หลายปีมานี้คนไทยเราต้องอยู่กับความแตกแยกด้วยความหวั่นไหว บางคนถึงกับเครียด บางคนก็อึดอัดหาทางออกไม่เจอ บางคนก็เตลิดไปด้วยการไม่สนใจข่าวสารใดๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฯลฯ และจนถึงเดี๋ยวนี้ ความแตกแยกที่ว่าก็ยังไม่ได้ทุเลาเบาบางลงไป
ความแตกแยกดังกล่าวมีที่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง คือเป็นการเมืองที่ไม่สามารถลงรอยกันได้ของคน 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่ง เป็นฝ่ายที่เคยกุมอำนาจรัฐมาก่อน และต่อมาก็ถูกรัฐประหารออกไป แล้วก็กลับมากุมอำนาจดังเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือขณะนี้ ส่วนอีกฝ่าย เป็นฝ่ายที่ลุกขึ้นมาประท้วงฝ่ายแรกด้วยข้อหาต่างๆ นานา โดยเฉพาะการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการใช้อำนาจไปตามอำเภอใจด้วยการอ้างความชอบธรรมว่าตนมาจากการเลือกตั้ง
ผมคงไม่ต้องสาธยายความแตกแยกของทั้งสองฝ่ายให้มากความ เพราะจนถึงเดี๋ยวนี้คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รับรู้ถึงความแตกแยกนี้ ไม่ว่าจะรู้แบบลึกๆ หรือแบบตื้นๆ หรือรู้แบบเลือกยืนอยู่ข้างไหนก็ตามที
แต่กระนั้น เราก็อาจแบ่งความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้ได้หยาบๆ เป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ ด้วยกัน
ช่วงแรก เป็นช่วงที่ คุณทักษิณ ยังเป็นนายกฯ อยู่ จนถึงตอนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในช่วงนี้กลุ่มคนที่แตกแยกกันแบ่งให้เห็นอย่างชัดเจนแทบจะเป็นดำเป็นขาว และแตกกันแม้ในหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมอย่างสถาบันครอบครัว
ช่วงต่อมา เป็นช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน ในช่วงนี้ยิ่งแตกหนักเข้าไปอีก คือเป็นการแตกกันของคนกลุ่มเดียวกัน คือระหว่างกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารกับกลุ่มที่ถูกมองว่าสนับสนุนการรัฐประหาร (ซึ่งบางคนก็คงจะสนับสนุนจริงๆ ด้วย) กลุ่มหนึ่ง กับการแตกกันในหมู่นักการเมืองในฟากฝั่งอำนาจเก่า อีกกลุ่มหนึ่ง
การแตกกันของกลุ่มแรกกับกลุ่มหลังนี้ไม่เหมือนกันนะครับ เพราะถ้าแตกกันอย่างกลุ่มแรกแล้วถือเป็นเรื่องของความคิดล้วนๆ ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เจืออยู่ แต่กับกลุ่มหลังแล้วถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่า นักการเมืองไทยนั้นพอถึงจุดๆ หนึ่งที่ต้องแสดงตนออกมา ก็มักจะหนีไม่พ้นการยึดเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง และเหตุผลก็เหมือนเดิมคือ “เพื่อชาติ”
แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า ที่แบ่งนั้นแบ่งอย่างหยาบๆ นะครับ คือแบ่งโดยยึดเอาเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์เป็นตัวตั้ง เช่นว่าถ้าปัญหาแสดงออกมาในยุคของระบอบทักษิณ ปัญหาก็เริ่มจากตรงนั้น ทั้งที่ถ้าหากจะว่าไปแล้ว ความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้ได้เกิดมานานหลายสิบปีแล้ว คือเป็นความแตกแยกที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ที่ถูกสั่งสมมาช้านาน
ซึ่งถ้าหากจะใช้ศัพท์แสงทางการเมืองที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้แล้ว ปัญหาที่ว่าก็คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำมาตยาธิปไตยกับกลุ่มทุนนิยมเสรี ผมขอที่จะไม่อธิบายนิยามและบทบาทของ 2 กลุ่มนี้ แต่อยากจะสรุปว่า สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองกลุ่มนี้ก็คือ ต่างก็เห็นประชาธิปไตยเป็น “เครื่องมือ” มากกว่า “ระบอบ”
กล่าวคือ ถ้าเป็นกลุ่มแรกแล้ว ยังไงเสียก็ยากที่ปล่อยให้ประชาธิปไตยเป็นไปอย่างเต็มที่หรือเต็มใบอย่างที่ควรจะเป็น ประชาธิปไตยของกลุ่มนี้จึงเต็มไปด้วยเครื่องมือกลไกอันมากมายที่ใช้สกัดกั้นนักการเมืองที่อยู่นอกวง “อำมาตย์”
ส่วนถ้าเป็นกลุ่มหลังแล้ว ยิ่งได้ประชาธิปไตยมาเต็มใบเท่าไหร่ก็ยิ่งใช้ประชาธิปไตยนั้นอย่างพร่ำเพรื่อ และใช้เป็นช่องทางในการฉ้อฉลหรือใช้อำนาจบาตรใหญ่มากขึ้น กล่าวอีกอย่างคือ ใช้ประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมืออย่างผิดๆ (ยิ่งในยุคของ คุณทักษิณ ด้วยแล้ว ถึงกับนำมาใช้อ้างในการออกมาตรการการแก้ปัญหาสังคมที่รุนแรงกันเลยทีเดียว)
หากจะกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ปัญหาความแตกแยกดังกล่าวเริ่มหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทำลายพลังอำมาตยาธิปไตยลงอย่างรุนแรง แต่ไม่ย่อยยับ จากนั้นกลุ่มอำมาตยาธิปไตยจึงฟื้นพลังของตนด้วยการให้การยอมรับประชาธิปไตย และเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้นเช่นกัน ที่ทำให้นักการเมืองที่ไม่ได้มีภูมิหลังเป็น “อำมาตย์” เพิ่มจำนวนขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ครั้นพอได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งทีไร ก็เหลวเป๋วทุกที
เหตุดังนั้น ความแตกแยกที่แสดงผลออกมาอย่างรุนแรงในยุคที่ คุณทักษิณ เถลิงอำนาจนั้น จึงมิใช่เป็นเพราะรัฐบาลของ คุณทักษิณ เองโดดๆ แต่เป็นเพราะการสั่งสมของปัญหาดังกล่าวต่างหาก
แต่ในขณะเดียวกัน หาก คุณทักษิณ จะมีส่วนใดที่จะถูกทำให้มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกแล้ว ส่วนที่ว่านั้นก็น่าจะอยู่ตรงที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณได้มีบทบาทเป็นอย่างสูงในการสะกิดต่อมปัญหาที่ว่าให้แตกออกมานั่นเอง
และที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณสามารถที่จะสะกิดต่อมปัญหาได้ก็เพราะเป็นรัฐบาลชุดแรกที่ได้ใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบที่ให้อำนาจอย่างเต็มที่ แต่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณก็ใช้อำนาจนั้นแบบนักการเมืองรุ่นก่อนหน้าไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็น
ในประการต่อมา การที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณสามารถสะกิดต่อมปัญหาได้นั้น เหตุผลสำคัญยังอยู่ที่ตัวของ คุณทักษิณ เองที่มีฐานะการเงินดี และมีความกล้าที่จะแอ่นอกหรือออกหน้าแทนนักการเมืองในสังกัดของตนเวลาไปทำอะไรที่ถูกสังคมตั้งคำถาม
พูดกลับกันคือ ถ้า คุณทักษิณ ไม่รวยและไม่กล้าอย่างที่ว่าแล้ว ผมเชื่อว่าคงไม่มีนักการเมืองหน้าไหนที่จะยอมสวามิภักดิ์ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณอย่างทุกวันนี้หรอกครับ เหตุดังนั้น เวลาที่นักการเมืองในสังกัดของระบอบทักษิณออกมาพูดเชียร์ คุณทักษิณ ก็ดี หรือพูดอะไรที่ฟังดูแล้วช่างรักประชาธิปไตยเสียจริงๆ ก็ดี ผมจึงไม่เคยเชื่อถือในคำพูด (ซึ่งถ้าผมเป็น คุณทักษิณ ผมก็จะไม่เชื่อเหมือนกัน)
แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า ปัญหาความแตกแยกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีที่มาที่ไป หากเป็นปัญหาที่สั่งสมมาช้านานแล้ว ดังนั้น การที่ปัญหามาแสดงผลในยุคที่ระบอบทักษิณครองเมือง ในด้านหนึ่งจึงถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของการเมืองไทย
คำถามก็คือว่า ถ้ามันเป็นพัฒนาการทางการเมืองจริง แต่เป็นพัฒนาการที่จะนำไปสู่ความแตกแยกแล้ว จะนับว่าดีได้อย่างไรเล่า?
ดีตรงนี้ครับ...คือถ้าเราปล่อยให้ความแตกแยกนี้เป็นไปตามวิถีของมันเองจนถึงจุดที่สุดแล้ว ผลลงเอยหลังจากนั้นก็จะทำให้ทุกอย่าง “สะเด็ดน้ำ” โดยตัวของมันเอง ไม่ว่าการสะเด็ดน้ำนี้ใครจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม คนไทยจะได้พิสูจน์มันด้วยตัวเองเสียที หาไม่แล้วกระบวนการเรียนรู้ก็จะไม่เกิด
ผมเชื่อในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ถ้ายังไม่เรียนรู้อีก เช่น ไม่รู้ว่าฝ่ายชนะชั่วยังไงหรือดียังไงแล้ว ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไงอีกแล้ว และก็คงได้แต่ถือว่าเป็นกรรมของสังคมไทยอย่างช่วยไม่ได้
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ขออย่างเดียวนะครับ ว่าอย่าได้กล่าวหาผมว่ากำลังเชียร์ให้เกิดความแตกแยกเป็นอันขาด แต่คิดและเขียนอย่างนี้ก็เพราะเราหลีกเลี่ยงความแตกแยกในขณะนี้ไม่ได้ และเมื่อต้องมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว เราก็จำเป็นต้องมีท่าทีที่เหมาะสมต่อความแตกแยก
นั่นก็คือ มองมันในแง่ดี ถึงแม้สิ่ง “ดีดี” ที่ว่าจะทำให้เราทนทุกข์ทรมานกายใจ หรือต้องใช้เวลารอยาวนานนับสิบปีก็ตาม
ความแตกแยกดังกล่าวมีที่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง คือเป็นการเมืองที่ไม่สามารถลงรอยกันได้ของคน 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่ง เป็นฝ่ายที่เคยกุมอำนาจรัฐมาก่อน และต่อมาก็ถูกรัฐประหารออกไป แล้วก็กลับมากุมอำนาจดังเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือขณะนี้ ส่วนอีกฝ่าย เป็นฝ่ายที่ลุกขึ้นมาประท้วงฝ่ายแรกด้วยข้อหาต่างๆ นานา โดยเฉพาะการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการใช้อำนาจไปตามอำเภอใจด้วยการอ้างความชอบธรรมว่าตนมาจากการเลือกตั้ง
ผมคงไม่ต้องสาธยายความแตกแยกของทั้งสองฝ่ายให้มากความ เพราะจนถึงเดี๋ยวนี้คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รับรู้ถึงความแตกแยกนี้ ไม่ว่าจะรู้แบบลึกๆ หรือแบบตื้นๆ หรือรู้แบบเลือกยืนอยู่ข้างไหนก็ตามที
แต่กระนั้น เราก็อาจแบ่งความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้ได้หยาบๆ เป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ ด้วยกัน
ช่วงแรก เป็นช่วงที่ คุณทักษิณ ยังเป็นนายกฯ อยู่ จนถึงตอนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในช่วงนี้กลุ่มคนที่แตกแยกกันแบ่งให้เห็นอย่างชัดเจนแทบจะเป็นดำเป็นขาว และแตกกันแม้ในหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมอย่างสถาบันครอบครัว
ช่วงต่อมา เป็นช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน ในช่วงนี้ยิ่งแตกหนักเข้าไปอีก คือเป็นการแตกกันของคนกลุ่มเดียวกัน คือระหว่างกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารกับกลุ่มที่ถูกมองว่าสนับสนุนการรัฐประหาร (ซึ่งบางคนก็คงจะสนับสนุนจริงๆ ด้วย) กลุ่มหนึ่ง กับการแตกกันในหมู่นักการเมืองในฟากฝั่งอำนาจเก่า อีกกลุ่มหนึ่ง
