โตโยต้าโคโรลล่านับเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขายดีที่สุดตลาดกาลในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมรถยนต์โลก โดยมียอดจำหน่ายมากถึง 33 ล้านคัน นับตั้งแต่ถือกำเนิดเมื่อปี 2509 หรือเฉลี่ยแล้วมียอดจำหน่าย 90 คัน/ชั่วโมง ตลอดช่วง 41 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ
ในอดีตที่ผ่านมา ได้มีรถยนต์ขายดีที่สุดของโลกหลายแบบหลายรุ่น โดยเริ่มแรก คือ ฟอร์ดโมเดลที ซึ่งมียอดจำหน่ายสะสมเป็นจำนวนมากถึง 16.5 ล้านคัน ต่อมาก็เป็นรถยนต์โฟล์กสวาเก้นรุ่น Beetle หรือเต่าทอง ซึ่งแซงหน้ารถยนต์ฟอร์ดโมเดลทีเมื่อปี 2515 กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในโลก โดยมียอดจำหน่ายสะสมมากถึง 21.5 ล้านคัน
สำหรับรถยนต์ที่กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดตลอดกาลในปัจจุบัน คือ โคโรลล่า ซึ่งเริ่มผลิตจำหน่ายตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา โดยในปี 2533 ยอดจำหน่ายทะลุ 16.5 ล้านคัน ทำให้แซงหน้ารถยนต์ฟอร์ดโมเดลที กลายเป็นรถยนต์ขนาดดีตลอดกาลมากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยเป็นรองรถยนต์โฟล์กสวาเก้นรุ่นเต่าทองเท่านั้น จากนั้นในปี 2540 รถยนต์โคโรลล่าได้สร้างเกียรติประวัติอีกครั้งหนึ่ง โดยมียอดจำหน่ายเกิน 21.5 ล้านคัน แซงหน้ารถยนต์เต่าทอง กลายเป็นรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในโลกตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ชื่นชอบรถยนต์เต่าทองยังคงยืนยันว่ารถยนต์ของตนเองเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยกล่าวอ้างว่ารถยนต์เต่าทองที่มียอดขาย 21.5 ล้านคันนั้น เป็นรถยนต์รูปลักษณ์เดียวกันทั้งหมด แตกต่างจากรถยนต์โคโรลล่าซึ่งมีรูปลักษณ์หลากหลายจนไม่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
รถยนต์โคโรลล่าเริ่มวางตลาดเป็นครั้งแรกในปี 2509 เป็นแบบ 2 ประตู มีขนาด 1100 ซีซี มากกว่าคู่แข่งสำคัญในยุคนั้น คือ ดัทสันซันนี่ 1000 เครื่องยนต์ขนาด 1000 ซีซี จากนั้นวางจำหน่ายรุ่นที่ 2 ซึ่งเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้นเป็น 1200 ซีซี จากนั้นรุ่นที่ 3 เริ่มวางจำหน่ายในปี 2517 ถัดมาอีกได้วางจำหน่ายรถยนต์โคโลล่ารุ่นที่ 4 หรือที่เมืองไทยเรียกว่ารุ่น DX วางจำหน่ายในปี 2522 ต่อมาได้วางจำหน่ายรุ่นที่ 5 เมื่อปี 2526 ซึ่งเรียกในไทยว่ารุ่นท้ายตัด โดยมีจุดเด่น คือ ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นครั้งแรก
จากนั้นในปี 2531 โตโยต้าได้เริ่มวางจำหน่ายรถยนต์โคโรลล่ารุ่นที่ 6 ซึ่งได้รับฉายาในประเทศไทยว่ารุ่นโดราเอมอน ถัดจากนั้นเริ่มจำหน่ายรถยนต์รุ่นที่ 7 ในปี 2534 โดยนับเป็นรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากโตโยต้าได้พยายามเพิ่มขนาดรถยนต์แคมรี่ จึงต้องการให้รถยนต์โคโรลล่ามีขนาดใหญ่ตามขึ้นมากด้วยเพื่ออุดช่องว่างทางการตลาด โดยรุ่นนี้ได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยว่ารุ่น 3 ห่วง
