วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เพื่อนคนหนึ่งถามว่า
“Marx มีแนวคิดในเชิงวิวัฒนาการที่เรียกว่า วิวัฒนาการประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ท่านเชื่อว่า สังคมต้องพัฒนาผ่านขั้นตอนที่แน่นอน จากยุคชุมชน มาสู่ยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม และสังคมนิยม และจะก้าวสู่ยุคคอมมิวนิสต์ในที่สุด ทฤษฎีระบบโลกอธิบายวิวัฒนาการประวัติศาสตร์อย่างไร และแตกต่างจากทฤษฎี Marx อย่างไร”
ผมตอบว่า
นักทฤษฎีระบบโลกมีหลายท่านมาก แต่ละท่านจะมีความเห็นต่อเรื่องนี้แตกต่างกัน ผมจึงขออธิบายจากความเข้าใจเรื่องนี้ จากแนวคิดของผมเองเป็นหลัก
ชาวลัทธิ Marx จำนวนหนึ่ง อย่างเช่น ฝ่ายซ้ายไทยสมัยก่อนจะกล่าวว่า แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการประวัติศาสตร์นี้คือ กฎแห่งประวัติศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
วันนี้ผมคิดว่า ความเชื่อว่า “หลีกเลี่ยงไม่ได้” ที่เป็นวิทยาศาสตร์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์เริ่มสั่นคลอนมากแล้ว เพราะประเทศสังคมนิยมหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนเส้นทางสู่เศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม
ชาวทฤษฎีระบบโลกจะอธิบายเรื่องการวิวัฒนาการต่างจากชาวลัทธิ Marx หลายประการ
ประการแรก เราไม่เชื่อเรื่อง กฎประวัติศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเคลื่อนตัวของประวัติศาสตร์ไม่ได้เคลื่อนแบบวิวัฒน์ไปข้างหน้าอย่างเดียว ประวัติศาสตร์มีพลวัตที่ซับซ้อน และมีเส้นทางที่หลากหลาย
ตัวอย่างเช่น
ชาวระบบโลก จะเรียกยุคนี้ว่า ยุคระบบเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่ยุคทุนนิยมอย่างที่พวก Marxists เรียก ในยุคเศรษฐกิจโลกนี้สามารถแบ่งแยกได้เป็น 3 แบบ แบบแรกคือ ทุนนิยม แบบที่สองคือ สังคมนิยม อีกแบบหนึ่งคือ สังคมประชาธิปไตย หรือกล่าวได้ว่า ทั้งระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยม และระบบสังคมประชาธิปไตย มีชีวิตอยู่ในยุคประวัติศาสตร์เดียวกัน
ระบบโลกกำลังก้าวผ่านยุคเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ยุควิกฤตใหญ่ ดังนั้น ทั้งระบบทุนนิยม และสังคมนิยม รวมทั้งสังคมประชาธิปไตย จึงต้องล่มสลายลงไปในเวลาใกล้เคียงกัน
นี่หมายความว่า แนวคิดระบบโลก กับ แนวคิด Marx มีวิถีในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สำหรับชาวลัทธิ Marx ในยุคๆ หนึ่ง ระบบเศรษฐกิจสังคมจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับผม ยุคๆ หนึ่งนั้น ระบบสังคมจะมีความแตกต่างกัน หรือมีได้หลายแบบ
หรือกล่าวแบบปรัชญาเต๋า ในยุคหนึ่งๆ นั้น มักจะมี 3 ด้านเสมอ มีด้านที่เป็นหยาง กับด้านที่เป็นหยิน และด้านที่ผสมกันระหว่างหยางกับหยิน
อย่างเช่น ในยุคชุมชนโบราณ ชาว Marx จะเชื่อกันโดยทั่วๆ ไปว่า ชุมชนโบราณ มีแบบเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดียวเท่านั้น
ผมคิดว่า ชุมชนโบราณ มีวิถีเศรษฐกิจวัฒนธรรมอย่างน้อย 3 แบบ
แบบแรก คือ ชุมชนลุ่มน้ำ ซึ่งมีพื้นที่ป่าเขาที่อุดมทางธรรมชาติ ชุมชนแบบนี้มีวัฒนธรรมแบบหยิน กล่าวคือ รักธรรมชาติ เอื้ออาทรต่อกัน ชอบความสงบ และบางชุมชนผู้หญิงเป็นใหญ่
แบบที่สอง คือ ชนเผ่าร่อนเร่ ที่มักอยู่ในเขตหนาว หรือเขตทะเลทราย ชนเผ่าเร่ร่อนจะมีฐานวัฒนธรรมเป็นแบบหยาง ซึ่งเชื่อเรื่องการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติ เชื่อเรื่องสงคราม และการปล้นชิง และชนเผ่าเหล่านี้มีผู้ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมแบบนี้คือที่มาของวัฒนธรรมตะวันตก
แบบที่สาม คือ มีทั้งหยางและหยินผสมกัน อย่างเช่น ชุมชนชาวจีนซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก มีทั้งเขตที่อุดมสมบูรณ์ และเขตที่แห้งแล้งผสมประสานกัน จึงมีวัฒนธรรมทั้งแบบหยาง และหยินผสมประสานกัน
ด้านหยางของวัฒนธรรมจีน คือ ความเชื่อเรื่องรัฐ หรือการปกครอง และการจัดระบบครอบครัว และชุมชนแบบเข้มงวด รวมทั้งความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่ ด้านความเป็นหยิน คือ ความเชื่อสายเต๋าในเรื่อง สันติภาพ การมีชีวิตที่เรียบง่าย และรักธรรมชาติ
หลังจากยุคชุมชนโบราณ ระบบโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคจักรวรรดิการเมือง โดยเริ่มจากยุคเมืองขนาดใหญ่ หรือนครรัฐก่อน แล้วพัฒนาไปสู่การเกิดจักรวรรดิการเมืองขนาดใหญ่
ทฤษฎีระบบโลกไม่มียุคศักดินาอย่างของลัทธิ Marx เพราะทฤษฎีระบบโลกถือว่ายุคศักดินาก็คือ ช่วงกำเนิดเมือง หรือนครรัฐนั่นเอง นครรัฐถือว่าเป็นฐานการเมืองก่อนเกิดยุคจักรวรรดิการเมืองขนาดใหญ่
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า นอกจากแต่ละยุคจะมีหน้าตาที่ต่างกันแล้ว ยังมีขั้นตอนในการพัฒนาการหลายขั้นตอน
นครรัฐแบบเอเชีย อย่างเช่นของไทย ก็มีหน้าตาต่างจากแบบยุโรป ลองอ่านศิลาจารึก เราจะพบว่า นครรัฐแบบไทยเป็นแบบหยิน ที่ค่อนข้างให้อิสระแก่ชาวเมือง ดังมีคำกล่าวว่า ใครค้าช้าง ค้า ใครค้าม้า ค้า
นครรัฐแบบในยุโรป จะเป็นนครรัฐทหาร มีระบบการปกครองที่เข้มแข็งรวมศูนย์ มีกฎหมายรัดกุมยิ่ง มีการยึดครองที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของบรรดาเจ้านาย จนเป็นที่มาของการขูดรีดผ่านการถือครองที่ดินที่เรียกว่า ระบบศักดินา
นครรัฐแบบตะวันออก อย่างเช่นของไทย ระบบถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ชัดเจน ยังไม่เกิดขึ้น ราวกับว่าใครเพาะปลูกอะไร ที่ไหน คนคนนั้นก็เป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนั้น
แม้ในยุคจักรวรรดิการเมือง อย่างเช่น จักรวรรดิอยุธยา ฃที่ดินทั้งหมดอาจถูกถือในทางทฤษฎีว่าเป็นของพระจ้าแผ่นดิน แต่โดยประเพณีปฏิบัติ บรรดาที่ดินเหล่านี้จะถูกครองโดยประชาชน ดังนั้น การขูดรีดหลักจึงไม่ได้มาจากค่าเช่าที่ดิน แต่มักจะผ่านระบบการเก็บภาษี และระบบการเกณฑ์แรงงานเป็นสำคัญ
ในกรณีของยุโรป เมื่อจักรวรรดิโรมัน (แบบทาส) พังทลายลง ยุคเมือง หรือนครรัฐ (แบบเก่า) หรือที่เรียกว่า ระบอบศักดินา ได้กลับมามีอิทธิเหนือชีวิตผู้คนยุโรป
การอธิบายแบบนี้ ถือว่าเป็นการตั้งคำถามต่อความเชื่อว่า โลกต้องวิวัฒน์ไปข้างหน้าเท่านั้น ชาว ทฤษฎีระบบโลกเชื่อว่า ระบบสามารถเคลื่อนตัวแบบพลิกผันไปมาได้
ในกรณีของระบอบจักรวรรดิในโลกตะวันออก รัฐจักรวรรดิเหล่านี้มีความยั่งยืนกว่ารัฐโรมันแบบทาส เนื่องจากระบอบรัฐในประเทศเหล่านี้นำเอาความเชื่อทางศาสนา อย่างเช่น พุทธ และ เต๋า มาใช้เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมประชาชนกับชนชั้นนำเข้าด้วยกัน
ยกตัวเอย่างเช่น
รัฐจักรวรรดิอยุธยาของไทยในอดีต สงครามทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นนำ (เจ้านาย) และประชาชน (ไพร่ และข้าทาส) มีน้อยมาก และที่สำคัญ เราพบว่าความสัมพันธ์ทางชนชั้นระหว่างคนต่างชนชั้นกันจะมีลักษณะที่ “พึ่งพา”และขึ้นต่อกัน มากกว่าจะปะทะกัน
หมายความว่า รัฐจักรวรรดิของจีนและของไทยไม่ได้ล่มสลายเหมือนกับรัฐจักรวรรดิโรมัน (แบบทาส) สังคมไทยจึงไม่ได้พลิกกลับไปสู่ยุคนครรัฐ หรือยุคศักดินาแบบยุโรป
จะมีปรากฏการณ์ ที่คล้ายกับการพลิกกลับบ้าง อย่างเช่น ช่วงเสียกรุง (แก่พม่า) แต่ก็ช่วงสั้นๆ เท่านั้น
นี่หมายความว่า ระบบรัฐจักรวรรดิ ก็มีหลายแบบ บางรัฐก็เป็นรัฐทาสแบบหยาง อย่างเช่น จักรวรรดิโรมัน รัฐแบบนี้จะกดขี่ทางชนชั้นอย่างหนัก และมีชีวิตอยู่กับการทำสงครามไล่ล่าอาณานิคม
บางรัฐก็เป็นรัฐจักรวรรดิแบบหยิน หรือรัฐจักรวรรดิศาสนา อย่างเช่นรัฐจักรวรรดิสุโขทัย รัฐล้านนา และรัฐอยุธยา
รัฐจีนโบราณ ก็เป็นรัฐจักรวรรดิเช่นกัน มีทั้งวัฒนธรรมหยิน และหยางผสมกัน ไม่ได้เป็นรัฐที่ก่อสงครามไล่ล่าอาณานิคมอย่างเดียวกับรัฐทาสโรมัน มีเพียงยุคเดียวเท่านั้นที่รัฐจักรวรรดิจีนขยายอำนาจไปทั่วโลก นั่นคือ ยุคที่ชนเผ่าเร่ร่อนตอนเหนือ หรือพวกมองโกล (วัฒนธรรมแบบหยาง) ขึ้นครองอำนาจเหนือแผ่นดินจีน
ในเมื่อ รัฐจักรวรรดิแบบเอเชียมีชีวิตที่ยั่งยืนกว่ารัฐโรมัน ส่งผลทำให้รัฐจักรวรรดิแบบนี้ สามารถมีชีวิตที่ต่อเนื่อง และยาวมาก (บางช่วงอาจจะล้มลง แต่จะพลิกกลับมาอีกได้) จนในที่สุด บรรดารัฐเหล่านี้มีชีวิตถึงยุคระบบเศรษฐกิจโลก (ทุนนิยม และสังคมนิยม) และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก
หลังยุคจักรวรรดิการเมือง มนุษยชาติก็ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจโลก ยุโรปซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมจากโรมัน และมีฐานวัฒนธรรมแบบหยาง (สงคราม และการปล้นชิง) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก
ระบบโลกนอกจากจะมีหน้าตาที่หลากหลายดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีขั้นตอนการวิวัฒน์หลายขั้นตอน
ขั้นตอนแรก คือ ขั้นตอนตัวอ่อน เริ่มจากกำเนิดรัฐพาณิชย์ และการขยายตัวของการค้า และวัฒนธรรมการค้า ตามด้วยก่อตัวเป็นระบบเศรษฐกิจโลก โดยมีศูนย์ที่ยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึง 18
ขั้นตอนที่สองคือ ช่วงเติบใหญ่ นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 หลังสงครามโลก ในช่วงนี้ระบบโลกแตกตัวเป็น 2 ค่ายใหญ่ คือ ค่ายทุนนิยม และค่ายสังคมนิยม
ขั้นตอนที่สาม คือ ช่วงวิกฤตใหญ่ หรือช่วงหลังยุคอุตสาหกรรม บางทีเรียกว่า ช่วงโลกาภิวัตน์
พอคุยมาถึงตรงนี้
เพื่อนคนหนึ่งถามว่า
“อะไรคือ พลังในการเปลี่ยนยุคสมัยประวัติศาสตร์”
ผมตอบว่า
แนวคิดแบบ Marx จะกล่าวว่า พลังที่ผลักดันประวัติศาสตร์ คือการปฏิวัติการผลิต แนวคิดของชาวระบบโลก จะเน้นที่การปฏิวัติการสื่อสาร และวัฒนธรรม (รวมทั้งภูมิปัญญา)
ปฏิวัติในความหมายของทฤษฎีระบบโลกคือ การปฏิวัติในเรื่อง พื้นที่ (Space) เมื่อขนาดพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ยุคสมัย หรือเวลา (Time) ก็จะเปลี่ยนไปด้วย
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้หลักมิติที่สี่ ของไอน์สไตน์ เป็นฐานในการอธิบายการแปรเปลี่ยน
พลังที่มีบทบาททำให้ขนาดพื้นที่ และยุคสมัยเปลี่ยนไป เป็นเรื่องของการปฏิวัติทางด้านสื่อสาร วัฒนธรรม รวมทั้งการปฏิวัติด้านอาวุธเป็นสำคัญ
ตัวอย่างเช่น
ย้อนไปยุคกำเนิดรัฐจักรวรรดิอินเดีย ในช่วงประวัติศาสตร์นี้ ชาวอารยันผู้รุกรานอินเดีย ได้ค้นพบการเดินทางด้วยล้อรถที่ใช้ม้าลากรถ ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสาร และการเดินทาง นอกจากนี้ ชาวอารยันยังค้นพบอาวุธที่สำคัญ นั่นคือ ธนู ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธที่สำคัญ ใช้ในการรุกราน และสุดท้าย ชาวอารยันยังมีความเชื่อทางศาสนาซึ่งสามารถผนึกชาวอารยันให้รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน นี่คือที่มาของลัทธิฮินดู
หลังจากก่อสงครามรุกราน ชาวอารยันได้สร้างรัฐจักรวรรดิขึ้น นี่คือจุดเริ่มของการปฏิวัติทางการเมือง ตามด้วยการปฏิวัติพลังการผลิต และตามด้วยการจัดวางความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่เป็นระบบขึ้น
มองในแง่นี้ การปฏิวัติทางการผลิตเป็นผลที่ต่อเนื่องจากการปฏิวัติทางด้านการสื่อสาร และวัฒนธรรม รวมทั้งการปฏิวัติด้านอาวุธ และระบบกองทัพ
ในยุคกำเนิดระบบเศรษฐกิจโลกก็ไม่ต่างกัน การปฏิวัติการผลิต หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็เกิดขึ้นทีหลัง หลังการปฏิวัติทางการสื่อสาร (การสร้างเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่) การปฏิวัติอาวุธสงคราม (ปืน) และการปฏิวัติความคิดที่ปัจจุบันเรียกว่า วิทยาศาสตร์
มองในอีกแง่หนึ่ง ฐานะทางชนชั้น ไม่ได้เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติทางการผลิตอย่างที่ทฤษฎีแบบซ้ายเก่าๆ เข้าใจเท่านั้น แต่เป็นผลผลิตจากการสร้างรัฐ และเป็นผลผลิตของความเชื่อทางวัฒนธรรมด้วย
ในกรณีของรัฐจักรวรรดิอยุธยา ชนชั้นปกครองของไทยโบราณไม่ได้อาศัยการถือครอง หรือกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน และไม่ได้ใช้อำนาจเหนือที่ดินควบคุมไพร่ หรือทาส แต่อาศัยอำนาจในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ (เจ้านาย) ในการควบคุมดูแลไพร่ และข้าทาส
ไพร่ในสังคมไทยสามารถเปลี่ยนฐานะทางชนชั้นได้ แต่ไม่ใช่ด้วยการเข้าถือครองที่ดิน แต่ทำได้ด้วยการเข้าไปเป็นทหาร หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือกล่าวแบบสรุปคือ ทฤษฎีระบบโลกเชื่อว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปด้วยการปฏิวัติหลายๆ อย่าง ที่สืบทอดกันเป็นลูกโซ่ ไม่ใช่การปฏิวัติทางการผลิตเท่านั้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านยุคสมัยประวัติศาสตร์ ก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่มาจากการต่อสู้ หรือสงครามทางชนชั้นเท่านั้น
สงคราม และการเผชิญหน้าทางชนชั้น (ภายในประเทศ) ที่ผ่านมามักจะทำหน้าที่ในการปรับดุลยภาพ หรืออำนาจภายในระบบมากกว่าทำหน้าที่ในการทำลายล้างระบบ
ระบบจักรวรรดิสมัยโบราณ ก้าวสู่หายนะได้ มักจะเกิดจากการเสียดุลยภาพทั้งภายในและภายนอก ในเวลาเดียวกัน
อย่างเช่น จักรวรรดิโรมัน ไม่สามารถปรับดุลยภาพ หรือสร้างดุลยภาพระหว่างชนชั้นเจ้ากับทาสได้ และไม่สามารถปรับดุลยภาพกับอำนาจภายนอก อย่างเช่น การปกครองอาณานิคมอย่างป่าเถื่อน จึงนำสู่การก่อกบฏของประเทศราช
นอกจากนี้ เราพบว่า รัฐจักรวรรดิโบราณบางรัฐล่มสลายลง เพราะไม่สามารถปรับดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น อาณาจักรอินคา และอาณาจักรขอม เป็นต้น
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นว่า
“ฟังๆ ดู คุณยุค กำลังใช้ปรัชญาเต๋าเรื่องดุลยภาพ และการปรับดุลมาใช้ เป็นหลักในการอธิบายโลก”
ผมตอบว่า
“ถูกต้อง” ยิ้มและกล่าวต่อว่า
“ปัจจุบัน ผมใช้ศาสตร์โบราณแบบตะวันออก จำนวนหนึ่งมาใช้ในการอธิบายระบบโลก หรือ สร้างทฤษฎี อธิบายโลกแบบของผมเอง”
ความจริง ผมใช้ทั้งหลักเต๋า และพุทธ ประสานกับแนวคิดฟิสิกส์ใหม่
เพื่อนถามว่า
“ผมฟังมาตลอด ผมเริ่มรู้สึกว่า จะเข้าใจโลกได้ ต้องเริ่มศึกษาโลกทางความคิด และปรัชญาใหม่หมดเลย”
์
เพื่อนกล่าวต่อว่า
“ผมเริ่มสงสัยว่า คุณยุคคิดแบบวัตถุนิยมแบบ Marx ที่ว่า วัตถุกำหนดจิตหรือเปล่า หรือว่า คิดแบบจิตนิยม ผมเคยอ่านงานของวิถีทรรศน์เล่มหนึ่งเขียนโดย คุณหมอประสาน ต่างใจ ชื่อเรื่อง จิตสูงสุด
คุณยุคคิดว่า จิตสูงสุดหรือเปล่า”
ผมตอบว่า
ผมกับหมอประสาน มีทั้งเหมือนกัน และต่างกัน แต่ที่ต่างกันมากคือ การใช้ภาษาอธิบายเรื่องต่างๆ มักจะต่างกัน อาจเนื่องมาจากผมเป็นนักสังคมศาสตร์ คุณหมอเป็นนักวิทยาศาสตร์
อย่างเช่น ท่านเรียกทั้งหมด หรือทั้งเอกภพว่า จิตจักรวาล
ผมเป็นชาวเต๋า ผมจะกล่าวว่า ผมไม่รู้ว่าเป็นอะไร จะเรียกชื่อว่าเป็นอะไรก็ไม่ได้ เพราะเอกภพ หรือทั้งหมด มีความซับซ้อนมาก และมีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย และมีรูปแบบอย่างเป็นอนันต์
จะบอกว่าเป็นอะไร อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ผิดทั้งนั้น (ยังมีต่อ)
เพื่อนคนหนึ่งถามว่า
“Marx มีแนวคิดในเชิงวิวัฒนาการที่เรียกว่า วิวัฒนาการประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ท่านเชื่อว่า สังคมต้องพัฒนาผ่านขั้นตอนที่แน่นอน จากยุคชุมชน มาสู่ยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม และสังคมนิยม และจะก้าวสู่ยุคคอมมิวนิสต์ในที่สุด ทฤษฎีระบบโลกอธิบายวิวัฒนาการประวัติศาสตร์อย่างไร และแตกต่างจากทฤษฎี Marx อย่างไร”
ผมตอบว่า
นักทฤษฎีระบบโลกมีหลายท่านมาก แต่ละท่านจะมีความเห็นต่อเรื่องนี้แตกต่างกัน ผมจึงขออธิบายจากความเข้าใจเรื่องนี้ จากแนวคิดของผมเองเป็นหลัก
