สินค้าไฮโซแบรนด์เนมดังๆ ทั้งหลายนั้นมักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะบรรดาลูกค้าล้วนแต่เป็นพวกกระเป๋าหนักยอมจ่ายไม่ว่าแพงแค่ไหน ขอให้มีของใหม่ให้เลือกตามรสนิยมละก็ รูดการ์ดได้แม้ราคาเป็นแสนก็ตาม
แต่มาบัดนี้ยอดขายเริ่มช้าลงแล้ว ใช่ว่าคนมีเงินขี้เหนียวนะครับ
มันมีหลายสาเหตุครับ
ผลกระทบมีมาก อย่างแรก คือทำให้บริษัทที่ผลิตสินค้าแบรนด์เนมให้ไฮซ้อไฮซิ้มต้องชะลอการผลิต สินค้าใหม่ก็ยังไม่ออก
เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมทั้งระบบแทบจะชะงักงันกันไปหมด
แม้ว่าหลายบริษัทจะหนีตายมาผลิตในประเทศจีน เพราะต้นทุนค่าแรงถูกแล้วก็ตาม
มีตัวอย่างจากแบรนด์คาร์เทียร์ซึ่งเจ้าของคือ CIE กล่าวถึงการชะลอตัวว่ายอดขายในเทศกาลวันหยุดนั้นต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก
ส่วนยอดขายรองเท้าอิตาเลียนชั้นดีอย่างเอเมนกิลโด เชกนา ก็ย่ำแย่ และปีนี้ทั้งปีไม่ดีครับ
สำหรับยี่ห้อ Coach ที่คนไทยรู้จักดีจากกระเป๋าก็แย่ ตลาดทรุดมากในรอบ 10 ปี เลยทีเดียวละครับ
บางรายบ่นว่า เหตุผลสำคัญอาจเป็นเพราะเงินดอลลาร์อ่อนก็ได้ ทำให้กำไรเหลือน้อยมาก หลุยส์ วิตตอง ซึ่งเป็นแบรนด์เนมรายใหญ่ของโลกขึ้นราคาไปครับ โดยขึ้นในร้านค้าที่อเมริการ้อยละ 5
นี่ถือว่าเสี่ยง เพื่อจะให้ทดแทนการขาดทุนกำไร โดยมองว่ายังไงลูกค้าก็ยังจะซื้อสินค้าติดแบรนด์หลุยส์ วิตตอง อยู่ดี ทั้ง ๆที่ว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังทรุด และตลาดกำลังป่วนอยู่
ประเด็นสำคัญคือ ลูกค้าส่วนใหญ่ตัดค่าใช้จ่ายในการชอปปิ้งลง นักชอปที่บอสตัน ซึ่งมีเงินเหลือใช้ ไปซื้อรองเท้าแตะปราด้า และรองเท้าบัลเล่ย์ของชาเนล เธอบอกว่าต้องเอาของเก่ามารีไซเคิลกันแล้ว
แต่เธอบอกว่าแม้ว่าการเงินของเธอยังเหมือนเดิม แต่อนาคตมันไม่แน่นอน ดังนั้นต้อง “เพลย์เซฟ” ไว้ก่อนละค่ะ
อีกรายเป็นนักเล่นหุ้น ถือหุ้นซิตี้ คอร์ป และบลูชิปอื่นๆ เยอะ บอกว่าเวลาหุ้นตก ตัวเขาเคยใช้จ่ายมากถึงครั้งละ 5 หมื่นบาท
ตอนนี้บอกว่าไม่ไหวครับ
ต้องไปซื้อของลดราคา แม้แต่ถูกลงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ก็เอาแล้ว
เมื่อของฟุ่มเฟือยอยู่ในขาลงเช่นนี้
คนก็หันไปมองตลาดอื่น และเห็นว่าตลาดใหม่ที่กำลังรวยไม่ว่ารัสเซีย หรือจีน น่าจะดีกว่าเพราะโตเร็ว มั่นคง คนเยอะ และเศรษฐีกำลังตื่นแบรนด์เนมกันอยู่
สินค้าแบรนด์เนมอยู่ในขาลงในช่วงปี 2002-2003 เวลานี้ก็ไม่ฟื้นจากภาวะฟุบนิ่งอยู่กับที่นะ
กลุ่มนาฬิกาสวอช (Swatch Group) ซึ่งเจ้าของคือ Omega และ Breguet กลับบอกว่านาฬิกาของบริษัทตนนั้นขายดีครับ ดีขึ้นถึง 17.6 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีกลายนี้เอง
ตลาดที่ช่วยให้ดีกว่าปี 2006 คือ เอเชีย และตะวันออกกลางเทียบกับตลาดในอเมริกามียอดเพิ่มแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ (ความจริงก็ดีแล้ว)
ทิฟฟานีซึ่งขายพวกเครื่องประดับเงิน และเพชร โดยขายให้พวกคนรวยระดับล่างลงมา กำลัง diversify อยู่ครับ โดยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า
ทั้งนี้ทิฟฟานีมีนาฬิกา, แว่นกันแดด ฯลฯ เพิ่มเข้ามาในร้านด้วย นอกจากนั้นก็เริ่มขยายตัวในต่างประเทศ โดยจะให้ทันสิ้นปี เพื่อขายช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งหวังได้ว่าคนจะจับจ่ายใช้เงินกันมาก
แต่ตลาดของทิฟฟานีไม่ดีนักในอเมริกา ยอดขายลดไป 2 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปีที่แล้ว แต่มันกลับเพิ่มในตลาดต่างประเทศถึง 5 เปอร์เซ็นต์
แม้ว่าทิฟฟานีจะขายในตลาดภายในประเทศถึง 60 เปอร์เซ็นต์ทุกปีก็ตามครับ
กระนั้นก็ดี มีความเสี่ยงพอสมควร ถ้าลดราคาลง
หลายบริษัทจะหวังพึ่งตลาดชนชั้นกลางได้หรือไม่?
เนกไทของเฮอร์เมสขายกันตามป้ายราคาเกือบ 6,000 บาทต่อ 1 เส้น
ส่วนกระเป๋าหลุยส์ วิตตองขายในราคาตามป้าย 2 หมื่นบาทต่อ 1 ใบ
ยอดขายรวมของสินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้ ขายรวมกันในช่วงปี 1996-2006 เป็นเงินตราถึง 93 ล้าน 6 แสน 4 หมื่นบาทครับ
มันก็ไม่มากมายอะไรนักนะครับ เพราะสินค้าหลายอย่างรวมกันมีทั้งเพชรพลอยด้วย
บริษัทอย่าง โคช (Coach) ซึ่งขายกระเป๋าราคา 12,000 บาท ในตลาดอเมริกา ต้องยอมขายในราคาลดเรียกผู้ซื้อในภายหลัง ไม่งั้นคนซื้อก็หันไปหากระเป๋ายี่ห้อที่ราคาถูกกว่า
แต่คนมีสตางค์ไม่เหมือนพวกชนชั้นกลางครับ กระเป๋าโคช ราคาหมื่นหกพันบาทซื้อขายคล่องดีและยอดขายได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
นี่แหละครับ สินค้าแบรนด์เนมยามแย่ก็ยังขายได้ดีเหมือนเทน้ำเทท่า
เวลาขายดีก็ดีจนเหลือเชื่อ
ในบ้านเรา ผมทราบว่าไฮโซไม่นิยมซื้อสินค้าเช่นนี้ในประเทศ
อ้างว่าแพง
ต้องบินไปปารีส, ซูริก, มอนติคาโร ไปซื้อครับ
ผมเองเคยมีประสบการณ์ไปซื้อกระเป๋าให้ลูกสาวเป็นรางวัลที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ตอนไปประเทศโมนาโก ราคาก็ถูกกว่าในประเทศไม่กี่บาท เพียงแต่เชื่อได้ว่าเป็นของแท้เท่านั้น