สำหรับรุ่นที่ 8 วางจำหน่ายปี 2538 ซึ่งเรียกในไทยว่ารุ่นตูดเป็ด โดยรถยนต์รุ่นนี้ออกแบบในช่วงญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงเห็นว่าประชาชนน่าจะต้องการของดีราคาถูก ดังนั้น วิศวกรของโตโยต้าได้พยายามลดต้นทุนการผลิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถผลิตจำหน่ายได้ในราคาต่ำ ส่งผลทำให้รถยนต์ไม่ได้รับความประทับใจนัก โดยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากทั้งลูกค้าและสื่อมวลชน
สำหรับรุ่นที่ 9 ได้เริ่มวางจำหน่ายปี 2543 ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก มีลูกค้าเป้าหมายผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่ดีกว่าโคโรลล่าแบบดั้งเดิม แต่ไม่ต้องการจ่ายเงินราคาแพงเพื่อซื้อรถยนต์แคมรี่ กรณีของประเทศไทยได้ตั้งชื่อว่าโคโรลล่าอัลติส และมีฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่ารุ่นหน้าหมู เริ่มวางจำหน่ายในปี 2545
สำหรับรุ่นที่ 10 ล่าสุด เริ่มวางจำหน่ายในญี่ปุ่นปลายปี 2549 และในสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2551 ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ทัศนะว่าปรับปรุงรูปลักษณ์ดีขึ้นค่อนข้างมาก แม้ยังคงดูเรียบๆ ไม่หวือหวานัก แต่ไม่ดูน่าเบื่อเหมือนกับในอดีต
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่ารถยนต์รุ่นนี้ออกวางตลาดค่อนข้างช้า เนื่องจากปกติจะวางจำหน่ายรุ่นใหม่ทุก 4 - 5 ปี โดยโตโยต้าให้เหตุผลว่าเนื่องจากอยู่ระหว่างออกรถยนต์แคมรี่รุ่นใหม่ ทำให้ต้องชะลอการวางตลาดรถยนต์โคโรลล่าออกไปก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งตลาดกันเอง อย่างไรก็ตาม ในแวดวงสื่อมวลชนมีข่าวลือว่าการที่วางจำหน่ายช้าเนื่องจากฮอนด้าออกรถยนต์ซีวิครุ่นใหม่ซึ่งประสบผลสำเร็จด้านการตลาดมาก ทำให้โตโยต้าต้องนำรถยนต์โคโรลล่าที่เตรียมวางจำหน่ายไว้แล้วไปนั้น กลับมาทบทวนใหม่ให้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเอาชนะรถยนต์ซีวิคให้ได้ โดย
สำหรับจุดขายสำคัญของรถยนต์โคโรลล่า คือ ราคาถูก ไม่จุกจิกเสียง่าย นั่งสบาย เสียงเงียบภายในห้องโดยสาร ประหยัดน้ำมัน ยิ่งไปกว่า จากความทนทานในการใช้งาน ทำให้ราคาขายต่อค่อนข้างสูง ทำให้กลายเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากบุคคลทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กระดับมัธยมปลาย จนถึงผู้สูงอายุวัยเกษียณ
แต่จุดอ่อนสำคัญ คือ เป็นรถยนต์ที่ออกแบบในลักษณะอนุรักษนิยม รูปลักษณ์ไม่เด่นมากนัก ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ดังนั้น หากขับรถยนต์โคโรลล่าไปตามท้องถนน ก็จะไม่มีใครสนใจมอง หรือหากไปเปิดหนังสือรถยนต์ที่เป็นอมตะแล้ว จะไม่พบภาพรถยนต์โคโรลล่าแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าแตกต่างจากรถยนต์ขายดีรุ่นอื่นๆ เช่น รถยนต์โฟล์กสวาเก้นเต่าทอง ซึ่งแม้มองผิวเผินแล้วรูปร่างอัปลักษณ์ แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้สึกและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน
สำหรับเกียรติประวัติสำคัญของรถยนต์โคโรล่า คือ การเป็นรถยนต์ขายดีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น (ไม่นับรวมรถยนต์ขนาดเล็กแบบ Minicar) นับตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากปกติแล้วรถยนต์จะขายดีในปีแรกที่เปิดตัวใหม่ จากนั้นยอดขายจะค่อยๆ ลดลงในปีต่อไป ทำให้รถยนต์คู่แข่งที่มีความใหม่สดกว่าแย่งตลาดไปได้
อย่างไรก็ตาม รถยนต์โคโรลล่าในญี่ปุ่นได้เผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มแรกเผชิญกับความท้าทายของรถยนต์ Vitz หรือที่ในยุโรปรวมถึงประเทศไทยตั้งชื่อว่ายาริส ของค่ายโตโยต้าเดียวกัน ซึ่งเริ่มวางตลาดในญี่ปุ่นเมื่อปี 2542 โดยสมัยนั้นได้ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 997 ซีซี ปรากฏว่ามียอดจำหน่ายแซงหน้ารถยนต์โคโรลล่าเมื่อช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับตัวเลขครึ่งหลังของปี 2543 แล้ว รถยนต์โคโรลล่ายังคงครองตำแหน่งรถยนต์ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นต่อไปอีก
แต่สถิติขายดีที่สุดในญี่ปุ่นของรถยนต์โคโรลล่าต้องสะดุดหยุดลงเมื่อค่ายฮอนด้าเปิดตัวรถยนต์ฮอนด้าฟิตหรือที่ในยุโรปรวมถึงประเทศไทยด้วย จำหน่ายในชื่อว่าแจ๊ซ เมื่อเดือนมิถุนายน 2544 และได้รับการยกย่องให้เป็นรถยนต์ยอดเยี่ยมของประเทศญี่ปุ่นในปีเดียวกันนั้นเอง จากนั้นรถยนต์แจ๊ซได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ คือ กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นในปี 2545 โดยสามารถโค่นโคโรลล่า ซึ่งครองตำแหน่งนี้มาเป็นเวลายาวนานติดต่อกันถึง 33 ปีเป็นผลสำเร็จ
รถยนต์โคโรลล่าปล่อยให้แจ๊ซแย่งตำแหน่งอันดับ 1 ไปเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ในปีถัดมาก็แย่งตำแหน่งอันดับ 1 กลับคืนมาเป็นผลสำเร็จ โดยครองตำแหน่งติดต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยสถิติล่าสุดในปี 2550 รถยนต์โคโรลล่ามียอดจำหน่าย 147,069 คัน ขณะที่ยาริสและแจ๊ซตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 โดยมียอดจำหน่าย 121,377 คันและ 116,561 คัน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ฟิตหรือแจ๊ซของค่ายฮอนด้ากำลังมาแรง เนื่องจากเพิ่งเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปลายตุลาคม 2550 ทำให้มีความสดใหม่กว่า โดยในเดือนธันวาคม 2550 รถยนต์แจ๊ซมียอดจำหน่ายในญี่ปุ่นมากถึง 18,719 คัน มากเป็น 2 เท่าของรถยนต์โคโรลล่าที่มียอดจำหน่าย 9,958 คัน ในช่วงเดียวกัน
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ รถยนต์โคโรลล่ามียอดขายมากกว่าในญี่ปุ่นเสียอีก โดยสถิติล่าสุดในปี 2550 รถยนต์โคโรลล่าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งมียอดขายมากเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ โดยมียอดจำหน่ายรวม 371,390 คัน รองจากรถยนต์แคมรี่ 473,108 คัน และรถยนต์แอคคอร์ด 392,231 คัน ขณะที่รถยนต์ซีวิคของค่ายฮอนด้าตามมาเป็นอันดับ 4 มียอดขาย 331,095 คัน
สำหรับจุดอ่อนสำคัญของรถยนต์โคโรลล่า คือ ตลาดยุโรป โดยไม่ติดอันดับรถยนต์ขายดี 10 อันดับแรกของยุโรปแต่อย่างใด โดยผู้นำตลาดรถยนต์ของยุโรปในปี 2550 คือ รถยนต์เปอร์โยต์ 207 จำนวน 437,505 คัน รองลงมา คือ รถยนต์โฟล์กสวาเก้นกอล์ฟ 435,055 คัน และรถยนต์ฟอร์ดโฟกัส 406,557 คัน ตามลำดับ
สำหรับกรณีของไทย รถยนต์โคโรลล่าได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์แท็กซี่ ซึ่งครองตลาดในส่วนนี้มากกว่า 90% เท่ากับเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพอย่างไม่เป็นทางการว่ารถยนต์รุ่นนี้มีความทนทาน ซ่อมง่าย อะไหล่หาง่าย และประหยัดน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังรถยนต์โคโรลล่าไม่ได้เป็นรถยนต์ขายดีที่สุดอีกต่อไป เนื่องจากต้องเผชิญกับรถยนต์คู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า คือ โตโยต้าวีออสและฮอนด้าซิตี้ รวมถึงเผชิญกับความท้าทายจากรถยนต์ในตลาดเดียวกัน คือ ฮอนด้าซีวิค
บริษัทโตโยต้าได้เริ่มวางจำหน่ายรถยนต์โคโรลล่ารุ่นใหม่ในประเทศไทยเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา โดยไทยนับเป็นฐานการผลิตรถยนต์แบบนี้ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายยอดจำหน่ายในประเทศ 2,600 - 3,000 คัน/เดือน และส่งออก 50% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ นับเป็นรถยนต์โคโรลล่าที่จำหน่ายในไทยรุ่นแรกที่สามารถใช้น้ำมัน E20 ได้ ส่งผลให้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตราลดลง ทำให้สามารถราคาจำหน่ายไม่แพงมากนัก คือ 709,000 - 969,000 บาท
สำหรับรุ่นลิโม ซึ่งได้รับความนิยมทำเป็นรถแท็กซี่นั้น บริษัทโตโยต้าได้ตระหนักว่าอาจจะส่งผลกระทบทางลบ ดังนั้น จึงกำหนดเปิดตัวออกสู่ตลาดในภายหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้นำรถรุ่นนี้ไปทำรถแท็กซี่ออกมาวิ่งในตลาดก่อน โดยคาดว่ารุ่นลิโมน่าจะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2551 หรือต้นปี 2552
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
ในอดีตที่ผ่านมา ได้มีรถยนต์ขายดีที่สุดของโลกหลายแบบหลายรุ่น โดยเริ่มแรก คือ ฟอร์ดโมเดลที ซึ่งมียอดจำหน่ายสะสมเป็นจำนวนมากถึง 16.5 ล้านคัน ต่อมาก็เป็นรถยนต์โฟล์กสวาเก้นรุ่น Beetle หรือเต่าทอง ซึ่งแซงหน้ารถยนต์ฟอร์ดโมเดลทีเมื่อปี 2515 กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในโลก โดยมียอดจำหน่ายสะสมมากถึง 21.5 ล้านคัน
สำหรับรถยนต์ที่กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดตลอดกาลในปัจจุบัน คือ โคโรลล่า ซึ่งเริ่มผลิตจำหน่ายตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา โดยในปี 2533 ยอดจำหน่ายทะลุ 16.5 ล้านคัน ทำให้แซงหน้ารถยนต์ฟอร์ดโมเดลที กลายเป็นรถยนต์ขนาดดีตลอดกาลมากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยเป็นรองรถยนต์โฟล์กสวาเก้นรุ่นเต่าทองเท่านั้น จากนั้นในปี 2540 รถยนต์โคโรลล่าได้สร้างเกียรติประวัติอีกครั้งหนึ่ง โดยมียอดจำหน่ายเกิน 21.5 ล้านคัน แซงหน้ารถยนต์เต่าทอง กลายเป็นรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในโลกตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ชื่นชอบรถยนต์เต่าทองยังคงยืนยันว่ารถยนต์ของตนเองเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยกล่าวอ้างว่ารถยนต์เต่าทองที่มียอดขาย 21.5 ล้านคันนั้น เป็นรถยนต์รูปลักษณ์เดียวกันทั้งหมด แตกต่างจากรถยนต์โคโรลล่าซึ่งมีรูปลักษณ์หลากหลายจนไม่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
