นี่อาจเป็นภัตตาคารระดับเอ็กซ์คลูซีฟที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะนอกจากจะมีระบบรักษาความปลอดภัยแน่นหนาผิดสังเกต ผู้ที่ต้องการจองโต๊ะยังถูกสอบประวัติอย่างละเอียด และเปิดให้เข้าอิ่มอร่อยพร้อมกันเป็นหมู่คณะ โทรศัพท์มือถือและกระเป๋าห้ามนำติดตัวไปด้วยเด็ดขาด ด่านสุดท้ายก่อนถึงโต๊ะอาหารคือการตรวจอาวุธ
มิหนำซ้ำบนโต๊ะอาหารที่จุดเทียนไขให้บรรยากาศโรแมนติก ภายในโบสถ์ที่เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำพิธีและศาสนวัตถุออกหมดแล้ว และแรกเริ่มเดิมทีเคยเป็นปราสาทสมัยศตวรรษที่ 14-15 นั้น อาหารยังถูกเสิร์ฟมาในจานและชุดช้อน-ส้อม-มีดพลาสติก
กระนั้น แม้ที่นี่คือเรือนจำฟอร์เทซซา เมดิซีที่มีการรักษาความปลอดภัยสูง แต่ไวน์ขาวชั้นดีอย่างแฟตตอเรีย ซอร์ไบโน ยังมีให้ดื่มกินชนิดไม่อั้น
“อาหารอร่อยมาก บรรยากาศ ผู้คน และสถานที่ก็เหลือเชื่อ” ชารอน เคนเนดี้ จากเมืองวอลเทอร์ราในทัสคานี อิตาลี หนึ่งในลูกค้าที่มากินอาหารเย็นมื้อพิเศษในเรือนจำแห่งนี้ เล่า
คืนนั้น นักโทษในเรือนจำที่มีทัศนียภาพงดงามของทัสคานีแห่งนี้ ซึ่งโอบล้อมด้วยภูเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมเขียวขจี และหมู่วิลลาหลังคาปูกระเบื้องสีน้ำตาล ถอดชุดนักโทษและสวมเชิ้ตผูกหูกระต่ายแทน นักโทษเหล่านี้บรรจงปรุงอาหารสุดฝีมือสำหรับลูกค้าที่กระหายใคร่ลิ้มลองชีวิตในคุก
ส่วนหนึ่งของโครงการระดมทุนเพื่อการกุศลนี้คือ การสอนทักษะการปรุงและเสิร์ฟอาหารที่วันหนึ่งข้างหน้านักโทษจะสามารถนำออกไปเลี้ยงชีพในโลกภายนอกได้
โครงการเปลี่ยนเรือนจำเป็นภัตตาคารที่จัดขึ้นปีละหลายครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว สนนราคาการให้บริการตกหัวละ 54 ดอลลาร์ โดยสามารถสั่งจองผ่านสำนักงานท่องเที่ยวท้องถิ่น
ท่ามกลางหอสังเกตการณ์และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยมากมายหลายจุด บริกรยิ้มแย้มและพูดคุยหยอกล้ออย่างเป็นมิตรกับลูกค้าที่มีจำนวนราว 100 คน ขณะเสิร์ฟทูนาทาทาร์ในเปลือกส้ม ไวน์ และคูซคูซปลา เมนูคืนนั้นยังมีซุปมะเขือเทศข้น คาปาโชกับผักสลัด ชีสพาเมซาน และล้างปากด้วยเค้กสตรอเบอรี่
“เป็นอะไรที่มากไปกว่าแค่เบี่ยงเบนความสนใจ ชีวิตในคุกไม่ต่างอะไรจากเครื่องถ่ายสำเนา ออกจากห้องขังก็ต้องไปทำงาน ทำงานเสร็จก็กลับเข้าห้องขัง ทุกวันเป็นแบบนี้ นี่จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก” เอรีนา เอนีโล ที่รับโทษมาตั้งแต่ปี 1993 ข้อหาฆาตกรรม และทำหน้าที่บริกรในคืนนั้น บอก
ดินเนอร์ในเรือนจำเป็นหนึ่งในมาตรการริเริ่มหลายอย่างของอิตาลีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมทักษะแก่นักโทษเตรียมตัวสำหรับการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมปกติ เช่น นักโทษหญิงในเรือนจำซานวิตตอร์ของมิลาน ได้เรียนรู้วิชาตัดเย็บ
ภายในครัวของเรือนจำฟอร์เทซซา เมดิซี หม้อเดือดปุดๆ และเตากำลังร้อนได้ที่อยู่เบื้องหน้าโจเซฟ ฮาร์เดอร์ นักโทษตากาล็อกที่รับหน้าที่กุ๊กในคืนพิเศษ
“การทำอาหารเป็นสิ่งที่ผมโปรดปราน” เขาบอก แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าเหตุใดจึงต้องเข้าไปใช้กรรมในเรือนจำดังกล่าว
