วันขึ้นปีใหม่ชาวพุทธส่วนใหญ่ไปทำบุญ สมาทานศีล ฟังธรรมที่วัด เพื่อเป็นสิริมงคลเริ่มต้นในปีใหม่ ชาวพุทธในประเทศอินเดียก็เช่นกัน ไม่ต่างจากชาวพุทธที่ประเทศไทยเรานัก ขอฝากบทกลอนพรปีใหม่ เป็นคติเตือนใจแก่ท่านผู้อ่านและปวงชนไทยทุกคน เอาเป็นว่ายังไม่ช้าเกินไป
โอกาสนี้ โชคดีหนา พระมาโปรด
จงเลิกโกรธ เลิกหงุดหงิด เลิกอิจฉา
เลิกมักง่าย มลายสิ้น เลิกนินทา
เลิกพูดจา ลามลวน ไม่ชวนฟัง
เลิกซุ่มซ่าม หยามเหยียด เลิกเกียจคร้าน
เลิกเป็นพาล อวดโต คุยโอหัง
เลิกฟุ่มเฟือย เย่อหยิ่ง เลิกชิงชัง
เลิกเบียดบัง ราษฎร์หลวง เลิกลวงกัน
เลิกคิดชั่ว มัวหมอง คิดปองร้าย
เลิกอบายมุข เป็นสุขสันต์
ฝิ่นกัญชา ยาเหล้า อย่าเมากัน
การพนัน เลิกสิ้น อย่ายินดี
สำคัญยิ่ง สิ่งนี้ เลิกให้ได้
จะทำให้ ปวงชนไทย มีสุขี
เผด็จการ รัฐสภา ยังราวี
เหตุย่ำยี ทุกอย่าง ในแผ่นดิน
ปีใหม่นี้อาจมีมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น ขอให้พวกเราระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง คือ กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือความจริงแห่งสังขารทั้งปวง พระสงฆ์ คือหมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย หรือหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า จะเห็นว่าในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ คือสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก และพิสูจน์มาแล้วอย่างชัดเจนพระสงฆ์ตั้งอยู่ในความสงบ สันติ ต่อคมดาบของฝ่ายมิจฉาทิฐิผู้กระหายสงครามและความรุนแรง เมื่อพุทธศักราช 1700 พระสงฆ์, สามเณรต้องละสังขารเนื่องจากคมดาบร่วมสองหมื่นกว่ารูป ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ในประเทศอินเดีย ซึ่งไม่มีในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติที่หมู่ชนยอมสละชีวิตเพื่อพระธรรม อย่างมากมายขนานใหญ่เช่นนี้ พุทธศาสนาได้สูญสิ้นจากประเทศอินเดียโดยปริยาย เหตุการณ์ดังกล่าว ได้สอนให้เราชนะใจตนเอง เฝ้าระวังไม่ให้ประมาทต่อลัทธิก้าวร้าว รุนแรง แม้แต่นางเบนาซี บุตโต ยังต้องจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และการสละชีวิตของพระสงฆ์ในครั้งนั้น สมดังพุทธภาษิตที่ว่า “พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้ทั้งหมดทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม” (พระไตรปิฎกเล่มที่ 28 ข้อที่ 382) และชาวพุทธทั้งหลายต่างก็คือคติธรรมที่ว่า “อกฺโกเธน ชิเน โกธํ” แปลความว่า พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ หรือ พึงชนะความรุนแรง ด้วยสันติ หลายต่อหลายครั้ง ชาวพุทธล้วนได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน พิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและจิตใจอันสูงส่งของชาวพุทธ
พระพุทธองค์ พระผู้ทรงเข้าถึงสภาวะสันติถาวร (นิพพาน) ก่อนใครอื่นทั้งหมดและเป็นแบบอย่างให้พุทธสาวกปฏิบัติตามเป็นลำดับมา จวบจนทุกวันนี้เป็นเวลาร่วม 2,500 กว่าปี
เหล่าพุทธบริษัท 4 และสาธุชนทั้งหลาย อะไรเป็นเครื่องมือเป็นหลักประกันแก่สันติสุขแห่งตน และสังคมตามหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์ นั่นก็คือศีล 5 นั่นเอง อันเป็นหลักจริยธรรมขั้นต้นของมวลมนุษยชาติ อันมีมาแต่เดิม ควบคู่กับการเกิดขึ้นของมวลมนุษยชาติ ต่อมาได้บัญญัติเป็นคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในพระไตรปิฎก ที่ชาวพุทธและสาธุชนทั่วไปก็ปฏิบัติกันอย่างปกติอยู่แล้ว เพราะคำว่าศีล หรือสีลํ นั้นแปลว่า ความปกติ ผู้ดำเนินชีวิตผิดไปจากศีล 5 ย่อมถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ดำเนินชีวิตอย่างผิดปกตินั่นเอง
ศีล 5 นับเป็นก้าวแรกของมนุษย์สู่ความสุขทางกาย วาจา ใจ ศีล 5 เป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่รักษาคุ้มครองมนุษย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นปากทางแห่งอริยชน สมดังในมนต์พิธีเมื่อพระสงฆ์สรุปศีลให้แก่ศาสนิกผู้สมาทานศีล 5 ว่า สีเลนะ สุคะติง ยันติ ศีลย่อมนำมาซึ่งความสุข สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลย่อมนำมาซึ่งโภคทรัพย์ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ศีลย่อมนำมาซึ่งบาทฐานแห่งการเข้าถึงนิพพาน (สันติสุขถาวร)
ศีล 5 หรือ เบญจศีล นั้นมีอะไรบ้าง ในพรรษาก็ควรรณรงค์ปฏิบัติกันให้ได้ คือ
1. เว้นจากการเบียดเบียนและฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกามหรือทางเพศ
4. เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5. เว้นจากการเสพสุราและยาเสพติดทุกชนิด
ผู้ละเมิดศีล 5 จะได้รับผลอย่างไร
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 1 การเบียดเบียนและฆ่าสัตว์ จะได้รับผลจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต 9 ประการ ได้แก่ เป็นคนทุพพลภาพ (ร่างกายไม่สมประกอบ), รูปร่างหน้าตาไม่งดงาม, มีกำลังกายอ่อนแอ, มีกำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว, เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย, มีความกลัวอย่างแรงถึงขนาดฆ่าตนเองได้, มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ, หาบริวารเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ถ้ามีก็จะหนีหมด, อายุสั้น
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 2 การลักทรัพย์ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 6 ประการ ได้แก่ ด้อยทรัพย์, ยากจน, อดอยาก, ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา, พินาศในกิจการค้า กิจการงานทั้งปวง, พินาศเพราะภัยพิบัติ
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 3 การประพฤติผิดในกามหรือทางเพศ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 11 ประการ ได้แก่ มีผู้เกลียดชังมาก, มีผู้ปองร้ายมาก, ขัดสนทรัพย์, อดอยากยากจน, เกิดเป็นหญิง, เกิดเป็นกะเทย, เกิดเป็นชายในตระกูลต่ำ, ได้รับความอับอายอยู่เสมอ, ร่างกายไม่สมประกอบ, มากไปด้วยความวิตกกังวล, พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 4 การพูดปด จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 8 ประการ ได้แก่ พูดไม่ชัด, ฟันไม่เรียบ, มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง, มีไอตัวร้อนจัดและมีกลิ่นเหม็น, ตาไม่อยู่ในระดับปกติ, พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก พูดด้วยปลายลิ้นและปลายปาก, ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย, มีจิตใจรวนเร คล้ายคนวิกลจริต
ผู้ละมิดศีลข้อที่ 5 การเสพสุราและยาเสพติดทุกชนิด ได้แก่พวกกัญชา ยาบ้า ยาอี เฮโรฮีน ทินเนอร์ ฯลฯ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต ประการ 7 ได้แก่ เสียทรัพย์, ก่อการทะเลาะวิวาท, เกิดโรคนานาชนิดทุกข์ทรมานมาก, สังคมติเตียน, ไม่รู้จักอาย, ทอนกำลังปัญญา, และอายุสั้น
ศีลทั้ง 5 ข้อ ดังกล่าวนี้ เป็นจริยธรรมขั้นต้นของชาวพุทธ ปัจจุบันมีการละเมิดกันทั่วไป สาเหตุจากความเจริญจอมปลอมจากวัตถุ แนวคิดปรัชญา วัฒนธรรมจากตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาทำลาย โดยที่ปวงชนไทยมองเห็นยังไม่มากพอ ต่อปัญหานี้จะกล่าวโทษผู้ไดไม่ได้นอกจากผู้ปกครอง รัฐบาลที่เหลวไหล อ่อนแอต่อกิเลส ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชน และส่งเสริมให้มีสถานเริงรมย์ แหล่งอบายมุข อันผิดศีลธรรมอันล่อแหลมต่างๆ มากมาย รัฐบาลไม่ได้พิจารณาคำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามของชาติ อันเป็นเหตุแห่งปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย
ต่อปัญหานี้จะทำให้ประชาชนในประเทศอ่อนแอ คุณภาพศักยภาพต่ำ เมื่อภูมิจิตของพ่อแม่ต่ำ ผลออกมาภูมิจิตของลูกก็จะต่ำไปด้วย จึงไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนอันสำคัญของพระพุทธเจ้า ของพ่อแม่ และครูอาจารย์ได้ จึงนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ผิดไปจากมนุษย์ทั่วไป
มนุษย์ผู้ละเมิดศีล 5 เป็นปากทางแห่งการเบียดเบียน ขัดแย้งให้กับตนเอง ผู้อื่น และนำไปสู่ความรุนแรงได้ในท้ายที่สุด
เราจะแก้ปัญหานี้ในเบื้องต้นได้อย่างไร
ศีล คือข้อห้าม การแก้ไขก็ต้องมี ธรรม คือ ข้อปฏิบัติ ดังที่เรียกกันติดปากว่าศีลธรรม ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ที่จะนำมาแก้ปัญหาการละเมิดศีล มีดังนี้
เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม ได้แก่ธรรมอันดีงามห้าอย่าง, คุณธรรมห้าประการคู่กับเบญจศีล เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีลผู้รักษาเบญจศีลควรมีเบญจธรรมไว้ประจำใจ
1. เมตตาและกรุณา ได้แก่ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุข ความเจริญและความสงสารคิดช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
2. สัมมาอาชีวะ ได้แก่การเลี้ยงชีพในทางสุจริต ไม่คอร์รัปชัน ไม่โกงกินบ้านเมือง
3. กามสังวร ได้แก่ความสังวรในกามหรือสำรวมระวังในทางเพศ, ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
4. สัจจะ ได้แก่ความสัตย์ ความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อครู-อาจารย์ ต่อเพื่อน ต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ ต่อศาสนา ต่อองค์พระมหากษัตริย์
5. สติสัมปชัญญะ ได้แก่ความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิดรู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท
ดังที่กล่าวมานี้เป็นบาทฐานเบื้องต้น เป็นปากทาง เป็นอุปกรณ์ เป็นคุณเครื่องเบื้องต้นให้สาธุชนผู้สมาทานน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะเกิดสันติสุขแก่ตนเอง เป็นของเฉพาะตัว ใครทำใครได้ เป็นทาง เป็นมรรคที่นำไปสู่กุศลธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทางจิตใจของผู้นั้น และคนข้างเคียง เช่น ครอบครัว สังคม จะได้รับผลพลอยได้แห่งกุศลธรรมนั้นไปด้วย
ทุกวันนี้ประชาชนถือศีลกันไม่ค่อยจะได้ เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงใยยิ่งนัก เป็นเพราะอะไร? เมื่อมองภาพรวมทั้งหมด อุปมาได้ว่า คุณธรรมของปลาไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายพิษร้ายจากน้ำเน่าได้ฉันใด คุณธรรมของบุคคล และคุณธรรมของสถาบันหลักแห่งชาติ ก็ไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายจากระบอบการเมืองที่ไม่ถูกต้องตามคลองธรรมได้ ฉันนั้น เหตุแห่งความเลวร้ายอันใหญ่ยิ่งที่ครอบงำปวงชนไทยคือ ระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ นั่นเอง
โอกาสนี้ โชคดีหนา พระมาโปรด
จงเลิกโกรธ เลิกหงุดหงิด เลิกอิจฉา
เลิกมักง่าย มลายสิ้น เลิกนินทา
เลิกพูดจา ลามลวน ไม่ชวนฟัง
เลิกซุ่มซ่าม หยามเหยียด เลิกเกียจคร้าน
เลิกเป็นพาล อวดโต คุยโอหัง
เลิกฟุ่มเฟือย เย่อหยิ่ง เลิกชิงชัง
เลิกเบียดบัง ราษฎร์หลวง เลิกลวงกัน
เลิกคิดชั่ว มัวหมอง คิดปองร้าย
เลิกอบายมุข เป็นสุขสันต์
ฝิ่นกัญชา ยาเหล้า อย่าเมากัน
การพนัน เลิกสิ้น อย่ายินดี
สำคัญยิ่ง สิ่งนี้ เลิกให้ได้
จะทำให้ ปวงชนไทย มีสุขี
เผด็จการ รัฐสภา ยังราวี
เหตุย่ำยี ทุกอย่าง ในแผ่นดิน
ปีใหม่นี้อาจมีมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น ขอให้พวกเราระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง คือ กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือความจริงแห่งสังขารทั้งปวง พระสงฆ์ คือหมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย หรือหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า จะเห็นว่าในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ คือสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก และพิสูจน์มาแล้วอย่างชัดเจนพระสงฆ์ตั้งอยู่ในความสงบ สันติ ต่อคมดาบของฝ่ายมิจฉาทิฐิผู้กระหายสงครามและความรุนแรง เมื่อพุทธศักราช 1700 พระสงฆ์, สามเณรต้องละสังขารเนื่องจากคมดาบร่วมสองหมื่นกว่ารูป ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ในประเทศอินเดีย ซึ่งไม่มีในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติที่หมู่ชนยอมสละชีวิตเพื่อพระธรรม อย่างมากมายขนานใหญ่เช่นนี้ พุทธศาสนาได้สูญสิ้นจากประเทศอินเดียโดยปริยาย เหตุการณ์ดังกล่าว ได้สอนให้เราชนะใจตนเอง เฝ้าระวังไม่ให้ประมาทต่อลัทธิก้าวร้าว รุนแรง แม้แต่นางเบนาซี บุตโต ยังต้องจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และการสละชีวิตของพระสงฆ์ในครั้งนั้น สมดังพุทธภาษิตที่ว่า “พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้ทั้งหมดทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม” (พระไตรปิฎกเล่มที่ 28 ข้อที่ 382) และชาวพุทธทั้งหลายต่างก็คือคติธรรมที่ว่า “อกฺโกเธน ชิเน โกธํ” แปลความว่า พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ หรือ พึงชนะความรุนแรง ด้วยสันติ หลายต่อหลายครั้ง ชาวพุทธล้วนได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน พิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและจิตใจอันสูงส่งของชาวพุทธ
พระพุทธองค์ พระผู้ทรงเข้าถึงสภาวะสันติถาวร (นิพพาน) ก่อนใครอื่นทั้งหมดและเป็นแบบอย่างให้พุทธสาวกปฏิบัติตามเป็นลำดับมา จวบจนทุกวันนี้เป็นเวลาร่วม 2,500 กว่าปี
เหล่าพุทธบริษัท 4 และสาธุชนทั้งหลาย อะไรเป็นเครื่องมือเป็นหลักประกันแก่สันติสุขแห่งตน และสังคมตามหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์ นั่นก็คือศีล 5 นั่นเอง อันเป็นหลักจริยธรรมขั้นต้นของมวลมนุษยชาติ อันมีมาแต่เดิม ควบคู่กับการเกิดขึ้นของมวลมนุษยชาติ ต่อมาได้บัญญัติเป็นคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในพระไตรปิฎก ที่ชาวพุทธและสาธุชนทั่วไปก็ปฏิบัติกันอย่างปกติอยู่แล้ว เพราะคำว่าศีล หรือสีลํ นั้นแปลว่า ความปกติ ผู้ดำเนินชีวิตผิดไปจากศีล 5 ย่อมถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ดำเนินชีวิตอย่างผิดปกตินั่นเอง
ศีล 5 นับเป็นก้าวแรกของมนุษย์สู่ความสุขทางกาย วาจา ใจ ศีล 5 เป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่รักษาคุ้มครองมนุษย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นปากทางแห่งอริยชน สมดังในมนต์พิธีเมื่อพระสงฆ์สรุปศีลให้แก่ศาสนิกผู้สมาทานศีล 5 ว่า สีเลนะ สุคะติง ยันติ ศีลย่อมนำมาซึ่งความสุข สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลย่อมนำมาซึ่งโภคทรัพย์ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ศีลย่อมนำมาซึ่งบาทฐานแห่งการเข้าถึงนิพพาน (สันติสุขถาวร)
ศีล 5 หรือ เบญจศีล นั้นมีอะไรบ้าง ในพรรษาก็ควรรณรงค์ปฏิบัติกันให้ได้ คือ
1. เว้นจากการเบียดเบียนและฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกามหรือทางเพศ
4. เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5. เว้นจากการเสพสุราและยาเสพติดทุกชนิด
ผู้ละเมิดศีล 5 จะได้รับผลอย่างไร
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 1 การเบียดเบียนและฆ่าสัตว์ จะได้รับผลจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต 9 ประการ ได้แก่ เป็นคนทุพพลภาพ (ร่างกายไม่สมประกอบ), รูปร่างหน้าตาไม่งดงาม, มีกำลังกายอ่อนแอ, มีกำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว, เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย, มีความกลัวอย่างแรงถึงขนาดฆ่าตนเองได้, มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ, หาบริวารเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ถ้ามีก็จะหนีหมด, อายุสั้น
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 2 การลักทรัพย์ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 6 ประการ ได้แก่ ด้อยทรัพย์, ยากจน, อดอยาก, ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา, พินาศในกิจการค้า กิจการงานทั้งปวง, พินาศเพราะภัยพิบัติ
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 3 การประพฤติผิดในกามหรือทางเพศ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 11 ประการ ได้แก่ มีผู้เกลียดชังมาก, มีผู้ปองร้ายมาก, ขัดสนทรัพย์, อดอยากยากจน, เกิดเป็นหญิง, เกิดเป็นกะเทย, เกิดเป็นชายในตระกูลต่ำ, ได้รับความอับอายอยู่เสมอ, ร่างกายไม่สมประกอบ, มากไปด้วยความวิตกกังวล, พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 4 การพูดปด จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต 8 ประการ ได้แก่ พูดไม่ชัด, ฟันไม่เรียบ, มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง, มีไอตัวร้อนจัดและมีกลิ่นเหม็น, ตาไม่อยู่ในระดับปกติ, พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก พูดด้วยปลายลิ้นและปลายปาก, ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย, มีจิตใจรวนเร คล้ายคนวิกลจริต
ผู้ละมิดศีลข้อที่ 5 การเสพสุราและยาเสพติดทุกชนิด ได้แก่พวกกัญชา ยาบ้า ยาอี เฮโรฮีน ทินเนอร์ ฯลฯ จะได้รับผลกรรมจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต ประการ 7 ได้แก่ เสียทรัพย์, ก่อการทะเลาะวิวาท, เกิดโรคนานาชนิดทุกข์ทรมานมาก, สังคมติเตียน, ไม่รู้จักอาย, ทอนกำลังปัญญา, และอายุสั้น
