หลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤติมาอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศขาดความเชื่อมั่นที่จะลงทุนใดๆในไทย เหตุเพราะไม่มั่นใจในเสถียรภาพการเมืองไทยที่ผันผวนตลอดเวลา ส่งผลให้ประชาชนคนไทยได้รับผลกระทบจากข้าวยาก หมากแพง ที่ผู้ประกอบการรายย่อยพร้อมใจกันขึ้นราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งเขาได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่มีราคาสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งตัวสูงขึ้นรายวันแบบฉุดไม่อยู่
ประชาชนคนไทยทั้งประเทศหวังเหลือเกินว่า หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยสถานการณ์ทุกอย่างจะดีขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
ในทางกลับกันวันนี้เกือบ 2 เดือนแล้ว ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ “นายสมัคร สุนทรเวช” นายกรัฐมนตรี ที่มี “นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ” นั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบวกกับ “นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” ที่นั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเรียกได้ว่าทั้งสองคือ ขุนพลด้านเศรษฐกิจที่พรรคพลังประชาชนวางตัวไว้ให้เดินร่วมกัน แต่ข่าวคราวที่ออกมาในช่วงของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ๆ ดูเหมือนทั้งสองจะไม่ค่อยสมานฉันท์กัน
บวกกับการดำเนินการใดๆในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ณ วันนี้ก็ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมให้ประชาชนจับต้องได้ หนำซ้ำเศรษฐกิจยังทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเชื่อว่า ไม่เกิน 6 เดือนคงต้องมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีแน่นอน
จึงไม่แปลกที่วันนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศคงยังกล้าๆกลัวๆที่จะตัดสินใจใดๆ เพราะความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องหยุดชะงักตาม โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่หารายได้เข้าประเทศ ต้องเดินหน้าหารายได้เข้าประเทศต่อไปแม้สถานการณ์ภายในประเทศจะไม่นิ่งก็ตาม
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” หรือ (ททท.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าที่หารายได้จากนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ และรณรงค์ให้คนไทยเที่ยวไทยกันเงินไหลออกนอกประเทศ
ปี 2551 นี้ทาง ททท.ได้จัดทำแผนการตลาดท่องเที่ยว โดยเริ่มระดมสมองร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนในภูมิภาคต่างๆ ทั้งทวีปยุโรปและเอเซีย เพื่อจัดทำกลยุทธ์เชิงรุกด้านการตลาดท่องเที่ยว หวังดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวไทย
โดยปีนี้ทาง ททท. ปรับกลยุทธ์ใหม่ เน้น “ส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ หวังรายได้มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว” ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เน้นจำนวนของนักท่องเที่ยว
ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย “นางพรศิริ มโนหาญ” ให้เหตุผลตรงๆว่า สาเหตุที่ต้องเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพราะเขาพร้อมที่จะควักกระเป๋าจับจ่าย ใช้สอย ไม่ขี้เหนียว ถือเป็นนักท่องเที่ยงอีกระดับหนึ่งที่ ททท.ไม่เหนื่อย เมื่อเห็นตัวเลขรายได้ของแต่ละปี
สิ่งสำคัญคือการนำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวสู่ตลาดโลกในปีนี้ เป็นลักษณะการรวมกลุ่มของสินค้าและสร้าง Theme ให้กับแต่ละกลุ่ม เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ต่างๆที่นักท่องเที่ยวจะได้รับและเกิดความ “Amazing” ต่อประเทศไทยรวมทั้งเอกลักษณ์ของสินค้าไทยที่มีอย่างหลากหลาย โดย ททท.จะนำเสนอจุดแข็งของสินค้าประเทศไทย 7 กลุ่ม 7 แนวทางสร้างความสุข ภายใต้ชื่อ “7 Amazing Wonders” ประกอบด้วย 1.รักวิถีไทย หัวใจแผ่นดิน 2.มรดกแห่งแผ่นดิน3.หลากหลายทะเลไทย 4.ชีวิตร่วมสมัย ความสุขไทยที่แตกต่าง 5.รักห่วงใย ใส่ใจธรรมชาติ 6.สุขภาพนิยม และ 7.เทศกาลแห่งความสุข สีสันหรรษา
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภค การดำเนินงานด้านการตลาดท่องเที่ยวในต่างประเทศ ด้วยการนำเสนอ “7 Amazing Wonders” ของ ททท. น่าจะเป็นจุดขายที่แข็งของสินค้าตลาดท่องเที่ยวไทย ที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ โดยทาง ททท.ได้เริ่มเสนอขายมาตั้งแต่ต้นปี 2551
ผู้ว่า ททท. เปิดเผยว่า การปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากนัก ตัวเลขนักท่องเที่ยวยังเพิ่มสูงขึ้นทุกปีแม้ไม่มากก็ตาม ทั้งนี้สาเหตุยอดตัวเลขลดไม่ได้เกิดจากเหตุปฏิวัติ แต่เกิดจากบรรยากาศของการขู่วางระเบิดที่มีทั่วทุกภูมิภาคเอเซีย ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความหวั่นไหวหวาดกลัวอยู่บ้าง มันไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ทุกประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของบ้านเรา ต่างชาติเขาเข้าใจดี ไม่มีปัญหา
สำหรับปี 2550 ททท.สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้สูงกว่า 14 ล้านคน มีรายได้กว่า 5.7 แสนล้านบาท ถือว่ารายได้ทะลุเป้า เพราะตั้งไว้ที่ 5.4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนักท่องเที่ยวแถบยุโรปที่เขาสนใจมาเที่ยวไทยกันปีๆหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว
และในปี 2551 ตัวเลขนักท่องเที่ยวอาจน้อยลง แต่ตัวเลขของรายได้ต้องถึงเป้า ซึ่งทาง ททท. ตั้งไว้ที่ 8 แสนล้านบาท เชื่อว่ากลยุทธ์การเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพจะสามารถสร้างรายได้ให้ทะลุเป้าเหมือนปีที่ผ่านมา
เจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา “นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์” กำชับด้วยว่า ให้เน้นนักท่องเที่ยวที่เป็นนักลงทุนด้วย เป็นการหวังผลด้านการลงทุนในประเทศ เรียกว่า ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว
ดังนั้นการจัดแสดงสินค้าแต่ละครั้งในต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทาง ททท.ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในทุกปี โดยล่าสุด ททท.ได้ไปร่วมจัดงาน “MAP 2008” ( Le Mode a Paris 2008) เมื่อวันที่ 13-17 มีนาคม ณ กรุงปารีส เมืองฝรั่งเศส
งานที่ว่านี้เป็นงานส่งเสริมการขายด้าน Consumer หวังตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการขายท่องเที่ยวและเป็นงานที่แสดงความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพของการจัดงานส่งเสริมการขายการท่องในฝรั่งเศสให้จัดอยู่ในระดับสากล
โดยงาน MAP เป็นงานเสนอขายสำหรับกลุ่ม Professional และ Consumer ที่ผู้จัดงานรับประกันจำนวนผู้เข้าร่วมงานจะเป็นกลุ่ม Trade 15,000 ราย กลุ่ม Media จำนวน 900 รายและกลุ่ม Consumer 1 แสนราย ซึ่งเป็นไปตามคาด
ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าแต่ละครั้ง ทาง ททท.ไม่ได้กำไร แต่มันจำเป็นที่ต้องดำเนินการ อย่างน้อยเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ตอกย้ำในตลาดโลกให้รู้ว่า ไทยมีสินค้าดีๆนำเสนอนักท่องเที่ยวมากมายก่ายกอง และมีการพัฒนาการบริการที่หลากหลาย ล้วนได้ประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว ที่สำคัญการจัดงานดังกล่าวเพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนได้รับความเคลื่อนไหวของตลาดท่องเที่ยวไทยอีกด้วย
การจัดงาน “MAP 2008” ที่กรุงปารีส ถือว่าประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง แม้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนที่ขายตลาดไทย ไม่ประสบความสำเร็จเรื่องยอดผู้จองมาท่องเที่ยวไทยมากนัก แต่ก็ถือว่า ททท.ประสบความสำเร็จในเรื่องของการประชาสัมพันธ์สินค้าตลาดไทยหลายด้าน โดยเฉพาะ “7 Amazing Wonders” ที่เชื่อว่านักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสจะตัดสินใจเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ผ่านๆมา ซึ่งก็มีตัวเลขสูงขึ้นทุกปี
ด้วยความที่ ททท.มุ่งเน้น ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ด้วยพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ เน้นการนำเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยผนวกแนวคิดดังกล่าวร่วมกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยว ที่ให้ความสำคัญกับการเที่ยวอย่างรู้คุณค่า ต้องการได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่เกิดการเรียนรู้จากการเดินทางท่องเที่ยว
ขณะเดียวกันสถานการณ์โลกทุกวันนี้ กำลังประสบกับปัญหาภาวะโลกร้อน นักท่องเที่ยวหลายกลุ่มหันมาใส่ใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ราคาจึงไม่ไม่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกเดินทางอีกต่อไป ลักษณะเดินทางจึงเป็นไปอย่างยืดหยุ่น ประเทศไทยถือเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยว เพราะคุ้มทั้งราคาและคุณภาพที่ได้รับ
ที่สำคัญประเทศไทยมีศักยภาพเชิงบวกในเวทีโลก ติดอันดับ 1 ในประเภท แหล่งท่องเที่ยวที่มีความคุ้มค่าเงิน (Valuwe For Money) จากการสำรวจของ Future Brand ซึ่งเป็นหน่วยงานมาตรฐานแห่งหนึ่งในการสำรวจความนิยมของนักท่องเที่ยวโลก ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งติดอันดับ 1 ใน 10 ทั้งภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวในทะเล บันเทิงอาหาร การมีรากฐานทางวัฒนธรรมที่แท้และดั่งเดิม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน
รางวัลที่ได้ว่าถือเป็นการการันตีคำว่า “Amazing Thailand” อย่างแท้จริง ททท.ได้ตอกย้ำภาพลักษณ์ดังกล่าวด้วยการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการรับรู้และจดจำ สามารถเรียกความสนใจนักท่องเที่ยวในตลาดโลกได้ตลอดกาลทีเดียว
นอกจากการดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยแล้ว ทาง ททท.ยังเล็งเห็นความสำคัญของนักท่องเที่ยวในประเทศ ถือเป็นการน้อมรับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ชื่อ “ไทยเที่ยวไทย”
ดังนั้นการดำเนินงานด้านตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศ ของปี 2551 จึงเห็นความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 2 มิติ ประกอบด้วยมิติทางสังคม และมิติทางเศรษฐกิจ
โดยมิติทางสังคมจะเน้นให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม รักหวงแหนประเทศและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ส่วนมิติทางเศรษฐกิจเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจไปสู่พื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ทั้งหลายทั้งปวงของการดึงรายได้เข้าประเทศจะประสบความสำเร็จไม่ได้ หาก ททท.ทำเพียงลำพังฝ่ายเดียว ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายแห่งที่ต้องดำเนินงานร่วมไปกับ ททท. โดยเฉพาะกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง เป็นต้น
“เวลานี้ปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งทาง ททท.ได้รับการร้องเรียนมาคือ การบริหารนักท่องเที่ยวที่สนามบิน จุดตรวจคนเข้าเมือง วันนี้มีนักท่องเที่ยวแห่เข้ามาเที่ยวไทยจำนวนมาก และต้องประสบกับปัญหาการต่อคิวจุดตรวจคนเข้าเมืองของสนามบิน โดยเฉพาะสนามบินที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่ง ทาง ททท.ถูกร้องเรียนมาว่า ให้การบริการที่แย่มาก เหมือนไม่รับแขก แบบนี้ ททท.ก็เหนื่อย อุตส่าห์ประชาสัมพันธ์ขายตลาดไทย จนนักท่องเที่ยวตัดสินใจเที่ยวไทย แต่กลับไม่ได้รับการบริการที่ดี อยากให้ทางตรวจคนเข้าเมืองปรับปรุงการให้การบริการตรงนี้ด้วย เราถูกร้องเรียนเข้ามามาก บางครั้งได้รับรายงานว่า นักท่องเที่ยวขอกลับ เพราะไม่ประทับใจการบริการของประตูเมืองที่เป็นเมืองท่องเที่ยวบางแห่ง”ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยความกังวลพร้อมกับหวังว่า สักวันคงได้รับการแก้ไข เสียงร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวคงจะน้อยลง
เมืองไทยมีอะไรอีกเยอะแยะ ที่สามารถดึงนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างงดงาม หลายฝ่ายหวังว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ “สมัคร สุนทรเวช” นายกรัฐมนตรี คงจะเล็งเห็นความสำคัญ การท่องเที่ยวไทยโดยหันมาให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวไทยให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในอดีต ที่แต่ละรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจเต็มร้อย
