"เทพชัย" เปิดรับฟังความเห็นผู้ผลิตรายการเด็ก ชี้รายการคุณภาพต้องเข้าถึงทุกกลุ่ม เผยเตรียมรับพนักงานต้นสัปดาห์หน้า ยัน 5 กรรมการนโยบายชั่วคราว โปร่งใส ไร้เจ้าพ่อเจ้าแม่สถานี ทุกรายการในผังต้องมีที่มาที่ไป พร้อมยืนยันพนักงานทีไอทีวี ไม่อยู่ในพันธะผูกพัน
วานนี้ (18 ม.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการสำหรับเด็ก และครอบครัวในสถานีโทรทัศน์สาธารณะ(ทีพีบีเอส) โดยนายเทพชัย หย่อง นายขวัญสรวง อติโพธิ และนางนวลน้อย ตรีรัตน์ กรรมการนโยบายชั่วคราว เข้าร่วมรับฟังความเห็น จากผู้ผลิตรายการสำหรับเด็ก อาทิ นางภัทราวดี มีชูธน เจ้าของภัทราวดีเธียเตอร์จำกัด บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด ผู้ผลิตรายการทุ่งแสงตะวัน บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ผู้ผลิตรายการ กบนอกกะลา นางภัทจารีย์ อัยศิริ ผู้ผลิตรายการเห็ดหรรษา หรือ น้านิด ผึ้งน้อย และผู้ผลิตรายย่อย เข้าร่วมกว่า 50 ราย
ทั้งนี้ข้อเสนอของผู้ผลิตรายการสำหรับเด็ก เช่น กรรมการนโยบาย ควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน ระดับการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตมีความหลากหลาย เปิดพื้นที่ให้ผู้ผลิตรายย่อย นอกเหนือจากผู้ผลิตมืออาชีพ การกำหนดจรรยาบรรณผู้ผลิต นอกจากนี้ นางภัทราวดี ยังได้เสนอให้มีการจัดทำสตูดิโอสาธารณะ เพื่อลดต้นทุนกับผู้ผลิตรายย่อย และช่วงเวลาในการนำเสนอ ต้องต่างจากช่องอื่นๆ
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการสถานี ไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า รายการโทรทัศน์สาธารณะต้องไม่อิงผลกำไรทางธุรกิจ และต้องมีคุณภาพ โดยต้องได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ คือมีงบประมาณให้เพื่อมีแรงจูงใจ หากอนาคตกรรมการใหม่มาลดเวลา หรือ การเมืองเข้ามาแทรก หากเป็นรายการที่คนในสังคมหวงแหน ก็จะเกิดแรงต้าน หรือ การออกมาร่วมปกป้อง แต่ขณะนี้คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว เข้าทำงานเพียง 2 วันเศษเท่านั้น จึงต้องเริ่มทยอยรับคนให้เร็วที่สุด ซึ่งคาดว่า ต้นสัปดาห์ก็จะเริ่มรับคนได้แล้ว กรรมการก็จะสรุปกรอบนโยบายที่เปิดกว้างให้มากที่สุด
“รูปแบบของรายการโทรทัศน์สาธารณะ ต้องมีความหลากหลาย โดยรายการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ดี คือ มีสาระ สนุก ดูได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ มีรายการกีฬา ท้องถิ่น สุขภาพ และครอบครัว รวมถึงรายการข่าวที่นำเสนอต่างจากสถานีอื่นๆ เนื่องจากข่าวทุกวันนี้ มีเนื้อหาคล้ายกัน เพราะกล้อง และนักข่าวกระจุกอยู่ที่ส่วนกลางกว่า 90% ทำหน้าที่ตามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และบุคคลสำคัญของพรรคการเมือง จึงมีคนพูดเพียงไม่กี่คน แต่ผู้ชมกลับไม่ได้อะไรมากนัก จึงควรกระจายไปตามต่างจังหวัดที่เป็นข่าว และในส่วนกลาง ควรนำเสนอแก่นแท้ของเรื่องนั้นๆ โดยนำเสนอที่ฉีกออกไป ทั้งนี้ ยืนยันว่ากรรมการทั้ง 5 คน มีความโปร่งใส ทุกรายการที่ปรากฏต้องมีที่มาที่ไป จะไม่มีเจ้าพ่อเจ้าแม่ประจำช่องอย่างแน่นอน”
ทั้งนี้ รูปแบบรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ถือเป็นรายการแรกที่คาดว่าจะเป็นรายการที่นอกเหนือจากรายการข่าว ที่ทางไทยพีบีเอส จะเผยแพร่ โดยระหว่างนี้จะมีการพูดคุยกับกลุ่มผู้จัดรายการรายย่อยให้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในที่ 21 ม.ค.นี้ จะมีการนัดกลุ่มผู้จัดรายการประเภทที่เหลือดังกล่าวเข้าพูดคุยกันอีกครั้ง เวลา 13.00 น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนออกอากาศได้ในช่วงเฟส 2 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค.-31 มี.ค. นี้ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ก็ได้
