สแตนฟอร์ดนับเป็นสุดยอดมหาวิทยาลัยของโลก โดยเฉพาะในด้านนวัตกรรม นับเป็นผลงานสำคัญของศาสตราจารย์ ดร.เฟรเดอริค เทอร์แมน อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมของโลก
อันดับนิตยสารนิวสวีคมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง
1มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
2มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
3มหาวิทยาลัยเยลมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์
4สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
5มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดหรือเรียกในชื่อเต็มว่า “มหาวิทยาลัยลีแลนด์ สแตนฟอร์ด จูเนียร์” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว้างขวางมากถึง 20,500 ไร่ ใหญ่กว่าพื้นที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิของไทยเล็กน้อย โดยอยู่ติดกับเมืองพาโลอัลโตในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งห่างจากนครซานฟรานซิสโก 60 กม. และห่างจากเมืองซานโฮเซ่ 32 กม.
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก่อตั้งขึ้นโดยนายลีแลนด์ สแตนฟอร์ด ซึ่งเติบโตมาจากการทำธุรกิจในด้านรถไฟ และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียคนที่ 8 ในช่วงสั้นๆ เป็นเวลา 2 ปี คือ ระหว่างปี 2405 - 2406 ภรรยาของเขาคือ นางเจน สแตนฟอร์ด ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามชื่อของบุตรคนเดียวของครอบครัวนี้ คือ เด็กชายลีแลนด์ สแตนฟอร์ด จูเนียร์ ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็กเมื่อปี 2427 ทำให้เขารู้สึกโศกเศร้าเป็นอันมาก และต่อมาได้ตั้งเจตนารมณ์ว่าเด็กทุกคนในแคลิฟอร์เนียเปรียบเสมือนกับเป็นลูกของตัวเขาเอง และต้องการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อให้การศึกษาแก่บรรดาเด็กเหล่านี้ และเริ่มให้บริการทางการศึกษาอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 2434 เป็นต้นมา
ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สแตนฟอร์ดมีชื่อเสียงในระดับภูมิภาคเท่านั้น ยังไม่มีชื่อเสียงระดับประเทศและระดับโลกเหมือนกับปัจจุบัน สำหรับบุคคลสำคัญที่ได้สร้างความยิ่งใหญ่แก่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ดร.เทอร์แมน ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในช่วงปี 2487 - 2501 ทั้งนี้เขาไม่พอใจนักที่บรรดานักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว หางานทำแถบนี้ไม่ได้เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต้องแยกย้ายไปทำงานแถบอื่น จึงมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาพื้นที่ย่านนี้ให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นแหล่งสร้างงาน โดยได้ดำเนินการหลายประการที่สำคัญมาก
ประการแรก กำหนดว่าบทบาทมหาวิทยาลัยมีพันธกิจสำคัญที่จะต้องพยายามนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเท้าติดดิน ไม่อยู่บนหอคอยงาช้าง เขาจึงกระตุ้นให้ทั้งคณาจารย์และลูกศิษย์ไปร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรมระหว่างสอน พร้อมกันนี้ได้เน้นให้โครงการวิจัยของนักศึกษาเป็นปัญหาจริงที่ภาคธุรกิจประสบ
ประการที่สอง เขาได้กระตุ้นบรรดาผู้สำเร็จการศึกษาหรือแม้แต่อาจารย์ให้เบนเข็มมาเป็นเถ้าแก่ไฮเทค แทนที่จะยึดอาชีพลูกจ้าง พร้อมกับอำนวยความสะดวกแก่บรรดาบุคลากรเหล่านี้ ทำให้พื้นที่แถบนี้เกิดผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมากมาย
ตัวอย่างหนึ่ง คือ ได้กระตุ้นให้ลูกศิษย์ คือ นายวิลเลียม ฮิวเลตต์ และนายเดวิด แพกการ์ดก่อตั้งธุรกิจของตนเองภายในโรงจอดรถย่านนี้เมื่อปี 2482 จนพัฒนากลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกคือ บริษัท HP ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน
ประการที่สาม แบ่งพื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นอุทยานอุตสาหกรรมสแตนฟอร์ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานวิจัยสแตนฟอร์ด) โดยตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 กำหนดรับเฉพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสูงเท่านั้น รวมถึงต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นอุทยานอุตสาหกรรมแห่งแรกๆ ของโลกที่จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การบริหารสินทรัพย์ทางปัญหาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้จัดตั้ง Office of Technology Licensing เพื่อให้บริการขายเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน มาตั้งแต่ปี 2513 นับว่าก่อตั้งมาก่อนหน้ามหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยกิจการในส่วนนี้ได้สร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก
แม้ในช่วงเริ่มแรก Office of Technology Licensing จะมีพนักงานเพียง 2 คนเท่านั้น แต่ธุรกิจได้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2549 หน่วยงาน Office of Technology Licensing มีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 23 คน และมีรายได้ในด้านการขายสิทธิบัตรและเทคโนโลยีเป็นเงิน 61 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 2549 มีรายได้สะสมในด้านการขายสิทธิบัตรและเทคโนโลยีเป็นเงินมากถึง 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากการขายหุ้นอีกด้วย โดยในปี 2548 มีรายได้จากการขายหุ้นในบริษัทกูเกิล เป็นเงินมากถึง 12,000 ล้านบาท