ในห้วงที่ประเทศกำลังเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองและวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่นักท่องเที่ยวยังสนใจเข้ามาเที่ยวไทยไม่หยุดหย่อน การสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยว ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาหวังผลเรื่องของนักลงทุนด้วยนั้น น่าจะเป็นแนวคิดที่ดีและเป็นหนทางหนึ่งของการกระตุ้นรายได้ให้กับคนในประเทศที่กำลังประสบชะตากรรมข้าวยาก หมากแพงยามนี้ ได้ไม่น้อยทีเดียว
ประชาชนคนไทยทั้งประเทศหวังเหลือเกินว่า หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยสถานการณ์ทุกอย่างจะดีขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
ในทางกลับกันวันนี้เกือบ 2 เดือนแล้ว ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ “นายสมัคร สุนทรเวช” นายกรัฐมนตรี ที่มี “นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ” นั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบวกกับ “นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” ที่นั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเรียกได้ว่าทั้งสองคือ ขุนพลด้านเศรษฐกิจที่พรรคพลังประชาชนวางตัวไว้ให้เดินร่วมกัน แต่ข่าวคราวที่ออกมาในช่วงของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ๆ ดูเหมือนทั้งสองจะไม่ค่อยสมานฉันท์กัน
บวกกับการดำเนินการใดๆในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ณ วันนี้ก็ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมให้ประชาชนจับต้องได้ หนำซ้ำเศรษฐกิจยังทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเชื่อว่า ไม่เกิน 6 เดือนคงต้องมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีแน่นอน
จึงไม่แปลกที่วันนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศคงยังกล้าๆกลัวๆที่จะตัดสินใจใดๆ เพราะความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องหยุดชะงักตาม โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่หารายได้เข้าประเทศ ต้องเดินหน้าหารายได้เข้าประเทศต่อไปแม้สถานการณ์ภายในประเทศจะไม่นิ่งก็ตาม
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” หรือ (ททท.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าที่หารายได้จากนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ และรณรงค์ให้คนไทยเที่ยวไทยกันเงินไหลออกนอกประเทศ
ปี 2551 นี้ทาง ททท.ได้จัดทำแผนการตลาดท่องเที่ยว โดยเริ่มระดมสมองร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนในภูมิภาคต่างๆ ทั้งทวีปยุโรปและเอเซีย เพื่อจัดทำกลยุทธ์เชิงรุกด้านการตลาดท่องเที่ยว หวังดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวไทย
โดยปีนี้ทาง ททท. ปรับกลยุทธ์ใหม่ เน้น “ส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ หวังรายได้มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว” ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เน้นจำนวนของนักท่องเที่ยว
ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย “นางพรศิริ มโนหาญ” ให้เหตุผลตรงๆว่า สาเหตุที่ต้องเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพราะเขาพร้อมที่จะควักกระเป๋าจับจ่าย ใช้สอย ไม่ขี้เหนียว ถือเป็นนักท่องเที่ยงอีกระดับหนึ่งที่ ททท.ไม่เหนื่อย เมื่อเห็นตัวเลขรายได้ของแต่ละปี
สิ่งสำคัญคือการนำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวสู่ตลาดโลกในปีนี้ เป็นลักษณะการรวมกลุ่มของสินค้าและสร้าง Theme ให้กับแต่ละกลุ่ม เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ต่างๆที่นักท่องเที่ยวจะได้รับและเกิดความ “Amazing” ต่อประเทศไทยรวมทั้งเอกลักษณ์ของสินค้าไทยที่มีอย่างหลากหลาย โดย ททท.จะนำเสนอจุดแข็งของสินค้าประเทศไทย 7 กลุ่ม 7 แนวทางสร้างความสุข ภายใต้ชื่อ “7 Amazing Wonders” ประกอบด้วย 1.รักวิถีไทย หัวใจแผ่นดิน 2.มรดกแห่งแผ่นดิน3.หลากหลายทะเลไทย 4.ชีวิตร่วมสมัย ความสุขไทยที่แตกต่าง 5.รักห่วงใย ใส่ใจธรรมชาติ 6.สุขภาพนิยม และ 7.เทศกาลแห่งความสุข สีสันหรรษา
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภค การดำเนินงานด้านการตลาดท่องเที่ยวในต่างประเทศ ด้วยการนำเสนอ “7 Amazing Wonders” ของ ททท. น่าจะเป็นจุดขายที่แข็งของสินค้าตลาดท่องเที่ยวไทย ที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ โดยทาง ททท.ได้เริ่มเสนอขายมาตั้งแต่ต้นปี 2551
ผู้ว่า ททท. เปิดเผยว่า การปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากนัก ตัวเลขนักท่องเที่ยวยังเพิ่มสูงขึ้นทุกปีแม้ไม่มากก็ตาม ทั้งนี้สาเหตุยอดตัวเลขลดไม่ได้เกิดจากเหตุปฏิวัติ แต่เกิดจากบรรยากาศของการขู่วางระเบิดที่มีทั่วทุกภูมิภาคเอเซีย ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความหวั่นไหวหวาดกลัวอยู่บ้าง มันไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ทุกประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของบ้านเรา ต่างชาติเขาเข้าใจดี ไม่มีปัญหา
สำหรับปี 2550 ททท.สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้สูงกว่า 14 ล้านคน มีรายได้กว่า 5.7 แสนล้านบาท ถือว่ารายได้ทะลุเป้า เพราะตั้งไว้ที่ 5.4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนักท่องเที่ยวแถบยุโรปที่เขาสนใจมาเที่ยวไทยกันปีๆหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว
และในปี 2551 ตัวเลขนักท่องเที่ยวอาจน้อยลง แต่ตัวเลขของรายได้ต้องถึงเป้า ซึ่งทาง ททท. ตั้งไว้ที่ 8 แสนล้านบาท เชื่อว่ากลยุทธ์การเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพจะสามารถสร้างรายได้ให้ทะลุเป้าเหมือนปีที่ผ่านมา
เจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา “นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์” กำชับด้วยว่า ให้เน้นนักท่องเที่ยวที่เป็นนักลงทุนด้วย เป็นการหวังผลด้านการลงทุนในประเทศ เรียกว่า ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว
ดังนั้นการจัดแสดงสินค้าแต่ละครั้งในต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทาง ททท.ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในทุกปี โดยล่าสุด ททท.ได้ไปร่วมจัดงาน “MAP 2008” ( Le Mode a Paris 2008) เมื่อวันที่ 13-17 มีนาคม ณ กรุงปารีส เมืองฝรั่งเศส
งานที่ว่านี้เป็นงานส่งเสริมการขายด้าน Consumer หวังตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการขายท่องเที่ยวและเป็นงานที่แสดงความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพของการจัดงานส่งเสริมการขายการท่องในฝรั่งเศสให้จัดอยู่ในระดับสากล
โดยงาน MAP เป็นงานเสนอขายสำหรับกลุ่ม Professional และ Consumer ที่ผู้จัดงานรับประกันจำนวนผู้เข้าร่วมงานจะเป็นกลุ่ม Trade 15,000 ราย กลุ่ม Media จำนวน 900 รายและกลุ่ม Consumer 1 แสนราย ซึ่งเป็นไปตามคาด
ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าแต่ละครั้ง ทาง ททท.ไม่ได้กำไร แต่มันจำเป็นที่ต้องดำเนินการ อย่างน้อยเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ตอกย้ำในตลาดโลกให้รู้ว่า ไทยมีสินค้าดีๆนำเสนอนักท่องเที่ยวมากมายก่ายกอง และมีการพัฒนาการบริการที่หลากหลาย ล้วนได้ประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว ที่สำคัญการจัดงานดังกล่าวเพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนได้รับความเคลื่อนไหวของตลาดท่องเที่ยวไทยอีกด้วย
การจัดงาน “MAP 2008” ที่กรุงปารีส ถือว่าประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง แม้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนที่ขายตลาดไทย ไม่ประสบความสำเร็จเรื่องยอดผู้จองมาท่องเที่ยวไทยมากนัก แต่ก็ถือว่า ททท.ประสบความสำเร็จในเรื่องของการประชาสัมพันธ์สินค้าตลาดไทยหลายด้าน โดยเฉพาะ “7 Amazing Wonders” ที่เชื่อว่านักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสจะตัดสินใจเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ผ่านๆมา ซึ่งก็มีตัวเลขสูงขึ้นทุกปี
ด้วยความที่ ททท.มุ่งเน้น ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ด้วยพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ เน้นการนำเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยผนวกแนวคิดดังกล่าวร่วมกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยว ที่ให้ความสำคัญกับการเที่ยวอย่างรู้คุณค่า ต้องการได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่เกิดการเรียนรู้จากการเดินทางท่องเที่ยว
ขณะเดียวกันสถานการณ์โลกทุกวันนี้ กำลังประสบกับปัญหาภาวะโลกร้อน นักท่องเที่ยวหลายกลุ่มหันมาใส่ใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ราคาจึงไม่ไม่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกเดินทางอีกต่อไป ลักษณะเดินทางจึงเป็นไปอย่างยืดหยุ่น ประเทศไทยถือเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยว เพราะคุ้มทั้งราคาและคุณภาพที่ได้รับ
