“พะจุณณ์” หัวหน้าสำนักงาน “ป๋าเปรม” ปฎิเสธ “ทักษิณ” ติดต่อขอเข้าพบ และไม่มีรัฐบาล “สมัคร” ขอเข้ารดน้ำดำหัวขอพรช่วงสงกรานต์ ยัน “ป๋า” ไม่เคยพูดให้ใครเสียหาย และไม่เคยเข้าไปยุ่งโผทหาร ผบ.ทอ. โต้ “ทักษิณ” กล่าวหาเป็นต้เนเหตุทำ ศก.ไทยทรุด ระบุเป็นไปตามกระแสโลก ย้ำ คมช.ไม่เคยคิดลอบสังหาร
พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ว่า "ยังไม่ทราบจริงๆ เขาจะติดต่อผ่านใครผมไม่ทราบ แต่ติดต่อผ่านผมยังไม่มี"
ส่วนหาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีไมตรีที่ดีมา พล.อ.เปรม จะรับไมตรีหรือไม่นั้น พล.ร.ท.พะจุณณ์ กล่าวว่า "ป๋าไม่เคยพูดถึงเรื่องดังกล่าว ป๋าเป็นคนที่เงียบที่สุด ไม่เคยพูดอะไรให้ใครเสียหาย ที่ผ่านมาที่เราสนใจเรื่องเหตุบ้านการเมือง ที่เราสนใจ เราก็ทำของเราไป ผมก็ทำของผมไป ท่านก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งหรือเกี่ยวข้อง"
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ติดต่อ เพื่อเข้าหารือหรือขอรดน้ำช่วงวันสงกรานตร์ พล.อ. เปรม หรือไม่ พล.ร.อ.พะจุณณ์ กล่าวว่า "ไม่มี แต่อาจจะเป็นเพราะว่าไม่คุ้นเคยกัน ส่วนรัฐบาลอื่นๆ ที่ติดต่อมาเพราะว่ารู้จักกัน คุ้นเคยกัน จริงๆ แล้วไม่จำเป็นที่ทุกรัฐบาลต้องมา แต่รัฐบาลที่มาก็เพราะรู้จักคุ้นเคยกัน และมาขอคำปรึกษาเรื่องการงาน ขอแนะนำ"
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าที่ผ่านมา พล.อ.เปรม เข้าไปดูโผโยกย้ายแต่งตั้งของกองทัพนั้น พล. ร.ท.พะจุณณ์ กล่าวว่า ไม่ใช่นะครับ ใครไปเข้าใจผิด เขามาดู ก็เมื่อเขาทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงมาให้ท่านดู มันไม่เกี่ยวกับท่านเลย เมื่อถามว่า ต้องให้ พล.อ.เปรม ดูก่อนขึ้นทูลเกล้าฯ ใช่หรือไม่ พล.ร.อ.พะจุณฑ์ กล่าวว่า ไม่ใช่นะ คุณก็เห็นว่าบางทีผมไปขอโผมาซะอีกนะ หลังจากที่เขาทำเสร็จแล้ว ผมก็ไปขอจากทำเนียบฯ มาให้ป๋าดู ท่านไม่เคยเข้าไปยุ่งเลย
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่าเศรษฐกิจของไทยพัง เพราะ คมช. ว่า คิดว่าเป็นหน้าที่ทุกคน ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาเหมือนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป คิดว่าเป็นเรื่องประกอบกันทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยอมรับว่า คมช.บริหารประเทศไม่ดี พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช. ไม่ได้บริหารประเทศ ทั้งนี้ ตนไม่ขอพูดอะไร ให้ประชาชนและสื่อมวลชนเฝ้าดูว่า เกิดความเสียหายประการใด ซึ่งฝ่ายเศรษฐกิจต้องไปติดตามดู
ต่อข้อถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีอคติกับ คมช.หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า แล้วแต่มุมมองว่ามองด้านใด เมื่อถามว่า อดีต คมช. จะมีการหารือกับ พ.ต.ท. ทักษิณ หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบกันจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า มองได้หลายมุม บางทีการพูดคุย เป็นการแลกเปลี่ยน หากพูดเวลานี้คิดว่าเราไม่มีใครเป็นศัตรูกัน แต่จะทำอย่างไรให้ประเทศชาติเจริญ
ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ปรากฏตัวหลังกลับประเทศ เพราะระบุว่าไม่ปลอดภัย เกรงถูกลอบสังหาร เพราะสมัยเป็นนายกรัฐมนตรียังเคยถูกกระทำนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คิดว่าผู้นำประเทศต้องได้รับการดูแลให้เกิดความปลอดภัย ทั้งผู้นำประเทศปัจจุบันและที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเช่นนี้ทุกประเทศ เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นอดีตผู้นำประเทศ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดูแล ทั้งนี้ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการกระทำเช่นนี้ แต่คิดว่าน่าจะเป็นการป้องกัน
ต่อข้อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามมุ่งเป้ามาที่ คมช. และทหาร ว่าเป็นกลุ่ม ที่มีส่วนในการจะลอบสังหาร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า แล้วแต่มุมมองว่าจุดไหนน่าจะมีศักยภาพในการทำอะไรมากกว่า
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วิจารณ์ประเทศไทยว่าถดถอยเพราะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และคณะรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรรัฐมนตรีว่า คงต้องพิจารณาว่าบทบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้มีได้ 2 อย่าง คือ การให้ความเห็นในฐานะพลเมือง ซึ่งเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีสิทธิ์ให้ความเห็นได้ และอีกบทบาทหนึ่งคือ การเข้าไปเกี่ยวข้อง สั่งการ หรือใช้อำนาจอิทธิพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่มีเจตนา เช่นนี้ และขอให้พิจารณากันต่อไป แต่ขณะนี้การเมืองกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ที่มีความละเอียดอ่อน ดังนั้น การที่อดีตนายกรัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์ดังกล่าว จึงนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์
ประสิทธิภาพการพูด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการฟัง คนพูดอาจมีเจตนา อย่างหนึ่ง แต่คนฟังมีอะไรในใจ จึงต้องดูสักระยะว่า อดีตนายกรัฐมนตรีจะเป็นอย่าง ที่กลัวหรือไม่ ซึ่งผมเชื่อว่าท่านไม่มีเจตนาต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องในทางการเมือง เนื่องจากบทเรียนที่ผ่านมาได้มีความชัดเจนแล้วว่า นักการเมืองนอกจากจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว คงจะต้องระมัดระวังไม่ให้ไปกระทบในบางสิ่งด้วย
ส่วนการออกมาวิจารณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้การสร้างความสมานฉันท์ของรัฐบาลเกิดปัญหาหรือไม่ นายจักรภพ กล่าวว่า ความสมานฉันท์คงไม่ได้เกิดจากการเห็นตรงหรือต่างกัน แต่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ดังนั้นการให้ความเห็นของอดีตนายกรัฐมนตรี จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ว่า "ยังไม่ทราบจริงๆ เขาจะติดต่อผ่านใครผมไม่ทราบ แต่ติดต่อผ่านผมยังไม่มี"
ส่วนหาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีไมตรีที่ดีมา พล.อ.เปรม จะรับไมตรีหรือไม่นั้น พล.ร.ท.พะจุณณ์ กล่าวว่า "ป๋าไม่เคยพูดถึงเรื่องดังกล่าว ป๋าเป็นคนที่เงียบที่สุด ไม่เคยพูดอะไรให้ใครเสียหาย ที่ผ่านมาที่เราสนใจเรื่องเหตุบ้านการเมือง ที่เราสนใจ เราก็ทำของเราไป ผมก็ทำของผมไป ท่านก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งหรือเกี่ยวข้อง"
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ติดต่อ เพื่อเข้าหารือหรือขอรดน้ำช่วงวันสงกรานตร์ พล.อ. เปรม หรือไม่ พล.ร.อ.พะจุณณ์ กล่าวว่า "ไม่มี แต่อาจจะเป็นเพราะว่าไม่คุ้นเคยกัน ส่วนรัฐบาลอื่นๆ ที่ติดต่อมาเพราะว่ารู้จักกัน คุ้นเคยกัน จริงๆ แล้วไม่จำเป็นที่ทุกรัฐบาลต้องมา แต่รัฐบาลที่มาก็เพราะรู้จักคุ้นเคยกัน และมาขอคำปรึกษาเรื่องการงาน ขอแนะนำ"
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าที่ผ่านมา พล.อ.เปรม เข้าไปดูโผโยกย้ายแต่งตั้งของกองทัพนั้น พล. ร.ท.พะจุณณ์ กล่าวว่า ไม่ใช่นะครับ ใครไปเข้าใจผิด เขามาดู ก็เมื่อเขาทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงมาให้ท่านดู มันไม่เกี่ยวกับท่านเลย เมื่อถามว่า ต้องให้ พล.อ.เปรม ดูก่อนขึ้นทูลเกล้าฯ ใช่หรือไม่ พล.ร.อ.พะจุณฑ์ กล่าวว่า ไม่ใช่นะ คุณก็เห็นว่าบางทีผมไปขอโผมาซะอีกนะ หลังจากที่เขาทำเสร็จแล้ว ผมก็ไปขอจากทำเนียบฯ มาให้ป๋าดู ท่านไม่เคยเข้าไปยุ่งเลย
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่าเศรษฐกิจของไทยพัง เพราะ คมช. ว่า คิดว่าเป็นหน้าที่ทุกคน ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาเหมือนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป คิดว่าเป็นเรื่องประกอบกันทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยอมรับว่า คมช.บริหารประเทศไม่ดี พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช. ไม่ได้บริหารประเทศ ทั้งนี้ ตนไม่ขอพูดอะไร ให้ประชาชนและสื่อมวลชนเฝ้าดูว่า เกิดความเสียหายประการใด ซึ่งฝ่ายเศรษฐกิจต้องไปติดตามดู
ต่อข้อถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีอคติกับ คมช.หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า แล้วแต่มุมมองว่ามองด้านใด เมื่อถามว่า อดีต คมช. จะมีการหารือกับ พ.ต.ท. ทักษิณ หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบกันจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า มองได้หลายมุม บางทีการพูดคุย เป็นการแลกเปลี่ยน หากพูดเวลานี้คิดว่าเราไม่มีใครเป็นศัตรูกัน แต่จะทำอย่างไรให้ประเทศชาติเจริญ
ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ปรากฏตัวหลังกลับประเทศ เพราะระบุว่าไม่ปลอดภัย เกรงถูกลอบสังหาร เพราะสมัยเป็นนายกรัฐมนตรียังเคยถูกกระทำนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คิดว่าผู้นำประเทศต้องได้รับการดูแลให้เกิดความปลอดภัย ทั้งผู้นำประเทศปัจจุบันและที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเช่นนี้ทุกประเทศ เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นอดีตผู้นำประเทศ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดูแล ทั้งนี้ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการกระทำเช่นนี้ แต่คิดว่าน่าจะเป็นการป้องกัน
ต่อข้อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามมุ่งเป้ามาที่ คมช. และทหาร ว่าเป็นกลุ่ม ที่มีส่วนในการจะลอบสังหาร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า แล้วแต่มุมมองว่าจุดไหนน่าจะมีศักยภาพในการทำอะไรมากกว่า
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วิจารณ์ประเทศไทยว่าถดถอยเพราะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และคณะรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรรัฐมนตรีว่า คงต้องพิจารณาว่าบทบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้มีได้ 2 อย่าง คือ การให้ความเห็นในฐานะพลเมือง ซึ่งเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีสิทธิ์ให้ความเห็นได้ และอีกบทบาทหนึ่งคือ การเข้าไปเกี่ยวข้อง สั่งการ หรือใช้อำนาจอิทธิพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่มีเจตนา เช่นนี้ และขอให้พิจารณากันต่อไป แต่ขณะนี้การเมืองกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ที่มีความละเอียดอ่อน ดังนั้น การที่อดีตนายกรัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์ดังกล่าว จึงนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์
ประสิทธิภาพการพูด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการฟัง คนพูดอาจมีเจตนา อย่างหนึ่ง แต่คนฟังมีอะไรในใจ จึงต้องดูสักระยะว่า อดีตนายกรัฐมนตรีจะเป็นอย่าง ที่กลัวหรือไม่ ซึ่งผมเชื่อว่าท่านไม่มีเจตนาต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องในทางการเมือง เนื่องจากบทเรียนที่ผ่านมาได้มีความชัดเจนแล้วว่า นักการเมืองนอกจากจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว คงจะต้องระมัดระวังไม่ให้ไปกระทบในบางสิ่งด้วย
ส่วนการออกมาวิจารณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้การสร้างความสมานฉันท์ของรัฐบาลเกิดปัญหาหรือไม่ นายจักรภพ กล่าวว่า ความสมานฉันท์คงไม่ได้เกิดจากการเห็นตรงหรือต่างกัน แต่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ดังนั้นการให้ความเห็นของอดีตนายกรัฐมนตรี จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว