ผู้จัดการรายวัน - บลจ.กรุงไทยเข้าตาแบงก์มาเลเซียและกองทุน SWF กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แจงความสนใจร่วมลงขันในผลิตภัณฑ์การลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ประเดิมตั้งกองอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกลงทุนชอปปิ้งมอลล์ แถมสานต่อถึงอุตสาหกรรมสินค้าฮาราล ด้วยการลงทุนแบบ Private Equity ก่อนดันเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมแลกเปลี่ยนสินค้า ส่งเงินออกไปลงทุนในซูคุก ฝันไกล ตั้งเป้าเป็นผู้นำบลจ.ด้านชาริอะฮ์
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. ธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของมาเลเซีย และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund :SWF) ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับบลจ.กรุงไทย เนื่องจากเห็นว่าเราเป็นบลจ.ที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์ศาสนาอิสลามหรือชาริอะฮ์อยู่แล้ว โดยมีทั้งคณะกรรมการการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามในการพิจารณาคัดเลือกการลงทุนเพื่อให้ถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลาม ที่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท ดังนั้น นักลงทุนสถาบันจากต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มจึงสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับบลจ.เพื่อที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยร่วมมือกับบลจ.กรุงไทย
โดยหนึ่งในโครงการที่นักลงทุนต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มให้ความสนใจคือ การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ที่เป็นการลงทุนถูกต้องตามหลักศาสนา โดยกองทุนดังกล่าวมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในตอนนี้ เพราะขึ้นอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ที่เราหาได้ว่าจะเป็นประเภทไหน
ทั้งนี้ อสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจและสามารถจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกได้ จะเป็นสินทรัพย์ประเภทชอปปิ้งมอลล์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ เราเองก็กำลังอยู่ระหว่างคัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ตามหลักศาสนาอิสลามขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์ในการลงทุนตามหลักศาสนาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเทศมาเลเซียเองจะมีคณะกรรมการการลงทุนที่จะพิจารณาเกณฑ์การลงทุนให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามที่จะใช้เหมือนกันทั่วทั้งประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด แต่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป บางประเทศลงทุนในโรงแรมได้ แต่บางประเทศการลงทุนในโรงแรมถือว่าผิดหลักศาสนาอิสลาม เพราะในโรงแรมมีส่วนที่เป็นผับหรือบาร์อยู่ เป็นต้น
"การทำกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่าย เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาที่แตกต่างกันออก ซึ่งตอนนี้เราเองก็พยายามทำงานอยู่เพื่อให้ความร่วมมือเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในปีนี้”
นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวต่อว่า นักลงทุนสถาบันอิสลามทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทุนที่มีศักยภาพ นอกจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกแล้ว เขายังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารประเภทฮาราลที่ไทยมีจุดแข็งในเรื่องนี้ แต่ถ้าจะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮาราล เราอาจจะแนะนำให้จัดตั้งเป็นการเข้าไปลงทุนในหุ้นของนิติบุคคลเอกชนนอกตลาด (Private Equity) เพื่อที่จะรอเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตมากกว่าที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ซึ่งนี่ถือเป็นอีกความร่วมมือหนึ่งของเราที่จะมีขึ้น และเป็นการเปิดธุรกิจให้ให้กับบลจ.กรุงไทยในอนาคตอีกด้วย โดยในขณะนี้ เรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้
นอกจากนี้ เรายังสนใจที่จะไปลงทุนในพันธบัตรอิสลามหรือซูคุกอีกด้วย เพราะปัจจุบันตราสารหนี้อิสลามในประเทศไทยยังไม่มี แต่ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. เขามีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม พันธบัตรอิสลามที่เราอยากจะลงทุนจะต้องออกเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เขายังออกเป็นสกุลเงินริงกิตมาเลเซียอยู่ ตรงนี้จะเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะมีขึ้นได้
“เราวางตัวเองให้เป็นบลจ.ที่เป็นผู้นำในเรื่องของการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ที่จะเปิดช่องทางการลงทุนให้กับกลุ่มพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลามรวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย รวมทั้งเป็นที่รองรับความร่วมมือการลงทุนกับนักลงทุนสถาบันของกลุ่มประเทศอิสลามที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย ซึ่งคาดว่าความร่วมมือเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในปี2551 นี้”นายสมชัยกล่าว
ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามจำนวน 2 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารทุน ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลามที่มีผลประกอบการและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารอื่นๆ และ/หรือเงินฝาก ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุนได้ผ่านการหารือหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามกับคณะกรรมการศาสนาของกองทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยบริษัทได้แต่งตั้งบุคคลไม่เกิน 7 ท่าน เพื่อเป็นคณะกรรมการศาสนา ซึ่งบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนาอิสลามเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษากองทุนที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งขึ้นดังกล่าวไม่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจัดการแต่อย่างใด และค่าตอบแทนของคณะกรรมการจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. ธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของมาเลเซีย และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund :SWF) ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับบลจ.กรุงไทย เนื่องจากเห็นว่าเราเป็นบลจ.ที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์ศาสนาอิสลามหรือชาริอะฮ์อยู่แล้ว โดยมีทั้งคณะกรรมการการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามในการพิจารณาคัดเลือกการลงทุนเพื่อให้ถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลาม ที่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท ดังนั้น นักลงทุนสถาบันจากต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มจึงสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับบลจ.เพื่อที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยร่วมมือกับบลจ.กรุงไทย
โดยหนึ่งในโครงการที่นักลงทุนต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มให้ความสนใจคือ การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ที่เป็นการลงทุนถูกต้องตามหลักศาสนา โดยกองทุนดังกล่าวมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในตอนนี้ เพราะขึ้นอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ที่เราหาได้ว่าจะเป็นประเภทไหน
ทั้งนี้ อสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจและสามารถจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกได้ จะเป็นสินทรัพย์ประเภทชอปปิ้งมอลล์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ เราเองก็กำลังอยู่ระหว่างคัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ตามหลักศาสนาอิสลามขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์ในการลงทุนตามหลักศาสนาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเทศมาเลเซียเองจะมีคณะกรรมการการลงทุนที่จะพิจารณาเกณฑ์การลงทุนให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามที่จะใช้เหมือนกันทั่วทั้งประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด แต่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป บางประเทศลงทุนในโรงแรมได้ แต่บางประเทศการลงทุนในโรงแรมถือว่าผิดหลักศาสนาอิสลาม เพราะในโรงแรมมีส่วนที่เป็นผับหรือบาร์อยู่ เป็นต้น
"การทำกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่าย เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาที่แตกต่างกันออก ซึ่งตอนนี้เราเองก็พยายามทำงานอยู่เพื่อให้ความร่วมมือเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในปีนี้”
นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวต่อว่า นักลงทุนสถาบันอิสลามทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทุนที่มีศักยภาพ นอกจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกแล้ว เขายังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารประเภทฮาราลที่ไทยมีจุดแข็งในเรื่องนี้ แต่ถ้าจะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮาราล เราอาจจะแนะนำให้จัดตั้งเป็นการเข้าไปลงทุนในหุ้นของนิติบุคคลเอกชนนอกตลาด (Private Equity) เพื่อที่จะรอเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตมากกว่าที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ซึ่งนี่ถือเป็นอีกความร่วมมือหนึ่งของเราที่จะมีขึ้น และเป็นการเปิดธุรกิจให้ให้กับบลจ.กรุงไทยในอนาคตอีกด้วย โดยในขณะนี้ เรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้
นอกจากนี้ เรายังสนใจที่จะไปลงทุนในพันธบัตรอิสลามหรือซูคุกอีกด้วย เพราะปัจจุบันตราสารหนี้อิสลามในประเทศไทยยังไม่มี แต่ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. เขามีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม พันธบัตรอิสลามที่เราอยากจะลงทุนจะต้องออกเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เขายังออกเป็นสกุลเงินริงกิตมาเลเซียอยู่ ตรงนี้จะเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะมีขึ้นได้
“เราวางตัวเองให้เป็นบลจ.ที่เป็นผู้นำในเรื่องของการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ที่จะเปิดช่องทางการลงทุนให้กับกลุ่มพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลามรวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย รวมทั้งเป็นที่รองรับความร่วมมือการลงทุนกับนักลงทุนสถาบันของกลุ่มประเทศอิสลามที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย ซึ่งคาดว่าความร่วมมือเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในปี2551 นี้”นายสมชัยกล่าว
ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามจำนวน 2 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารทุน ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลามที่มีผลประกอบการและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารอื่นๆ และ/หรือเงินฝาก ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุนได้ผ่านการหารือหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามกับคณะกรรมการศาสนาของกองทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยบริษัทได้แต่งตั้งบุคคลไม่เกิน 7 ท่าน เพื่อเป็นคณะกรรมการศาสนา ซึ่งบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนาอิสลามเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษากองทุนที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งขึ้นดังกล่าวไม่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจัดการแต่อย่างใด และค่าตอบแทนของคณะกรรมการจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน