ผลวิจัยพบการฟังเพลงแร็พจะดึงความรู้สึกแบ่งแยกทางเพศที่ฝังลึกในใจออกมา โดยผู้ฟังทั้งหญิงและชายจะโน้มเอียงไปในทางเกลียดชังผู้หญิงมากขึ้น ทั้งที่เนื้อเพลงไม่มีข้อความยั่วยุใดๆ
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เพลงประเภทนี้กระตุ้นอคติทางเพศขั้นรุนแรงที่แฝงอยู่ในจิตใต้สำนึก ไม่ได้ทำให้เกิดทัศนคติดังกล่าวขึ้นมาปุบปับ
การค้นพบนี้น่าจะทำให้เกิดความวิตกกังวลยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอิทธิพลแง่ลบของเพลงแร็พที่มีต่อทัศนคติของหนุ่มสาว
ทั้งนี้ นักวิจัยแบ่งนักศึกษา 200 คนออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อวัดระดับแนวโน้มการแบ่งแยกทางเพศโดยใช้แบบสอบถาม โดยในกลุ่มควบคุม นักศึกษาจะไม่ได้ฟังเพลงใดๆ เลย กลุ่มที่สองฟังเพลง Sabotage ของ Beastie Boys ซึ่งเป็นเพลงแร็พที่ไม่มีเนื้อหาบ่งบอกถึงการแบ่งแยกทางเพศ
ส่วนกลุ่มสุดท้ายฟังเพลง Kill You ของ Eminem ที่เป็นเพลงแร็พเหมือนกัน แต่มีเนื้อหาแบ่งแยกทางเพศชัดเจน อีกทั้งยังบ่งชี้ถึงการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง
นักวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ฟังเพลงแร็พแสดงระดับของการแบ่งแยกทางเพศสูงมากในแบบสอบถาม
ดร.ไมเคิล ค็อบบ์ จากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้ดูแลการวิจัยนี้กล่าวว่า “การแบ่งแยกทางเพศฝังรากอยู่ในวัฒนธรรมที่เราอาศัยอยู่ และการฟังเพลงแร็พอาจกระตุ้นทัศนคตินี้ที่ฝังอยู่ในจิตใจโดยไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับการได้ยินคำว่า ‘ช็อกโกแลต’ แล้วรู้สึกอยากกินช็อกโกแลตขึ้นมาปุบปับ”
ดร.ค็อบบ์ยังพบว่า ผู้ชายที่ฟังเพลงแร็พมีแนวโน้มแบ่งแยกทางเพศมากกว่ากลุ่มควบคุม ผลลัพธ์นี้พบในผู้หญิงเช่นกัน ทั้งที่เนื้อเพลงไม่ได้มีข้อความปลุกเร้าให้เกลียดชังเพศหญิงก็ตาม
อย่างไรก็ดี แรงกระตุ้นต่อทัศนคตินี้กลับเบาบางลงหลังจากฟังเพลงแร็พที่มีเนื้อหายั่วยุก้าวร้าว
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เพลงประเภทนี้กระตุ้นอคติทางเพศขั้นรุนแรงที่แฝงอยู่ในจิตใต้สำนึก ไม่ได้ทำให้เกิดทัศนคติดังกล่าวขึ้นมาปุบปับ
การค้นพบนี้น่าจะทำให้เกิดความวิตกกังวลยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอิทธิพลแง่ลบของเพลงแร็พที่มีต่อทัศนคติของหนุ่มสาว
ทั้งนี้ นักวิจัยแบ่งนักศึกษา 200 คนออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อวัดระดับแนวโน้มการแบ่งแยกทางเพศโดยใช้แบบสอบถาม โดยในกลุ่มควบคุม นักศึกษาจะไม่ได้ฟังเพลงใดๆ เลย กลุ่มที่สองฟังเพลง Sabotage ของ Beastie Boys ซึ่งเป็นเพลงแร็พที่ไม่มีเนื้อหาบ่งบอกถึงการแบ่งแยกทางเพศ
ส่วนกลุ่มสุดท้ายฟังเพลง Kill You ของ Eminem ที่เป็นเพลงแร็พเหมือนกัน แต่มีเนื้อหาแบ่งแยกทางเพศชัดเจน อีกทั้งยังบ่งชี้ถึงการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง
นักวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ฟังเพลงแร็พแสดงระดับของการแบ่งแยกทางเพศสูงมากในแบบสอบถาม
ดร.ไมเคิล ค็อบบ์ จากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้ดูแลการวิจัยนี้กล่าวว่า “การแบ่งแยกทางเพศฝังรากอยู่ในวัฒนธรรมที่เราอาศัยอยู่ และการฟังเพลงแร็พอาจกระตุ้นทัศนคตินี้ที่ฝังอยู่ในจิตใจโดยไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับการได้ยินคำว่า ‘ช็อกโกแลต’ แล้วรู้สึกอยากกินช็อกโกแลตขึ้นมาปุบปับ”
ดร.ค็อบบ์ยังพบว่า ผู้ชายที่ฟังเพลงแร็พมีแนวโน้มแบ่งแยกทางเพศมากกว่ากลุ่มควบคุม ผลลัพธ์นี้พบในผู้หญิงเช่นกัน ทั้งที่เนื้อเพลงไม่ได้มีข้อความปลุกเร้าให้เกลียดชังเพศหญิงก็ตาม
อย่างไรก็ดี แรงกระตุ้นต่อทัศนคตินี้กลับเบาบางลงหลังจากฟังเพลงแร็พที่มีเนื้อหายั่วยุก้าวร้าว