นางนวลน้อย ตรีรัตน์ หนึ่งในกรรมการนโยบายฯชั่วคราว กล่าวว่า กรรมการมีภาระหน้าที่ให้ความเป็นธรรม ความโปร่งใส โดยได้รับการตรวจสอบจากสภาผู้ชม ซึ่งประชาชนต้องเข้ามาทุกกระบวนการ ทั้งการเสนอแนะ และการตรวจสอบ
ชี้พนักงานทีไอทีวีไม่อยู่ในพันธะผูกพัน
สำหรับกรณีที่ทางทีมผู้บริหารของ ทีไอทีวี ได้ตีความคำสั่งศาลปกครองออกมาเบื้องต้นว่า พนักงานทีไอทีวี ถือเป็นพันธะผูกพันที่ทางทีวีสาธารณะต้องรับไว้ด้วยนั้น ทางคณะกรรมการฯ ชั่วคราว ได้มีการปรึกษากับทางฝ่ายกฏหมายของกรมประชาสัมพันธ์ โดยสรุปได้ว่า พนักงานทีไอทีวี ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธะผูกพัน
นายณรงค์ ใจหาญ คณะกรรมการนโยบายฯ ชั่วคราว กล่าวว่า วานนี้ได้มีการประชุมปรึกษากับฝ่ายกฏหมายของทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยได้นำเอาสัญญาการว่าจ้าง ฉบับต่อสัญญาการทำงานที่พนักงานทีไอทีวี ทำไว้กับทางกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีกำหนดหมดสัญญาในวันที่ 31 ม.ค.นี้ โดยในสัญญาในข้อ 12. ได้กล่าวไว้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือ มีกฏหมายทีวีสาธารณะเกิดขึ้น สัญญาการว่าจ้างดังกล่าวถือว่าสิ้นสุดลงทันที ดังนั้นในทางกฏหมาย จึงสามารถแปลความได้ว่า
จากสัญญาข้อ 12 นี้ ส่งผลให้ พนักงานทีไอทีวี จึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธะผูกพัน ที่ทางกรมประชาสัมพันธ์ต้องส่งมอบให้ทางทีวีสาธารณะโดยคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง ในเรื่องของการประกาศแจ้งให้พนักงานทีไอทีวี ทราบถึงการตีความของฝ่ายกฏหมายของกรมประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการฯชั่วคราวครั้งนี้ให้เร็วที่สุด
ส่วนการรับสมัครพนักงาน ได้เปิดกว้างให้ทั้งบุคคลทั่วไปและพนักงานทีไอทืวี ซึ่งเบื้องต้นไม่สามารถบอกได้ว่าจะรับสมัครพนักงานได้ในจำนวนทั้งสิ้นกี่คน ทั้งนี้ในวันจันทร์ที่ 21 ม.ค. จะประกาศให้ทราบผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานชั่วคราว
นายกิจปรีดา โอสถานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรบุคคล ทีไอทีวี ได้เดินทางมายังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อมอบเอกสารให้นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานเดิมของ ทีไอทีวี เพื่อมอบให้กับทางคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ นำไปประกอบการพิจารณาในการวางรูปแบบการทำงานของ ไทยพีบีเอส
สำหรับความเคลื่อนไหวของการรับสมัครงานไทยพีบีเอส เมื่อวานนี้ (18 ม.ค.) เป็นวันที่ 3 พบว่ายังคงมีผู้สนใจมาสมัครงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วง 2 วันที่ผ่านมา ตำแหน่งงานที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คือ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าว และ พิธีกรดำเนินรายการ
โดยเมื่อวานนี้ มีพนักงานทีไอทีวีกว่า 300 คน ได้ว่าจ้างรถ ขสมก. มายังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อยื่นใบสมัคร พร้อมกับพนักงานอีกบางส่วนที่นำรถมาเอง จึงส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนผู้สมัครเป็นพนักงานของทีวีสาธารณะรวมกว่า 2,000 คนแล้ว ขณะที่กลุ่มพนักงานของทีไอทีวี ครั้งนี้ มีนายจอม เพ็ชรประดับ บรรณาธิการอาวุโส รวมอยู่ด้วย
วานนี้ (18 ม.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการสำหรับเด็ก และครอบครัวในสถานีโทรทัศน์สาธารณะ(ทีพีบีเอส) โดยนายเทพชัย หย่อง นายขวัญสรวง อติโพธิ และนางนวลน้อย ตรีรัตน์ กรรมการนโยบายชั่วคราว เข้าร่วมรับฟังความเห็น จากผู้ผลิตรายการสำหรับเด็ก อาทิ นางภัทราวดี มีชูธน เจ้าของภัทราวดีเธียเตอร์จำกัด บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด ผู้ผลิตรายการทุ่งแสงตะวัน บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ผู้ผลิตรายการ กบนอกกะลา นางภัทจารีย์ อัยศิริ ผู้ผลิตรายการเห็ดหรรษา หรือ น้านิด ผึ้งน้อย และผู้ผลิตรายย่อย เข้าร่วมกว่า 50 ราย
ทั้งนี้ข้อเสนอของผู้ผลิตรายการสำหรับเด็ก เช่น กรรมการนโยบาย ควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน ระดับการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตมีความหลากหลาย เปิดพื้นที่ให้ผู้ผลิตรายย่อย นอกเหนือจากผู้ผลิตมืออาชีพ การกำหนดจรรยาบรรณผู้ผลิต นอกจากนี้ นางภัทราวดี ยังได้เสนอให้มีการจัดทำสตูดิโอสาธารณะ เพื่อลดต้นทุนกับผู้ผลิตรายย่อย และช่วงเวลาในการนำเสนอ ต้องต่างจากช่องอื่นๆ
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการสถานี ไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า รายการโทรทัศน์สาธารณะต้องไม่อิงผลกำไรทางธุรกิจ และต้องมีคุณภาพ โดยต้องได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ คือมีงบประมาณให้เพื่อมีแรงจูงใจ หากอนาคตกรรมการใหม่มาลดเวลา หรือ การเมืองเข้ามาแทรก หากเป็นรายการที่คนในสังคมหวงแหน ก็จะเกิดแรงต้าน หรือ การออกมาร่วมปกป้อง แต่ขณะนี้คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว เข้าทำงานเพียง 2 วันเศษเท่านั้น จึงต้องเริ่มทยอยรับคนให้เร็วที่สุด ซึ่งคาดว่า ต้นสัปดาห์ก็จะเริ่มรับคนได้แล้ว กรรมการก็จะสรุปกรอบนโยบายที่เปิดกว้างให้มากที่สุด
“รูปแบบของรายการโทรทัศน์สาธารณะ ต้องมีความหลากหลาย โดยรายการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ดี คือ มีสาระ สนุก ดูได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ มีรายการกีฬา ท้องถิ่น สุขภาพ และครอบครัว รวมถึงรายการข่าวที่นำเสนอต่างจากสถานีอื่นๆ เนื่องจากข่าวทุกวันนี้ มีเนื้อหาคล้ายกัน เพราะกล้อง และนักข่าวกระจุกอยู่ที่ส่วนกลางกว่า 90% ทำหน้าที่ตามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และบุคคลสำคัญของพรรคการเมือง จึงมีคนพูดเพียงไม่กี่คน แต่ผู้ชมกลับไม่ได้อะไรมากนัก จึงควรกระจายไปตามต่างจังหวัดที่เป็นข่าว และในส่วนกลาง ควรนำเสนอแก่นแท้ของเรื่องนั้นๆ โดยนำเสนอที่ฉีกออกไป ทั้งนี้ ยืนยันว่ากรรมการทั้ง 5 คน มีความโปร่งใส ทุกรายการที่ปรากฏต้องมีที่มาที่ไป จะไม่มีเจ้าพ่อเจ้าแม่ประจำช่องอย่างแน่นอน”
ทั้งนี้ รูปแบบรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ถือเป็นรายการแรกที่คาดว่าจะเป็นรายการที่นอกเหนือจากรายการข่าว ที่ทางไทยพีบีเอส จะเผยแพร่ โดยระหว่างนี้จะมีการพูดคุยกับกลุ่มผู้จัดรายการรายย่อยให้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในที่ 21 ม.ค.นี้ จะมีการนัดกลุ่มผู้จัดรายการประเภทที่เหลือดังกล่าวเข้าพูดคุยกันอีกครั้ง เวลา 13.00 น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนออกอากาศได้ในช่วงเฟส 2 หรือระหว่างวันที่ 1 มี.ค.-31 มี.ค. นี้ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ก็ได้
นางนวลน้อย ตรีรัตน์ หนึ่งในกรรมการนโยบายฯชั่วคราว กล่าวว่า กรรมการมีภาระหน้าที่ให้ความเป็นธรรม ความโปร่งใส โดยได้รับการตรวจสอบจากสภาผู้ชม ซึ่งประชาชนต้องเข้ามาทุกกระบวนการ ทั้งการเสนอแนะ และการตรวจสอบ
ชี้พนักงานทีไอทีวีไม่อยู่ในพันธะผูกพัน
สำหรับกรณีที่ทางทีมผู้บริหารของ ทีไอทีวี ได้ตีความคำสั่งศาลปกครองออกมาเบื้องต้นว่า พนักงานทีไอทีวี ถือเป็นพันธะผูกพันที่ทางทีวีสาธารณะต้องรับไว้ด้วยนั้น ทางคณะกรรมการฯ ชั่วคราว ได้มีการปรึกษากับทางฝ่ายกฏหมายของกรมประชาสัมพันธ์ โดยสรุปได้ว่า พนักงานทีไอทีวี ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธะผูกพัน
นายณรงค์ ใจหาญ คณะกรรมการนโยบายฯ ชั่วคราว กล่าวว่า วานนี้ได้มีการประชุมปรึกษากับฝ่ายกฏหมายของทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยได้นำเอาสัญญาการว่าจ้าง ฉบับต่อสัญญาการทำงานที่พนักงานทีไอทีวี ทำไว้กับทางกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีกำหนดหมดสัญญาในวันที่ 31 ม.ค.นี้ โดยในสัญญาในข้อ 12. ได้กล่าวไว้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือ มีกฏหมายทีวีสาธารณะเกิดขึ้น สัญญาการว่าจ้างดังกล่าวถือว่าสิ้นสุดลงทันที ดังนั้นในทางกฏหมาย จึงสามารถแปลความได้ว่า
จากสัญญาข้อ 12 นี้ ส่งผลให้ พนักงานทีไอทีวี จึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธะผูกพัน ที่ทางกรมประชาสัมพันธ์ต้องส่งมอบให้ทางทีวีสาธารณะโดยคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง ในเรื่องของการประกาศแจ้งให้พนักงานทีไอทีวี ทราบถึงการตีความของฝ่ายกฏหมายของกรมประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการฯชั่วคราวครั้งนี้ให้เร็วที่สุด
ส่วนการรับสมัครพนักงาน ได้เปิดกว้างให้ทั้งบุคคลทั่วไปและพนักงานทีไอทืวี ซึ่งเบื้องต้นไม่สามารถบอกได้ว่าจะรับสมัครพนักงานได้ในจำนวนทั้งสิ้นกี่คน ทั้งนี้ในวันจันทร์ที่ 21 ม.ค. จะประกาศให้ทราบผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานชั่วคราว
นายกิจปรีดา โอสถานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรบุคคล ทีไอทีวี ได้เดินทางมายังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อมอบเอกสารให้นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานเดิมของ ทีไอทีวี เพื่อมอบให้กับทางคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ นำไปประกอบการพิจารณาในการวางรูปแบบการทำงานของ ไทยพีบีเอส
สำหรับความเคลื่อนไหวของการรับสมัครงานไทยพีบีเอส เมื่อวานนี้ (18 ม.ค.) เป็นวันที่ 3 พบว่ายังคงมีผู้สนใจมาสมัครงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วง 2 วันที่ผ่านมา ตำแหน่งงานที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คือ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าว และ พิธีกรดำเนินรายการ
โดยเมื่อวานนี้ มีพนักงานทีไอทีวีกว่า 300 คน ได้ว่าจ้างรถ ขสมก. มายังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อยื่นใบสมัคร พร้อมกับพนักงานอีกบางส่วนที่นำรถมาเอง จึงส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนผู้สมัครเป็นพนักงานของทีวีสาธารณะรวมกว่า 2,000 คนแล้ว ขณะที่กลุ่มพนักงานของทีไอทีวี ครั้งนี้ มีนายจอม เพ็ชรประดับ บรรณาธิการอาวุโส รวมอยู่ด้วย