ตัวผมนะหรือใช้แต่ของปลอม ไม่ว่านาฬิกาไปจนถึงปากกา, กระเป๋า ฯลฯ ก็ไม่เห็นมันจะลอก, เดินไม่ตรง, ถ่านหมดเร็วแต่ประการใด บางเรือนสวยกว่าของจริง เดินตรงดีด้วยครับ ของจริง 2 แสนกว่า ของผมแค่ 1,200 เท่านั้น เจ๋งจริงๆ
แต่มาบัดนี้ยอดขายเริ่มช้าลงแล้ว ใช่ว่าคนมีเงินขี้เหนียวนะครับ
มันมีหลายสาเหตุครับ
ผลกระทบมีมาก อย่างแรก คือทำให้บริษัทที่ผลิตสินค้าแบรนด์เนมให้ไฮซ้อไฮซิ้มต้องชะลอการผลิต สินค้าใหม่ก็ยังไม่ออก
เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมทั้งระบบแทบจะชะงักงันกันไปหมด
แม้ว่าหลายบริษัทจะหนีตายมาผลิตในประเทศจีน เพราะต้นทุนค่าแรงถูกแล้วก็ตาม
มีตัวอย่างจากแบรนด์คาร์เทียร์ซึ่งเจ้าของคือ CIE กล่าวถึงการชะลอตัวว่ายอดขายในเทศกาลวันหยุดนั้นต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก
ส่วนยอดขายรองเท้าอิตาเลียนชั้นดีอย่างเอเมนกิลโด เชกนา ก็ย่ำแย่ และปีนี้ทั้งปีไม่ดีครับ
สำหรับยี่ห้อ Coach ที่คนไทยรู้จักดีจากกระเป๋าก็แย่ ตลาดทรุดมากในรอบ 10 ปี เลยทีเดียวละครับ
บางรายบ่นว่า เหตุผลสำคัญอาจเป็นเพราะเงินดอลลาร์อ่อนก็ได้ ทำให้กำไรเหลือน้อยมาก หลุยส์ วิตตอง ซึ่งเป็นแบรนด์เนมรายใหญ่ของโลกขึ้นราคาไปครับ โดยขึ้นในร้านค้าที่อเมริการ้อยละ 5
นี่ถือว่าเสี่ยง เพื่อจะให้ทดแทนการขาดทุนกำไร โดยมองว่ายังไงลูกค้าก็ยังจะซื้อสินค้าติดแบรนด์หลุยส์ วิตตอง อยู่ดี ทั้ง ๆที่ว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังทรุด และตลาดกำลังป่วนอยู่
ประเด็นสำคัญคือ ลูกค้าส่วนใหญ่ตัดค่าใช้จ่ายในการชอปปิ้งลง นักชอปที่บอสตัน ซึ่งมีเงินเหลือใช้ ไปซื้อรองเท้าแตะปราด้า และรองเท้าบัลเล่ย์ของชาเนล เธอบอกว่าต้องเอาของเก่ามารีไซเคิลกันแล้ว
แต่เธอบอกว่าแม้ว่าการเงินของเธอยังเหมือนเดิม แต่อนาคตมันไม่แน่นอน ดังนั้นต้อง “เพลย์เซฟ” ไว้ก่อนละค่ะ
อีกรายเป็นนักเล่นหุ้น ถือหุ้นซิตี้ คอร์ป และบลูชิปอื่นๆ เยอะ บอกว่าเวลาหุ้นตก ตัวเขาเคยใช้จ่ายมากถึงครั้งละ 5 หมื่นบาท
ตอนนี้บอกว่าไม่ไหวครับ
ต้องไปซื้อของลดราคา แม้แต่ถูกลงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ก็เอาแล้ว
เมื่อของฟุ่มเฟือยอยู่ในขาลงเช่นนี้
คนก็หันไปมองตลาดอื่น และเห็นว่าตลาดใหม่ที่กำลังรวยไม่ว่ารัสเซีย หรือจีน น่าจะดีกว่าเพราะโตเร็ว มั่นคง คนเยอะ และเศรษฐีกำลังตื่นแบรนด์เนมกันอยู่
สินค้าแบรนด์เนมอยู่ในขาลงในช่วงปี 2002-2003 เวลานี้ก็ไม่ฟื้นจากภาวะฟุบนิ่งอยู่กับที่นะ
กลุ่มนาฬิกาสวอช (Swatch Group) ซึ่งเจ้าของคือ Omega และ Breguet กลับบอกว่านาฬิกาของบริษัทตนนั้นขายดีครับ ดีขึ้นถึง 17.6 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีกลายนี้เอง
ตลาดที่ช่วยให้ดีกว่าปี 2006 คือ เอเชีย และตะวันออกกลางเทียบกับตลาดในอเมริกามียอดเพิ่มแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ (ความจริงก็ดีแล้ว)
ทิฟฟานีซึ่งขายพวกเครื่องประดับเงิน และเพชร โดยขายให้พวกคนรวยระดับล่างลงมา กำลัง diversify อยู่ครับ โดยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า
ทั้งนี้ทิฟฟานีมีนาฬิกา, แว่นกันแดด ฯลฯ เพิ่มเข้ามาในร้านด้วย นอกจากนั้นก็เริ่มขยายตัวในต่างประเทศ โดยจะให้ทันสิ้นปี เพื่อขายช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งหวังได้ว่าคนจะจับจ่ายใช้เงินกันมาก
แต่ตลาดของทิฟฟานีไม่ดีนักในอเมริกา ยอดขายลดไป 2 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปีที่แล้ว แต่มันกลับเพิ่มในตลาดต่างประเทศถึง 5 เปอร์เซ็นต์
แม้ว่าทิฟฟานีจะขายในตลาดภายในประเทศถึง 60 เปอร์เซ็นต์ทุกปีก็ตามครับ
กระนั้นก็ดี มีความเสี่ยงพอสมควร ถ้าลดราคาลง
หลายบริษัทจะหวังพึ่งตลาดชนชั้นกลางได้หรือไม่?
เนกไทของเฮอร์เมสขายกันตามป้ายราคาเกือบ 6,000 บาทต่อ 1 เส้น
ส่วนกระเป๋าหลุยส์ วิตตองขายในราคาตามป้าย 2 หมื่นบาทต่อ 1 ใบ
ยอดขายรวมของสินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้ ขายรวมกันในช่วงปี 1996-2006 เป็นเงินตราถึง 93 ล้าน 6 แสน 4 หมื่นบาทครับ
มันก็ไม่มากมายอะไรนักนะครับ เพราะสินค้าหลายอย่างรวมกันมีทั้งเพชรพลอยด้วย
บริษัทอย่าง โคช (Coach) ซึ่งขายกระเป๋าราคา 12,000 บาท ในตลาดอเมริกา ต้องยอมขายในราคาลดเรียกผู้ซื้อในภายหลัง ไม่งั้นคนซื้อก็หันไปหากระเป๋ายี่ห้อที่ราคาถูกกว่า
แต่คนมีสตางค์ไม่เหมือนพวกชนชั้นกลางครับ กระเป๋าโคช ราคาหมื่นหกพันบาทซื้อขายคล่องดีและยอดขายได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
นี่แหละครับ สินค้าแบรนด์เนมยามแย่ก็ยังขายได้ดีเหมือนเทน้ำเทท่า
เวลาขายดีก็ดีจนเหลือเชื่อ
ในบ้านเรา ผมทราบว่าไฮโซไม่นิยมซื้อสินค้าเช่นนี้ในประเทศ
อ้างว่าแพง
ต้องบินไปปารีส, ซูริก, มอนติคาโร ไปซื้อครับ
ผมเองเคยมีประสบการณ์ไปซื้อกระเป๋าให้ลูกสาวเป็นรางวัลที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ตอนไปประเทศโมนาโก ราคาก็ถูกกว่าในประเทศไม่กี่บาท เพียงแต่เชื่อได้ว่าเป็นของแท้เท่านั้น
ตัวผมนะหรือใช้แต่ของปลอม ไม่ว่านาฬิกาไปจนถึงปากกา, กระเป๋า ฯลฯ ก็ไม่เห็นมันจะลอก, เดินไม่ตรง, ถ่านหมดเร็วแต่ประการใด บางเรือนสวยกว่าของจริง เดินตรงดีด้วยครับ ของจริง 2 แสนกว่า ของผมแค่ 1,200 เท่านั้น เจ๋งจริงๆ