วานนี้ (28 เม.ย.) ในวาระครบรอบ 4 ปี เหตุการณ์ปะทะในปี 2547 ที่มัสยิดกรือเซะ และพื้นที่ต่างๆทั่ว 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งหมด 108 ราย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ซึ่งมีนางอังคณา นีละไพจิตร เป็นประธานออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สำนักงานอัยการสูงสุด เร่งดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อเปิดเผยความจริงในกรณีการเสียชีวิตทั้ง 108 รายดังกล่าว
แถลงการณ์ระบุว่า การวิสามัญของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยหมู่ประชนทั่วไป ถึงความถูกต้องชอบธรรมต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการสังหารประชาชน 28 คนในมัสยิด กรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี และเยาวชนอีก 19 คนที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เพราะการวิสามัญฆาตกรรมจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นการที่เจ้าหน้าที่ต้องป้องกันชีวิตของตนเอง หรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย จากการต่อสู้ของคนร้าย และจะต้องเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น
ทางคณะทำงานยุติธรรมฯ ได้ร่วมสังเกตการณ์คดีไต่สวนการตายทั้งสองกรณีนี้ มาโดยตลอด โดยในกรณีสะบ้าย้อย ได้ร่วมฟังการสืบพยานหลักฐานของทางอัยการซึ่งเป็นผู้ร้อง และญาติของผู้ตายที่เป็นผู้คัดค้าน ในเหตุการณ์ที่สะบ้าย้อยนั้นอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 ก.ย.47 ขณะนี้พยานฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตได้ร้องขอต่อศาลให้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุมาให้การเป็นพยาน ซึ่งจากหนังสือรับรองการตายระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 8 คนจาก 19 คนถูกยิงบริเวณศีรษะ หรือใบหน้าและส่วนใหญ่เป็นการยิงจากข้างหลัง ซึ่งการไต่สวนการตายสะบ้าย้อยครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 11 ก.ค.นี้
ส่วนกรณีการเสียชีวิต 32 ศพที่มัสยิดกรือเซะ อัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 20 ส.ค.47 ในคดีหมายเลขดำที่ ช.4/2547 และหมายเลขแดงที่ ช.3/2549 โดยศาลจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งลงวันที่ 28 พ.ย.49 ว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 32 คน ถูกเจ้าหน้าที่กระทำให้เสียชีวิตโดยมีการปะทะกัน ผู้เสียชีวิตบางคนมีมีดและปืนเป็นอาวุธ ซึ่งในจำนวนนี้มี 4 คน เสียชีวิตในเวลา 05.00 น.ที่บริเวณหน้ามัสยิดกรือเซะ ส่วนอีกจำนวน 28 คนเสียชีวิตเมื่อเวลา 14.00 น.ในมัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการถูกกระสุนปืน และระเบิดที่อวัยวะสำคัญ ภายใต้คำสั่งการของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี พ.อ.มนัส คงแป้น และพ.ต.ธนภัทร นาคชัยยะ ซี่งศาลจังหวัดปัตตานีได้ส่งคำสั่งศาลให้อัยการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติต่อไป
แต่จนถึงขณะนี้เป็นเวลา1 ปี 5 เดือน นับแต่ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่งสำนวนการไต่สวนการตายไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ แต่ยังไม่ปรากฎว่า ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามจากประชาชนทั่วไปมาโดยตลอดถึงความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม และปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงความโปร่งใสที่ปลอดพ้นจากการแทรกแซงในระบบยุติธรรมของประเทศไทย
ทางคณะทำงานยุติธรรมฯ จึงเรียกร้องให้ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ในเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนเมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 โดยการส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บนพื้นฐานของความเป็นอิสระ โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงไม่ว่าจะจากฝ่ายใดๆ โดยต้องระลึกเสมอว่า "ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ ความอยุติธรรม"
ด้านบรรยากาศทั่วไปบริเวณมัสยิดกรือเซะ เช้าวานนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ยังเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีเพียงชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบรั้วมัสยิดเพียงไม่กี่คน มาทำพิธีละหมาดในตอนเช้าตามปกติเช่นทุกวัน ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวดเป็นพิเศษตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งโชคดีปีนี้คนร้ายไม่มีโอกาสสร้างสถานการณ์ได้
ด้าน พล.ต.ต.สายัญ กระแสแสน ผบก.ภ.จว.ยะลา ได้สั่งการให้ ผกก.สภ.และหัวหน้าสถานียุทธศาสตร์ทุกแห่งในพื้นที่ 8 อำเภอของ จ.ยะลา จัดกำลังให้พร้อมและเข้มงวดเป็นกรณีพิเศษในการดูแลความสงบเรียบร้อย รวมทั้งมีการกดดันโดยการตรวจค้นเป้าหมายต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นที่หลบซ่อนตัวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และตั้งจุดตรวจจุดสกัดทางเข้าเมืองหลายจุด เพื่อตรวจสอบบุคคล รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองยะลาอย่างละเอียด
โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่สภาพเก่ากลางใหม่ เพื่อป้องกันกลุ่มคนร้ายซุกซ่อนระเบิดมากับรถยนต์ หรือคาร์บอมบ์ เข้ามาก่อเหตุในเขตเทศบาลนครยะลา หลังมีข่าวแจ้งเตือนจากหน่วยข่าวความมั่นคง ว่ากลุ่มคนร้ายจะก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 28-30 เม.ย.ซึ่งอยู่ในช่วงครอบรอบ 4 ปี เหตุการณ์กรือเซะ พร้อมประสานไปยังหน่วยกำลังในพื้นที่เขตตัวเมืองที่มีจุดตรวจเฝ้าระวัง ให้เตรียมพร้อมและตรวจเข้มบุคคลเข้าออกเพื่อป้องกันกลุ่มคนร้ายนำระเบิดเข้ามาก่อเหตุ หรือก่อเหตุร้ายในรูปแบบต่างๆ
ขณะที่ พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร์ ผบก.ภ.จว.สงขลา ได้สั่งการให้หัวหน้าสถานีตำรวจทั้ง 30 สถานีใน 16 อำเภอเข้าแผนปฏิบัติการระดมกวาดล้างในช่วงที่สองระหว่างวันที่ 28-30 เม.ย.นี้หลังจากที่เริ่มปฏิบัติการในช่วงแรกระหว่างวันที่ 24-26 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยระดมกวาดล้างอาชญากรรมทุกประเภท โดยเน้นหนักในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดน จ.สงขลา ทั้ง อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เนื่องจากเป็นช่วงครบรอบ 4 ปีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ซึ่งในส่วนของ อ.สะบ้าย้อย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว 19 ราย
แถลงการณ์ระบุว่า การวิสามัญของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยหมู่ประชนทั่วไป ถึงความถูกต้องชอบธรรมต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการสังหารประชาชน 28 คนในมัสยิด กรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี และเยาวชนอีก 19 คนที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เพราะการวิสามัญฆาตกรรมจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นการที่เจ้าหน้าที่ต้องป้องกันชีวิตของตนเอง หรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย จากการต่อสู้ของคนร้าย และจะต้องเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น
ทางคณะทำงานยุติธรรมฯ ได้ร่วมสังเกตการณ์คดีไต่สวนการตายทั้งสองกรณีนี้ มาโดยตลอด โดยในกรณีสะบ้าย้อย ได้ร่วมฟังการสืบพยานหลักฐานของทางอัยการซึ่งเป็นผู้ร้อง และญาติของผู้ตายที่เป็นผู้คัดค้าน ในเหตุการณ์ที่สะบ้าย้อยนั้นอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 ก.ย.47 ขณะนี้พยานฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตได้ร้องขอต่อศาลให้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุมาให้การเป็นพยาน ซึ่งจากหนังสือรับรองการตายระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 8 คนจาก 19 คนถูกยิงบริเวณศีรษะ หรือใบหน้าและส่วนใหญ่เป็นการยิงจากข้างหลัง ซึ่งการไต่สวนการตายสะบ้าย้อยครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 11 ก.ค.นี้