ที่สำคัญประเทศไทยมีศักยภาพเชิงบวกในเวทีโลก ติดอันดับ 1 ในประเภท แหล่งท่องเที่ยวที่มีความคุ้มค่าเงิน (Valuwe For Money) จากการสำรวจของ Future Brand ซึ่งเป็นหน่วยงานมาตรฐานแห่งหนึ่งในการสำรวจความนิยมของนักท่องเที่ยวโลก ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งติดอันดับ 1 ใน 10 ทั้งภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวในทะเล บันเทิงอาหาร การมีรากฐานทางวัฒนธรรมที่แท้และดั่งเดิม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน
รางวัลที่ได้ว่าถือเป็นการการันตีคำว่า “Amazing Thailand” อย่างแท้จริง ททท.ได้ตอกย้ำภาพลักษณ์ดังกล่าวด้วยการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการรับรู้และจดจำ สามารถเรียกความสนใจนักท่องเที่ยวในตลาดโลกได้ตลอดกาลทีเดียว
นอกจากการดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยแล้ว ทาง ททท.ยังเล็งเห็นความสำคัญของนักท่องเที่ยวในประเทศ ถือเป็นการน้อมรับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ชื่อ “ไทยเที่ยวไทย”
ดังนั้นการดำเนินงานด้านตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศ ของปี 2551 จึงเห็นความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 2 มิติ ประกอบด้วยมิติทางสังคม และมิติทางเศรษฐกิจ
โดยมิติทางสังคมจะเน้นให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม รักหวงแหนประเทศและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ส่วนมิติทางเศรษฐกิจเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจไปสู่พื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ทั้งหลายทั้งปวงของการดึงรายได้เข้าประเทศจะประสบความสำเร็จไม่ได้ หาก ททท.ทำเพียงลำพังฝ่ายเดียว ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายแห่งที่ต้องดำเนินงานร่วมไปกับ ททท. โดยเฉพาะกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง เป็นต้น
“เวลานี้ปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งทาง ททท.ได้รับการร้องเรียนมาคือ การบริหารนักท่องเที่ยวที่สนามบิน จุดตรวจคนเข้าเมือง วันนี้มีนักท่องเที่ยวแห่เข้ามาเที่ยวไทยจำนวนมาก และต้องประสบกับปัญหาการต่อคิวจุดตรวจคนเข้าเมืองของสนามบิน โดยเฉพาะสนามบินที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่ง ทาง ททท.ถูกร้องเรียนมาว่า ให้การบริการที่แย่มาก เหมือนไม่รับแขก แบบนี้ ททท.ก็เหนื่อย อุตส่าห์ประชาสัมพันธ์ขายตลาดไทย จนนักท่องเที่ยวตัดสินใจเที่ยวไทย แต่กลับไม่ได้รับการบริการที่ดี อยากให้ทางตรวจคนเข้าเมืองปรับปรุงการให้การบริการตรงนี้ด้วย เราถูกร้องเรียนเข้ามามาก บางครั้งได้รับรายงานว่า นักท่องเที่ยวขอกลับ เพราะไม่ประทับใจการบริการของประตูเมืองที่เป็นเมืองท่องเที่ยวบางแห่ง”ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยความกังวลพร้อมกับหวังว่า สักวันคงได้รับการแก้ไข เสียงร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวคงจะน้อยลง
เมืองไทยมีอะไรอีกเยอะแยะ ที่สามารถดึงนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างงดงาม หลายฝ่ายหวังว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ “สมัคร สุนทรเวช” นายกรัฐมนตรี คงจะเล็งเห็นความสำคัญ การท่องเที่ยวไทยโดยหันมาให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวไทยให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในอดีต ที่แต่ละรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจเต็มร้อย
ในห้วงที่ประเทศกำลังเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองและวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่นักท่องเที่ยวยังสนใจเข้ามาเที่ยวไทยไม่หยุดหย่อน การสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยว ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาหวังผลเรื่องของนักลงทุนด้วยนั้น น่าจะเป็นแนวคิดที่ดีและเป็นหนทางหนึ่งของการกระตุ้นรายได้ให้กับคนในประเทศที่กำลังประสบชะตากรรมข้าวยาก หมากแพงยามนี้ ได้ไม่น้อยทีเดียว