ผู้จัดการรายวัน-ขนส่งทางอากาศออกประกาศคุ้มครองผู้โดยสารใหม่ เพิ่มสิทธิ์เรียกร้องค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมคืน กรณียกเลิกเที่ยวบิน ขู่สายการบินไม่ปฎิบัติตามถูกพักใบอนุญาตได้ทันที ชี้โลว์คอสต์ต้องตระหนักปัญหาเครื่องบินไม่พอบริการ
นางกรรณิการ์ เขมาวุฒานนท์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางอากาศ ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 6 ธ.ค. 2550 เรื่อง สิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร ซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่เป็นธรรมจากผู้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศของไทย โดยได้ยกเลิกประกาศเดิมเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2546 เพื่อให้การคุ้มครองมีความชัดเจนมากขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหัวข้อที่มีการเพิ่มเติมจากประกาศเดิมในส่วนของการคุ้มครองกรณีที่มีการยกเลิกเที่ยวบิน ซึ่งไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาพดินฟ้าอากาศและผู้โดยสาร และเพิ่มเติมการคุ้มครองกรณีที่เที่ยวบินล่าช้า
โดยหากผู้โดยสารสำรองที่นั่งไว้ ชำระค่าโดยสารพร้อมเช็คอินภายในเวลา ที่สายการบินแจ้งไว้ แต่สายการบินปฏิเสธไม่ยอมรับผู้โดยสารนั้นขึ้นเครื่อง หรือยกเลิกเที่ยวบินหรือเที่ยวบินล่าช้า ผู้โดยสารมีสิทธิ ตามประกาศ โดยมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารกรณีสายการบินปฏิเสธการขนส่งผู้โดยสารมีสิทธิได้รับเงินชดเชย สิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทางตลอดจนได้รับการดูแลจากสายการบิน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ตามความเหมาะสมกับระยะเวลารอขึ้นเครื่องและสิทธิโทรศัพท์หรือโทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สายการบินจัดให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสมไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นต้น
ซึ่งกรณีเที่ยวบินล่าช้า หากเกินกว่า 2 ชั่วโมง ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับการดูแลจากสายการบิน หากล่าช้าเกินกว่า 3 ชั่วโมง นอกจากสิทธิได้รับการดูแลจากสายการบินแล้ว ผู้โดยสารยังมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน หรือเดินทางโดยการขนส่งทางอื่นโดยให้สายการบินเสนอให้ผู้โดยสารเลือก หากล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดมากกว่า 1 วัน สายการบินต้องจัดที่พักแรมให้แก่ผู้โดยสารตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งจัดบริการขนส่งระหว่างสนามบินและที่พักแรมอีกด้วย
กรณีสายการบินยกเลิกเที่ยวบิน ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับเงินชดเชยและมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทางรวมทั้งได้รับการดูแลจากสายการบิน
นางกรรณิการ์กล่าวว่า ประกาศเดิมจะกำหนดการคุ้มครองไว้อย่างกว้าง เช่น กรณีเที่ยวบินล่าช้ากว่าตารางบินเกิน 3 ชั่วโมง ไม่ว่าสาเหตุใดๆ ก็ตาม สายการบินจะต้องจัดหาอาหารและหรือที่พัก ให้กับผู้โดยสารตามสมควร ส่วนกรณีผู้โดยสารไม่ประสงค์จะเดินทาง สายการบินต้องคืนค่าโดยสารและหรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บให้เต็มตามจำนวนโดยเร็ว เป็นต้น
ซึ่งหากสายการบินใดไม่ปฏิบัติตามประกาศ จะถูกบันทึกไว้และจะมีผลในการขอต่อใบอนุญาตแต่หากมีการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามประกาศบ่อยๆ กรมฯ สามารถทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพักใบอนุญาตได้ทันที ทั้งนี้ยอมรับว่า การเข้มงวดในการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารนั้น เพื่อให้ทุกสายการบินตระหนักถึงการให้บริการที่เป็นธรรม และรองรับการแข่งขันของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่อาจจะยังเครื่องบินไม่มากพอสำหรับการให้บริการ โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับทราบถึงสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองดังกล่าว
นางกรรณิการ์ เขมาวุฒานนท์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางอากาศ ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 6 ธ.ค. 2550 เรื่อง สิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร ซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่เป็นธรรมจากผู้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศของไทย โดยได้ยกเลิกประกาศเดิมเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2546 เพื่อให้การคุ้มครองมีความชัดเจนมากขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหัวข้อที่มีการเพิ่มเติมจากประกาศเดิมในส่วนของการคุ้มครองกรณีที่มีการยกเลิกเที่ยวบิน ซึ่งไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาพดินฟ้าอากาศและผู้โดยสาร และเพิ่มเติมการคุ้มครองกรณีที่เที่ยวบินล่าช้า
โดยหากผู้โดยสารสำรองที่นั่งไว้ ชำระค่าโดยสารพร้อมเช็คอินภายในเวลา ที่สายการบินแจ้งไว้ แต่สายการบินปฏิเสธไม่ยอมรับผู้โดยสารนั้นขึ้นเครื่อง หรือยกเลิกเที่ยวบินหรือเที่ยวบินล่าช้า ผู้โดยสารมีสิทธิ ตามประกาศ โดยมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารกรณีสายการบินปฏิเสธการขนส่งผู้โดยสารมีสิทธิได้รับเงินชดเชย สิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทางตลอดจนได้รับการดูแลจากสายการบิน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ตามความเหมาะสมกับระยะเวลารอขึ้นเครื่องและสิทธิโทรศัพท์หรือโทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สายการบินจัดให้ ตามความจำเป็นและเหมาะสมไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นต้น
ซึ่งกรณีเที่ยวบินล่าช้า หากเกินกว่า 2 ชั่วโมง ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับการดูแลจากสายการบิน หากล่าช้าเกินกว่า 3 ชั่วโมง นอกจากสิทธิได้รับการดูแลจากสายการบินแล้ว ผู้โดยสารยังมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน หรือเดินทางโดยการขนส่งทางอื่นโดยให้สายการบินเสนอให้ผู้โดยสารเลือก หากล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดมากกว่า 1 วัน สายการบินต้องจัดที่พักแรมให้แก่ผู้โดยสารตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งจัดบริการขนส่งระหว่างสนามบินและที่พักแรมอีกด้วย
กรณีสายการบินยกเลิกเที่ยวบิน ผู้โดยสารมีสิทธิได้รับเงินชดเชยและมีสิทธิได้รับคืนค่าโดยสารหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทางรวมทั้งได้รับการดูแลจากสายการบิน
นางกรรณิการ์กล่าวว่า ประกาศเดิมจะกำหนดการคุ้มครองไว้อย่างกว้าง เช่น กรณีเที่ยวบินล่าช้ากว่าตารางบินเกิน 3 ชั่วโมง ไม่ว่าสาเหตุใดๆ ก็ตาม สายการบินจะต้องจัดหาอาหารและหรือที่พัก ให้กับผู้โดยสารตามสมควร ส่วนกรณีผู้โดยสารไม่ประสงค์จะเดินทาง สายการบินต้องคืนค่าโดยสารและหรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บให้เต็มตามจำนวนโดยเร็ว เป็นต้น
ซึ่งหากสายการบินใดไม่ปฏิบัติตามประกาศ จะถูกบันทึกไว้และจะมีผลในการขอต่อใบอนุญาตแต่หากมีการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามประกาศบ่อยๆ กรมฯ สามารถทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพักใบอนุญาตได้ทันที ทั้งนี้ยอมรับว่า การเข้มงวดในการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารนั้น เพื่อให้ทุกสายการบินตระหนักถึงการให้บริการที่เป็นธรรม และรองรับการแข่งขันของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่อาจจะยังเครื่องบินไม่มากพอสำหรับการให้บริการ โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับทราบถึงสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองดังกล่าว