42. โยคะคือชีวิต
...ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
“ชีวิตของเรา ตัวเราต้องเป็นคนเลือกเอง” ‘เขา’ รำพึงในใจขณะที่กำลังนั่งสมาธิอยู่เบื้องหน้ารูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาริมทะเลแห่งหนึ่ง ขณะนั้นดวงอาทิตย์กำลังล่วงลับขอบฟ้า แสงสีสายัณห์สาดส่องน้ำทะเลเป็นสีทองอร่ามตา ในช่วงหลายปีมานี้ หลังจากเหตุการณ์นั้น ‘เขา’ ก็ได้เลือกกำหนดชีวิตของตัวเองให้เรียบง่ายกว่าเดิม ยุ่งเกี่ยวกับผู้คนน้อยลง การเข้าร่วมกับ ขบวนการของสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ต่อมากลายเป็น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการโค่นล้มระบอบทักษิณของเขานั้นถือได้ว่าเป็น กรณียกเว้น เมื่อเทียบกับ “วัตรปฏิบัติ” ของเขาในปัจจุบัน
‘เขา’ รู้สึกอบอุ่น อิ่มใจ และเอิบอาบในสมาธิ ‘เขา’ อดรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อห้าสัปดาห์ก่อนที่ ‘เขา’ ไปนั่งสมาธิภาวนาที่น้ำตกป่าละอูไม่ได้ เวลาช่างผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน! แต่ความทรงจำกลับคมชัด และกระจ่างยิ่งนัก...
***
... ‘เขา’ ค่อยๆ ลืมตาช้าๆ ออกจากสมาธิขณะที่นั่งอยู่ริมน้ำตกป่าละอู ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร เสียงน้ำตกซ่านซ่าดังก้องไม่ขาดหู แต่กลับชวนให้เกิดความรู้สึกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในที่นั้น
ระบอบทักษิณพ่ายแพ้แล้ว! จากการโดนกองทัพรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แม้ว่าจะเป็นวิถีทางอันไม่ชอบธรรม แต่บางทีในห้วงยามนั้นอาจไม่มีวิธีอื่นดีไปกว่านี้อีกแล้วที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
บัดนี้ ภารกิจสำหรับการกอบกู้ชาติจากระบอบทักษิณที่ฉ้อฉลเสร็จสิ้นลงแล้วในระดับหนึ่ง แต่ว่าทุกอย่างยังไม่จบ การเมืองไทยและประชาธิปไตยไทยจะต้องมีการพัฒนาต่อไป แต่ ‘เขา’ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปร่วมโดยตรงกับกระบวนการขั้นตอนเหล่านั้น บัดนี้ ‘เขา’ สามารถถอนตัวจากมาอย่างสงบได้ ถ้าเขา เลือก ที่จะทำเช่นนั้น
ในแง่หนึ่ง ‘เขา’ รู้สึกขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนเร่งกระบวนการตื่นตัวของ การเมืองภาคประชาชน ขึ้นมาให้เติบใหญ่เพียงชั่วเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ความจริงแล้ว สิ่งที่ ‘เขา’ ต่อสู้มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยส่วนตัวแล้ว ‘เขา’ ไม่นิยมต่อสู้กับใครเป็นการส่วนตัว ‘เขา’ ไม่เคยเกลียดชังผู้ใด แต่สิ่งที่ ‘เขา’ ต่อสู้มาโดยตลอดคือ การต่อสู้เพื่อยกระดับจิตใจของมวลมนุษย์ จะทำเช่นไรให้ผู้คนในสังคมสามารถยกระดับการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณได้ หรือสามารถใช้ชีวิตไปอย่างปกติสุข โดยสามารถบูรณาการสิ่งต่างๆ รอบตัวมาใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนได้
