ศูนย์ข่าวศรีราชา -การลดพื้นที่ปลูกผลไม้ของเกษตรในภาคตะวันออก เพื่อหนีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจากจำนวนผลผลิตที่มีมากจนล้น ด้วยการหันไปปลูกพืชไร่เพื่อผลิตพลังงานทดแทน ทำให้ทิศทางราคาผลไม้ภาคตะวันออกในปี 2551 ไม่เลวร้ายเช่นในอดีต คาดทุเรียนหน้าสวนไม่ต่ำกว่า 18-20 บาท ขณะที่มังคุดก็มีตลาดตปท.รองรับ ด้านผู้ส่งออกผลไม้ในจังหวัดระยองชี้ตัวเลขส่งออกทุเรียนจากจันทบุรีและระยองในปีนี้ไม่น่าจะต่ำกว่า 5 พันล้านบาท
นายชยันต์ เนรัญชร นายกสมาคมชาวสวนผักและผลไม้ อำเภอสอยดาว-โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เผยถึงสถานการณ์ผลไม้ของจังหวัดจันทบุรีในปี 2551 ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และจะออกมากในเดือนพฤษภาคม ทั้งทุเรียน ลำไย เงาะและมังคุดว่าราคาจำหน่ายจะไม่ตกต่ำเช่นหลายปีก่อน โดยเฉพาะทุเรียนที่คาดว่าราคาหน้าสวนไม่ต่ำกว่า 18-20 บาท จากเดิมที่เคยจำ หน่ายได้เพียง12-15 บาท
ทั้งนี้เป็นผลมาจากเกษตรกรในพื้นที่หันไปปลูกปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังและยางพาราที่มีราคาสูงกว่าแทน ทำให้พื้นที่ปลูกผลไม้ในจังหวัดลดลงมาก จนทำให้จำนวนผลไม้ที่ออกสู่ตลาดแม้จะมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับล้นตลาดเช่นในอดีต
สิ่งที่สมาคมฯ เป็นห่วง คือผลผลิตเงาะ ที่คาดว่าในปีนี้จะมีมากกว่า 3 หมื่นตันซึ่งอาจมีปัญหาด้านราคา เนื่องจากเงาะเป็นผลไม้ที่ไม่สามารถส่งจำหน่ายในต่างประเทศได้ และที่ผ่านมาจะแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการส่งไปจำหน่ายในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวสูงกว่าลิตรละ 30 บาท จึงเกรงว่าอาจจะทำให้ผู้รับซื้อในภาคอีสานตัดสินใจที่จะไม่ตีรถเปล่าเพื่อวิ่งมา ซื้อผลผลิตไปจำหน่ายเนื่องจากอาจไม่คุ้มค่าการลงทุน
“ปีนี้เราไม่ห่วงเรื่องทุเรียน มังคุดและลำไย เพราะป็นผลไม้ที่ส่งออกไปจำหน่ายได้และก็มีแนวโน้มว่าตลาดในต่างประเทศยินดีที่จะรับซื้ออย่างต่อเนื่อง แต่เงาะ เป็นผลไม้ที่บริโภคในประเทศ ซ้ำยังออกมาพร้อมกับผลไม้อื่นๆ ทำให้ราคาน่าเป็นห่วงมากและหากผู้รับซื้อในภาคอีสานไม่ตีรถมาซื้อ ปัญหาการกระจุกตัวของเงาะย่อมหนีไม่พ้นอย่างแน่นอน”
จี้รัฐเห็นความสำคัญตลาดกลางชุมชน
นายชยันต์ ยังเผยถึงแนวคิดการแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของผลไม้ในภาคตะวันออกว่า รัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญในการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าในชุมชน และอบต.แทนการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาลแต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากสวน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระค่าขนส่งจากราคาน้ำมัน
ขณะเดียวกันยังจำเป็นต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นสื่อกลางในการกระจายข้อมูลและแหล่งสินค้า เปิดโอกาสให้ผู้ค้าต่างถิ่นทั้งในภาคเหนือ อีสานและภาคใต้ได้รู้ข้อมูลและแหล่งผลิต ซึ่งจะสามารถสั่งซื้อผลผลิตได้โดยไม่ต้องตีรถเปล่ามารับสินค้า แต่ให้ตลาดกลางเป็นผู้จัดส่งเพื่อจูงใจผู้ค้าในต่างจังหวัดให้ซื้อผลไม้จากภาคตะวันออกมากขึ้น
“ อยากให้รัฐบาลพัฒนาระบบลอจิสติกส์อย่างถูกทาง และในช่วงที่น้ำมันแพงอย่างนี้การนำระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ภายใต้การดูแลของตลาดกลางชุมชน และตลาดกลางที่ได้รับการดูแลจากท้องถิ่นจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วถึง ซึ่งเราก็พยายามเสนอรัฐบาลทุกสมัยแต่ก็ไม่มีใครให้ความสนใจหรือไม่ทำความเข้าใจอย่างจริงจัง แต่กลับพยายามที่จะผลักดันให้เกิดตลาดกลางสินค้าขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก สุดท้ายแผนจัดตั้งที่อำเภอนายายอาม ที่ต้องใช้งบหลายร้อยล้านบาท ก็ต้องล่มไปเพราะนอกจากจะไม่มีงบแล้ว เกษตรกรยังไม่ให้ความสนใจอีกด้วย ” นายชยันต์ กล่าว
ขณะที่นายเกียรติศักดิ์ ตั้งเจริญสุทธิชัย ผู้บริหารบริษัท ไต๋ฟู้ด จำกัด ผู้ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนและฮ่องกง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยองเผยว่า ทิศทางราคาส่งออกทุเรียนในปีนี้จะดีกว่าปีก่อนเนื่องจากการลดพื้นที่ปลูกของเกษตรกร ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยผลผลิตทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรีและระยองประมาณ 50% จะถูกส่งออกโดยมีมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาท และคาดว่าในเดือนเมษายนนี้ การส่งออกทุเรียนจะเริ่มมีมากขึ้นจากภาวะอากาศของประเทศจีนที่ดีขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม
ในปี 2550 การส่งออกทุเรียนจากไทยไปจีนมีมากถึง 100 ตู้สินค้าต่อวันและจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม และคาดว่าในปี 2551 การส่งออกและมูลค่าการส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกจะไม่น้อยกว่าปีก่อนอย่างแน่นอน
“ในส่วนของผู้ส่งออกไม่มีผลกระทบจากค่าเงินบาท เพราะเป็นการค้าแบบซื้อมาขายไป แต่ผลกระทบจะตกอยู่ที่เกษตรกรเพราะนอกจากจะถูกกดราคาแล้ว ยังต้องแบกรับราคาปุ๋ยและน้ำมัน จนหลายรายต้องหันไปปลูกพืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนที่มีราคาดีกว่า ทำให้พื้นที่ปลูกผลไม้ในระยองเหลือเพียง 30% เท่านั้น แต่ก็ให้ผลดีในเรื่องของผลผลิตที่ไม่มาก จนล้นจนส่งผลกระทบต่อราคา” นายเกียรติศักดิ์ กล่าว
นายชยันต์ เนรัญชร นายกสมาคมชาวสวนผักและผลไม้ อำเภอสอยดาว-โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เผยถึงสถานการณ์ผลไม้ของจังหวัดจันทบุรีในปี 2551 ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และจะออกมากในเดือนพฤษภาคม ทั้งทุเรียน ลำไย เงาะและมังคุดว่าราคาจำหน่ายจะไม่ตกต่ำเช่นหลายปีก่อน โดยเฉพาะทุเรียนที่คาดว่าราคาหน้าสวนไม่ต่ำกว่า 18-20 บาท จากเดิมที่เคยจำ หน่ายได้เพียง12-15 บาท
ทั้งนี้เป็นผลมาจากเกษตรกรในพื้นที่หันไปปลูกปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังและยางพาราที่มีราคาสูงกว่าแทน ทำให้พื้นที่ปลูกผลไม้ในจังหวัดลดลงมาก จนทำให้จำนวนผลไม้ที่ออกสู่ตลาดแม้จะมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับล้นตลาดเช่นในอดีต
สิ่งที่สมาคมฯ เป็นห่วง คือผลผลิตเงาะ ที่คาดว่าในปีนี้จะมีมากกว่า 3 หมื่นตันซึ่งอาจมีปัญหาด้านราคา เนื่องจากเงาะเป็นผลไม้ที่ไม่สามารถส่งจำหน่ายในต่างประเทศได้ และที่ผ่านมาจะแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการส่งไปจำหน่ายในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวสูงกว่าลิตรละ 30 บาท จึงเกรงว่าอาจจะทำให้ผู้รับซื้อในภาคอีสานตัดสินใจที่จะไม่ตีรถเปล่าเพื่อวิ่งมา ซื้อผลผลิตไปจำหน่ายเนื่องจากอาจไม่คุ้มค่าการลงทุน
