ประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ถือเป็นการเปลี่ยนบทประวัติศาสตร์สำคัญของแผ่นดินจีน ซึ่งขณะนั้นประกอบด้วยคนหลายร้อยล้านคน ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย แต่ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความตื่นเต้น เร้าใจ รวมทั้งตื่นตระหนกก็อาจจะกล่าวได้ว่ามีอยู่ 5 เหตุการณ์ใหญ่ๆ
เหตุการณ์ที่หนึ่งคือ “สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม” ซึ่งทั้งสองสงครามนั้นเกิดขึ้นในยุคที่เรียกว่าสงครามเย็น อันเป็นการใช้ภาษาผิด เพราะจริงๆ สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามเป็นสงครามร้อนแรงแม้ไม่ใช่สงครามโลกก็ตาม
เหตุการณ์ที่สองคือ “นโยบายก้าวกระโดด” ในปี ค.ศ.1958 การถลุงเหล็กโดยระดมประชาชนทั้งประเทศทำงานนอกเวลาตอนกลางคืนนั้นกลายเป็นเศษเหล็กจำนวนมหาศาลเนื่องจากขาดความรู้ทางวิทยาการ นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในการผลิตทางเกษตรจนจีนต้องสั่งข้าวสาลีจากแคนาดามาเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนั้นนำไปสู่ผลกระทบทางการเมืองต่อเหมา เจ๋อตุง อย่างรุนแรง และผลสุดท้ายก็เป็นหัวเชื้อที่นำไปสู่การพยายามแก้ไขเหตุการณ์ หรือการดึงอำนาจทางการเมืองกลับมาสู่ในมือโดยการประกาศการปฏิวัติวัฒนธรรมอีก 5-6 ปีต่อมา
เหตุการณ์ที่สามคือ “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เป็นเหตุการณ์ที่ดำเนินไปกว่า 10 ปี ส่งผลกระทบในทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ทางจิตวิทยา อุดมการณ์คอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางจนเสียชีวิตและเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่บทความนี้จะกล่าวถึงในแง่มุมที่คิดว่าสำคัญ
เหตุการณ์ที่สี่คือ “กรณีหลั่งเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989” เป็นการต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์โดยนักศึกษา ซึ่งเชื่อว่าโยงใยกับสหรัฐฯ ไต้หวัน แม้กระทั่งกอร์บาชอฟ และเป็นประวัติศาสตร์การนองเลือดของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้นึกถึงการลุกฮือปฏิวัติในฮังการีปี ค.ศ. 1956 และในเชโกสโลวาเกียในระยะเวลาต่อมา เหตุการณ์สุดท้ายเป็นการเปิดศักราชใหม่ของจีน นั่นคือการประกาศ “นโยบายสี่ทันสมัยและการเปิดประตูประเทศ” จนทำให้จีนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าขนานใหญ่ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
สิ่งที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศจีนในฐานะคณะนักวิชาการจากประเทศไทยชุดแรกที่ได้รับการเชื้อเชิญหลังจากที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว นักวิชาการกลุ่มนี้มี 12 คน นำโดย ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ พวกเราเดินทางถึงกรุงปักกิ่งในตอนดึกของวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1976 (พ.ศ. 2519) ซึ่งในคืนนั้นเองก่อนที่เราจะไปถึงก็เกิดเหตุการณ์ชุลมุนที่จัตุรัสเทียน-อันเหมิน ซึ่งตรงกับวันเฉลิมฉลองเช็งเม้งให้แก่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปไม่นาน พวกเราอยู่ ณ กรุงปักกิ่งจึงได้เห็นการเดินขบวนการต่อต้านลัทธิแก้และผู้เดินตามแนวทุนนิยม อันได้แก่กลุ่มของหลิว เส้าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง และในวันที่ 7 เดือนเดียวกัน เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ถูกถอดจากทุกตำแหน่งยกเว้นตำแหน่งการเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน
แต่จากการวิเคราะห์หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง และการหมดอำนาจของนางเจียง ชิง และพวกอีก 3 คน ที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่ ก็ทราบกันว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นการห้ำหั่นอย่างดุเดือดระหว่างนางเจียง ชิง ซึ่งนิยมความรุนแรงและซ้ายจัด กับกลุ่มของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งต้องการให้ประเทศจีนพัฒนาประเทศให้ทันสมัยโดยไม่ให้น้ำหนักกับอุดมการณ์อย่างบ้าคลั่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ลึกลับ แต่หลังจากการเปิดประตูประเทศแล้วข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ถูกเปิดเผยออกมา หนังสือเรื่อง เติ้ง เสี่ยวผิง: ว่าด้วยการปฏิวัติวัฒนธรรมและเค้าโครงความคิดเศรษฐกิจจีนใหม่ เขียนโดยมาดาม เติ้งหยง ซึ่งเป็นบุตรสาวของเติ้ง เสี่ยวผิง มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายส่วนด้วยกัน และในหลายแง่มุมสามารถจะใช้เป็นบทเรียนเพื่อการเปรียบเทียบและคิดวิเคราะห์กับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศอื่นได้ด้วย
สิ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้จากการศึกษาประวัติของเติ้ง เสี่ยวผิง และผลงานของบุคคลผู้นี้ก็คือความมีจิตใจที่แข็งแกร่ง มีความคิดที่ลึกซึ้ง มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว อดทนอดกลั้น มีความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ ภักดีต่อประเทศชาติอย่างหาตัวจับยาก ที่สำคัญที่สุดเป็นคนไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ แม้จะถูกปลดออก 3 ครั้งก็สามารถกลับมาสู่ตำแหน่งที่ทำประโยชน์ได้อีก เพราะความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนที่ลึกซึ้ง ความจริงจังต่อการทำงาน และการเสียสละทั้งกายและใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม บุคคลผู้ซึ่งร่างเล็กแต่ใจใหญ่ และเป็นที่ทราบว่าเป็นนักบริหารชั้นยอด และมักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้กล่าวคำว่า “แมวขาวและแมวดำไม่สำคัญตราบเท่าที่จับหนูได้” ซึ่งความจริงเป็นการอ้างคำกล่าวของนักวิชาการคนหนึ่ง แต่ความหมายสำคัญคือเป็นคนที่มุ่งเล็งผลปฏิบัติ เนื้อหาในหนังสือเรื่องเติ้ง เสี่ยวผิง ที่จะยกมาให้เห็นเพื่อให้ผู้อ่านคิดวิเคราะห์นั้นเป็นเนื้อหาที่ต้องอ่านอย่างละเอียด แต่สามารถจะตั้งคำถามในใจขึ้นมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาจจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความบ้าคลั่งลัทธิอุดมการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงกันข้ามโดยการอ้างการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือนั้น ได้กล่าวไว้ในหนังสือหน้า 142 ดังนี้
...แค่ 3 ปีเท่านั้น ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายขนาดนี้ เปลี่ยนแปลงจนคาดไม่ถึง แค่ 3 ปีเท่านั้นก็ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างทางเศรษฐกิจ ที่คนทั้งประเทศลงทุนลงแรงไปด้วยความยากลำบาก แค่ 3 ปีเท่านั้น องค์กรต่างๆ ของพรรค ของรัฐบาลต่างถูกโค่นล้ม พวกเราสมาชิก พคจ. นับสิบๆ ล้านได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อการปฏิวัติไปทำไม พรรคของเรานำประชาชนชิงแผ่นดินมาอย่างยากลำบากเพื่ออะไร พวกเราประชาชนทั่วประเทศ ใช้เวลานานนับ 10 ปีอย่างขยันขันแข็งเพื่อสร้างสรรค์และแสวงหาเพื่ออะไร เพื่อให้ได้สังคมที่บ้าคลั่งไร้ระเบียบอย่างนี้กระนั้นหรือ...
