื่อถือ ที่กลับคำพูดว่าจะไม่สลายการชุมนุม เพราะว่ามีประชาชนออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อมีเป้าหมาย ให้กลุ่มผู้ชุมนุมมาร่วมน้อยลง และก็จะมาสลายในอีกไม่ช้า อยากเรียกร้องว่า การแก้ปัญหาการชุมนุม ต้องทำอย่างตรงไป ตรงมา งดใช้ความรุนแรงใดๆ " นายสาธิตกล่าว