รถยนต์โคโรลล่าเริ่มวางตลาดเป็นครั้งแรกในปี 2509 เป็นแบบ 2 ประตู มีขนาด 1100 ซีซี มากกว่าคู่แข่งสำคัญในยุคนั้น คือ ดัทสันซันนี่ 1000 เครื่องยนต์ขนาด 1000 ซีซี จากนั้นวางจำหน่ายรุ่นที่ 2 ซึ่งเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้นเป็น 1200 ซีซี จากนั้นรุ่นที่ 3 เริ่มวางจำหน่ายในปี 2517 ถัดมาอีกได้วางจำหน่ายรถยนต์โคโลล่ารุ่นที่ 4 หรือที่เมืองไทยเรียกว่ารุ่น DX วางจำหน่ายในปี 2522 ต่อมาได้วางจำหน่ายรุ่นที่ 5 เมื่อปี 2526 ซึ่งเรียกในไทยว่ารุ่นท้ายตัด โดยมีจุดเด่น คือ ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นครั้งแรก
จากนั้นในปี 2531 โตโยต้าได้เริ่มวางจำหน่ายรถยนต์โคโรลล่ารุ่นที่ 6 ซึ่งได้รับฉายาในประเทศไทยว่ารุ่นโดราเอมอน ถัดจากนั้นเริ่มจำหน่ายรถยนต์รุ่นที่ 7 ในปี 2534 โดยนับเป็นรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากโตโยต้าได้พยายามเพิ่มขนาดรถยนต์แคมรี่ จึงต้องการให้รถยนต์โคโรลล่ามีขนาดใหญ่ตามขึ้นมากด้วยเพื่ออุดช่องว่างทางการตลาด โดยรุ่นนี้ได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยว่ารุ่น 3 ห่วง
สำหรับรุ่นที่ 8 วางจำหน่ายปี 2538 ซึ่งเรียกในไทยว่ารุ่นตูดเป็ด โดยรถยนต์รุ่นนี้ออกแบบในช่วงญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงเห็นว่าประชาชนน่าจะต้องการของดีราคาถูก ดังนั้น วิศวกรของโตโยต้าได้พยายามลดต้นทุนการผลิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถผลิตจำหน่ายได้ในราคาต่ำ ส่งผลทำให้รถยนต์ไม่ได้รับความประทับใจนัก โดยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากทั้งลูกค้าและสื่อมวลชน
สำหรับรุ่นที่ 9 ได้เริ่มวางจำหน่ายปี 2543 ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก มีลูกค้าเป้าหมายผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่ดีกว่าโคโรลล่าแบบดั้งเดิม แต่ไม่ต้องการจ่ายเงินราคาแพงเพื่อซื้อรถยนต์แคมรี่ กรณีของประเทศไทยได้ตั้งชื่อว่าโคโรลล่าอัลติส และมีฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่ารุ่นหน้าหมู เริ่มวางจำหน่ายในปี 2545
สำหรับรุ่นที่ 10 ล่าสุด เริ่มวางจำหน่ายในญี่ปุ่นปลายปี 2549 และในสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2551 ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ทัศนะว่าปรับปรุงรูปลักษณ์ดีขึ้นค่อนข้างมาก แม้ยังคงดูเรียบๆ ไม่หวือหวานัก แต่ไม่ดูน่าเบื่อเหมือนกับในอดีต
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่ารถยนต์รุ่นนี้ออกวางตลาดค่อนข้างช้า เนื่องจากปกติจะวางจำหน่ายรุ่นใหม่ทุก 4 - 5 ปี โดยโตโยต้าให้เหตุผลว่าเนื่องจากอยู่ระหว่างออกรถยนต์แคมรี่รุ่นใหม่ ทำให้ต้องชะลอการวางตลาดรถยนต์โคโรลล่าออกไปก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งตลาดกันเอง อย่างไรก็ตาม ในแวดวงสื่อมวลชนมีข่าวลือว่าการที่วางจำหน่ายช้าเนื่องจากฮอนด้าออกรถยนต์ซีวิครุ่นใหม่ซึ่งประสบผลสำเร็จด้านการตลาดมาก ทำให้โตโยต้าต้องนำรถยนต์โคโรลล่าที่เตรียมวางจำหน่ายไว้แล้วไปนั้น กลับมาทบทวนใหม่ให้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเอาชนะรถยนต์ซีวิคให้ได้ โดย
