ผู้จัดการรายวัน – นายกสมาคมผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย มองสถานการณ์กาแฟไทย เป็นสินค้าทางเศรษฐกิจมีอนาคต หากได้แรงหนุน ชี้รากฐานระบบจัดการมีประสิทธิภาพ เชื่อโตไม่ยาก เพราะกาแฟได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกสังคมไปแล้ว คาดมูลค่าการส่งออกปี 51 จะโตอีก 20%
นายธีรวัฒน์ วงศ์วรทัต นายกสมาคมผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจกาแฟของไทย ว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติที่เป็นผลิตกาแฟเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย งแม้กำลังการผลิตเมล็ดกาแฟของไทยจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่หากเทียบในเรื่องของคุณภาพแล้วถือว่ากาแฟไทยได้เปรียบในเรื่องของภูมิประเทศเหมาะกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกา และโรบัสต้า หากประเทศไทยมีการสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องการจัดการปลูกกาแฟอย่างมีระบบ
“ในเรื่องคุณภาพกาแฟของไทยถือว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ต่างชาติยอมรับ และปริมาณการผลิตยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ยังทำการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ยาก ดังนั้นผู้ปลูกกาแฟ และผู้ที่คว่ำหวอดอยู่ในธุรกิจกาแฟ ต้องพยายามสร้างเอกลักษณ์กาแฟของไทยให้ได้ เพราะหากจะแข่งขันในด้านของราคา กาแฟไทยคงจะสู้ไม่ได้ ซึ่งการสร้างกระแสกาแฟไทยให้เป็นที่รู้จักนั้น ถือเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะในปัจจุบันกาแฟได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของทุกสังคมไปแล้ว รวมถึงร้านกาแฟยังถูกวางตำแหน่งให้เป็นแหล่งของคนในสังคมด้วยเช่นกัน” นายธีรวัฒน์กล่าว
ส่วนสถานการณ์ของกาแฟในอนาคตภายใต้ข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี (FTA) ที่อาจส่งผลกระทบกับตลาดกาแฟไทยนั้น นายธีรวัฒน์กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องแข่งขันกับกาแฟจากต่างประเทศที่จะทะลักเข้ามา ด้วยการชูจุดเด่นในเรื่องของคุณภาพ โดยเฉพาะความได้เปรียบภูมิประเทศของไทยที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟ และสร้างเอกลักษณ์ความเป็นกาแฟไทยให้ได้ เพื่อลดความเสียเปรียบในเรื่องปริมาณการผลิต
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการปลูกกาแฟของไทย ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต และมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งมูลค่าการส่งออกกาแฟของไทยเมื่อปี 2550 มูลค่ากว่า 26,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2551 นี้ จะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 20% ซึ่งตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะต้องอาศัยการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาจัดสรรระบบการปลูกกาแฟอย่างจริงจังแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟด้วย
นายธีรวัฒน์ วงศ์วรทัต นายกสมาคมผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจกาแฟของไทย ว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติที่เป็นผลิตกาแฟเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย งแม้กำลังการผลิตเมล็ดกาแฟของไทยจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่หากเทียบในเรื่องของคุณภาพแล้วถือว่ากาแฟไทยได้เปรียบในเรื่องของภูมิประเทศเหมาะกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกา และโรบัสต้า หากประเทศไทยมีการสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องการจัดการปลูกกาแฟอย่างมีระบบ
“ในเรื่องคุณภาพกาแฟของไทยถือว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ต่างชาติยอมรับ และปริมาณการผลิตยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ยังทำการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ยาก ดังนั้นผู้ปลูกกาแฟ และผู้ที่คว่ำหวอดอยู่ในธุรกิจกาแฟ ต้องพยายามสร้างเอกลักษณ์กาแฟของไทยให้ได้ เพราะหากจะแข่งขันในด้านของราคา กาแฟไทยคงจะสู้ไม่ได้ ซึ่งการสร้างกระแสกาแฟไทยให้เป็นที่รู้จักนั้น ถือเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะในปัจจุบันกาแฟได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของทุกสังคมไปแล้ว รวมถึงร้านกาแฟยังถูกวางตำแหน่งให้เป็นแหล่งของคนในสังคมด้วยเช่นกัน” นายธีรวัฒน์กล่าว
ส่วนสถานการณ์ของกาแฟในอนาคตภายใต้ข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี (FTA) ที่อาจส่งผลกระทบกับตลาดกาแฟไทยนั้น นายธีรวัฒน์กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องแข่งขันกับกาแฟจากต่างประเทศที่จะทะลักเข้ามา ด้วยการชูจุดเด่นในเรื่องของคุณภาพ โดยเฉพาะความได้เปรียบภูมิประเทศของไทยที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟ และสร้างเอกลักษณ์ความเป็นกาแฟไทยให้ได้ เพื่อลดความเสียเปรียบในเรื่องปริมาณการผลิต
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการปลูกกาแฟของไทย ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต และมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งมูลค่าการส่งออกกาแฟของไทยเมื่อปี 2550 มูลค่ากว่า 26,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2551 นี้ จะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 20% ซึ่งตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะต้องอาศัยการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาจัดสรรระบบการปลูกกาแฟอย่างจริงจังแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟด้วย