มันจะต้องมิใช่เพียงคนใดคนหนึ่งอย่าง ‘เขา’ เท่านั้นที่ทำได้ แต่จะต้องเป็น ‘ผู้คนส่วนใหญ่’ ก็สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วย นี่คือ วิถีแห่งบูรณาการ ที่ตัวเขาได้นำเสนอต่อสังคมนี้ และก็ชัดเจนในจุดยืนนี้มาโดยตลอด
ที่ผ่านมาในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ ‘เขา’ ก็ทำได้สำเร็จในระดับหนึ่งทีเดียว แล้วต่อจากนี้ไปเล่า ‘เขา’ ควรทำเช่นไร? บัดนี้ ‘เขา’ มาถึงทางแยกแห่งการตัดสินใจที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังการรัฐประหารใหม่ๆ
‘เขา’ ควรถอนตัวจากไปอย่างเงียบงัน หรือว่าจะเข้าร่วมกับเพื่อนพ้องน้องพี่ในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยผลักดันการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป
‘เขา’ ทอดสายตามองสายน้ำที่ไหลรินของน้ำตกป่าละอู สายน้ำที่ไหลจากต้นน้ำบนยอดเขาสู่ท้องธาราเบื้องล่างยังประโยชน์ให้แก่ผู้คน และเหล่าสรรพสัตว์นับอเนกประการตั้งแต่อดีตกาล จวบจนถึงปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้า
นับตั้งแต่ที่เริ่มจำความได้จวบจนมาถึงบัดนี้ ตัว ‘เขา’ ได้กระทำสิ่งต่างๆ มามากมายในที่สุด จึงมาเป็นนักคิดนักเขียนผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญจิตเจริญสมาธิภาวนาด้วย
‘เขา’ รำพึงในใจว่า เหตุใดหนอ วิถีชีวิตของ เขา จึงคล้ายเจริญรอยตาม วิถีกู้ชาติของศรี อรพินโธ ปราชญ์คุรุชาวอินเดียเป็นยิ่งนัก
ฉับพลันมีรอยยิ้มเล็กน้อยผุดขึ้นที่มุมปากเขา หลังจากมานั่งสมาธิที่น้ำตกป่าละอูนี้ได้พักใหญ่ เพื่อหวนรำลึกถึง วิถีกู้ชาติของศรี อรพินโธ บัดนี้ตัว ‘เขา’ ทราบแล้วว่า ตัวเขาจะต้องทำอะไร
‘เขา’ ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ของเขา เดินไปบน วิถีบูรณาโยคะ แบบเดียวกับ ศรี อรพินโธ นับจากบัดนี้เป็นต้นไป โยคะคือชีวิตของเขา และ บูรณาโยคะก็คือวิถีของเขา เพราะมีแต่กระทำเช่นนี้เท่านั้น ศักยภาพที่มีอยู่ทั้งหมดภายในตัวเขา จึงจะสามารถถูกนำมาใช้ใน ปฏิบัติการ “การเมืองฝ่ายเบื้องบน” หรือ การเมืองแห่งจิตศักดิ์สิทธิ์ (Politics of the Divine) ได้อย่างเต็มที่
นับจากวันนี้เป็นต้นไป คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเคลื่อนไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง แบบเดียวกับศรี อรพินโธ เพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือให้แก่จิตศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน
แต่ก่อนอื่น ‘เขา’ จะต้องออกไปสืบค้นให้ได้ก่อนว่า จิตศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ที่เป็น รูปธรรม ที่ตัวเขา ‘อาสา’ จะเป็นเครื่องมือรับใช้ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสังคม และกอบกู้ชาติอย่างสร้างสรรค์นั้นคือ จิตศักดิ์สิทธิ์องค์ใด?
ศรี อรพินโธ ทั้งโดดเดี่ยวและเหนื่อยยากเหลือเกินในการปฏิบัติบูรณาโยคะ ตั้งแต่เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อนในการ “ชักนำ” จิตศักดิ์สิทธิ์ ให้ ‘จุติ’ ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อช่วยเร่งวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ เกือบร้อยปีผ่านไป งานของคนรุ่นหลังๆ อย่างพวกเขาที่คิดเจริญรอยตามศรี อรพินโธ ไม่ลำบากเท่า เพราะเพียงแค่สืบทอดและทำตนเป็นเครื่องมือให้แก่ จิตศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทยอยลงมายังโลกมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเร่งวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณของชาวโลกเท่านั้น
‘เขา’ เลือกแล้วที่จะต่อสู้ต่อไปเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนในสังคมด้วย บูรณาโยคะ ของเขา ซึ่งบัดนี้ได้แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของเขาถูกแล้ว! โยคะคือชีวิตของเขา นับจากบัดนี้เป็นต้นไป
เสียงน้ำตกกระแทกโขดหินดังซ่านซ่า สายน้ำยังคงไหลลงสู่เบื้องล่างไม่หยุดยั้ง ‘เขา’ ลุกขึ้นยืนบ่ายหน้าไปสู่ทิศทางเดินลงเขาซึ่งแออัดไปด้วยผู้คน ทิ้งทิวทัศน์ของภูเขาลำเนาไพรที่เป็นต้นน้ำอันวิจิตรตระการตาไว้เบื้องหลัง ‘เขา’ ก้าวเดินลัดเลาะโขดหินผาลงไปรวมกับกลุ่มผู้คนด้านล่าง ไม่ช้าก็หลอมกลืนหายลับไปกับกลุ่มผู้คนนั้น
***
นับจากวันนั้นที่น้ำตกป่าละอู ‘เขา’ ก็ยิ่งจมดิ่งอยู่กับ โยคะแห่งจิตศักดิ์สิทธิ์ ในความสงบของห้องทำงานของ เขา และของห้องเจริญสมาธิภาวนาของ เขา ที่ถูกปกคลุมด้วยความวิเวกที่แผ่คลุมเกือบทุกแง่มุมของชีวิต เขา ที่กำลังทุ่มเทพลังทั้งปวงของ เขา เพื่อ งานศักดิ์สิทธิ์ บัดนี้วิญญาณของ เขา เบิกบานไปกับ งานสร้างสรรค์อันเร้นลับ ที่ตัวเขากำลังกระทำเพื่อรับใช้ จิตศักดิ์สิทธิ์ อยู่เงียบๆ ในความสงัด ความสันโดษ และความนอบน้อมถ่อมตนต่อทุกสรรพสิ่ง
โยคะ คือการฝึกทำใจให้สงบ ซึ่งถ้าทำได้ คนผู้นั้นจะอยู่ที่ไหนก็ได้ แม้ในเมืองใหญ่ที่มีแต่เสียงอึกทึก แต่ชีวิตของผู้นั้นกลับเงียบสงบและเรียบง่าย
แม้ ‘เขา’ จะอยู่ท่ามกลางความปั่นป่วนแห่งยุคสมัย และท่ามกลางแผ่นดินเดือดที่สังคมกำลังแตกแยกอย่างหนัก แต่ เขา’ กลับสามารถผลิตผลงานที่อยู่กับ ความนิ่งที่ลึกซึ้ง อย่าง “พุทธบูรณา” ออกมาได้ และ ‘เขา’ กำลังจะเขียนงานอย่าง “ธรรมบูรณา” ออกมาเป็นชิ้นต่อไป อีกไม่นานหลังจากนี้
‘เขา’ ย่อมตระหนักรู้ดีกว่าใครว่า ความสำเร็จในชีวิต มิได้อยู่ที่การแสวงหาทรัพย์สิน หรือชื่อเสียง หรืออำนาจแต่อย่างใด แต่อยู่ที่การมีสุขภาพดี มีอิสรภาพในชีวิต สามารถใช้ผัสสะและจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์เสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามารถใช้เจตจำนงของตัวเขาควบคุมทุกเวลานาทีที่ผ่านไปให้กลายเป็นสื่อไปสู่ความเป็นนิรันดรหรือจิตศักดิ์สิทธิ์ได้
เมื่อคนเราจมอยู่กับผู้คนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปผลักมาไปตามแรงเหวี่ยงแรงกระชากของสังคม คนผู้นั้นย่อมสูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ ย่อมสูญเสียคุณธรรมไปโดยไม่รู้ตัว คนผู้นั้นจะเริ่มหมดความสามารถที่จะรัก และจะเริ่มหมดศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง ไม่สามารถเลือกชีวิตของตนเองได้อย่างแท้จริง
หากสังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ประกอบขึ้นด้วย ผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมไทยก็ย่อมไม่อาจรวมกันได้อย่างปรองดอง อย่างรู้รักรู้สามัคคี แต่กลับกลายเป็นสังคมที่อยู่ได้ด้วยอำนาจการครอบงำและด้วยความรุนแรง
การกอบกู้ ‘ความวิเวกภายใน’ คืนให้แก่ผู้คนในสังคมไทยปัจจุบัน จึงกลายเป็น ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ ที่เร่งด่วน ที่สามารถเริ่มได้ทันที ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้!!
