อนุฯ ไต่สวนคดีกล้ายางชงที่ประชุม คตส.ตัดสิน ก่อนส่งอัยการฟ้อง ระบุ ผู้ถูกกล่าวหาเหลือไม่ถึง 90 “ทักษิณ” รอด “เนวิน” เสร็จ
นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ว่า ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ จะเสนอผลสรุปการไต่สวนคดีกล้ายางให้ที่ประชุม คตส.ชุดใหญ่พิจารณา มั่นใจในสำนวนคดีนี้เป็นอย่างมาก หาก คตส.ชุดใหญ่เห็นชอบ คณะอนุกรรมการไต่สวนจะมีเวลา 14 วัน ในการส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุด ฟ้องร้องตามขั้นตอน แต่หากอัยการไม่ส่งฟ้องเหมือนคดีหวย 3 ตัว 2 ตัว ก็ต้องตั้งคณะทำงานรวมกัน ถ้าไม่ได้ข้อสรุป คตส.ก็สามารถยื่นเรื่องฟ้องเองได้
ขณะที่ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส.กล่าวว่า ผลการไต่สวนคดีการจัดซื้อกล้ายางมีมากกว่า 40 ประเด็น คาดว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาพิจารณานานเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้มีมากกว่า 90 ราย แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ทั้งในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมถึงบริษัทเอกชน แต่ในชั้นการสรุปผลการไต่สวนคดีที่จะเสนอให้ที่ประชุม คตส.ชุดใหญ่ครั้งนี้ ตัวเลขผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาอาจจะลดลงกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องในส่วนของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม.
“เนื่องจากในการไต่สวนพบว่า การดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องทั้งสองกลุ่ม โดยเฉพาะการออกมติเป็นการออกที่ถูกต้อง เพราะเป็นการออกแบบมีเงื่อนไข แต่ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น รวมถึงการปฏิบัติไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ แต่ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะบริษัทเอกชนยังคงมีจำนวนเท่าเดิม”
แหล่งข่าวกล่าวว่า เดิมผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีกล้ายางมี 7 กลุ่มหลัก แต่ถ้าตัดกลุ่ม ครม. ซึ่งมีรายชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมอยู่ด้วย และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.คณะที่ 2 ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในขณะนั้น ออกไปก็จะทำให้ผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีนี้เหลืออยู่ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในขณะนั้น และนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในขณะนั้น
กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งมีชื่อของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงหลายคน รวมถึงนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ คชก.ด้วย กลุ่มที่ 3 คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) ฐานเป็นเจ้าหน้าที่โดยทุจริต กลุ่มที่ 4 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และกลุ่มที่ 5 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือ ซีพี บริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัทเอกเจริญการเกษตร จำกัด และผู้เสนอราคาของทั้งสามบริษัทข้างต้น
รายงานข่าวจาก คตส.แจ้งว่า การประชุม คตส.ชุดใหญ่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ นอกจากจะมีการพิจารณาผลสรุปคดีกล้ายาง และคดีบ้านเอื้ออาทร ร่มเกล้า-บางพลี แล้ว ยังมีคดีสำคัญหลายคดีที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาด้วย อาทิ การเสนอให้คตส.ทำหนังสือไปยังกรมสรรพากร ให้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัท ชินแซทเทิลไลน์ จำกัด (มหาชน) จากกรณีที่บริษัทได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของตามเทียมไทยคม 3 จำนวน 33,082,960 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ที่บริษัทได้รับจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของคณะทำงานที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ กรรมการ คตส. เป็นประธาน
ส่วนคดีการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ของ กทม. ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.เป็นประธาน อาจจะมีการเสนอให้ตั้งข้อกล่าวหากับผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้ เป็นรายที่ 6 รวมทั้งจะมีการเสนอผลการประชุมร่วมกันของคณะทำงานระหว่าง คตส.และอัยการ ในคดีหวย 3 ตัว 2 ตัว หรือหวยบนดินด้วย ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน และคณะทำงานของ คตส.มีความเห็นเสนอให้ คตส.ทำหนังสือไปยังอัยการสูงสุด ขอสำนวนการสอบสวนคดีนี้คืน เพื่อยื่นเรื่องฟ้องศาลเอง
นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ว่า ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ จะเสนอผลสรุปการไต่สวนคดีกล้ายางให้ที่ประชุม คตส.ชุดใหญ่พิจารณา มั่นใจในสำนวนคดีนี้เป็นอย่างมาก หาก คตส.ชุดใหญ่เห็นชอบ คณะอนุกรรมการไต่สวนจะมีเวลา 14 วัน ในการส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุด ฟ้องร้องตามขั้นตอน แต่หากอัยการไม่ส่งฟ้องเหมือนคดีหวย 3 ตัว 2 ตัว ก็ต้องตั้งคณะทำงานรวมกัน ถ้าไม่ได้ข้อสรุป คตส.ก็สามารถยื่นเรื่องฟ้องเองได้
ขณะที่ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส.กล่าวว่า ผลการไต่สวนคดีการจัดซื้อกล้ายางมีมากกว่า 40 ประเด็น คาดว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาพิจารณานานเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้มีมากกว่า 90 ราย แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ทั้งในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมถึงบริษัทเอกชน แต่ในชั้นการสรุปผลการไต่สวนคดีที่จะเสนอให้ที่ประชุม คตส.ชุดใหญ่ครั้งนี้ ตัวเลขผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาอาจจะลดลงกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องในส่วนของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม.
“เนื่องจากในการไต่สวนพบว่า การดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องทั้งสองกลุ่ม โดยเฉพาะการออกมติเป็นการออกที่ถูกต้อง เพราะเป็นการออกแบบมีเงื่อนไข แต่ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น รวมถึงการปฏิบัติไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ แต่ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะบริษัทเอกชนยังคงมีจำนวนเท่าเดิม”
แหล่งข่าวกล่าวว่า เดิมผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีกล้ายางมี 7 กลุ่มหลัก แต่ถ้าตัดกลุ่ม ครม. ซึ่งมีรายชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมอยู่ด้วย และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.คณะที่ 2 ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในขณะนั้น ออกไปก็จะทำให้ผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีนี้เหลืออยู่ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในขณะนั้น และนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในขณะนั้น
กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งมีชื่อของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงหลายคน รวมถึงนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ คชก.ด้วย กลุ่มที่ 3 คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) ฐานเป็นเจ้าหน้าที่โดยทุจริต กลุ่มที่ 4 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และกลุ่มที่ 5 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือ ซีพี บริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัทเอกเจริญการเกษตร จำกัด และผู้เสนอราคาของทั้งสามบริษัทข้างต้น
รายงานข่าวจาก คตส.แจ้งว่า การประชุม คตส.ชุดใหญ่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ นอกจากจะมีการพิจารณาผลสรุปคดีกล้ายาง และคดีบ้านเอื้ออาทร ร่มเกล้า-บางพลี แล้ว ยังมีคดีสำคัญหลายคดีที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาด้วย อาทิ การเสนอให้คตส.ทำหนังสือไปยังกรมสรรพากร ให้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัท ชินแซทเทิลไลน์ จำกัด (มหาชน) จากกรณีที่บริษัทได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของตามเทียมไทยคม 3 จำนวน 33,082,960 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ที่บริษัทได้รับจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของคณะทำงานที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ กรรมการ คตส. เป็นประธาน
ส่วนคดีการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ของ กทม. ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.เป็นประธาน อาจจะมีการเสนอให้ตั้งข้อกล่าวหากับผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้ เป็นรายที่ 6 รวมทั้งจะมีการเสนอผลการประชุมร่วมกันของคณะทำงานระหว่าง คตส.และอัยการ ในคดีหวย 3 ตัว 2 ตัว หรือหวยบนดินด้วย ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน และคณะทำงานของ คตส.มีความเห็นเสนอให้ คตส.ทำหนังสือไปยังอัยการสูงสุด ขอสำนวนการสอบสวนคดีนี้คืน เพื่อยื่นเรื่องฟ้องศาลเอง