“ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” นี่คือข้อคิดของไทยแต่โบราณที่สอนบุตรหลานเกี่ยวกับการดูช้าง และดูหญิงสาวที่จะนำมาเป็นแม่บ้านแม่เรือน หรืออีกบทที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ก็ทำนองเดียวกัน คือสอนให้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับคนที่จะพึงคบหาเป็นพวกพ้องไว้พึ่งพาอาศัย
โดยนัยแห่งคำสอนทั้ง 2 บทนี้ เป็นการบอกแนวทางที่จะดูคนว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร โดยให้ดูจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ในบทที่ว่าดูนางให้ดูแม่นั้น บ่งบอกชัดเจนว่าถ้าแม่เป็นคนดีมีระเบียบในการดำเนินชีวิตลูกสาวก็มีโอกาสเป็นคนดีเหมือนแม่ ในทางกลับกัน ถ้าแม่เป็นคนไม่ดี ลูกสาวก็มีโอกาสเป็นคนไม่ดีเหมือนแม่
ส่วนในกรณีของช้างที่บอกให้ดูที่หางนั้น กล่าวกันว่าหางช้างบ่งบอกถึงความมีอายุของช้างว่าจะยืนยาวต่อไปอีกมากน้อยแค่ไหนได้ค่อนข้างแม่นยำ ดังนั้นคนที่จะซื้อช้างไปใช้งานก็ควรเลือกช้างที่มีอายุอยู่อีกนานจึงจะคุ้มค่า
สำหรับข้อที่ว่าสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลนั้น ค่อนข้างจะบอกความหมายตรงตัวอักษรอยู่แล้วว่า สำเนียงที่พูดบ่งบอกถึงที่มาว่าเป็นชาติใด และภาษาใด ส่วนกิริยาส่อสกุลก็เช่นกัน ถ้ากิริยาต่ำทรามก็บ่งบอกถึงความไม่มีความเป็นผู้ดีที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาก่อน ในทางกลับกัน ถ้าอากัปกิริยาเรียบร้อย นุ่มนวล มีความเป็นสุภาพชน ก็บ่งบอกถึงความเป็นผู้ดีมีสกุลที่มีการอบรมบ่มนิสัยมาเป็นอย่างดีนั่นเอง
ที่กล่าวมานี้เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลหรือตัวใครตัวมันเท่านั้น
แต่ถ้าปัจเจกบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่ดีมารวมตัวกันเป็นองค์กรในรูปของนิติบุคคล ก็สามารถนำข้อคิดที่ว่านี้มาประยุกต์ใช้ได้โดยอนุโลม และมีข้อคิดในเชิงตรรกศาสตร์รองรับอย่างมีเหตุมีผลในประเด็นที่ว่า พฤติกรรมองค์กรโดยรวมก็มาจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลคนเดียวที่มีอำนาจในการปกครององค์กร หรือปัจเจกบุคคลหลายคนรวมกันเป็นกลุ่ม และมีอำนาจปกครององค์กรในรูปของกรรมการบริหารองค์กร
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะดูว่าองค์กรใดมีพฤติกรรมโดยรวมเป็นอย่างไร ก็สามารถจะดูได้จากผู้นำองค์กรที่ปกครององค์กรในรูปแบบของเผด็จการเพียงคนเดียว หรือปัจเจกบุคคลหลายคนรวมกันเป็นคณะกรรมการบริหารองค์กร ก็พอจะคาดเดาได้ว่าทิศทางขององค์กรเป็นไปในทิศทางใดและอย่างไร
ด้วยนัยแห่งข้อสังเกตที่ว่ามานี้เอง น่าจะเป็นเหตุให้เกิดเงื่อนไขในการคบ และไม่คบค้าสมาคมระหว่างบุคคล และนิติบุคคลกับนิติบุคคลที่ระแวงสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน ดังที่ได้เกิดขึ้นในการตั้งเงื่อนไข 5 ข้อของพรรคชาติไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อพรรคพลังประชาชนได้ส่งคำเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนไปแล้วอย่างกว้างขวางเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เงื่อนไข 5 ข้อที่ว่านี้ก็คือ
1. จะต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะล่วงละเมิดมิได้ และจะต้องทำความกระจ่างให้ชัดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด
2. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถือเป็นรัฐบุรุษที่สูงสุดในบรรดาผู้คนทั้งหลาย และเป็นที่เคารพของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งตรงนี้เราต้องรักษาไว้และเราไม่ต้องการก้าวล่วง
3. จะต้องไม่มีการล้างแค้นซึ่งกันและกัน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรจะลืม เพราะหากมีการล้างแค้นเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดการล้างแค้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถหาข้อยุติได้
4. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องเดินทางเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยต้องไม่มีการแทรกแซงและก้าวก่าย
5. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะต้องไม่ถูกยุบ ไม่ยกเลิก และต้องไม่ไปแตะต้อง
จากเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ ถ้ามองในเชิงตรรกะแล้วก็จะเกิดคำถามย้อนไปหาพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขในข้อ 1 และข้อ 2 ถ้ามองในฐานะคนไทยไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ และนับถือศาสนาใดก็จะต้องบอกตรงกันว่ารับได้ และโดยปกติทุกคนก็ยึดถือและปฏิบัติตามอยู่แล้ว ทำไมพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินจึงนำมาเป็นเงื่อนไขอีก นอกเสียจากว่าจะมองย้อนไปหาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เคยแสดงพฤติกรรมที่ขัดกับเงื่อนไขในข้อ 1 และข้อ 2 และในปัจจุบันบุคคลที่ว่านี้มาสังกัดอยู่ในพรรคพลังประชาชน ทั้งกำลังจะกลายเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะรัฐบาลที่พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินต้องเข้าร่วมด้วย ถ้าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินมองในประเด็นนี้ ก็พอมองเห็นว่าควรจะมีเงื่อนไขข้อนี้เพื่อเป็นเหตุอ้างในการเข้าร่วมรัฐบาล และอาจใช้เป็นเงื่อนไขในการถอนตัวจากรัฐบาลในอนาคตได้ด้วย
2. เงื่อนไขข้อที่ 3, 4 และข้อ 5 เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น และถ้าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินกลัวว่าจะเกิดขึ้น ทำไมต้องเสี่ยงเข้าร่วมรัฐบาล เพราะถ้าร่วมรัฐบาลทั้ง 2 พรรคมีเสียงไม่มากพอที่จะชี้นำหรือหักห้ามมิให้การกระทำที่ระบุไว้ในเงื่อนไขเกิดขึ้นได้ แล้วทำไมจึงระบุเงื่อนไขนี้ให้ปรากฏเป็นเงื่อนไขทางสังคมลงโทษตัวเองในภายหลัง เว้นไว้แต่ว่าระบุไว้เพียงเป็นข้ออ้างให้ดูดี หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็เพื่อสร้างภาพทางการเมืองให้ประชาชนเห็นว่าได้ทำทุกอย่างรอบคอบแล้วก่อนเข้าร่วมรัฐบาล ถ้าคิดเช่นนี้ทั้งพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินคิดผิด เพราะถ้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้เกิดขึ้น และทั้งพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินยึดติดตำแหน่งไม่ถอนตัวออกมา อนาคตทางการเมืองของผู้นำพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินคงจบลงพร้อมๆ กับรัฐบาลชุดที่ว่านี้สิ้นสุดลงนั่นเอง
แต่ไม่ว่าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินจะกำหนดเงื่อนไขนี้ด้วยมุ่งหมายที่จะแก้ไข และป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือว่าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินกำหนดเงื่อนไขนี้เพราะต้องการหนีข้อหาว่าเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ที่บุคลากรทางการเมืองหลายคนเคยมีพฤติกรรมก้าวล่วงเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งมาแล้ว และกลัวว่าจะกระทำเช่นนั้นอีกโดยที่ตัวเองร่วมอยู่กลุ่มเดียวกันด้วย ก็คงหนีไม่พ้นถูกมองว่ามีความเสี่ยงทางการเมืองสูงยิ่ง และเป็นการเสี่ยงที่ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเข้าร่วมรัฐบาล
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนในฐานะคนทำสื่อและไม่ต้องการเห็นพรรคชาติไทยที่เคยร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์แก้ปัญหาทางตันทางการเมืองด้วยการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2548 และเป็นเหตุให้ทางตันทางการเมืองในครั้งนั้นได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี เมื่อกระบวนการทางศาลได้พิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และทำให้กลุ่มอำนาจเก่าต้องเจอทางตันทางการเมือง และจบลงด้วยการถูกกองทัพโค่นล้มด้วยข้ออ้าง 4 ประการ และประการหนึ่งก็ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขข้อ 1 ที่พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินเสนอพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
เมื่อพรรคชาติไทยเคยทำดีด้วยการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์มา และในครั้งนั้นผู้นำพรรคชาติไทยถือได้ว่าแจ้งเกิดในกลุ่มการเมืองน้ำดี แล้ววันนี้ทำไมจึงหวนคืนสู่การเป็นการเมืองน้ำเน่าอีกครั้ง
