ผลการศึกษาชี้ความสุขของคนเราจะเพิ่มพูนขึ้นตามวัย ปัจจัยมาจากวุฒิภาวะและความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเองที่มีมากขึ้น โดยที่ความแตกต่างระหว่างเพศและชาติพันธุ์ที่มีผลต่อระดับความสุขจะลดลงเมื่อถึงวัยสุกงอมของชีวิต
การสำรวจที่จัดทำขึ้นระหว่างปี 1974-2004 พบว่า 15-33% ของวัยรุ่นอเมริกันอายุ 18 ปี บอกว่าตัวเองมีความสุข โดยผู้หญิงจะสุขสันต์กว่าผู้ชาย และคนขาวรื่นรมย์กว่าคนผิวสี
สำหรับประชากรกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีมากกว่าครึ่งที่บอกว่ามีความสุขมาก
ดร.หยางหยาง นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ระบุในรายงานผลการสำรวจที่ตีพิมพ์ในอเมริกัน โซซิโอลอจิคัล รีวิวว่า ระดับความสุขจะเพิ่มพูนขึ้นตามวัย
งานศึกษานี้ได้ข้อสรุปจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างปี 1974-2004 ของศูนย์วิจัยทัศนคติแห่งชาติของมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยแต่ละปีจะมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 1,500-3,000 คน ภายใต้คำถามหลักว่า “โดยรวมแล้ว คุณคิดว่าชีวิตทุกวันนี้เป็นอย่างไร คุณจะบอกว่าคุณมีความสุขมาก มีความสุขดี หรือไม่มีความสุขเลย?”
หยางกล่าวว่า ผลศึกษายืนยันสมมติฐานที่ว่า การที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเองมากขึ้น และลักษณะนิสัยอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะที่เป็นสุข จะเพิ่มพูนขึ้นตามอายุขัย
นอกจากนั้น ยังพบว่าความแตกต่างระหว่างเพศและระหว่างชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อระดับความสุข จะลดลงเมื่อคนเราอายุมากขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมได้เหมือนกัน รวมถึงปรับตัวจากความสูญเสียในแง่ความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น
การศึกษายังบ่งชี้ว่า คนเรามักมีความสุขมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเป็นใจ โดยคนที่เกิดในยุคเบบี้บูมคือ ระหว่างปี 1946-1964 เป็นกลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีประชากรหนาแน่น และคนยุคนั้นอาจไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการในชีวิต
การสำรวจที่จัดทำขึ้นระหว่างปี 1974-2004 พบว่า 15-33% ของวัยรุ่นอเมริกันอายุ 18 ปี บอกว่าตัวเองมีความสุข โดยผู้หญิงจะสุขสันต์กว่าผู้ชาย และคนขาวรื่นรมย์กว่าคนผิวสี
สำหรับประชากรกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีมากกว่าครึ่งที่บอกว่ามีความสุขมาก
ดร.หยางหยาง นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ระบุในรายงานผลการสำรวจที่ตีพิมพ์ในอเมริกัน โซซิโอลอจิคัล รีวิวว่า ระดับความสุขจะเพิ่มพูนขึ้นตามวัย
งานศึกษานี้ได้ข้อสรุปจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างปี 1974-2004 ของศูนย์วิจัยทัศนคติแห่งชาติของมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยแต่ละปีจะมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 1,500-3,000 คน ภายใต้คำถามหลักว่า “โดยรวมแล้ว คุณคิดว่าชีวิตทุกวันนี้เป็นอย่างไร คุณจะบอกว่าคุณมีความสุขมาก มีความสุขดี หรือไม่มีความสุขเลย?”
หยางกล่าวว่า ผลศึกษายืนยันสมมติฐานที่ว่า การที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเองมากขึ้น และลักษณะนิสัยอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะที่เป็นสุข จะเพิ่มพูนขึ้นตามอายุขัย
นอกจากนั้น ยังพบว่าความแตกต่างระหว่างเพศและระหว่างชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อระดับความสุข จะลดลงเมื่อคนเราอายุมากขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมได้เหมือนกัน รวมถึงปรับตัวจากความสูญเสียในแง่ความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น
การศึกษายังบ่งชี้ว่า คนเรามักมีความสุขมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเป็นใจ โดยคนที่เกิดในยุคเบบี้บูมคือ ระหว่างปี 1946-1964 เป็นกลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีประชากรหนาแน่น และคนยุคนั้นอาจไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการในชีวิต