เอเอฟพี/รอยเตอร์ – บรรดาร้านขายปลีกของมาเลเซียเริ่มจำกัดการขายน้ำมันปรุงอาหารให้ลูกค้า ภายหลังรัฐบาลแดนเสือเหลืองประกาศมาตรการปันส่วนเข้มงวด เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนซึ่งกล่าวหากันว่าเนื่องจากการลักลอบขนข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนประชาชนมาเลเซียเองแตกตื่นแห่ซื้อเพราะข่าวลือจะมีการขึ้นราคา
มาตรการปันส่วนของรัฐบาล ที่ให้ขายน้ำมันปรุงอาหารไม่เกิน 5 กิโลกรัม แก่ลูกค้าแต่ละรายในการขายแต่ละครั้ง กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้(6) ทว่าสำนักข่าวเบอร์นามาของทางการมาเลเซียแจ้งว่า พวกร้านค้าปลีกเริ่มจำกัดปริมาณการขายเช่นนี้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผู้คนแห่กันไปซื้อน้ำมันปรุงอาหารกันในสัปดาห์ที่แล้ว จนหมดเกลี้ยงจากร้านขายปลีกจำนวนมากของหลายๆ รัฐในมาเลเซีย โดยที่เหล่าร้านค้าก็ไปหามาจำหน่ายได้ไม่ทันความต้องการ
รัฐมนตรีการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค ดาโต๊ะ ชาฟี อัปดัล ซึ่งประกาศมาตรการจำกัดการขายในวันศุกร์(4) ได้ประณามวิกฤตคราวนี้ว่าเป็นเพราะการลักลอบนำไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากน้ำมันปรุงอาหารเป็นสินค้าที่รัฐบาลอุดหนุนชดเชย ดังนั้นการแอบนำไปขายนอกประเทศจึงได้กำไรงาม
ทางรัฐบาลแดนเสือเหลืองยืนยันว่า มีน้ำมันปรุงอาหารเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ พร้อมกับเสริมด้วยว่า จะเพิ่มความเข้มงวดตรวจตราชายแดนติดต่อกับไทยและสิงคโปร์ เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้าเถื่อน
“เราต้องการแสดงให้เห็นว่า เราเอาจริงกับการต่อสู้ปัญหานี้ซึ่งเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว” หนังสือพิมพ์นิวสเตรทส์ไทมส์ รายงานคำพูดของ เช จามิล อาหมัด ผู้อำนวยการฝ่ายศุลกากรของรัฐกลันตัน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซียและมีพรมแดนติดกับไทย
“การตรวจตราของเราจะไม่มุ่งยุติการขนน้ำมันปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังสินค้าจำเป็นอื่นๆ ด้วยซึ่งกำลังถูกขนไปยังประเทศเพื่อนบ้านของเรา”
มีรายงานว่าการขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารคราวนี้ บังเกิดขึ้นในเวลาที่แรงกดดันด้านราคาสินค้ากำลังรุนแรงขึ้น โดยที่สินค้าพวกอาหารและค่าขนส่งต่างเพิ่มกันไปแล้ว รวมทั้งน่าจะต้องขึ้นราคาค่าเชื้อเพลิงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทางด้านกลุ่มฝ่ายค้านในรัฐสภามาเลเซีย ได้ออกคำแถลงประณามการใช้มาตรการปันส่วนน้ำมันปรุงอาหาร โดยระบุว่าสร้างความเดือดร้อนให้แก่ภัตตาคารร้านอาหาร ผู้บริโภค และหาบเร่แผงลอย หลังจากที่รัฐบาลได้ปล่อยให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันดีเซล, น้ำตาล และแป้งทำอาหาร มาก่อนแล้ว
มาตรการปันส่วนของรัฐบาล ที่ให้ขายน้ำมันปรุงอาหารไม่เกิน 5 กิโลกรัม แก่ลูกค้าแต่ละรายในการขายแต่ละครั้ง กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้(6) ทว่าสำนักข่าวเบอร์นามาของทางการมาเลเซียแจ้งว่า พวกร้านค้าปลีกเริ่มจำกัดปริมาณการขายเช่นนี้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผู้คนแห่กันไปซื้อน้ำมันปรุงอาหารกันในสัปดาห์ที่แล้ว จนหมดเกลี้ยงจากร้านขายปลีกจำนวนมากของหลายๆ รัฐในมาเลเซีย โดยที่เหล่าร้านค้าก็ไปหามาจำหน่ายได้ไม่ทันความต้องการ
รัฐมนตรีการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค ดาโต๊ะ ชาฟี อัปดัล ซึ่งประกาศมาตรการจำกัดการขายในวันศุกร์(4) ได้ประณามวิกฤตคราวนี้ว่าเป็นเพราะการลักลอบนำไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากน้ำมันปรุงอาหารเป็นสินค้าที่รัฐบาลอุดหนุนชดเชย ดังนั้นการแอบนำไปขายนอกประเทศจึงได้กำไรงาม
ทางรัฐบาลแดนเสือเหลืองยืนยันว่า มีน้ำมันปรุงอาหารเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ พร้อมกับเสริมด้วยว่า จะเพิ่มความเข้มงวดตรวจตราชายแดนติดต่อกับไทยและสิงคโปร์ เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้าเถื่อน
“เราต้องการแสดงให้เห็นว่า เราเอาจริงกับการต่อสู้ปัญหานี้ซึ่งเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว” หนังสือพิมพ์นิวสเตรทส์ไทมส์ รายงานคำพูดของ เช จามิล อาหมัด ผู้อำนวยการฝ่ายศุลกากรของรัฐกลันตัน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซียและมีพรมแดนติดกับไทย
“การตรวจตราของเราจะไม่มุ่งยุติการขนน้ำมันปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังสินค้าจำเป็นอื่นๆ ด้วยซึ่งกำลังถูกขนไปยังประเทศเพื่อนบ้านของเรา”
มีรายงานว่าการขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารคราวนี้ บังเกิดขึ้นในเวลาที่แรงกดดันด้านราคาสินค้ากำลังรุนแรงขึ้น โดยที่สินค้าพวกอาหารและค่าขนส่งต่างเพิ่มกันไปแล้ว รวมทั้งน่าจะต้องขึ้นราคาค่าเชื้อเพลิงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทางด้านกลุ่มฝ่ายค้านในรัฐสภามาเลเซีย ได้ออกคำแถลงประณามการใช้มาตรการปันส่วนน้ำมันปรุงอาหาร โดยระบุว่าสร้างความเดือดร้อนให้แก่ภัตตาคารร้านอาหาร ผู้บริโภค และหาบเร่แผงลอย หลังจากที่รัฐบาลได้ปล่อยให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันดีเซล, น้ำตาล และแป้งทำอาหาร มาก่อนแล้ว