เชียงใหม่ – ชาวบ้านย่านเก่าแก่เมืองเชียงใหม่ในนามกลุ่ม “รักษ์บ้าน รักษ์เมือง” ยื่นหนังสือผู้ว่าฯเชียงใหม่ ค้านประกาศใช้ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ที่กำลังจะคลอดเร็วๆนี้ ระบุทำพื้นที่ประวัติศาสตร์เสียหาย ขาดเอกลักษณ์ “ล้านนา” หลังสถานบันเทิงหลายแห่งเปิดตรงข้ามโรงเรียน-วัด ไม่ถึง 200 เมตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ นางวรวิมล ชัยรัต ตัวแทนชาวบ้านย่านวัดเกต-ฟ้าฮ่าม พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านย่านอุโมงค์ และนิมมานเหมินท์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในนามกลุ่ม “รักษ์บ้าน รักษ์เมือง” ได้ยื่นหนังสือขอให้ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ต่อนายวิบูลย์ สงวนพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นางวรวิมล กล่าวว่า ชาวบ้านย่านวัดเกต-ฟ้าฮ่าม อุโมงค์ และนิมมานเหมินท์ ยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการประกาศใช้ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนประกาศใช้ เพื่อต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาผังเมืองในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญการปกครองปี 2550
“ที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปครั้งหนึ่งแล้วแต่ข้อเสนอของชาวบ้าน ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในทางปฏิบัติแต่อย่างใด”
สำหรับข้อเสนอ ประกอบด้วยให้หน่วยราชการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร การจัดสรรที่ดิน เพื่อไม่มีการทำลายย่านประวัติศาสตร์เก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม เพื่อความเป็นระเบียบ ความสวยงาม เพื่อสวัสดิภาพของสังคม รวมทั้งรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนพื้นที่แหล่งน้ำ และแหล่งชุ่มน้ำ
“พื้นที่หลายแห่งๆล้วนเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวเชียงใหม่ โดยไม่มีกฎหมายผังเมืองควบคุมอย่างจริงจัง ทำให้เกิดช่องว่างและการช่วงชิงการได้เปรียบของการใช้ที่ดินตนเอง ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาทั้งที่ดินใกล้เคียงและพื้นที่เมืองโดยรวม ทั้งการก่อสร้างอาคารสูง สถานบันเทิง ซึ่งหลายแห่งอยู่ใกล้วัด และโรงเรียน” นางวรวิมล กล่าว
นางวรวิมล กล่าวต่ออีกว่า การพัฒนาเมืองเชียงใหม่ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตทางด้านวัตถุ พัฒนาอาคารและผังเมืองอย่างไร้ทิศทาง ทำให้เชียงใหม่ขาดมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยอยากเรียกร้องให้จัดพื้นที่สาธารณะรองรับการเกิดภัยพิบัติและพื้นที่สีเขียวของเมือง ห้ามมีสถานบันเทิง ในรัศมี 200 เมตร ของสถาบันการศึกษา โบราณสถาน ศาสนสถาน ส่วนที่มีอยู่แล้วให้ปรับปรุงระบบเก็บเสียง ที่จอดรถ การบำบัดน้ำเสีย ขยะ ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง
นอกจากนี้ให้มีการศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเชียงใหม่ ให้ครอบคลุมทั่วถึง อย่างรอบคอบ รอบด้าน ให้สามารถนำมาวิเคราะห์วางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งอนุรักษ์เชียงใหม่เมืองเก่าไว้โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกด้วย
สำหรับการคัดค้านผังเมืองรวมเชียงใหม่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม ทั้งภาคธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา นายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียกประชุมผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสรุปว่า วันที่ 20 มีนาคม ให้ทุกฝ่ายมาสรุปถึงข้อตกลงทั้งหมด ที่ได้มีการเสนอให้ผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่แก้ไข ในส่วนไหนได้บ้าง และส่วนไหนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะติดขัดข้อกฎหมายตรงไหนอย่างไร ก็ให้มาชี้แจงให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อนำข้อสรุปทั้งหมดส่งให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ประกาศเพื่อให้ประชาชนรับทราบภายใน 90 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ นางวรวิมล ชัยรัต ตัวแทนชาวบ้านย่านวัดเกต-ฟ้าฮ่าม พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านย่านอุโมงค์ และนิมมานเหมินท์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในนามกลุ่ม “รักษ์บ้าน รักษ์เมือง” ได้ยื่นหนังสือขอให้ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ต่อนายวิบูลย์ สงวนพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นางวรวิมล กล่าวว่า ชาวบ้านย่านวัดเกต-ฟ้าฮ่าม อุโมงค์ และนิมมานเหมินท์ ยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการประกาศใช้ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนประกาศใช้ เพื่อต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาผังเมืองในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญการปกครองปี 2550
“ที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปครั้งหนึ่งแล้วแต่ข้อเสนอของชาวบ้าน ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในทางปฏิบัติแต่อย่างใด”
สำหรับข้อเสนอ ประกอบด้วยให้หน่วยราชการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร การจัดสรรที่ดิน เพื่อไม่มีการทำลายย่านประวัติศาสตร์เก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม เพื่อความเป็นระเบียบ ความสวยงาม เพื่อสวัสดิภาพของสังคม รวมทั้งรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนพื้นที่แหล่งน้ำ และแหล่งชุ่มน้ำ
“พื้นที่หลายแห่งๆล้วนเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวเชียงใหม่ โดยไม่มีกฎหมายผังเมืองควบคุมอย่างจริงจัง ทำให้เกิดช่องว่างและการช่วงชิงการได้เปรียบของการใช้ที่ดินตนเอง ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาทั้งที่ดินใกล้เคียงและพื้นที่เมืองโดยรวม ทั้งการก่อสร้างอาคารสูง สถานบันเทิง ซึ่งหลายแห่งอยู่ใกล้วัด และโรงเรียน” นางวรวิมล กล่าว
นางวรวิมล กล่าวต่ออีกว่า การพัฒนาเมืองเชียงใหม่ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตทางด้านวัตถุ พัฒนาอาคารและผังเมืองอย่างไร้ทิศทาง ทำให้เชียงใหม่ขาดมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยอยากเรียกร้องให้จัดพื้นที่สาธารณะรองรับการเกิดภัยพิบัติและพื้นที่สีเขียวของเมือง ห้ามมีสถานบันเทิง ในรัศมี 200 เมตร ของสถาบันการศึกษา โบราณสถาน ศาสนสถาน ส่วนที่มีอยู่แล้วให้ปรับปรุงระบบเก็บเสียง ที่จอดรถ การบำบัดน้ำเสีย ขยะ ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง
นอกจากนี้ให้มีการศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเชียงใหม่ ให้ครอบคลุมทั่วถึง อย่างรอบคอบ รอบด้าน ให้สามารถนำมาวิเคราะห์วางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งอนุรักษ์เชียงใหม่เมืองเก่าไว้โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกด้วย
สำหรับการคัดค้านผังเมืองรวมเชียงใหม่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม ทั้งภาคธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา นายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียกประชุมผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสรุปว่า วันที่ 20 มีนาคม ให้ทุกฝ่ายมาสรุปถึงข้อตกลงทั้งหมด ที่ได้มีการเสนอให้ผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่แก้ไข ในส่วนไหนได้บ้าง และส่วนไหนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะติดขัดข้อกฎหมายตรงไหนอย่างไร ก็ให้มาชี้แจงให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อนำข้อสรุปทั้งหมดส่งให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ประกาศเพื่อให้ประชาชนรับทราบภายใน 90 วัน