“ปีนี้เราไม่ห่วงเรื่องทุเรียน มังคุดและลำไย เพราะป็นผลไม้ที่ส่งออกไปจำหน่ายได้และก็มีแนวโน้มว่าตลาดในต่างประเทศยินดีที่จะรับซื้ออย่างต่อเนื่อง แต่เงาะ เป็นผลไม้ที่บริโภคในประเทศ ซ้ำยังออกมาพร้อมกับผลไม้อื่นๆ ทำให้ราคาน่าเป็นห่วงมากและหากผู้รับซื้อในภาคอีสานไม่ตีรถมาซื้อ ปัญหาการกระจุกตัวของเงาะย่อมหนีไม่พ้นอย่างแน่นอน”
จี้รัฐเห็นความสำคัญตลาดกลางชุมชน
นายชยันต์ ยังเผยถึงแนวคิดการแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของผลไม้ในภาคตะวันออกว่า รัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญในการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าในชุมชน และอบต.แทนการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาลแต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากสวน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระค่าขนส่งจากราคาน้ำมัน
ขณะเดียวกันยังจำเป็นต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นสื่อกลางในการกระจายข้อมูลและแหล่งสินค้า เปิดโอกาสให้ผู้ค้าต่างถิ่นทั้งในภาคเหนือ อีสานและภาคใต้ได้รู้ข้อมูลและแหล่งผลิต ซึ่งจะสามารถสั่งซื้อผลผลิตได้โดยไม่ต้องตีรถเปล่ามารับสินค้า แต่ให้ตลาดกลางเป็นผู้จัดส่งเพื่อจูงใจผู้ค้าในต่างจังหวัดให้ซื้อผลไม้จากภาคตะวันออกมากขึ้น
“ อยากให้รัฐบาลพัฒนาระบบลอจิสติกส์อย่างถูกทาง และในช่วงที่น้ำมันแพงอย่างนี้การนำระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ภายใต้การดูแลของตลาดกลางชุมชน และตลาดกลางที่ได้รับการดูแลจากท้องถิ่นจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วถึง ซึ่งเราก็พยายามเสนอรัฐบาลทุกสมัยแต่ก็ไม่มีใครให้ความสนใจหรือไม่ทำความเข้าใจอย่างจริงจัง แต่กลับพยายามที่จะผลักดันให้เกิดตลาดกลางสินค้าขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก สุดท้ายแผนจัดตั้งที่อำเภอนายายอาม ที่ต้องใช้งบหลายร้อยล้านบาท ก็ต้องล่มไปเพราะนอกจากจะไม่มีงบแล้ว เกษตรกรยังไม่ให้ความสนใจอีกด้วย ” นายชยันต์ กล่าว
ขณะที่นายเกียรติศักดิ์ ตั้งเจริญสุทธิชัย ผู้บริหารบริษัท ไต๋ฟู้ด จำกัด ผู้ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนและฮ่องกง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยองเผยว่า ทิศทางราคาส่งออกทุเรียนในปีนี้จะดีกว่าปีก่อนเนื่องจากการลดพื้นที่ปลูกของเกษตรกร ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยผลผลิตทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรีและระยองประมาณ 50% จะถูกส่งออกโดยมีมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาท และคาดว่าในเดือนเมษายนนี้ การส่งออกทุเรียนจะเริ่มมีมากขึ้นจากภาวะอากาศของประเทศจีนที่ดีขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม
ในปี 2550 การส่งออกทุเรียนจากไทยไปจีนมีมากถึง 100 ตู้สินค้าต่อวันและจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม และคาดว่าในปี 2551 การส่งออกและมูลค่าการส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกจะไม่น้อยกว่าปีก่อนอย่างแน่นอน
“ในส่วนของผู้ส่งออกไม่มีผลกระทบจากค่าเงินบาท เพราะเป็นการค้าแบบซื้อมาขายไป แต่ผลกระทบจะตกอยู่ที่เกษตรกรเพราะนอกจากจะถูกกดราคาแล้ว ยังต้องแบกรับราคาปุ๋ยและน้ำมัน จนหลายรายต้องหันไปปลูกพืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนที่มีราคาดีกว่า ทำให้พื้นที่ปลูกผลไม้ในระยองเหลือเพียง 30% เท่านั้น แต่ก็ให้ผลดีในเรื่องของผลผลิตที่ไม่มาก จนล้นจนส่งผลกระทบต่อราคา” นายเกียรติศักดิ์ กล่าว