สำหรับจุดขายสำคัญของรถยนต์โคโรลล่า คือ ราคาถูก ไม่จุกจิกเสียง่าย นั่งสบาย เสียงเงียบภายในห้องโดยสาร ประหยัดน้ำมัน ยิ่งไปกว่า จากความทนทานในการใช้งาน ทำให้ราคาขายต่อค่อนข้างสูง ทำให้กลายเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากบุคคลทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กระดับมัธยมปลาย จนถึงผู้สูงอายุวัยเกษียณ
แต่จุดอ่อนสำคัญ คือ เป็นรถยนต์ที่ออกแบบในลักษณะอนุรักษนิยม รูปลักษณ์ไม่เด่นมากนัก ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ดังนั้น หากขับรถยนต์โคโรลล่าไปตามท้องถนน ก็จะไม่มีใครสนใจมอง หรือหากไปเปิดหนังสือรถยนต์ที่เป็นอมตะแล้ว จะไม่พบภาพรถยนต์โคโรลล่าแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าแตกต่างจากรถยนต์ขายดีรุ่นอื่นๆ เช่น รถยนต์โฟล์กสวาเก้นเต่าทอง ซึ่งแม้มองผิวเผินแล้วรูปร่างอัปลักษณ์ แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้สึกและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน
สำหรับเกียรติประวัติสำคัญของรถยนต์โคโรล่า คือ การเป็นรถยนต์ขายดีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น (ไม่นับรวมรถยนต์ขนาดเล็กแบบ Minicar) นับตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากปกติแล้วรถยนต์จะขายดีในปีแรกที่เปิดตัวใหม่ จากนั้นยอดขายจะค่อยๆ ลดลงในปีต่อไป ทำให้รถยนต์คู่แข่งที่มีความใหม่สดกว่าแย่งตลาดไปได้
อย่างไรก็ตาม รถยนต์โคโรลล่าในญี่ปุ่นได้เผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มแรกเผชิญกับความท้าทายของรถยนต์ Vitz หรือที่ในยุโรปรวมถึงประเทศไทยตั้งชื่อว่ายาริส ของค่ายโตโยต้าเดียวกัน ซึ่งเริ่มวางตลาดในญี่ปุ่นเมื่อปี 2542 โดยสมัยนั้นได้ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 997 ซีซี ปรากฏว่ามียอดจำหน่ายแซงหน้ารถยนต์โคโรลล่าเมื่อช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับตัวเลขครึ่งหลังของปี 2543 แล้ว รถยนต์โคโรลล่ายังคงครองตำแหน่งรถยนต์ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นต่อไปอีก
แต่สถิติขายดีที่สุดในญี่ปุ่นของรถยนต์โคโรลล่าต้องสะดุดหยุดลงเมื่อค่ายฮอนด้าเปิดตัวรถยนต์ฮอนด้าฟิตหรือที่ในยุโรปรวมถึงประเทศไทยด้วย จำหน่ายในชื่อว่าแจ๊ซ เมื่อเดือนมิถุนายน 2544 และได้รับการยกย่องให้เป็นรถยนต์ยอดเยี่ยมของประเทศญี่ปุ่นในปีเดียวกันนั้นเอง จากนั้นรถยนต์แจ๊ซได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ คือ กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นในปี 2545 โดยสามารถโค่นโคโรลล่า ซึ่งครองตำแหน่งนี้มาเป็นเวลายาวนานติดต่อกันถึง 33 ปีเป็นผลสำเร็จ
