นักวิจัยออสซีค้นพบวิธีที่อาจนำไปสู่การลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหาร โดยการดัดแปลงเซลล์ไขมันในหนูเพื่อเร่งกระบวนการเผาผลาญอาหาร
ไมเคิล มาไท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นพบว่าเมื่อสกัดเอนไซม์ที่ชื่อว่า angiotensin converting enzyme (ACE) ออก หนูสามารถกินอาหารได้เท่าเดิมแต่เผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น น้ำหนักจึงเพิ่มขึ้นน้อยมาก โดยเฉลี่ยแล้วหนูเหล่านี้มีน้ำหนักเบากว่าหนูปกติ 20% และมีไขมันสะสมน้อยกว่า 50-60%
มาไท ซึ่งเป็นผู้บรรยายวิชาโภชนาการที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรียอีกตำแหน่ง เสริมว่าหนูที่มีน้ำหนักน้อยกว่ายังมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานต่ำกว่า เนื่องจากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลเร็วกว่าหนูปกติ
เขายังคาดหวังว่า งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโพรซีดดิ้งส์ ออฟ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ของสหรัฐฯ จะสามารถนำไปต่อยอดพัฒนายาช่วยลดน้ำหนักสำหรับคน
ปัจจุบัน มีตัวยาที่ใช้ลดประสิทธิภาพการทำงานของ ACE แต่ส่วนใหญ่ถูกใช้ในการลดอาการความดันโลหิตสูง และมาไทชี้ว่าแม้มั่นใจได้ในด้านความปลอดภัย แต่ยังไม่เคยมีใครศึกษาว่ายาดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอ้วนหรือไม่
ดังนั้น คำถามที่รอคอยคำตอบก็คือ การหาปริมาณที่เหมาะสมในการนำยาตัวนี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ หรือการพัฒนายาใหม่โดยอิงกับยาลดความดันเพื่อใช้ลดน้ำหนัก
“วิธีหนึ่งคือ การเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารพร้อมไปกับการควบคุมระดับโภชนาการเพื่อจำกัดปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับ”
อย่างไรก็ตาม มาไทยอมรับว่า งานวิจัยที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างสถาบันโฮเวิร์ด ฟลอเรย์ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย มหาวิทยาลัยลา โทรบ มหาวิทยาลัยดีกิน สถาบันเบเกอร์ และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นครั้งนี้ ยังไม่พบว่าเหตุใดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมจึงนำไปสู่การลดน้ำหนัก
“เราตัดยีนดังกล่าวออกจากร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าในสมองหรือเนื้อเยื่อ แต่เราไม่รู้ว่าวิธีนี้มีผลโดยตรงจากส่วนของเนื้อเยื่อหรือสมอง”
ไมเคิล มาไท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นพบว่าเมื่อสกัดเอนไซม์ที่ชื่อว่า angiotensin converting enzyme (ACE) ออก หนูสามารถกินอาหารได้เท่าเดิมแต่เผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น น้ำหนักจึงเพิ่มขึ้นน้อยมาก โดยเฉลี่ยแล้วหนูเหล่านี้มีน้ำหนักเบากว่าหนูปกติ 20% และมีไขมันสะสมน้อยกว่า 50-60%
มาไท ซึ่งเป็นผู้บรรยายวิชาโภชนาการที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรียอีกตำแหน่ง เสริมว่าหนูที่มีน้ำหนักน้อยกว่ายังมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานต่ำกว่า เนื่องจากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลเร็วกว่าหนูปกติ
เขายังคาดหวังว่า งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโพรซีดดิ้งส์ ออฟ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ของสหรัฐฯ จะสามารถนำไปต่อยอดพัฒนายาช่วยลดน้ำหนักสำหรับคน
ปัจจุบัน มีตัวยาที่ใช้ลดประสิทธิภาพการทำงานของ ACE แต่ส่วนใหญ่ถูกใช้ในการลดอาการความดันโลหิตสูง และมาไทชี้ว่าแม้มั่นใจได้ในด้านความปลอดภัย แต่ยังไม่เคยมีใครศึกษาว่ายาดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอ้วนหรือไม่
ดังนั้น คำถามที่รอคอยคำตอบก็คือ การหาปริมาณที่เหมาะสมในการนำยาตัวนี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ หรือการพัฒนายาใหม่โดยอิงกับยาลดความดันเพื่อใช้ลดน้ำหนัก
“วิธีหนึ่งคือ การเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารพร้อมไปกับการควบคุมระดับโภชนาการเพื่อจำกัดปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับ”
อย่างไรก็ตาม มาไทยอมรับว่า งานวิจัยที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างสถาบันโฮเวิร์ด ฟลอเรย์ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย มหาวิทยาลัยลา โทรบ มหาวิทยาลัยดีกิน สถาบันเบเกอร์ และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นครั้งนี้ ยังไม่พบว่าเหตุใดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมจึงนำไปสู่การลดน้ำหนัก
“เราตัดยีนดังกล่าวออกจากร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าในสมองหรือเนื้อเยื่อ แต่เราไม่รู้ว่าวิธีนี้มีผลโดยตรงจากส่วนของเนื้อเยื่อหรือสมอง”