โดยเริ่มจากตนเอง จากแต่ละคนช่วยกันทำให้แก่ตนเอง คนละไม้คนละมือ โดยไม่ต้องไปรอความหวังจากใคร จากรัฐบาลชุดไหน และจากผู้นำคนใดทั้งสิ้น!
***
...ปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
เช้าวันนั้น ‘เขา’ นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ข้างบ้านของเขาเหมือนเช่นเคย นับเป็นเวลาสองเดือนเต็มแล้วที่ตัวเขาจมดิ่งอยู่กับ บูรณาโยคะของศรี อรพินโธ การลอบวางระเบิดแปดจุดทั่วกรุงเทพฯ ในคืนสุดท้ายของปีเก่าเป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า คลื่นใต้น้ำ ของกลุ่มอำนาจเก่าที่เพิ่งถูกโค่นไปยังคงปั่นป่วนและแผลงฤทธิ์อยู่ ในขณะที่รัฐบาล ‘ฤาษี’ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ดูจะ “หน่อมแน้ม” เกินไปในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้
‘เขา’ เริ่มคิดที่จะออกไปเคลื่อนไหวภายนอกอีกครั้ง หลังจากที่เก็บตัวมาเป็นเดือนๆ ฉับพลัน ‘เขา’ ก็ได้รับข่าวสารจากในสมาธิว่า
“จงไปช่วย สนธิ ลิ้มทองกุล ทำงานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน”
...ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
“ชีวิตของเรา ตัวเราต้องเป็นคนเลือกเอง” ‘เขา’ รำพึงในใจขณะที่กำลังนั่งสมาธิอยู่เบื้องหน้ารูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาริมทะเลแห่งหนึ่ง ขณะนั้นดวงอาทิตย์กำลังล่วงลับขอบฟ้า แสงสีสายัณห์สาดส่องน้ำทะเลเป็นสีทองอร่ามตา ในช่วงหลายปีมานี้ หลังจากเหตุการณ์นั้น ‘เขา’ ก็ได้เลือกกำหนดชีวิตของตัวเองให้เรียบง่ายกว่าเดิม ยุ่งเกี่ยวกับผู้คนน้อยลง การเข้าร่วมกับ ขบวนการของสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ต่อมากลายเป็น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการโค่นล้มระบอบทักษิณของเขานั้นถือได้ว่าเป็น กรณียกเว้น เมื่อเทียบกับ “วัตรปฏิบัติ” ของเขาในปัจจุบัน
‘เขา’ รู้สึกอบอุ่น อิ่มใจ และเอิบอาบในสมาธิ ‘เขา’ อดรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อห้าสัปดาห์ก่อนที่ ‘เขา’ ไปนั่งสมาธิภาวนาที่น้ำตกป่าละอูไม่ได้ เวลาช่างผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน! แต่ความทรงจำกลับคมชัด และกระจ่างยิ่งนัก...