นอกจากทำงานภายใต้การรักษาความปลอดภัยของผู้คุมติดอาวุธแล้ว คำสั่งสำคัญสำหรับฮาร์เดอร์ก็คือ ต้องขออนุญาตหากต้องการใช้มีด
“คนข้างนอกชอบคิดว่าพวกเราเลว เราจึงต้องการพิสูจน์ว่าเราไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิดทั้งหมด”
ดินเนอร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีการสั่งจองโต๊ะล่วงหน้า และลูกค้าคนหนึ่งเล่าว่า ขับรถมาไกลถึง 200 กิโลเมตรเพื่อพาครอบครัวมาสัมผัสประสบการณ์พิเศษนี้
ทีมพ่อครัว ลูกมือ บริกร และบริกรรินไวน์โดยเฉพาะรวม 30 ชีวิต ได้รับการคัดเลือกมาเป็นอย่างพิถีพิถันจากนักโทษทั้งหมด 150 คนของเรือนจำแห่งนี้ ที่ปลอดจากผู้กระทำผิดคดีอาญาอันเกี่ยวพันกับมาเฟีย การค้ายาเสพติด และเรียกค่าไถ่
ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่มีเชฟจากภัตตาคารภายในแคว้นมาร่วมให้คำแนะนำแก่นักโทษ
“จุดประสงค์ของเราคือ ให้เชฟของเรามีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และให้คนภายนอกเข้ามาเยี่ยมเยือนบรรยากาศในเรือนจำ” มาเรียกราเซีย จิอัมปิกโกโล ผู้อำนวยการเรือนจำกล่าว
สำหรับนักโทษภายในเรือนจำที่มีเวิร์กชอปการตัดเย็บ ห้องชมภาพยนตร์ และโรงเรียน การได้ติดต่อกับโลกภายนอกถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี
“การเสิร์ฟอาหารไม่เคยเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกภูมิใจได้แบบนี้มาก่อน” ฟรังซัวส์ นักโทษชาวเซเนกัลบอก เขาเล่าแค่ว่าติดคุกมา ‘นานมากแล้ว’
“ถึงจะไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน แต่ถ้าเทียบกับชีวิตเรื่อยเฉื่อยซ้ำซากในแต่ละวัน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นโฉมหน้าใหม่ของเรือนจำ และสนุกกว่านั่งๆ นอนๆ อยู่ในห้องขังแน่นอน”
มิหนำซ้ำบนโต๊ะอาหารที่จุดเทียนไขให้บรรยากาศโรแมนติก ภายในโบสถ์ที่เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำพิธีและศาสนวัตถุออกหมดแล้ว และแรกเริ่มเดิมทีเคยเป็นปราสาทสมัยศตวรรษที่ 14-15 นั้น อาหารยังถูกเสิร์ฟมาในจานและชุดช้อน-ส้อม-มีดพลาสติก
กระนั้น แม้ที่นี่คือเรือนจำฟอร์เทซซา เมดิซีที่มีการรักษาความปลอดภัยสูง แต่ไวน์ขาวชั้นดีอย่างแฟตตอเรีย ซอร์ไบโน ยังมีให้ดื่มกินชนิดไม่อั้น
“อาหารอร่อยมาก บรรยากาศ ผู้คน และสถานที่ก็เหลือเชื่อ” ชารอน เคนเนดี้ จากเมืองวอลเทอร์ราในทัสคานี อิตาลี หนึ่งในลูกค้าที่มากินอาหารเย็นมื้อพิเศษในเรือนจำแห่งนี้ เล่า
คืนนั้น นักโทษในเรือนจำที่มีทัศนียภาพงดงามของทัสคานีแห่งนี้ ซึ่งโอบล้อมด้วยภูเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมเขียวขจี และหมู่วิลลาหลังคาปูกระเบื้องสีน้ำตาล ถอดชุดนักโทษและสวมเชิ้ตผูกหูกระต่ายแทน นักโทษเหล่านี้บรรจงปรุงอาหารสุดฝีมือสำหรับลูกค้าที่กระหายใคร่ลิ้มลองชีวิตในคุก
ส่วนหนึ่งของโครงการระดมทุนเพื่อการกุศลนี้คือ การสอนทักษะการปรุงและเสิร์ฟอาหารที่วันหนึ่งข้างหน้านักโทษจะสามารถนำออกไปเลี้ยงชีพในโลกภายนอกได้
โครงการเปลี่ยนเรือนจำเป็นภัตตาคารที่จัดขึ้นปีละหลายครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว สนนราคาการให้บริการตกหัวละ 54 ดอลลาร์ โดยสามารถสั่งจองผ่านสำนักงานท่องเที่ยวท้องถิ่น
ท่ามกลางหอสังเกตการณ์และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยมากมายหลายจุด บริกรยิ้มแย้มและพูดคุยหยอกล้ออย่างเป็นมิตรกับลูกค้าที่มีจำนวนราว 100 คน ขณะเสิร์ฟทูนาทาทาร์ในเปลือกส้ม ไวน์ และคูซคูซปลา เมนูคืนนั้นยังมีซุปมะเขือเทศข้น คาปาโชกับผักสลัด ชีสพาเมซาน และล้างปากด้วยเค้กสตรอเบอรี่
“เป็นอะไรที่มากไปกว่าแค่เบี่ยงเบนความสนใจ ชีวิตในคุกไม่ต่างอะไรจากเครื่องถ่ายสำเนา ออกจากห้องขังก็ต้องไปทำงาน ทำงานเสร็จก็กลับเข้าห้องขัง ทุกวันเป็นแบบนี้ นี่จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก” เอรีนา เอนีโล ที่รับโทษมาตั้งแต่ปี 1993 ข้อหาฆาตกรรม และทำหน้าที่บริกรในคืนนั้น บอก
ดินเนอร์ในเรือนจำเป็นหนึ่งในมาตรการริเริ่มหลายอย่างของอิตาลีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมทักษะแก่นักโทษเตรียมตัวสำหรับการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมปกติ เช่น นักโทษหญิงในเรือนจำซานวิตตอร์ของมิลาน ได้เรียนรู้วิชาตัดเย็บ
ภายในครัวของเรือนจำฟอร์เทซซา เมดิซี หม้อเดือดปุดๆ และเตากำลังร้อนได้ที่อยู่เบื้องหน้าโจเซฟ ฮาร์เดอร์ นักโทษตากาล็อกที่รับหน้าที่กุ๊กในคืนพิเศษ
“การทำอาหารเป็นสิ่งที่ผมโปรดปราน” เขาบอก แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าเหตุใดจึงต้องเข้าไปใช้กรรมในเรือนจำดังกล่าว
นอกจากทำงานภายใต้การรักษาความปลอดภัยของผู้คุมติดอาวุธแล้ว คำสั่งสำคัญสำหรับฮาร์เดอร์ก็คือ ต้องขออนุญาตหากต้องการใช้มีด
“คนข้างนอกชอบคิดว่าพวกเราเลว เราจึงต้องการพิสูจน์ว่าเราไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิดทั้งหมด”
ดินเนอร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีการสั่งจองโต๊ะล่วงหน้า และลูกค้าคนหนึ่งเล่าว่า ขับรถมาไกลถึง 200 กิโลเมตรเพื่อพาครอบครัวมาสัมผัสประสบการณ์พิเศษนี้
ทีมพ่อครัว ลูกมือ บริกร และบริกรรินไวน์โดยเฉพาะรวม 30 ชีวิต ได้รับการคัดเลือกมาเป็นอย่างพิถีพิถันจากนักโทษทั้งหมด 150 คนของเรือนจำแห่งนี้ ที่ปลอดจากผู้กระทำผิดคดีอาญาอันเกี่ยวพันกับมาเฟีย การค้ายาเสพติด และเรียกค่าไถ่
ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่มีเชฟจากภัตตาคารภายในแคว้นมาร่วมให้คำแนะนำแก่นักโทษ
“จุดประสงค์ของเราคือ ให้เชฟของเรามีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และให้คนภายนอกเข้ามาเยี่ยมเยือนบรรยากาศในเรือนจำ” มาเรียกราเซีย จิอัมปิกโกโล ผู้อำนวยการเรือนจำกล่าว
สำหรับนักโทษภายในเรือนจำที่มีเวิร์กชอปการตัดเย็บ ห้องชมภาพยนตร์ และโรงเรียน การได้ติดต่อกับโลกภายนอกถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี
“การเสิร์ฟอาหารไม่เคยเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกภูมิใจได้แบบนี้มาก่อน” ฟรังซัวส์ นักโทษชาวเซเนกัลบอก เขาเล่าแค่ว่าติดคุกมา ‘นานมากแล้ว’
“ถึงจะไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน แต่ถ้าเทียบกับชีวิตเรื่อยเฉื่อยซ้ำซากในแต่ละวัน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นโฉมหน้าใหม่ของเรือนจำ และสนุกกว่านั่งๆ นอนๆ อยู่ในห้องขังแน่นอน”