ในส่วนของความเอื้ออาทรของคนที่อยู่ห่างไกลความเจริญที่แสดงต่อผู้มาจากต่างถิ่นนั้น ได้บรรยายไว้ในหน้า 164 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างยิ่งว่าความเจริญหมายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบเทียบระหว่างความเจริญทางวัตถุและทางจิตใจ
...ชาวบ้านแถวนั้น ปีหนึ่งเลี้ยงหมูแค่ 1 ตัว แต่ละปี ก็ฆ่าเพียงตัวเดียวนั้น ฆ่าหมูตัวหนึ่ง ต้องแบ่งให้ประเทศครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเหลือไว้สำหรับตนเองเพื่อไว้กินสำหรับทั้งปี อยากจะกินเนื้อสักมื้อนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าคนในภูเขานั้น ต่างมีความซื่อสัตย์ ไม่ว่าบ้านไหนมีเนื้อกิน ก็เรียกให้เติ้งหนานไปร่วมกินด้วย ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันก็คอยดูแลเอาใจใส่เธอ ชาวบ้านเก็บเกี่ยวตามทุ่งนาก็ให้เติ้งหนาน ไปคอยจดตาชั่ง ทำงานที่เบาที่สุด พวกเขาไม่สนใจว่าใครเป็นพวกนายทุน ใครเป็นลูกหลานที่สั่งสอนได้ อยู่ที่นั่น เติ้งหนานได้เรียนรู้ถึงนิสัยใจคอที่แท้จริงของชาวบ้าน เทียบกับชีวิตในกรุงปักกิ่ง ซึ่งมีแต่เรื่องการเมือง การต่อสู้ทางชนชั้น ชีวิตที่ภูเขาย่อมสบายกว่ากันมาก เพียงแต่มีครั้งหนึ่งไปผ่าฟืน ในเขาใหญ่ หนทางลาดชัน ทั้งยังลื่นด้วย แถมยังแบกฟืนหนักหลาย 10 ชั่ง เผลอลื่นหกล้ม เกือบตกลงไปในเหวลึก
ชาวบ้านแห่งหุบเขาลึกเมืองฮั่นจง จิตใจโอบอ้อมอารีมาก แต่ความเป็นอยู่แสนลำบาก ประเทศจีนใหม่ตั้งมาได้ 20 กว่าปีแล้ว ประชาชนยังอยู่อย่างอดอยาก สมาชิก พคจ. หลั่งเลือดสละชีพ ชิงแผ่นดินได้มา เพื่ออะไรกันล่ะ...
สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ ประเทศจีนสมัยเหมา เจ๋อตุง ก็เหมือนประเทศพัฒนาทั่วๆ ไป แม้จะพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถจะนำความเจริญไปได้อย่างทั่วถึงฉับพลัน คนยากจนก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม ซึ่งปรากฏอยู่ในหน้า 178
...การที่ป๋าเป็นห่วงเป็นใยลูกชายแบบนี้ ทำให้ ผบ.เถาเห็นใจมาก ได้แต่บอกป๋าว่า “ไม่ปิดบังท่านหรอกนะ ที่บ้านฉันมีรายได้แค่เดือนละ 40-50 หยวน มีลูกๆ ถึง 4 คน เจ้าคนหัวปีเพิ่งเรียนชั้นประถม ยังมีคนแก่เฒ่าอยู่ด้วยอีก ฐานะค่อนข้างฝืดเคือง ไหนเลยจะมีปัญญาซื้อเครื่องรับวิทยุมาฟังได้”
ได้ฟังอย่างนี้ ป๋าก็ไม่เซ้าซี้อีก ไม่ใช่เพราะหางานให้ลูกชายทำไม่ได้ แต่เพราะรู้สึกสะเทือนใจกับคำพูดของคนงานสามัญชนอย่างนี้ สถาปนาประเทศสังคมนิยมมาได้มากกว่า 20 ปีแล้ว ครอบครัวของคนงานทั่วไปยังไม่สามารถซื้อวิทยุไปฟังได้สักเครื่อง...
เหตุการณ์ที่หนึ่งคือ “สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม” ซึ่งทั้งสองสงครามนั้นเกิดขึ้นในยุคที่เรียกว่าสงครามเย็น อันเป็นการใช้ภาษาผิด เพราะจริงๆ สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามเป็นสงครามร้อนแรงแม้ไม่ใช่สงครามโลกก็ตาม
เหตุการณ์ที่สองคือ “นโยบายก้าวกระโดด” ในปี ค.ศ.1958 การถลุงเหล็กโดยระดมประชาชนทั้งประเทศทำงานนอกเวลาตอนกลางคืนนั้นกลายเป็นเศษเหล็กจำนวนมหาศาลเนื่องจากขาดความรู้ทางวิทยาการ นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในการผลิตทางเกษตรจนจีนต้องสั่งข้าวสาลีจากแคนาดามาเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนั้นนำไปสู่ผลกระทบทางการเมืองต่อเหมา เจ๋อตุง อย่างรุนแรง และผลสุดท้ายก็เป็นหัวเชื้อที่นำไปสู่การพยายามแก้ไขเหตุการณ์ หรือการดึงอำนาจทางการเมืองกลับมาสู่ในมือโดยการประกาศการปฏิวัติวัฒนธรรมอีก 5-6 ปีต่อมา
เหตุการณ์ที่สามคือ “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เป็นเหตุการณ์ที่ดำเนินไปกว่า 10 ปี ส่งผลกระทบในทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ทางจิตวิทยา อุดมการณ์คอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางจนเสียชีวิตและเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่บทความนี้จะกล่าวถึงในแง่มุมที่คิดว่าสำคัญ
เหตุการณ์ที่สี่คือ “กรณีหลั่งเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989” เป็นการต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์โดยนักศึกษา ซึ่งเชื่อว่าโยงใยกับสหรัฐฯ ไต้หวัน แม้กระทั่งกอร์บาชอฟ และเป็นประวัติศาสตร์การนองเลือดของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้นึกถึงการลุกฮือปฏิวัติในฮังการีปี ค.ศ. 1956 และในเชโกสโลวาเกียในระยะเวลาต่อมา เหตุการณ์สุดท้ายเป็นการเปิดศักราชใหม่ของจีน นั่นคือการประกาศ “นโยบายสี่ทันสมัยและการเปิดประตูประเทศ” จนทำให้จีนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าขนานใหญ่ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
สิ่งที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศจีนในฐานะคณะนักวิชาการจากประเทศไทยชุดแรกที่ได้รับการเชื้อเชิญหลังจากที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว นักวิชาการกลุ่มนี้มี 12 คน นำโดย ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ พวกเราเดินทางถึงกรุงปักกิ่งในตอนดึกของวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1976 (พ.ศ. 2519) ซึ่งในคืนนั้นเองก่อนที่เราจะไปถึงก็เกิดเหตุการณ์ชุลมุนที่จัตุรัสเทียน-อันเหมิน ซึ่งตรงกับวันเฉลิมฉลองเช็งเม้งให้แก่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปไม่นาน พวกเราอยู่ ณ กรุงปักกิ่งจึงได้เห็นการเดินขบวนการต่อต้านลัทธิแก้และผู้เดินตามแนวทุนนิยม อันได้แก่กลุ่มของหลิว เส้าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง และในวันที่ 7 เดือนเดียวกัน เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ถูกถอดจากทุกตำแหน่งยกเว้นตำแหน่งการเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน
แต่จากการวิเคราะห์หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง และการหมดอำนาจของนางเจียง ชิง และพวกอีก 3 คน ที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่ ก็ทราบกันว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นการห้ำหั่นอย่างดุเดือดระหว่างนางเจียง ชิง ซึ่งนิยมความรุนแรงและซ้ายจัด กับกลุ่มของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งต้องการให้ประเทศจีนพัฒนาประเทศให้ทันสมัยโดยไม่ให้น้ำหนักกับอุดมการณ์อย่างบ้าคลั่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ลึกลับ แต่หลังจากการเปิดประตูประเทศแล้วข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ถูกเปิดเผยออกมา หนังสือเรื่อง เติ้ง เสี่ยวผิง: ว่าด้วยการปฏิวัติวัฒนธรรมและเค้าโครงความคิดเศรษฐกิจจีนใหม่ เขียนโดยมาดาม เติ้งหยง ซึ่งเป็นบุตรสาวของเติ้ง เสี่ยวผิง มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายส่วนด้วยกัน และในหลายแง่มุมสามารถจะใช้เป็นบทเรียนเพื่อการเปรียบเทียบและคิดวิเคราะห์กับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศอื่นได้ด้วย
สิ่งซึ่งปฏิเสธไม่ได้จากการศึกษาประวัติของเติ้ง เสี่ยวผิง และผลงานของบุคคลผู้นี้ก็คือความมีจิตใจที่แข็งแกร่ง มีความคิดที่ลึกซึ้ง มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว อดทนอดกลั้น มีความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ ภักดีต่อประเทศชาติอย่างหาตัวจับยาก ที่สำคัญที่สุดเป็นคนไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ แม้จะถูกปลดออก 3 ครั้งก็สามารถกลับมาสู่ตำแหน่งที่ทำประโยชน์ได้อีก เพราะความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนที่ลึกซึ้ง ความจริงจังต่อการทำงาน และการเสียสละทั้งกายและใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม บุคคลผู้ซึ่งร่างเล็กแต่ใจใหญ่ และเป็นที่ทราบว่าเป็นนักบริหารชั้นยอด และมักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้กล่าวคำว่า “แมวขาวและแมวดำไม่สำคัญตราบเท่าที่จับหนูได้” ซึ่งความจริงเป็นการอ้างคำกล่าวของนักวิชาการคนหนึ่ง แต่ความหมายสำคัญคือเป็นคนที่มุ่งเล็งผลปฏิบัติ เนื้อหาในหนังสือเรื่องเติ้ง เสี่ยวผิง ที่จะยกมาให้เห็นเพื่อให้ผู้อ่านคิดวิเคราะห์นั้นเป็นเนื้อหาที่ต้องอ่านอย่างละเอียด แต่สามารถจะตั้งคำถามในใจขึ้นมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาจจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความบ้าคลั่งลัทธิอุดมการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงกันข้ามโดยการอ้างการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือนั้น ได้กล่าวไว้ในหนังสือหน้า 142 ดังนี้
...แค่ 3 ปีเท่านั้น ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงวุ่นวายขนาดนี้ เปลี่ยนแปลงจนคาดไม่ถึง แค่ 3 ปีเท่านั้นก็ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างทางเศรษฐกิจ ที่คนทั้งประเทศลงทุนลงแรงไปด้วยความยากลำบาก แค่ 3 ปีเท่านั้น องค์กรต่างๆ ของพรรค ของรัฐบาลต่างถูกโค่นล้ม พวกเราสมาชิก พคจ. นับสิบๆ ล้านได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อการปฏิวัติไปทำไม พรรคของเรานำประชาชนชิงแผ่นดินมาอย่างยากลำบากเพื่ออะไร พวกเราประชาชนทั่วประเทศ ใช้เวลานานนับ 10 ปีอย่างขยันขันแข็งเพื่อสร้างสรรค์และแสวงหาเพื่ออะไร เพื่อให้ได้สังคมที่บ้าคลั่งไร้ระเบียบอย่างนี้กระนั้นหรือ...
ในส่วนของความเอื้ออาทรของคนที่อยู่ห่างไกลความเจริญที่แสดงต่อผู้มาจากต่างถิ่นนั้น ได้บรรยายไว้ในหน้า 164 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างยิ่งว่าความเจริญหมายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบเทียบระหว่างความเจริญทางวัตถุและทางจิตใจ
...ชาวบ้านแถวนั้น ปีหนึ่งเลี้ยงหมูแค่ 1 ตัว แต่ละปี ก็ฆ่าเพียงตัวเดียวนั้น ฆ่าหมูตัวหนึ่ง ต้องแบ่งให้ประเทศครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเหลือไว้สำหรับตนเองเพื่อไว้กินสำหรับทั้งปี อยากจะกินเนื้อสักมื้อนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าคนในภูเขานั้น ต่างมีความซื่อสัตย์ ไม่ว่าบ้านไหนมีเนื้อกิน ก็เรียกให้เติ้งหนานไปร่วมกินด้วย ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันก็คอยดูแลเอาใจใส่เธอ ชาวบ้านเก็บเกี่ยวตามทุ่งนาก็ให้เติ้งหนาน ไปคอยจดตาชั่ง ทำงานที่เบาที่สุด พวกเขาไม่สนใจว่าใครเป็นพวกนายทุน ใครเป็นลูกหลานที่สั่งสอนได้ อยู่ที่นั่น เติ้งหนานได้เรียนรู้ถึงนิสัยใจคอที่แท้จริงของชาวบ้าน เทียบกับชีวิตในกรุงปักกิ่ง ซึ่งมีแต่เรื่องการเมือง การต่อสู้ทางชนชั้น ชีวิตที่ภูเขาย่อมสบายกว่ากันมาก เพียงแต่มีครั้งหนึ่งไปผ่าฟืน ในเขาใหญ่ หนทางลาดชัน ทั้งยังลื่นด้วย แถมยังแบกฟืนหนักหลาย 10 ชั่ง เผลอลื่นหกล้ม เกือบตกลงไปในเหวลึก
ชาวบ้านแห่งหุบเขาลึกเมืองฮั่นจง จิตใจโอบอ้อมอารีมาก แต่ความเป็นอยู่แสนลำบาก ประเทศจีนใหม่ตั้งมาได้ 20 กว่าปีแล้ว ประชาชนยังอยู่อย่างอดอยาก สมาชิก พคจ. หลั่งเลือดสละชีพ ชิงแผ่นดินได้มา เพื่ออะไรกันล่ะ...
สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ ประเทศจีนสมัยเหมา เจ๋อตุง ก็เหมือนประเทศพัฒนาทั่วๆ ไป แม้จะพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถจะนำความเจริญไปได้อย่างทั่วถึงฉับพลัน คนยากจนก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม ซึ่งปรากฏอยู่ในหน้า 178
...การที่ป๋าเป็นห่วงเป็นใยลูกชายแบบนี้ ทำให้ ผบ.เถาเห็นใจมาก ได้แต่บอกป๋าว่า “ไม่ปิดบังท่านหรอกนะ ที่บ้านฉันมีรายได้แค่เดือนละ 40-50 หยวน มีลูกๆ ถึง 4 คน เจ้าคนหัวปีเพิ่งเรียนชั้นประถม ยังมีคนแก่เฒ่าอยู่ด้วยอีก ฐานะค่อนข้างฝืดเคือง ไหนเลยจะมีปัญญาซื้อเครื่องรับวิทยุมาฟังได้”
ได้ฟังอย่างนี้ ป๋าก็ไม่เซ้าซี้อีก ไม่ใช่เพราะหางานให้ลูกชายทำไม่ได้ แต่เพราะรู้สึกสะเทือนใจกับคำพูดของคนงานสามัญชนอย่างนี้ สถาปนาประเทศสังคมนิยมมาได้มากกว่า 20 ปีแล้ว ครอบครัวของคนงานทั่วไปยังไม่สามารถซื้อวิทยุไปฟังได้สักเครื่อง...