***
... ‘เขา’ ค่อยๆ ลืมตาช้าๆ ออกจากสมาธิขณะที่นั่งอยู่ริมน้ำตกป่าละอู ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร เสียงน้ำตกซ่านซ่าดังก้องไม่ขาดหู แต่กลับชวนให้เกิดความรู้สึกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในที่นั้น
ระบอบทักษิณพ่ายแพ้แล้ว! จากการโดนกองทัพรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แม้ว่าจะเป็นวิถีทางอันไม่ชอบธรรม แต่บางทีในห้วงยามนั้นอาจไม่มีวิธีอื่นดีไปกว่านี้อีกแล้วที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
บัดนี้ ภารกิจสำหรับการกอบกู้ชาติจากระบอบทักษิณที่ฉ้อฉลเสร็จสิ้นลงแล้วในระดับหนึ่ง แต่ว่าทุกอย่างยังไม่จบ การเมืองไทยและประชาธิปไตยไทยจะต้องมีการพัฒนาต่อไป แต่ ‘เขา’ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปร่วมโดยตรงกับกระบวนการขั้นตอนเหล่านั้น บัดนี้ ‘เขา’ สามารถถอนตัวจากมาอย่างสงบได้ ถ้าเขา เลือก ที่จะทำเช่นนั้น
ในแง่หนึ่ง ‘เขา’ รู้สึกขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนเร่งกระบวนการตื่นตัวของ การเมืองภาคประชาชน ขึ้นมาให้เติบใหญ่เพียงชั่วเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ความจริงแล้ว สิ่งที่ ‘เขา’ ต่อสู้มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยส่วนตัวแล้ว ‘เขา’ ไม่นิยมต่อสู้กับใครเป็นการส่วนตัว ‘เขา’ ไม่เคยเกลียดชังผู้ใด แต่สิ่งที่ ‘เขา’ ต่อสู้มาโดยตลอดคือ การต่อสู้เพื่อยกระดับจิตใจของมวลมนุษย์ จะทำเช่นไรให้ผู้คนในสังคมสามารถยกระดับการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณได้ หรือสามารถใช้ชีวิตไปอย่างปกติสุข โดยสามารถบูรณาการสิ่งต่างๆ รอบตัวมาใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนได้
มันจะต้องมิใช่เพียงคนใดคนหนึ่งอย่าง ‘เขา’ เท่านั้นที่ทำได้ แต่จะต้องเป็น ‘ผู้คนส่วนใหญ่’ ก็สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วย นี่คือ วิถีแห่งบูรณาการ ที่ตัวเขาได้นำเสนอต่อสังคมนี้ และก็ชัดเจนในจุดยืนนี้มาโดยตลอด
ที่ผ่านมาในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ ‘เขา’ ก็ทำได้สำเร็จในระดับหนึ่งทีเดียว แล้วต่อจากนี้ไปเล่า ‘เขา’ ควรทำเช่นไร? บัดนี้ ‘เขา’ มาถึงทางแยกแห่งการตัดสินใจที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังการรัฐประหารใหม่ๆ
‘เขา’ ควรถอนตัวจากไปอย่างเงียบงัน หรือว่าจะเข้าร่วมกับเพื่อนพ้องน้องพี่ในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยผลักดันการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป
‘เขา’ ทอดสายตามองสายน้ำที่ไหลรินของน้ำตกป่าละอู สายน้ำที่ไหลจากต้นน้ำบนยอดเขาสู่ท้องธาราเบื้องล่างยังประโยชน์ให้แก่ผู้คน และเหล่าสรรพสัตว์นับอเนกประการตั้งแต่อดีตกาล จวบจนถึงปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้า
นับตั้งแต่ที่เริ่มจำความได้จวบจนมาถึงบัดนี้ ตัว ‘เขา’ ได้กระทำสิ่งต่างๆ มามากมายในที่สุด จึงมาเป็นนักคิดนักเขียนผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญจิตเจริญสมาธิภาวนาด้วย
‘เขา’ รำพึงในใจว่า เหตุใดหนอ วิถีชีวิตของ เขา จึงคล้ายเจริญรอยตาม วิถีกู้ชาติของศรี อรพินโธ ปราชญ์คุรุชาวอินเดียเป็นยิ่งนัก