การหวนคืนการเมืองโดยมุ่งที่จะเป็นรัฐบาลเพียงอย่างเดียวดังเช่นพฤติกรรมในอดีต ก็เท่ากับทำให้ฉายาปลาไหลคืนชีพ และจะถูกกล่าวหาว่าเล่นการเมืองโดยยึดประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องก่อนประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเป็นเช่นนี้คุณบรรหาร ศิลปอาชา จะรับข้อหาทางสังคมในวันสุดท้ายแห่งชีวิตไหวหรือ
โดยนัยแห่งคำสอนทั้ง 2 บทนี้ เป็นการบอกแนวทางที่จะดูคนว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร โดยให้ดูจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ในบทที่ว่าดูนางให้ดูแม่นั้น บ่งบอกชัดเจนว่าถ้าแม่เป็นคนดีมีระเบียบในการดำเนินชีวิตลูกสาวก็มีโอกาสเป็นคนดีเหมือนแม่ ในทางกลับกัน ถ้าแม่เป็นคนไม่ดี ลูกสาวก็มีโอกาสเป็นคนไม่ดีเหมือนแม่
ส่วนในกรณีของช้างที่บอกให้ดูที่หางนั้น กล่าวกันว่าหางช้างบ่งบอกถึงความมีอายุของช้างว่าจะยืนยาวต่อไปอีกมากน้อยแค่ไหนได้ค่อนข้างแม่นยำ ดังนั้นคนที่จะซื้อช้างไปใช้งานก็ควรเลือกช้างที่มีอายุอยู่อีกนานจึงจะคุ้มค่า
สำหรับข้อที่ว่าสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลนั้น ค่อนข้างจะบอกความหมายตรงตัวอักษรอยู่แล้วว่า สำเนียงที่พูดบ่งบอกถึงที่มาว่าเป็นชาติใด และภาษาใด ส่วนกิริยาส่อสกุลก็เช่นกัน ถ้ากิริยาต่ำทรามก็บ่งบอกถึงความไม่มีความเป็นผู้ดีที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาก่อน ในทางกลับกัน ถ้าอากัปกิริยาเรียบร้อย นุ่มนวล มีความเป็นสุภาพชน ก็บ่งบอกถึงความเป็นผู้ดีมีสกุลที่มีการอบรมบ่มนิสัยมาเป็นอย่างดีนั่นเอง
ที่กล่าวมานี้เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลหรือตัวใครตัวมันเท่านั้น
แต่ถ้าปัจเจกบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่ดีมารวมตัวกันเป็นองค์กรในรูปของนิติบุคคล ก็สามารถนำข้อคิดที่ว่านี้มาประยุกต์ใช้ได้โดยอนุโลม และมีข้อคิดในเชิงตรรกศาสตร์รองรับอย่างมีเหตุมีผลในประเด็นที่ว่า พฤติกรรมองค์กรโดยรวมก็มาจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลคนเดียวที่มีอำนาจในการปกครององค์กร หรือปัจเจกบุคคลหลายคนรวมกันเป็นกลุ่ม และมีอำนาจปกครององค์กรในรูปของกรรมการบริหารองค์กร
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะดูว่าองค์กรใดมีพฤติกรรมโดยรวมเป็นอย่างไร ก็สามารถจะดูได้จากผู้นำองค์กรที่ปกครององค์กรในรูปแบบของเผด็จการเพียงคนเดียว หรือปัจเจกบุคคลหลายคนรวมกันเป็นคณะกรรมการบริหารองค์กร ก็พอจะคาดเดาได้ว่าทิศทางขององค์กรเป็นไปในทิศทางใดและอย่างไร
ด้วยนัยแห่งข้อสังเกตที่ว่ามานี้เอง น่าจะเป็นเหตุให้เกิดเงื่อนไขในการคบ และไม่คบค้าสมาคมระหว่างบุคคล และนิติบุคคลกับนิติบุคคลที่ระแวงสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน ดังที่ได้เกิดขึ้นในการตั้งเงื่อนไข 5 ข้อของพรรคชาติไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อพรรคพลังประชาชนได้ส่งคำเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนไปแล้วอย่างกว้างขวางเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เงื่อนไข 5 ข้อที่ว่านี้ก็คือ
1. จะต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะล่วงละเมิดมิได้ และจะต้องทำความกระจ่างให้ชัดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด
2. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถือเป็นรัฐบุรุษที่สูงสุดในบรรดาผู้คนทั้งหลาย และเป็นที่เคารพของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งตรงนี้เราต้องรักษาไว้และเราไม่ต้องการก้าวล่วง
3. จะต้องไม่มีการล้างแค้นซึ่งกันและกัน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรจะลืม เพราะหากมีการล้างแค้นเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดการล้างแค้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถหาข้อยุติได้
4. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องเดินทางเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยต้องไม่มีการแทรกแซงและก้าวก่าย
5. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะต้องไม่ถูกยุบ ไม่ยกเลิก และต้องไม่ไปแตะต้อง
จากเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ ถ้ามองในเชิงตรรกะแล้วก็จะเกิดคำถามย้อนไปหาพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขในข้อ 1 และข้อ 2 ถ้ามองในฐานะคนไทยไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ และนับถือศาสนาใดก็จะต้องบอกตรงกันว่ารับได้ และโดยปกติทุกคนก็ยึดถือและปฏิบัติตามอยู่แล้ว ทำไมพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินจึงนำมาเป็นเงื่อนไขอีก นอกเสียจากว่าจะมองย้อนไปหาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เคยแสดงพฤติกรรมที่ขัดกับเงื่อนไขในข้อ 1 และข้อ 2 และในปัจจุบันบุคคลที่ว่านี้มาสังกัดอยู่ในพรรคพลังประชาชน ทั้งกำลังจะกลายเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะรัฐบาลที่พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินต้องเข้าร่วมด้วย ถ้าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินมองในประเด็นนี้ ก็พอมองเห็นว่าควรจะมีเงื่อนไขข้อนี้เพื่อเป็นเหตุอ้างในการเข้าร่วมรัฐบาล และอาจใช้เป็นเงื่อนไขในการถอนตัวจากรัฐบาลในอนาคตได้ด้วย
2. เงื่อนไขข้อที่ 3, 4 และข้อ 5 เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น และถ้าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินกลัวว่าจะเกิดขึ้น ทำไมต้องเสี่ยงเข้าร่วมรัฐบาล เพราะถ้าร่วมรัฐบาลทั้ง 2 พรรคมีเสียงไม่มากพอที่จะชี้นำหรือหักห้ามมิให้การกระทำที่ระบุไว้ในเงื่อนไขเกิดขึ้นได้ แล้วทำไมจึงระบุเงื่อนไขนี้ให้ปรากฏเป็นเงื่อนไขทางสังคมลงโทษตัวเองในภายหลัง เว้นไว้แต่ว่าระบุไว้เพียงเป็นข้ออ้างให้ดูดี หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็เพื่อสร้างภาพทางการเมืองให้ประชาชนเห็นว่าได้ทำทุกอย่างรอบคอบแล้วก่อนเข้าร่วมรัฐบาล ถ้าคิดเช่นนี้ทั้งพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินคิดผิด เพราะถ้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้เกิดขึ้น และทั้งพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินยึดติดตำแหน่งไม่ถอนตัวออกมา อนาคตทางการเมืองของผู้นำพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินคงจบลงพร้อมๆ กับรัฐบาลชุดที่ว่านี้สิ้นสุดลงนั่นเอง
แต่ไม่ว่าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินจะกำหนดเงื่อนไขนี้ด้วยมุ่งหมายที่จะแก้ไข และป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือว่าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินกำหนดเงื่อนไขนี้เพราะต้องการหนีข้อหาว่าเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ที่บุคลากรทางการเมืองหลายคนเคยมีพฤติกรรมก้าวล่วงเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งมาแล้ว และกลัวว่าจะกระทำเช่นนั้นอีกโดยที่ตัวเองร่วมอยู่กลุ่มเดียวกันด้วย ก็คงหนีไม่พ้นถูกมองว่ามีความเสี่ยงทางการเมืองสูงยิ่ง และเป็นการเสี่ยงที่ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเข้าร่วมรัฐบาล
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนในฐานะคนทำสื่อและไม่ต้องการเห็นพรรคชาติไทยที่เคยร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์แก้ปัญหาทางตันทางการเมืองด้วยการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2548 และเป็นเหตุให้ทางตันทางการเมืองในครั้งนั้นได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี เมื่อกระบวนการทางศาลได้พิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และทำให้กลุ่มอำนาจเก่าต้องเจอทางตันทางการเมือง และจบลงด้วยการถูกกองทัพโค่นล้มด้วยข้ออ้าง 4 ประการ และประการหนึ่งก็ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขข้อ 1 ที่พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินเสนอพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
เมื่อพรรคชาติไทยเคยทำดีด้วยการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์มา และในครั้งนั้นผู้นำพรรคชาติไทยถือได้ว่าแจ้งเกิดในกลุ่มการเมืองน้ำดี แล้ววันนี้ทำไมจึงหวนคืนสู่การเป็นการเมืองน้ำเน่าอีกครั้ง
การหวนคืนการเมืองโดยมุ่งที่จะเป็นรัฐบาลเพียงอย่างเดียวดังเช่นพฤติกรรมในอดีต ก็เท่ากับทำให้ฉายาปลาไหลคืนชีพ และจะถูกกล่าวหาว่าเล่นการเมืองโดยยึดประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องก่อนประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเป็นเช่นนี้คุณบรรหาร ศิลปอาชา จะรับข้อหาทางสังคมในวันสุดท้ายแห่งชีวิตไหวหรือ