ศีลทั้ง 5 ข้อ ดังกล่าวนี้ เป็นจริยธรรมขั้นต้นของชาวพุทธ ปัจจุบันมีการละเมิดกันทั่วไป สาเหตุจากความเจริญจอมปลอมจากวัตถุ แนวคิดปรัชญา วัฒนธรรมจากตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาทำลาย โดยที่ปวงชนไทยมองเห็นยังไม่มากพอ ต่อปัญหานี้จะกล่าวโทษผู้ไดไม่ได้นอกจากผู้ปกครอง รัฐบาลที่เหลวไหล อ่อนแอต่อกิเลส ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชน และส่งเสริมให้มีสถานเริงรมย์ แหล่งอบายมุข อันผิดศีลธรรมอันล่อแหลมต่างๆ มากมาย รัฐบาลไม่ได้พิจารณาคำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามของชาติ อันเป็นเหตุแห่งปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย
ต่อปัญหานี้จะทำให้ประชาชนในประเทศอ่อนแอ คุณภาพศักยภาพต่ำ เมื่อภูมิจิตของพ่อแม่ต่ำ ผลออกมาภูมิจิตของลูกก็จะต่ำไปด้วย จึงไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนอันสำคัญของพระพุทธเจ้า ของพ่อแม่ และครูอาจารย์ได้ จึงนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ผิดไปจากมนุษย์ทั่วไป
มนุษย์ผู้ละเมิดศีล 5 เป็นปากทางแห่งการเบียดเบียน ขัดแย้งให้กับตนเอง ผู้อื่น และนำไปสู่ความรุนแรงได้ในท้ายที่สุด
เราจะแก้ปัญหานี้ในเบื้องต้นได้อย่างไร
ศีล คือข้อห้าม การแก้ไขก็ต้องมี ธรรม คือ ข้อปฏิบัติ ดังที่เรียกกันติดปากว่าศีลธรรม ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ที่จะนำมาแก้ปัญหาการละเมิดศีล มีดังนี้
เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม ได้แก่ธรรมอันดีงามห้าอย่าง, คุณธรรมห้าประการคู่กับเบญจศีล เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีลผู้รักษาเบญจศีลควรมีเบญจธรรมไว้ประจำใจ
1. เมตตาและกรุณา ได้แก่ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุข ความเจริญและความสงสารคิดช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
2. สัมมาอาชีวะ ได้แก่การเลี้ยงชีพในทางสุจริต ไม่คอร์รัปชัน ไม่โกงกินบ้านเมือง
3. กามสังวร ได้แก่ความสังวรในกามหรือสำรวมระวังในทางเพศ, ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
4. สัจจะ ได้แก่ความสัตย์ ความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อครู-อาจารย์ ต่อเพื่อน ต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ ต่อศาสนา ต่อองค์พระมหากษัตริย์
5. สติสัมปชัญญะ ได้แก่ความระลึกได้และรู้สึกตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิดรู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท
ดังที่กล่าวมานี้เป็นบาทฐานเบื้องต้น เป็นปากทาง เป็นอุปกรณ์ เป็นคุณเครื่องเบื้องต้นให้สาธุชนผู้สมาทานน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะเกิดสันติสุขแก่ตนเอง เป็นของเฉพาะตัว ใครทำใครได้ เป็นทาง เป็นมรรคที่นำไปสู่กุศลธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทางจิตใจของผู้นั้น และคนข้างเคียง เช่น ครอบครัว สังคม จะได้รับผลพลอยได้แห่งกุศลธรรมนั้นไปด้วย
ทุกวันนี้ประชาชนถือศีลกันไม่ค่อยจะได้ เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงใยยิ่งนัก เป็นเพราะอะไร? เมื่อมองภาพรวมทั้งหมด อุปมาได้ว่า คุณธรรมของปลาไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายพิษร้ายจากน้ำเน่าได้ฉันใด คุณธรรมของบุคคล และคุณธรรมของสถาบันหลักแห่งชาติ ก็ไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายจากระบอบการเมืองที่ไม่ถูกต้องตามคลองธรรมได้ ฉันนั้น เหตุแห่งความเลวร้ายอันใหญ่ยิ่งที่ครอบงำปวงชนไทยคือ ระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ นั่นเอง