ฉับพลันมีรอยยิ้มเล็กน้อยผุดขึ้นที่มุมปากเขา หลังจากมานั่งสมาธิที่น้ำตกป่าละอูนี้ได้พักใหญ่ เพื่อหวนรำลึกถึง วิถีกู้ชาติของศรี อรพินโธ บัดนี้ตัว ‘เขา’ ทราบแล้วว่า ตัวเขาจะต้องทำอะไร
‘เขา’ ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ของเขา เดินไปบน วิถีบูรณาโยคะ แบบเดียวกับ ศรี อรพินโธ นับจากบัดนี้เป็นต้นไป โยคะคือชีวิตของเขา และ บูรณาโยคะก็คือวิถีของเขา เพราะมีแต่กระทำเช่นนี้เท่านั้น ศักยภาพที่มีอยู่ทั้งหมดภายในตัวเขา จึงจะสามารถถูกนำมาใช้ใน ปฏิบัติการ “การเมืองฝ่ายเบื้องบน” หรือ การเมืองแห่งจิตศักดิ์สิทธิ์ (Politics of the Divine) ได้อย่างเต็มที่
นับจากวันนี้เป็นต้นไป คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเคลื่อนไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง แบบเดียวกับศรี อรพินโธ เพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือให้แก่จิตศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน
แต่ก่อนอื่น ‘เขา’ จะต้องออกไปสืบค้นให้ได้ก่อนว่า จิตศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ที่เป็น รูปธรรม ที่ตัวเขา ‘อาสา’ จะเป็นเครื่องมือรับใช้ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสังคม และกอบกู้ชาติอย่างสร้างสรรค์นั้นคือ จิตศักดิ์สิทธิ์องค์ใด?
ศรี อรพินโธ ทั้งโดดเดี่ยวและเหนื่อยยากเหลือเกินในการปฏิบัติบูรณาโยคะ ตั้งแต่เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อนในการ “ชักนำ” จิตศักดิ์สิทธิ์ ให้ ‘จุติ’ ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อช่วยเร่งวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ เกือบร้อยปีผ่านไป งานของคนรุ่นหลังๆ อย่างพวกเขาที่คิดเจริญรอยตามศรี อรพินโธ ไม่ลำบากเท่า เพราะเพียงแค่สืบทอดและทำตนเป็นเครื่องมือให้แก่ จิตศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทยอยลงมายังโลกมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเร่งวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณของชาวโลกเท่านั้น
‘เขา’ เลือกแล้วที่จะต่อสู้ต่อไปเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนในสังคมด้วย บูรณาโยคะ ของเขา ซึ่งบัดนี้ได้แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของเขาถูกแล้ว! โยคะคือชีวิตของเขา นับจากบัดนี้เป็นต้นไป
เสียงน้ำตกกระแทกโขดหินดังซ่านซ่า สายน้ำยังคงไหลลงสู่เบื้องล่างไม่หยุดยั้ง ‘เขา’ ลุกขึ้นยืนบ่ายหน้าไปสู่ทิศทางเดินลงเขาซึ่งแออัดไปด้วยผู้คน ทิ้งทิวทัศน์ของภูเขาลำเนาไพรที่เป็นต้นน้ำอันวิจิตรตระการตาไว้เบื้องหลัง ‘เขา’ ก้าวเดินลัดเลาะโขดหินผาลงไปรวมกับกลุ่มผู้คนด้านล่าง ไม่ช้าก็หลอมกลืนหายลับไปกับกลุ่มผู้คนนั้น
***
นับจากวันนั้นที่น้ำตกป่าละอู ‘เขา’ ก็ยิ่งจมดิ่งอยู่กับ โยคะแห่งจิตศักดิ์สิทธิ์ ในความสงบของห้องทำงานของ เขา และของห้องเจริญสมาธิภาวนาของ เขา ที่ถูกปกคลุมด้วยความวิเวกที่แผ่คลุมเกือบทุกแง่มุมของชีวิต เขา ที่กำลังทุ่มเทพลังทั้งปวงของ เขา เพื่อ งานศักดิ์สิทธิ์ บัดนี้วิญญาณของ เขา เบิกบานไปกับ งานสร้างสรรค์อันเร้นลับ ที่ตัวเขากำลังกระทำเพื่อรับใช้ จิตศักดิ์สิทธิ์ อยู่เงียบๆ ในความสงัด ความสันโดษ และความนอบน้อมถ่อมตนต่อทุกสรรพสิ่ง
โยคะ คือการฝึกทำใจให้สงบ ซึ่งถ้าทำได้ คนผู้นั้นจะอยู่ที่ไหนก็ได้ แม้ในเมืองใหญ่ที่มีแต่เสียงอึกทึก แต่ชีวิตของผู้นั้นกลับเงียบสงบและเรียบง่าย
แม้ ‘เขา’ จะอยู่ท่ามกลางความปั่นป่วนแห่งยุคสมัย และท่ามกลางแผ่นดินเดือดที่สังคมกำลังแตกแยกอย่างหนัก แต่ เขา’ กลับสามารถผลิตผลงานที่อยู่กับ ความนิ่งที่ลึกซึ้ง อย่าง “พุทธบูรณา” ออกมาได้ และ ‘เขา’ กำลังจะเขียนงานอย่าง “ธรรมบูรณา” ออกมาเป็นชิ้นต่อไป อีกไม่นานหลังจากนี้
‘เขา’ ย่อมตระหนักรู้ดีกว่าใครว่า ความสำเร็จในชีวิต มิได้อยู่ที่การแสวงหาทรัพย์สิน หรือชื่อเสียง หรืออำนาจแต่อย่างใด แต่อยู่ที่การมีสุขภาพดี มีอิสรภาพในชีวิต สามารถใช้ผัสสะและจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์เสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามารถใช้เจตจำนงของตัวเขาควบคุมทุกเวลานาทีที่ผ่านไปให้กลายเป็นสื่อไปสู่ความเป็นนิรันดรหรือจิตศักดิ์สิทธิ์ได้
เมื่อคนเราจมอยู่กับผู้คนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปผลักมาไปตามแรงเหวี่ยงแรงกระชากของสังคม คนผู้นั้นย่อมสูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ ย่อมสูญเสียคุณธรรมไปโดยไม่รู้ตัว คนผู้นั้นจะเริ่มหมดความสามารถที่จะรัก และจะเริ่มหมดศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง ไม่สามารถเลือกชีวิตของตนเองได้อย่างแท้จริง
หากสังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ประกอบขึ้นด้วย ผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมไทยก็ย่อมไม่อาจรวมกันได้อย่างปรองดอง อย่างรู้รักรู้สามัคคี แต่กลับกลายเป็นสังคมที่อยู่ได้ด้วยอำนาจการครอบงำและด้วยความรุนแรง
การกอบกู้ ‘ความวิเวกภายใน’ คืนให้แก่ผู้คนในสังคมไทยปัจจุบัน จึงกลายเป็น ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ ที่เร่งด่วน ที่สามารถเริ่มได้ทันที ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้!!
โดยเริ่มจากตนเอง จากแต่ละคนช่วยกันทำให้แก่ตนเอง คนละไม้คนละมือ โดยไม่ต้องไปรอความหวังจากใคร จากรัฐบาลชุดไหน และจากผู้นำคนใดทั้งสิ้น!
***
...ปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
เช้าวันนั้น ‘เขา’ นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ข้างบ้านของเขาเหมือนเช่นเคย นับเป็นเวลาสองเดือนเต็มแล้วที่ตัวเขาจมดิ่งอยู่กับ บูรณาโยคะของศรี อรพินโธ การลอบวางระเบิดแปดจุดทั่วกรุงเทพฯ ในคืนสุดท้ายของปีเก่าเป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า คลื่นใต้น้ำ ของกลุ่มอำนาจเก่าที่เพิ่งถูกโค่นไปยังคงปั่นป่วนและแผลงฤทธิ์อยู่ ในขณะที่รัฐบาล ‘ฤาษี’ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ดูจะ “หน่อมแน้ม” เกินไปในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้
‘เขา’ เริ่มคิดที่จะออกไปเคลื่อนไหวภายนอกอีกครั้ง หลังจากที่เก็บตัวมาเป็นเดือนๆ ฉับพลัน ‘เขา’ ก็ได้รับข่าวสารจากในสมาธิว่า
“จงไปช่วย สนธิ ลิ้มทองกุล ทำงานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน”