เอเอฟพี - ตัวเก็งที่จะชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยหน้าทั้งสามคน เดินหน้าหาเสียงแสดงจุดยืนจะสานสัมพันธ์กับเอเชียใกล้ชิดยิ่งกว่าเดิม แม้จะยังไม่มีใครประกาศแนวนโยบายที่แน่ชัด บารัค โอบามา คุยเคยใช้ชีวิตวัยเด็กในเอเชีย จอห์น แมคเคน อ้างอดีตสมัยเป็นนักโทษสงครามที่เวียดนาม ส่วนฮิลลารี คลินตัน เรียกคะแนนคนอินเดีย ยินดีจะเป็นวุฒิสมาชิก "ปัญจาบ"
ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามรายจากสองพรรคการเมือง ต่างยืนยันว่าจะสานความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเอเชียให้แข็งแกร่งโดยผ่านความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจะช่วยฟื้นคืนฐานะเกียรติภูมิให้กับสหรัฐฯ หลังจากที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจนำสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามอิรักในปี 2003
นอกจากนั้น ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสามต่างก็เห็นว่า จีนกำลังเผชิญหน้ากับอิทธิพลของสหรัฐฯในเอเชีย การที่จีนได้เพิ่มกำลังทหารของตนและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้น ถือเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญ
บารัค โอบามา ซึ่งมีอายุ 46 ปี และอาจจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ กล่าวว่าเขาต้องการผลักดันให้เกิด "กรอบความสัมพันธ์กับเอเชียที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และเป็นกรอบที่ก้าวข้ามพ้นข้อตกลงแบบทวิภาคี การประชุมสุดยอดเป็นครั้งคราว และการจัดการในเรื่องต่างๆ แบบเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณีเท่านั้น"
โอบามานั้นเคยอยู่กับมารดาซึ่งเป็นชาวแคนซัสและบิดาบุญธรรมในอินโดนีเซีย ในช่วงที่เขาอายุ 6-10 ปี เขาบอกด้วยว่ายังต้องการที่จะรักษา "ความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับพันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และออสเตรเลีย"
สำหรับฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์ก วัย 61 ปี ซึ่งอาจจะได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ กล่าวว่าเธอเคยมีประสบการณ์เรื่องความมั่นคงของประเทศรวมทั้งนโยบายต่างประเทศตั้งแต่เมื่อครั้งที่บิล คลินตัน ดำรงตำแหน่งผู้นำทำเนียบขาว เธอย้ำว่าอินเดียนั้น "มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ" ทั้งในฐานะมหาอำนาจหน้าใหม่และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
นอกจากนั้น คลินตันยังมีสายสัมพันธ์อันดียิ่งกับชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียและเคยเรียกเสียงหัวเราะอย่างชื่นมื่นเมื่อครั้งที่เธอไปร่วมงานระดมทุนให้พรรค โดยพูดว่า "ดิฉันยินดีที่จะเป็นวุฒิสมาชิกจากปัญจาบพอๆ กับที่เป็นวุฒิสมาชิกจากนิวยอร์ก"
ส่วนแมคเคนในวัย 71 ปี และเป็นวีรบุรุษสงครามเวียดนามผู้เคยใช้ชีวิตหลายปีในคุกนักโทษ "ฮานอย ฮิลตัน" ได้กล่าวถึง "บทเรียนในการทำงานเป็นทีมและการอุทิศตน" ในระหว่างถูกกักขังว่าทำให้เขาเป็น "คนที่ดีขึ้นกว่าเดิม"
"พวกเราชาวอเมริกันต้องการการชี้นำด้วยตัวอย่างและการกระตุ้นให้ส่วนอื่นๆ ของโลกเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงจีนและอินเดียซึ่งกำลังก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญยิ่ง"
ในประเด็นความสัมพันธ์กับจีนนั้น โอบามาต้องการให้จีน "เล่นตามกติกา" ส่วนแมคเคนเรียกร้องให้จีนหยุดยั้งความพยายามที่จะจัดเวทีเจรจาและการรวมตัวในทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค "โดยเจตนาที่จะกีดกัน" สหรัฐฯ ออกไปจากเอเชีย ขณะที่คลินตันกล่าวว่าสหรัฐฯ "จะต้องเตรียมพร้อมที่จะท้าทายจีนเมื่อจีนดำเนินการใดๆ ที่ผิดแนวทางต่อผลประโยชน์ที่สำคัญของสหรัฐฯ"
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญก็วิเคราะห์ว่าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีรายใดในจำนวนสามคนนี้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ต่อเอเชียอย่างแท้จริง
"ผมว่ามันน่าประหลาดใจทีเดียวถ้าหากนโยบายของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียเปลี่ยนแปลงไป" โรเบิร์ต ฮาธาเวย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียประจำศูนย์วิชาการวูดโรว์ วิลสัน ในวอชิงตัน ให้ความเห็น และเสริมว่าสหรัฐฯ คงจะลดท่าทีการใช้โวหารแบบคาวบอยเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันลง และมุ่งที่จะประสานความร่วมมือกับเอเชียมากกว่าที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ โดยลำพัง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อความคิดเห็นของผู้คนอย่างหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งผู้คนซึ่งมีวัฒนธรรมต่างกัน และนับถือศาสนาต่างกัน
อย่างไรก็ตาม วิสาขา เดซาย ประธานสมาคมเอเชีย ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ ชี้ในอีกมุมหนึ่งว่า กรณีที่สหรัฐฯ บุกรุกอิรักและอัฟกานิสถาน นับเป็นผลร้ายต่อฐานะของสหรัฐฯ ในหมู่ชาวมุสลิมในเอเชียที่มีจำนวนถึง 900 ล้านคน
ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามรายจากสองพรรคการเมือง ต่างยืนยันว่าจะสานความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเอเชียให้แข็งแกร่งโดยผ่านความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจะช่วยฟื้นคืนฐานะเกียรติภูมิให้กับสหรัฐฯ หลังจากที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจนำสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามอิรักในปี 2003
นอกจากนั้น ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสามต่างก็เห็นว่า จีนกำลังเผชิญหน้ากับอิทธิพลของสหรัฐฯในเอเชีย การที่จีนได้เพิ่มกำลังทหารของตนและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้น ถือเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญ
บารัค โอบามา ซึ่งมีอายุ 46 ปี และอาจจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ กล่าวว่าเขาต้องการผลักดันให้เกิด "กรอบความสัมพันธ์กับเอเชียที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และเป็นกรอบที่ก้าวข้ามพ้นข้อตกลงแบบทวิภาคี การประชุมสุดยอดเป็นครั้งคราว และการจัดการในเรื่องต่างๆ แบบเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณีเท่านั้น"
โอบามานั้นเคยอยู่กับมารดาซึ่งเป็นชาวแคนซัสและบิดาบุญธรรมในอินโดนีเซีย ในช่วงที่เขาอายุ 6-10 ปี เขาบอกด้วยว่ายังต้องการที่จะรักษา "ความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับพันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และออสเตรเลีย"
สำหรับฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์ก วัย 61 ปี ซึ่งอาจจะได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ กล่าวว่าเธอเคยมีประสบการณ์เรื่องความมั่นคงของประเทศรวมทั้งนโยบายต่างประเทศตั้งแต่เมื่อครั้งที่บิล คลินตัน ดำรงตำแหน่งผู้นำทำเนียบขาว เธอย้ำว่าอินเดียนั้น "มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ" ทั้งในฐานะมหาอำนาจหน้าใหม่และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
นอกจากนั้น คลินตันยังมีสายสัมพันธ์อันดียิ่งกับชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียและเคยเรียกเสียงหัวเราะอย่างชื่นมื่นเมื่อครั้งที่เธอไปร่วมงานระดมทุนให้พรรค โดยพูดว่า "ดิฉันยินดีที่จะเป็นวุฒิสมาชิกจากปัญจาบพอๆ กับที่เป็นวุฒิสมาชิกจากนิวยอร์ก"
ส่วนแมคเคนในวัย 71 ปี และเป็นวีรบุรุษสงครามเวียดนามผู้เคยใช้ชีวิตหลายปีในคุกนักโทษ "ฮานอย ฮิลตัน" ได้กล่าวถึง "บทเรียนในการทำงานเป็นทีมและการอุทิศตน" ในระหว่างถูกกักขังว่าทำให้เขาเป็น "คนที่ดีขึ้นกว่าเดิม"
"พวกเราชาวอเมริกันต้องการการชี้นำด้วยตัวอย่างและการกระตุ้นให้ส่วนอื่นๆ ของโลกเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงจีนและอินเดียซึ่งกำลังก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญยิ่ง"
ในประเด็นความสัมพันธ์กับจีนนั้น โอบามาต้องการให้จีน "เล่นตามกติกา" ส่วนแมคเคนเรียกร้องให้จีนหยุดยั้งความพยายามที่จะจัดเวทีเจรจาและการรวมตัวในทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค "โดยเจตนาที่จะกีดกัน" สหรัฐฯ ออกไปจากเอเชีย ขณะที่คลินตันกล่าวว่าสหรัฐฯ "จะต้องเตรียมพร้อมที่จะท้าทายจีนเมื่อจีนดำเนินการใดๆ ที่ผิดแนวทางต่อผลประโยชน์ที่สำคัญของสหรัฐฯ"
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญก็วิเคราะห์ว่าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีรายใดในจำนวนสามคนนี้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ต่อเอเชียอย่างแท้จริง
"ผมว่ามันน่าประหลาดใจทีเดียวถ้าหากนโยบายของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียเปลี่ยนแปลงไป" โรเบิร์ต ฮาธาเวย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียประจำศูนย์วิชาการวูดโรว์ วิลสัน ในวอชิงตัน ให้ความเห็น และเสริมว่าสหรัฐฯ คงจะลดท่าทีการใช้โวหารแบบคาวบอยเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันลง และมุ่งที่จะประสานความร่วมมือกับเอเชียมากกว่าที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ โดยลำพัง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อความคิดเห็นของผู้คนอย่างหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งผู้คนซึ่งมีวัฒนธรรมต่างกัน และนับถือศาสนาต่างกัน
อย่างไรก็ตาม วิสาขา เดซาย ประธานสมาคมเอเชีย ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ ชี้ในอีกมุมหนึ่งว่า กรณีที่สหรัฐฯ บุกรุกอิรักและอัฟกานิสถาน นับเป็นผลร้ายต่อฐานะของสหรัฐฯ ในหมู่ชาวมุสลิมในเอเชียที่มีจำนวนถึง 900 ล้านคน