รัฐบาล "สมัคร 1" ไฟเขียว ตั้ง "องค์กรมหาชน" ลุย โครงการพัฒนา ถนนราชดำเนิน ตั้งงบถลุง 7,000 ล้านบาท นำร่องเฟสแรกหว่าน 1,600 ล้านบาท หวังสะท้อนความเป็นกรุงเทพฯ - เชิดชูราชวงศ์ ด้านเลขาธิการส.อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ระบุควรเปิดโอกาสให้รับเหมาไทยเข้าร่วมงาน หรือกำหนดให้รับเหมาต่างชาติควรมีพาร์เนอร์คนไทยร่วม
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการร่างระเบียบถนนราชดำเนิน ซึ่งคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และ รมว.คลัง เป็นประธาน แต่ได้ติดภารกิจเดินทางไปประเทศ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน (องค์กรมหาชน) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันโครงการพัฒนาถนนราชดำเนินให้เป็นถนนวัฒนธรรม สืบสานจารีตประเพณีไทย สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ราชวงศ์จักรี โครงการดังกล่าวมีแผนแม่บทในการใช้งบประมาณทั้งสิ้นโครงการ 7,000 ล้านบาท โดยเฟสแรกระยะเวลาตั้งแต่ปี 51-55 มูลค่าโครงการ 1,693.83 ล้านบาทโดยมีรายละเอียดดังนี้
โครงการออกแบบก่อสร้างลานเฉลิมพรเกียรติ (กระทรวงวัฒนธรรม) 566.34 ล้านบาท (สำนักงานสลากกินแบ่งควรย้ายไปภายในเดือน ก.พ. หรือ มี.ค. 53 งบประมาณ 14.8 ล้านบาท) ,โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณลานพลับ พลานมหาเจษฎาบดินทร์ (กทม.) 6.50 ล้านบาท อยู่ระหว่างการจัดจ้างผู้รับเหมาคาดว่าแล้วเสร็จ พ.ย. 51, โครงการอุโมงค์ทางลอดถนนราชดำเนินกลางบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กทม.) 107.50 ล้านบาท
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมถนนราชดำเนินกลางและบริเวณโดยรอบ (กทม.) 389.72 ล้านบาท ,โครงการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ภายนอก (สำนักงานทรัพย์สินฯ /กทม.) 431.85 ล้านบาท ,โครงการปรับปรุงอาคารโดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (สำนักงานทรัพย์สินฯ /กทม.) 48.52 ล้านบาท ,โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดใต้ดินบริเวณลานเฉลิมพระเกียรติฯ - สนามหลวง (กทม.) 28.00 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาพื้นที่ถนนข้าวสาร (กทม.) 81 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาพื้นที่ด้านหลังอาคารราชดำเนิน (สำนักงานทรัพย์สินฯ ) 62.40 ล้านบาท
ยุบทีมงาน' ชอง เอลิเซ่ ' สมัย "สุวัจน์"
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ยุบคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษในสมัยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กำกับดูแลนโยบายการท่องเที่ยว ที่ได้กำหนดนโยบาย แผนการพัฒนาจะประกอบด้วยการเชื่อมโยงอาคารเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ด้านการใช้สอย พร้อมเปิดพื้นที่อาคารด้านหลังอาคารสองฝั่งถนนราชดำเนินให้เป็นที่โล่ง สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์
นอกจากนั้น ยังมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ข้ามถนนลอดใต้ ถ.ราชดำเนิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ผ่านถนนราชดำเนินไปยังฝั่ง ถ.อรุณอมรินท์ (ฝั่งธนบุรี) พร้อมที่จอดรถใต้ดินจุได้ 3,000 คันในบริเวณแยกผ่านฟ้า และใต้สะพานปิ่นเกล้า พร้อมตั้งเป้าว่า การทำให้ถนนราชดำเนินกลายเป็นถนนท่องเที่ยวและวัฒนธรรมคล้ายกับชอง เอลิเซ่ ในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส หรือเป็น "ชอง เอลิเซ่เมืองไทย" นี้จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในย่านนี้อีกกว่า 1 แสนคนต่อปี
ขณะเดียวกัน ในช่วงที่นายสุวัจน์ กำกับดูแล มีการระบุถึงการจัดระบบชุมชนในย่านถนนราชดำเนิน ซึ่งทั้งหมดเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แบ่งเป็นสองส่วนคือ อาคารพาณิชย์ ที่อยู่สองฝั่งถนน ซึ่งปัจจุบันมีการต่อสัญญาแบบปีต่อปี ซึ่งหากการพัฒนาเสร็จสิ้นลง รัฐบาลมองว่า ธุรกิจร้านค้าในย่านนี้ส่วนหนึ่งต้องเป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงเป็นแหล่งชอปปิ้งของนักท่องเที่ยว เช่น อัญมณี และผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้ประกอบการเดิมต้องมีการปรับการทำธุรกิจให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ในส่วนที่ 2 ที่เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ทางรัฐบาลต้องเข้าไปจัดการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อทำสวนสาธารณะ โดยอาจต้องมีการปรับรูปแบบที่อยู่อาศัย เพื่อบีบการใช้พื้นที่ให้น้อยลงแต่ประโยชน์ใช้สอยคงเดิม
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวถึงประเด็นที่ต้องมาพิจารณาเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า คงต้องดูภาพรวมของโครงการว่า รัฐบาลจะมีแนวทางและวิธีการจัดการอย่างไร แต่ยอมรับว่า เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์แน่นอน ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงานรับเหมาก่อสร้าง ตนคิดว่า ปัจจุบันบริษัทรับเหมาของไทย ก็มีประสิทธิภาพในการก่อสร้างไม่น้อยไปกว่าบริษัทรับเหมาต่างชาติ เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน ทางผู้รับเหมาไทยก็มีความเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกัน หากบริษัทรับเหมาต่างประเทศเข้ามาก็ควรจะมีพันธมิตรที่เป็นบริษัทเอกชนในไทยเข้าร่วมด้วย
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการร่างระเบียบถนนราชดำเนิน ซึ่งคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และ รมว.คลัง เป็นประธาน แต่ได้ติดภารกิจเดินทางไปประเทศ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน (องค์กรมหาชน) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันโครงการพัฒนาถนนราชดำเนินให้เป็นถนนวัฒนธรรม สืบสานจารีตประเพณีไทย สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ราชวงศ์จักรี โครงการดังกล่าวมีแผนแม่บทในการใช้งบประมาณทั้งสิ้นโครงการ 7,000 ล้านบาท โดยเฟสแรกระยะเวลาตั้งแต่ปี 51-55 มูลค่าโครงการ 1,693.83 ล้านบาทโดยมีรายละเอียดดังนี้
โครงการออกแบบก่อสร้างลานเฉลิมพรเกียรติ (กระทรวงวัฒนธรรม) 566.34 ล้านบาท (สำนักงานสลากกินแบ่งควรย้ายไปภายในเดือน ก.พ. หรือ มี.ค. 53 งบประมาณ 14.8 ล้านบาท) ,โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณลานพลับ พลานมหาเจษฎาบดินทร์ (กทม.) 6.50 ล้านบาท อยู่ระหว่างการจัดจ้างผู้รับเหมาคาดว่าแล้วเสร็จ พ.ย. 51, โครงการอุโมงค์ทางลอดถนนราชดำเนินกลางบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กทม.) 107.50 ล้านบาท
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมถนนราชดำเนินกลางและบริเวณโดยรอบ (กทม.) 389.72 ล้านบาท ,โครงการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ภายนอก (สำนักงานทรัพย์สินฯ /กทม.) 431.85 ล้านบาท ,โครงการปรับปรุงอาคารโดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (สำนักงานทรัพย์สินฯ /กทม.) 48.52 ล้านบาท ,โครงการอุโมงค์ทางเดินลอดใต้ดินบริเวณลานเฉลิมพระเกียรติฯ - สนามหลวง (กทม.) 28.00 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาพื้นที่ถนนข้าวสาร (กทม.) 81 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาพื้นที่ด้านหลังอาคารราชดำเนิน (สำนักงานทรัพย์สินฯ ) 62.40 ล้านบาท
ยุบทีมงาน' ชอง เอลิเซ่ ' สมัย "สุวัจน์"
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ยุบคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษในสมัยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กำกับดูแลนโยบายการท่องเที่ยว ที่ได้กำหนดนโยบาย แผนการพัฒนาจะประกอบด้วยการเชื่อมโยงอาคารเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ด้านการใช้สอย พร้อมเปิดพื้นที่อาคารด้านหลังอาคารสองฝั่งถนนราชดำเนินให้เป็นที่โล่ง สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์
นอกจากนั้น ยังมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ข้ามถนนลอดใต้ ถ.ราชดำเนิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ผ่านถนนราชดำเนินไปยังฝั่ง ถ.อรุณอมรินท์ (ฝั่งธนบุรี) พร้อมที่จอดรถใต้ดินจุได้ 3,000 คันในบริเวณแยกผ่านฟ้า และใต้สะพานปิ่นเกล้า พร้อมตั้งเป้าว่า การทำให้ถนนราชดำเนินกลายเป็นถนนท่องเที่ยวและวัฒนธรรมคล้ายกับชอง เอลิเซ่ ในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส หรือเป็น "ชอง เอลิเซ่เมืองไทย" นี้จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในย่านนี้อีกกว่า 1 แสนคนต่อปี
ขณะเดียวกัน ในช่วงที่นายสุวัจน์ กำกับดูแล มีการระบุถึงการจัดระบบชุมชนในย่านถนนราชดำเนิน ซึ่งทั้งหมดเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แบ่งเป็นสองส่วนคือ อาคารพาณิชย์ ที่อยู่สองฝั่งถนน ซึ่งปัจจุบันมีการต่อสัญญาแบบปีต่อปี ซึ่งหากการพัฒนาเสร็จสิ้นลง รัฐบาลมองว่า ธุรกิจร้านค้าในย่านนี้ส่วนหนึ่งต้องเป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงเป็นแหล่งชอปปิ้งของนักท่องเที่ยว เช่น อัญมณี และผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้ประกอบการเดิมต้องมีการปรับการทำธุรกิจให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ในส่วนที่ 2 ที่เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ทางรัฐบาลต้องเข้าไปจัดการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อทำสวนสาธารณะ โดยอาจต้องมีการปรับรูปแบบที่อยู่อาศัย เพื่อบีบการใช้พื้นที่ให้น้อยลงแต่ประโยชน์ใช้สอยคงเดิม
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวถึงประเด็นที่ต้องมาพิจารณาเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า คงต้องดูภาพรวมของโครงการว่า รัฐบาลจะมีแนวทางและวิธีการจัดการอย่างไร แต่ยอมรับว่า เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์แน่นอน ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงานรับเหมาก่อสร้าง ตนคิดว่า ปัจจุบันบริษัทรับเหมาของไทย ก็มีประสิทธิภาพในการก่อสร้างไม่น้อยไปกว่าบริษัทรับเหมาต่างชาติ เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน ทางผู้รับเหมาไทยก็มีความเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกัน หากบริษัทรับเหมาต่างประเทศเข้ามาก็ควรจะมีพันธมิตรที่เป็นบริษัทเอกชนในไทยเข้าร่วมด้วย