การแตกกันของกลุ่มแรกกับกลุ่มหลังนี้ไม่เหมือนกันนะครับ เพราะถ้าแตกกันอย่างกลุ่มแรกแล้วถือเป็นเรื่องของความคิดล้วนๆ ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เจืออยู่ แต่กับกลุ่มหลังแล้วถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่า นักการเมืองไทยนั้นพอถึงจุดๆ หนึ่งที่ต้องแสดงตนออกมา ก็มักจะหนีไม่พ้นการยึดเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง และเหตุผลก็เหมือนเดิมคือ “เพื่อชาติ”
แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า ที่แบ่งนั้นแบ่งอย่างหยาบๆ นะครับ คือแบ่งโดยยึดเอาเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์เป็นตัวตั้ง เช่นว่าถ้าปัญหาแสดงออกมาในยุคของระบอบทักษิณ ปัญหาก็เริ่มจากตรงนั้น ทั้งที่ถ้าหากจะว่าไปแล้ว ความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้ได้เกิดมานานหลายสิบปีแล้ว คือเป็นความแตกแยกที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ที่ถูกสั่งสมมาช้านาน
ซึ่งถ้าหากจะใช้ศัพท์แสงทางการเมืองที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้แล้ว ปัญหาที่ว่าก็คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำมาตยาธิปไตยกับกลุ่มทุนนิยมเสรี ผมขอที่จะไม่อธิบายนิยามและบทบาทของ 2 กลุ่มนี้ แต่อยากจะสรุปว่า สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองกลุ่มนี้ก็คือ ต่างก็เห็นประชาธิปไตยเป็น “เครื่องมือ” มากกว่า “ระบอบ”
กล่าวคือ ถ้าเป็นกลุ่มแรกแล้ว ยังไงเสียก็ยากที่ปล่อยให้ประชาธิปไตยเป็นไปอย่างเต็มที่หรือเต็มใบอย่างที่ควรจะเป็น ประชาธิปไตยของกลุ่มนี้จึงเต็มไปด้วยเครื่องมือกลไกอันมากมายที่ใช้สกัดกั้นนักการเมืองที่อยู่นอกวง “อำมาตย์”
ส่วนถ้าเป็นกลุ่มหลังแล้ว ยิ่งได้ประชาธิปไตยมาเต็มใบเท่าไหร่ก็ยิ่งใช้ประชาธิปไตยนั้นอย่างพร่ำเพรื่อ และใช้เป็นช่องทางในการฉ้อฉลหรือใช้อำนาจบาตรใหญ่มากขึ้น กล่าวอีกอย่างคือ ใช้ประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมืออย่างผิดๆ (ยิ่งในยุคของ คุณทักษิณ ด้วยแล้ว ถึงกับนำมาใช้อ้างในการออกมาตรการการแก้ปัญหาสังคมที่รุนแรงกันเลยทีเดียว)
หากจะกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ปัญหาความแตกแยกดังกล่าวเริ่มหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทำลายพลังอำมาตยาธิปไตยลงอย่างรุนแรง แต่ไม่ย่อยยับ จากนั้นกลุ่มอำมาตยาธิปไตยจึงฟื้นพลังของตนด้วยการให้การยอมรับประชาธิปไตย และเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้นเช่นกัน ที่ทำให้นักการเมืองที่ไม่ได้มีภูมิหลังเป็น “อำมาตย์” เพิ่มจำนวนขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ครั้นพอได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งทีไร ก็เหลวเป๋วทุกที
เหตุดังนั้น ความแตกแยกที่แสดงผลออกมาอย่างรุนแรงในยุคที่ คุณทักษิณ เถลิงอำนาจนั้น จึงมิใช่เป็นเพราะรัฐบาลของ คุณทักษิณ เองโดดๆ แต่เป็นเพราะการสั่งสมของปัญหาดังกล่าวต่างหาก
แต่ในขณะเดียวกัน หาก คุณทักษิณ จะมีส่วนใดที่จะถูกทำให้มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกแล้ว ส่วนที่ว่านั้นก็น่าจะอยู่ตรงที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณได้มีบทบาทเป็นอย่างสูงในการสะกิดต่อมปัญหาที่ว่าให้แตกออกมานั่นเอง
และที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณสามารถที่จะสะกิดต่อมปัญหาได้ก็เพราะเป็นรัฐบาลชุดแรกที่ได้ใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบที่ให้อำนาจอย่างเต็มที่ แต่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณก็ใช้อำนาจนั้นแบบนักการเมืองรุ่นก่อนหน้าไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็น
ในประการต่อมา การที่ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณสามารถสะกิดต่อมปัญหาได้นั้น เหตุผลสำคัญยังอยู่ที่ตัวของ คุณทักษิณ เองที่มีฐานะการเงินดี และมีความกล้าที่จะแอ่นอกหรือออกหน้าแทนนักการเมืองในสังกัดของตนเวลาไปทำอะไรที่ถูกสังคมตั้งคำถาม
พูดกลับกันคือ ถ้า คุณทักษิณ ไม่รวยและไม่กล้าอย่างที่ว่าแล้ว ผมเชื่อว่าคงไม่มีนักการเมืองหน้าไหนที่จะยอมสวามิภักดิ์ คุณทักษิณ และระบอบทักษิณอย่างทุกวันนี้หรอกครับ เหตุดังนั้น เวลาที่นักการเมืองในสังกัดของระบอบทักษิณออกมาพูดเชียร์ คุณทักษิณ ก็ดี หรือพูดอะไรที่ฟังดูแล้วช่างรักประชาธิปไตยเสียจริงๆ ก็ดี ผมจึงไม่เคยเชื่อถือในคำพูด (ซึ่งถ้าผมเป็น คุณทักษิณ ผมก็จะไม่เชื่อเหมือนกัน)
แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า ปัญหาความแตกแยกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีที่มาที่ไป หากเป็นปัญหาที่สั่งสมมาช้านานแล้ว ดังนั้น การที่ปัญหามาแสดงผลในยุคที่ระบอบทักษิณครองเมือง ในด้านหนึ่งจึงถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของการเมืองไทย
คำถามก็คือว่า ถ้ามันเป็นพัฒนาการทางการเมืองจริง แต่เป็นพัฒนาการที่จะนำไปสู่ความแตกแยกแล้ว จะนับว่าดีได้อย่างไรเล่า?
ดีตรงนี้ครับ...คือถ้าเราปล่อยให้ความแตกแยกนี้เป็นไปตามวิถีของมันเองจนถึงจุดที่สุดแล้ว ผลลงเอยหลังจากนั้นก็จะทำให้ทุกอย่าง “สะเด็ดน้ำ” โดยตัวของมันเอง ไม่ว่าการสะเด็ดน้ำนี้ใครจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม คนไทยจะได้พิสูจน์มันด้วยตัวเองเสียที หาไม่แล้วกระบวนการเรียนรู้ก็จะไม่เกิด
ผมเชื่อในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ถ้ายังไม่เรียนรู้อีก เช่น ไม่รู้ว่าฝ่ายชนะชั่วยังไงหรือดียังไงแล้ว ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไงอีกแล้ว และก็คงได้แต่ถือว่าเป็นกรรมของสังคมไทยอย่างช่วยไม่ได้
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ขออย่างเดียวนะครับ ว่าอย่าได้กล่าวหาผมว่ากำลังเชียร์ให้เกิดความแตกแยกเป็นอันขาด แต่คิดและเขียนอย่างนี้ก็เพราะเราหลีกเลี่ยงความแตกแยกในขณะนี้ไม่ได้ และเมื่อต้องมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว เราก็จำเป็นต้องมีท่าทีที่เหมาะสมต่อความแตกแยก
นั่นก็คือ มองมันในแง่ดี ถึงแม้สิ่ง “ดีดี” ที่ว่าจะทำให้เราทนทุกข์ทรมานกายใจ หรือต้องใช้เวลารอยาวนานนับสิบปีก็ตาม