สำหรับสิทธิบัตรที่จำหน่ายโดย Office of Technology Licensing ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นต้นว่า สิทธิบัตรในด้าน FM Sound Synthesis ซึ่งจำหน่ายแก่บริษัทยามาฮ่าของญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 ซึ่งปัจจุบันนับเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายมาก โดยเฉพาะในระบบเสียงดนตรีของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
แม้ ดร.เทอร์แมน จะเสียชีวิตลงเมื่อปี 2525 แต่วิญญาณของความเป็นเถ้าแก่ที่เขาสร้างขึ้นไว้ไม่สูญหายไปไหน ย่านซิลิคอนวัลเล่ย์ยังคงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ SMEs ที่สำคัญที่สุดของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เติบใหญ่อย่างมั่นคง จากเดิมในสมัย ดร.เทอร์แมน ซึ่งมีคณาจารย์จำนวนเพียงแต่ 39 คน แต่ปัจจุบันมีคณาจารย์เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 คน และมีผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละปี ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก มากถึง 1,500 คน
บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายบริษัทได้ก่อตั้งโดยบุคลากรของสแตนฟอร์ด เป็นต้นว่า บริษัทซิสโก ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของโลก ในธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 โดยนาย Len Bosack และนางสาว Sandy Lerner ซึ่งขณะนั้นเป็นเพื่อนสนิทกัน (ต่อมาทั้งคู่ได้แต่งงานกัน) โดยฝ่ายชายรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์คณะคอมพิวเตอร์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และฝ่ายหญิงรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์คณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเช่นเดียวกัน โดยที่ทำการของบริษัทอยู่ที่ห้องนั่งเล่นของบ้าน
ส่วนบริษัทยาฮู ถือกำเนิดขึ้นโดยนายเจอร์รี่ หยาง ชาวไต้หวัน ซึ่งอพยพมาอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็ก และนายเดวิด ไฟโล ซึ่งเป็นชาวสหรัฐฯ ขณะกำลังศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยรู้สึกเบื่อที่จะทำวิทยานิพนธ์ จึงพยายามรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อจัดทำให้เป็นระบบ จากนั้นได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537
ล่าสุดบริษัทกูเกิล ก่อตั้งขึ้นโดยนายเซอร์เกย์ บริน ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย และนายแลร์รี เพจ ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ทั้งคู่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิล เมื่อปี 2541 โดยตั้งอยู่ที่โรงรถในย่านเมนโลปาร์ค สำหรับปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของกูเกิล คือ การจัดเรียงลำดับข้อมูล ซึ่งได้ใช้สิทธิบัตร PageRank ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ทางด้านดร.จอห์น เฮนเนสซี่ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระหว่างปี 2539 - 2542 และปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นประธานของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้สานต่อนโยบายของ ดร.เทอร์แมน โดยเขาได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่าหากมหาวิทยาลัยไม่ติดดินแล้ว ก็เปรียบเสมือนกับขว้างเทคโนโลยีไปยังฝาผนัง ไม่เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด พร้อมกับกล่าวถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดว่ามีสาเหตุจากเคล็ดลับหลายประการ
ประการแรก คณาจารย์ไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้าง แต่ต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลดีทำให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกในอุตสาหกรรม ไม่ได้มีความรู้แบบงูๆ ปลาๆ แต่อย่างใด
ประการที่สอง เป็นแหล่งขุมพลังสมองจากทั่วโลก โดยปัจจุบันมีบุคลากรที่ฉลาดหลักแหลมจากทั่วโลกเป็นจำนวนมากมาสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ประการที่สาม ทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ย่านซิลิคอนวัลเล่ย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญที่สุดของโลก นับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมของโลก
อันดับนิตยสารนิวสวีคมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง
1มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
2มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
3มหาวิทยาลัยเยลมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์
4สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
5มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดหรือเรียกในชื่อเต็มว่า “มหาวิทยาลัยลีแลนด์ สแตนฟอร์ด จูเนียร์” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว้างขวางมากถึง 20,500 ไร่ ใหญ่กว่าพื้นที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิของไทยเล็กน้อย โดยอยู่ติดกับเมืองพาโลอัลโตในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งห่างจากนครซานฟรานซิสโก 60 กม. และห่างจากเมืองซานโฮเซ่ 32 กม.
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก่อตั้งขึ้นโดยนายลีแลนด์ สแตนฟอร์ด ซึ่งเติบโตมาจากการทำธุรกิจในด้านรถไฟ และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียคนที่ 8 ในช่วงสั้นๆ เป็นเวลา 2 ปี คือ ระหว่างปี 2405 - 2406 ภรรยาของเขาคือ นางเจน สแตนฟอร์ด ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามชื่อของบุตรคนเดียวของครอบครัวนี้ คือ เด็กชายลีแลนด์ สแตนฟอร์ด จูเนียร์ ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็กเมื่อปี 2427 ทำให้เขารู้สึกโศกเศร้าเป็นอันมาก และต่อมาได้ตั้งเจตนารมณ์ว่าเด็กทุกคนในแคลิฟอร์เนียเปรียบเสมือนกับเป็นลูกของตัวเขาเอง และต้องการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อให้การศึกษาแก่บรรดาเด็กเหล่านี้ และเริ่มให้บริการทางการศึกษาอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 2434 เป็นต้นมา
ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สแตนฟอร์ดมีชื่อเสียงในระดับภูมิภาคเท่านั้น ยังไม่มีชื่อเสียงระดับประเทศและระดับโลกเหมือนกับปัจจุบัน สำหรับบุคคลสำคัญที่ได้สร้างความยิ่งใหญ่แก่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ดร.เทอร์แมน ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในช่วงปี 2487 - 2501 ทั้งนี้เขาไม่พอใจนักที่บรรดานักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว หางานทำแถบนี้ไม่ได้เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต้องแยกย้ายไปทำงานแถบอื่น จึงมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาพื้นที่ย่านนี้ให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นแหล่งสร้างงาน โดยได้ดำเนินการหลายประการที่สำคัญมาก
ประการแรก กำหนดว่าบทบาทมหาวิทยาลัยมีพันธกิจสำคัญที่จะต้องพยายามนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเท้าติดดิน ไม่อยู่บนหอคอยงาช้าง เขาจึงกระตุ้นให้ทั้งคณาจารย์และลูกศิษย์ไปร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรมระหว่างสอน พร้อมกันนี้ได้เน้นให้โครงการวิจัยของนักศึกษาเป็นปัญหาจริงที่ภาคธุรกิจประสบ
ประการที่สอง เขาได้กระตุ้นบรรดาผู้สำเร็จการศึกษาหรือแม้แต่อาจารย์ให้เบนเข็มมาเป็นเถ้าแก่ไฮเทค แทนที่จะยึดอาชีพลูกจ้าง พร้อมกับอำนวยความสะดวกแก่บรรดาบุคลากรเหล่านี้ ทำให้พื้นที่แถบนี้เกิดผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมากมาย
ตัวอย่างหนึ่ง คือ ได้กระตุ้นให้ลูกศิษย์ คือ นายวิลเลียม ฮิวเลตต์ และนายเดวิด แพกการ์ดก่อตั้งธุรกิจของตนเองภายในโรงจอดรถย่านนี้เมื่อปี 2482 จนพัฒนากลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกคือ บริษัท HP ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน
ประการที่สาม แบ่งพื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นอุทยานอุตสาหกรรมสแตนฟอร์ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานวิจัยสแตนฟอร์ด) โดยตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 กำหนดรับเฉพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสูงเท่านั้น รวมถึงต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นอุทยานอุตสาหกรรมแห่งแรกๆ ของโลกที่จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การบริหารสินทรัพย์ทางปัญหาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้จัดตั้ง Office of Technology Licensing เพื่อให้บริการขายเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน มาตั้งแต่ปี 2513 นับว่าก่อตั้งมาก่อนหน้ามหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยกิจการในส่วนนี้ได้สร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก
แม้ในช่วงเริ่มแรก Office of Technology Licensing จะมีพนักงานเพียง 2 คนเท่านั้น แต่ธุรกิจได้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2549 หน่วยงาน Office of Technology Licensing มีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 23 คน และมีรายได้ในด้านการขายสิทธิบัตรและเทคโนโลยีเป็นเงิน 61 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 2549 มีรายได้สะสมในด้านการขายสิทธิบัตรและเทคโนโลยีเป็นเงินมากถึง 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากการขายหุ้นอีกด้วย โดยในปี 2548 มีรายได้จากการขายหุ้นในบริษัทกูเกิล เป็นเงินมากถึง 12,000 ล้านบาท
สำหรับสิทธิบัตรที่จำหน่ายโดย Office of Technology Licensing ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นต้นว่า สิทธิบัตรในด้าน FM Sound Synthesis ซึ่งจำหน่ายแก่บริษัทยามาฮ่าของญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 ซึ่งปัจจุบันนับเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายมาก โดยเฉพาะในระบบเสียงดนตรีของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
แม้ ดร.เทอร์แมน จะเสียชีวิตลงเมื่อปี 2525 แต่วิญญาณของความเป็นเถ้าแก่ที่เขาสร้างขึ้นไว้ไม่สูญหายไปไหน ย่านซิลิคอนวัลเล่ย์ยังคงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ SMEs ที่สำคัญที่สุดของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เติบใหญ่อย่างมั่นคง จากเดิมในสมัย ดร.เทอร์แมน ซึ่งมีคณาจารย์จำนวนเพียงแต่ 39 คน แต่ปัจจุบันมีคณาจารย์เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 คน และมีผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละปี ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก มากถึง 1,500 คน
บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายบริษัทได้ก่อตั้งโดยบุคลากรของสแตนฟอร์ด เป็นต้นว่า บริษัทซิสโก ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของโลก ในธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 โดยนาย Len Bosack และนางสาว Sandy Lerner ซึ่งขณะนั้นเป็นเพื่อนสนิทกัน (ต่อมาทั้งคู่ได้แต่งงานกัน) โดยฝ่ายชายรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์คณะคอมพิวเตอร์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และฝ่ายหญิงรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์คณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเช่นเดียวกัน โดยที่ทำการของบริษัทอยู่ที่ห้องนั่งเล่นของบ้าน
ส่วนบริษัทยาฮู ถือกำเนิดขึ้นโดยนายเจอร์รี่ หยาง ชาวไต้หวัน ซึ่งอพยพมาอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็ก และนายเดวิด ไฟโล ซึ่งเป็นชาวสหรัฐฯ ขณะกำลังศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยรู้สึกเบื่อที่จะทำวิทยานิพนธ์ จึงพยายามรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อจัดทำให้เป็นระบบ จากนั้นได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537
ล่าสุดบริษัทกูเกิล ก่อตั้งขึ้นโดยนายเซอร์เกย์ บริน ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย และนายแลร์รี เพจ ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ทั้งคู่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิล เมื่อปี 2541 โดยตั้งอยู่ที่โรงรถในย่านเมนโลปาร์ค สำหรับปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของกูเกิล คือ การจัดเรียงลำดับข้อมูล ซึ่งได้ใช้สิทธิบัตร PageRank ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ทางด้านดร.จอห์น เฮนเนสซี่ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระหว่างปี 2539 - 2542 และปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นประธานของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้สานต่อนโยบายของ ดร.เทอร์แมน โดยเขาได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่าหากมหาวิทยาลัยไม่ติดดินแล้ว ก็เปรียบเสมือนกับขว้างเทคโนโลยีไปยังฝาผนัง ไม่เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด พร้อมกับกล่าวถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดว่ามีสาเหตุจากเคล็ดลับหลายประการ
ประการแรก คณาจารย์ไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้าง แต่ต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลดีทำให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกในอุตสาหกรรม ไม่ได้มีความรู้แบบงูๆ ปลาๆ แต่อย่างใด
ประการที่สอง เป็นแหล่งขุมพลังสมองจากทั่วโลก โดยปัจจุบันมีบุคลากรที่ฉลาดหลักแหลมจากทั่วโลกเป็นจำนวนมากมาสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ประการที่สาม ทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ย่านซิลิคอนวัลเล่ย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญที่สุดของโลก นับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้