สำนักงานก.ล.ต. เตรียมนัดถกรายละเอียดกับตัวแทนชมรมวาณิชธนกิจ หลังออกกฎตัดคะแนนที่ปรึกษาฯ-ผู้ควบคุม หากพบการกระทำผิด ระบุคะแนนทำผิดจะติดตัวไป 3 ปีแม้จะมีการย้ายสังกัดใหม่ เชื่อจะทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมีความรอบคอบมากขึ้นและเป็นการยกระดับมาตรฐานวาณิชธนกิจไทย ด้านผู้บริหารโบรกเกอร์ ชี้บริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีวาณิชธนกิจหลายทีมได้รับผลกระทบเต็มๆ พร้อมเบนเข็มหันไปทำงานที่มีความเสี่ยงน้อยเพิ่มขึ้น
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวว่า สำนักงานก.ล.ต.เตรียมจะเรียกตัวแทนจากชมรมวาณิชธนกิจ เพื่อร่วมหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้ประกอบการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานแบบใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการด้านวาณิชธนกิจไทย หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาระบุว่าการพิจารณาข้อมูลของก.ล.ต.ล่าช้า โดยเฉพาะการพิจารณาแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นความไม่รอบครอบและไม่ชัดเจนของที่ปรึกษาทางการเงินที่รวบรวมข้อมูลก่อนนำส่งให้สำนักงานก.ล.ต.พิจารณาไม่ครบ โดยเรื่องที่พบว่าเป็นปัญหาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระบบบัญชีของบริษัทที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการจัดโครงสร้างองค์ที่ยังมีความขัดแย้งกันภายใน เช่น กรณีที่มีบริษัทในครอบครับที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกับบริษัทที่จะเข้ามาระดมทุน เป็นต้น
" หลังจากนี้บริษัทที่ปรึกษาฯต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการในการพิจารณาที่ล่าช้ามันเกิดมาจากการรวบรวมหรือการจัดโครงสร้างที่ไม่เป็นไปตามกฎที่ประกาศไว้ ซึ่งหากที่ปรึกษาฯดูแลทุกอย่างมาให้เรียบร้อยขั้นตอนในการพิจารณาก็ไม่นานอยู่แล้ว "นายธีระชัยกล่าว
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินทุกแห่ง โดยแจ้งให้ทราบกรณีการแก้ไขประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินและการปรับปรุงระบบการบันทึกคะแนนความผิด เพื่อเป็นการยกระดับการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงิน โดยมีผลเริ่มบังคับใช้หลังการปรับปรุงตั้งแต่ 1 มกราคม 2551
สำหรับการดูแลทั้งในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุม ที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คะแนนจะถูกสะสมทั้งที่ปรึกษาฯและผู้ควบคุมที่รับผิดชอบงานนั้นๆ โดยคะแนนความผิดของที่ปรึกษาฯจะเท่ากับคะแนนความผิดของผู้ควบคุมฯในสังกัดทุกคนรวมกัน
ส่วนระดับคะแนนความผิดและมาตรการดำเนินการนั้น แบ่งเป็น ผู้ควบคุมฯระดับคะแนนความผิดเริ่มตั้งแต่ 1 ถึง 5 คะแนน ขณะที่ที่ปรึกษาฯระดับคะแนนความผิดเริ่มตั้งแต่ 1 ถึง 8 คะแนน โดยขอบเขตในการทำหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาฯ ครอบคลุมการปฏิบัติงาน หรือการให้ความเห็นที่ยื่นต่อก.ล.ต. เช่น การยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ร่างหนังสือชี้ชวน การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ การทำรายการที่เกี่ยวโยง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การวิธีบันทึกคะแนนจะใช้วิธีสะสมคะแนนในช่วง 3 ปี ซึ่งหากผู้ควบคุมฯมีการย้ายสังกัดคะแนนดังกล่าวจะติดตามไปด้วย ส่วนคะแนนความผิดที่ผู้ควบคุมฯ กระทำและเป็นเหตุให้บริษัทที่ปรึกษาฯ เดิมถูกบันทึกคะแนนจะยังคงสะสมอยู่ในสังกัดเดิม โดยการพิจารณารับผู้ควบคุมฯเข้ามปฎิบัติงานที่ปรึกษาใหม่สามารถสอบถามคะแนนความผิดสะสมของผู้ควบคุมฯรายดังกล่าวได้จากก.ล.ต.
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจาราระดับความผิดคะแนน เช่น การขาดความระมัดระวังหรือประมาท หรือมีพฤติกรรมจงใจปกปิดข้อมูลหรือร่วมมือกับบริษัทในการกระทำผลิต ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งตัวเลขในงบการเงิน หรือปลอมแปลงเอกสารเป็นต้น
ขณะเดียวกัน สำนักงานก.ล.ต.อาจนำประวัติการปฎิบัติงานในอดีต และพฤติกรรมภายหลังการกระทำผิดมาประกอบการปรับเพิ่มหรือลดระดับความรุนแรงของมาตรการลงโทษได้ เช่น การให้ความร่วมมือในการชี้แจงข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบ
นอกจากนี้ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคะแนนความผิดของที่ปรึกษาฯและผู้ควบคุมฯ เป็นไปอย่างโปร่งใส ก.ล.ต.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาฯ และผู้ควบคุมฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานและสมาคมที่เกี่ยวข้อง
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ข้อปฎิบัติรูปแบบใหม่ของก.ล.ต.ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพื่อเป็นการยกระดับให้กับผู้ประกอบการแต่ในบางเรื่องในทางปฎิบัติเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก ขณะเดียวกันข้อจำกัดในเรื่องการตรวจสอบของก.ล.ต.เพื่อพิจารณาในข้อมูลเอกสารที่ค่อนข้างละเอียดเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้ประกอบการ
โดยกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่า จะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ปรึกษาขนาดใหญ่ๆ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก เนื่องจากมีจำนวนทีมงานหลายทีม ซึ่งหากทีมใดทีมหนึ่งหรือหลายทีมมีคะแนนที่ถูกตัดไว้อาจจะส่งผลทำให้บริษัทไม่กล้าที่จะรับงานการเป็นที่ปรึกษาฯ เนื่องจากหากเกิดขึ้นผิดพลาดขึ้นมาอาจจะส่งผลทำให้บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจด้านวาณิชธนกิจได้ชั่วคราว
"เป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก กฎเกณฑ์ที่ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งหลายบริษัทหนีไปทำดีลที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น การออกหุ้นกู้ มากกว่าที่จะมาทำดีลด้านการเป็นที่ปรึกษาฯ เพราะมีความเสี่ยงและอาจจะไม่คุ้มหากโดยสั่งห้ามทำธุรกิจดังกล่าว แม้ว่าจะชั่วคราวก็ตาม"แหล่งข่าวกล่าว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวว่า สำนักงานก.ล.ต.เตรียมจะเรียกตัวแทนจากชมรมวาณิชธนกิจ เพื่อร่วมหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้ประกอบการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานแบบใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการด้านวาณิชธนกิจไทย หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาระบุว่าการพิจารณาข้อมูลของก.ล.ต.ล่าช้า โดยเฉพาะการพิจารณาแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นความไม่รอบครอบและไม่ชัดเจนของที่ปรึกษาทางการเงินที่รวบรวมข้อมูลก่อนนำส่งให้สำนักงานก.ล.ต.พิจารณาไม่ครบ โดยเรื่องที่พบว่าเป็นปัญหาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระบบบัญชีของบริษัทที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการจัดโครงสร้างองค์ที่ยังมีความขัดแย้งกันภายใน เช่น กรณีที่มีบริษัทในครอบครับที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกับบริษัทที่จะเข้ามาระดมทุน เป็นต้น
" หลังจากนี้บริษัทที่ปรึกษาฯต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการในการพิจารณาที่ล่าช้ามันเกิดมาจากการรวบรวมหรือการจัดโครงสร้างที่ไม่เป็นไปตามกฎที่ประกาศไว้ ซึ่งหากที่ปรึกษาฯดูแลทุกอย่างมาให้เรียบร้อยขั้นตอนในการพิจารณาก็ไม่นานอยู่แล้ว "นายธีระชัยกล่าว
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้มีการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินทุกแห่ง โดยแจ้งให้ทราบกรณีการแก้ไขประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินและการปรับปรุงระบบการบันทึกคะแนนความผิด เพื่อเป็นการยกระดับการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงิน โดยมีผลเริ่มบังคับใช้หลังการปรับปรุงตั้งแต่ 1 มกราคม 2551
สำหรับการดูแลทั้งในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุม ที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คะแนนจะถูกสะสมทั้งที่ปรึกษาฯและผู้ควบคุมที่รับผิดชอบงานนั้นๆ โดยคะแนนความผิดของที่ปรึกษาฯจะเท่ากับคะแนนความผิดของผู้ควบคุมฯในสังกัดทุกคนรวมกัน
ส่วนระดับคะแนนความผิดและมาตรการดำเนินการนั้น แบ่งเป็น ผู้ควบคุมฯระดับคะแนนความผิดเริ่มตั้งแต่ 1 ถึง 5 คะแนน ขณะที่ที่ปรึกษาฯระดับคะแนนความผิดเริ่มตั้งแต่ 1 ถึง 8 คะแนน โดยขอบเขตในการทำหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาฯ ครอบคลุมการปฏิบัติงาน หรือการให้ความเห็นที่ยื่นต่อก.ล.ต. เช่น การยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ร่างหนังสือชี้ชวน การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ การทำรายการที่เกี่ยวโยง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การวิธีบันทึกคะแนนจะใช้วิธีสะสมคะแนนในช่วง 3 ปี ซึ่งหากผู้ควบคุมฯมีการย้ายสังกัดคะแนนดังกล่าวจะติดตามไปด้วย ส่วนคะแนนความผิดที่ผู้ควบคุมฯ กระทำและเป็นเหตุให้บริษัทที่ปรึกษาฯ เดิมถูกบันทึกคะแนนจะยังคงสะสมอยู่ในสังกัดเดิม โดยการพิจารณารับผู้ควบคุมฯเข้ามปฎิบัติงานที่ปรึกษาใหม่สามารถสอบถามคะแนนความผิดสะสมของผู้ควบคุมฯรายดังกล่าวได้จากก.ล.ต.
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจาราระดับความผิดคะแนน เช่น การขาดความระมัดระวังหรือประมาท หรือมีพฤติกรรมจงใจปกปิดข้อมูลหรือร่วมมือกับบริษัทในการกระทำผลิต ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งตัวเลขในงบการเงิน หรือปลอมแปลงเอกสารเป็นต้น
ขณะเดียวกัน สำนักงานก.ล.ต.อาจนำประวัติการปฎิบัติงานในอดีต และพฤติกรรมภายหลังการกระทำผิดมาประกอบการปรับเพิ่มหรือลดระดับความรุนแรงของมาตรการลงโทษได้ เช่น การให้ความร่วมมือในการชี้แจงข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบ
นอกจากนี้ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคะแนนความผิดของที่ปรึกษาฯและผู้ควบคุมฯ เป็นไปอย่างโปร่งใส ก.ล.ต.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาฯ และผู้ควบคุมฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานและสมาคมที่เกี่ยวข้อง
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ข้อปฎิบัติรูปแบบใหม่ของก.ล.ต.ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพื่อเป็นการยกระดับให้กับผู้ประกอบการแต่ในบางเรื่องในทางปฎิบัติเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก ขณะเดียวกันข้อจำกัดในเรื่องการตรวจสอบของก.ล.ต.เพื่อพิจารณาในข้อมูลเอกสารที่ค่อนข้างละเอียดเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้ประกอบการ
โดยกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่า จะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ปรึกษาขนาดใหญ่ๆ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก เนื่องจากมีจำนวนทีมงานหลายทีม ซึ่งหากทีมใดทีมหนึ่งหรือหลายทีมมีคะแนนที่ถูกตัดไว้อาจจะส่งผลทำให้บริษัทไม่กล้าที่จะรับงานการเป็นที่ปรึกษาฯ เนื่องจากหากเกิดขึ้นผิดพลาดขึ้นมาอาจจะส่งผลทำให้บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจด้านวาณิชธนกิจได้ชั่วคราว
"เป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก กฎเกณฑ์ที่ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งหลายบริษัทหนีไปทำดีลที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น การออกหุ้นกู้ มากกว่าที่จะมาทำดีลด้านการเป็นที่ปรึกษาฯ เพราะมีความเสี่ยงและอาจจะไม่คุ้มหากโดยสั่งห้ามทำธุรกิจดังกล่าว แม้ว่าจะชั่วคราวก็ตาม"แหล่งข่าวกล่าว