รถยนต์โคโรลล่าปล่อยให้แจ๊ซแย่งตำแหน่งอันดับ 1 ไปเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ในปีถัดมาก็แย่งตำแหน่งอันดับ 1 กลับคืนมาเป็นผลสำเร็จ โดยครองตำแหน่งติดต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยสถิติล่าสุดในปี 2550 รถยนต์โคโรลล่ามียอดจำหน่าย 147,069 คัน ขณะที่ยาริสและแจ๊ซตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 โดยมียอดจำหน่าย 121,377 คันและ 116,561 คัน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ฟิตหรือแจ๊ซของค่ายฮอนด้ากำลังมาแรง เนื่องจากเพิ่งเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปลายตุลาคม 2550 ทำให้มีความสดใหม่กว่า โดยในเดือนธันวาคม 2550 รถยนต์แจ๊ซมียอดจำหน่ายในญี่ปุ่นมากถึง 18,719 คัน มากเป็น 2 เท่าของรถยนต์โคโรลล่าที่มียอดจำหน่าย 9,958 คัน ในช่วงเดียวกัน
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ รถยนต์โคโรลล่ามียอดขายมากกว่าในญี่ปุ่นเสียอีก โดยสถิติล่าสุดในปี 2550 รถยนต์โคโรลล่าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งมียอดขายมากเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ โดยมียอดจำหน่ายรวม 371,390 คัน รองจากรถยนต์แคมรี่ 473,108 คัน และรถยนต์แอคคอร์ด 392,231 คัน ขณะที่รถยนต์ซีวิคของค่ายฮอนด้าตามมาเป็นอันดับ 4 มียอดขาย 331,095 คัน
สำหรับจุดอ่อนสำคัญของรถยนต์โคโรลล่า คือ ตลาดยุโรป โดยไม่ติดอันดับรถยนต์ขายดี 10 อันดับแรกของยุโรปแต่อย่างใด โดยผู้นำตลาดรถยนต์ของยุโรปในปี 2550 คือ รถยนต์เปอร์โยต์ 207 จำนวน 437,505 คัน รองลงมา คือ รถยนต์โฟล์กสวาเก้นกอล์ฟ 435,055 คัน และรถยนต์ฟอร์ดโฟกัส 406,557 คัน ตามลำดับ
สำหรับกรณีของไทย รถยนต์โคโรลล่าได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์แท็กซี่ ซึ่งครองตลาดในส่วนนี้มากกว่า 90% เท่ากับเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพอย่างไม่เป็นทางการว่ารถยนต์รุ่นนี้มีความทนทาน ซ่อมง่าย อะไหล่หาง่าย และประหยัดน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังรถยนต์โคโรลล่าไม่ได้เป็นรถยนต์ขายดีที่สุดอีกต่อไป เนื่องจากต้องเผชิญกับรถยนต์คู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า คือ โตโยต้าวีออสและฮอนด้าซิตี้ รวมถึงเผชิญกับความท้าทายจากรถยนต์ในตลาดเดียวกัน คือ ฮอนด้าซีวิค
บริษัทโตโยต้าได้เริ่มวางจำหน่ายรถยนต์โคโรลล่ารุ่นใหม่ในประเทศไทยเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา โดยไทยนับเป็นฐานการผลิตรถยนต์แบบนี้ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายยอดจำหน่ายในประเทศ 2,600 - 3,000 คัน/เดือน และส่งออก 50% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ นับเป็นรถยนต์โคโรลล่าที่จำหน่ายในไทยรุ่นแรกที่สามารถใช้น้ำมัน E20 ได้ ส่งผลให้เสียภาษีสรรพสามิตในอัตราลดลง ทำให้สามารถราคาจำหน่ายไม่แพงมากนัก คือ 709,000 - 969,000 บาท
สำหรับรุ่นลิโม ซึ่งได้รับความนิยมทำเป็นรถแท็กซี่นั้น บริษัทโตโยต้าได้ตระหนักว่าอาจจะส่งผลกระทบทางลบ ดังนั้น จึงกำหนดเปิดตัวออกสู่ตลาดในภายหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้นำรถรุ่นนี้ไปทำรถแท็กซี่ออกมาวิ่งในตลาดก่อน โดยคาดว่ารุ่นลิโมน่าจะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2551 หรือต้นปี 2552
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th