ส่วนกรณีการเสียชีวิต 32 ศพที่มัสยิดกรือเซะ อัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 20 ส.ค.47 ในคดีหมายเลขดำที่ ช.4/2547 และหมายเลขแดงที่ ช.3/2549 โดยศาลจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งลงวันที่ 28 พ.ย.49 ว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 32 คน ถูกเจ้าหน้าที่กระทำให้เสียชีวิตโดยมีการปะทะกัน ผู้เสียชีวิตบางคนมีมีดและปืนเป็นอาวุธ ซึ่งในจำนวนนี้มี 4 คน เสียชีวิตในเวลา 05.00 น.ที่บริเวณหน้ามัสยิดกรือเซะ ส่วนอีกจำนวน 28 คนเสียชีวิตเมื่อเวลา 14.00 น.ในมัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการถูกกระสุนปืน และระเบิดที่อวัยวะสำคัญ ภายใต้คำสั่งการของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี พ.อ.มนัส คงแป้น และพ.ต.ธนภัทร นาคชัยยะ ซี่งศาลจังหวัดปัตตานีได้ส่งคำสั่งศาลให้อัยการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติต่อไป
แต่จนถึงขณะนี้เป็นเวลา1 ปี 5 เดือน นับแต่ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่งสำนวนการไต่สวนการตายไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ แต่ยังไม่ปรากฎว่า ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามจากประชาชนทั่วไปมาโดยตลอดถึงความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม และปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงความโปร่งใสที่ปลอดพ้นจากการแทรกแซงในระบบยุติธรรมของประเทศไทย
ทางคณะทำงานยุติธรรมฯ จึงเรียกร้องให้ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ในเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนเมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 โดยการส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บนพื้นฐานของความเป็นอิสระ โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงไม่ว่าจะจากฝ่ายใดๆ โดยต้องระลึกเสมอว่า "ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ ความอยุติธรรม"
ด้านบรรยากาศทั่วไปบริเวณมัสยิดกรือเซะ เช้าวานนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ยังเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีเพียงชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบรั้วมัสยิดเพียงไม่กี่คน มาทำพิธีละหมาดในตอนเช้าตามปกติเช่นทุกวัน ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวดเป็นพิเศษตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งโชคดีปีนี้คนร้ายไม่มีโอกาสสร้างสถานการณ์ได้
ด้าน พล.ต.ต.สายัญ กระแสแสน ผบก.ภ.จว.ยะลา ได้สั่งการให้ ผกก.สภ.และหัวหน้าสถานียุทธศาสตร์ทุกแห่งในพื้นที่ 8 อำเภอของ จ.ยะลา จัดกำลังให้พร้อมและเข้มงวดเป็นกรณีพิเศษในการดูแลความสงบเรียบร้อย รวมทั้งมีการกดดันโดยการตรวจค้นเป้าหมายต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นที่หลบซ่อนตัวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และตั้งจุดตรวจจุดสกัดทางเข้าเมืองหลายจุด เพื่อตรวจสอบบุคคล รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองยะลาอย่างละเอียด
โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่สภาพเก่ากลางใหม่ เพื่อป้องกันกลุ่มคนร้ายซุกซ่อนระเบิดมากับรถยนต์ หรือคาร์บอมบ์ เข้ามาก่อเหตุในเขตเทศบาลนครยะลา หลังมีข่าวแจ้งเตือนจากหน่วยข่าวความมั่นคง ว่ากลุ่มคนร้ายจะก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 28-30 เม.ย.ซึ่งอยู่ในช่วงครอบรอบ 4 ปี เหตุการณ์กรือเซะ พร้อมประสานไปยังหน่วยกำลังในพื้นที่เขตตัวเมืองที่มีจุดตรวจเฝ้าระวัง ให้เตรียมพร้อมและตรวจเข้มบุคคลเข้าออกเพื่อป้องกันกลุ่มคนร้ายนำระเบิดเข้ามาก่อเหตุ หรือก่อเหตุร้ายในรูปแบบต่างๆ
ขณะที่ พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร์ ผบก.ภ.จว.สงขลา ได้สั่งการให้หัวหน้าสถานีตำรวจทั้ง 30 สถานีใน 16 อำเภอเข้าแผนปฏิบัติการระดมกวาดล้างในช่วงที่สองระหว่างวันที่ 28-30 เม.ย.นี้หลังจากที่เริ่มปฏิบัติการในช่วงแรกระหว่างวันที่ 24-26 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยระดมกวาดล้างอาชญากรรมทุกประเภท โดยเน้นหนักในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดน จ.สงขลา ทั้ง อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เนื่องจากเป็นช่วงครบรอบ 4 ปีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ซึ่งในส่วนของ อ.สะบ้าย้อย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว 19 ราย