ชาวลัทธิ Marx จำนวนหนึ่ง อย่างเช่น ฝ่ายซ้ายไทยสมัยก่อนจะกล่าวว่า แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการประวัติศาสตร์นี้คือ กฎแห่งประวัติศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
วันนี้ผมคิดว่า ความเชื่อว่า “หลีกเลี่ยงไม่ได้” ที่เป็นวิทยาศาสตร์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์เริ่มสั่นคลอนมากแล้ว เพราะประเทศสังคมนิยมหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนเส้นทางสู่เศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม
ชาวทฤษฎีระบบโลกจะอธิบายเรื่องการวิวัฒนาการต่างจากชาวลัทธิ Marx หลายประการ
ประการแรก เราไม่เชื่อเรื่อง กฎประวัติศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเคลื่อนตัวของประวัติศาสตร์ไม่ได้เคลื่อนแบบวิวัฒน์ไปข้างหน้าอย่างเดียว ประวัติศาสตร์มีพลวัตที่ซับซ้อน และมีเส้นทางที่หลากหลาย
ตัวอย่างเช่น
ชาวระบบโลก จะเรียกยุคนี้ว่า ยุคระบบเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่ยุคทุนนิยมอย่างที่พวก Marxists เรียก ในยุคเศรษฐกิจโลกนี้สามารถแบ่งแยกได้เป็น 3 แบบ แบบแรกคือ ทุนนิยม แบบที่สองคือ สังคมนิยม อีกแบบหนึ่งคือ สังคมประชาธิปไตย หรือกล่าวได้ว่า ทั้งระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยม และระบบสังคมประชาธิปไตย มีชีวิตอยู่ในยุคประวัติศาสตร์เดียวกัน
ระบบโลกกำลังก้าวผ่านยุคเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ยุควิกฤตใหญ่ ดังนั้น ทั้งระบบทุนนิยม และสังคมนิยม รวมทั้งสังคมประชาธิปไตย จึงต้องล่มสลายลงไปในเวลาใกล้เคียงกัน
นี่หมายความว่า แนวคิดระบบโลก กับ แนวคิด Marx มีวิถีในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สำหรับชาวลัทธิ Marx ในยุคๆ หนึ่ง ระบบเศรษฐกิจสังคมจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับผม ยุคๆ หนึ่งนั้น ระบบสังคมจะมีความแตกต่างกัน หรือมีได้หลายแบบ
หรือกล่าวแบบปรัชญาเต๋า ในยุคหนึ่งๆ นั้น มักจะมี 3 ด้านเสมอ มีด้านที่เป็นหยาง กับด้านที่เป็นหยิน และด้านที่ผสมกันระหว่างหยางกับหยิน
อย่างเช่น ในยุคชุมชนโบราณ ชาว Marx จะเชื่อกันโดยทั่วๆ ไปว่า ชุมชนโบราณ มีแบบเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดียวเท่านั้น
ผมคิดว่า ชุมชนโบราณ มีวิถีเศรษฐกิจวัฒนธรรมอย่างน้อย 3 แบบ
แบบแรก คือ ชุมชนลุ่มน้ำ ซึ่งมีพื้นที่ป่าเขาที่อุดมทางธรรมชาติ ชุมชนแบบนี้มีวัฒนธรรมแบบหยิน กล่าวคือ รักธรรมชาติ เอื้ออาทรต่อกัน ชอบความสงบ และบางชุมชนผู้หญิงเป็นใหญ่
แบบที่สอง คือ ชนเผ่าร่อนเร่ ที่มักอยู่ในเขตหนาว หรือเขตทะเลทราย ชนเผ่าเร่ร่อนจะมีฐานวัฒนธรรมเป็นแบบหยาง ซึ่งเชื่อเรื่องการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติ เชื่อเรื่องสงคราม และการปล้นชิง และชนเผ่าเหล่านี้มีผู้ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมแบบนี้คือที่มาของวัฒนธรรมตะวันตก
แบบที่สาม คือ มีทั้งหยางและหยินผสมกัน อย่างเช่น ชุมชนชาวจีนซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก มีทั้งเขตที่อุดมสมบูรณ์ และเขตที่แห้งแล้งผสมประสานกัน จึงมีวัฒนธรรมทั้งแบบหยาง และหยินผสมประสานกัน
ด้านหยางของวัฒนธรรมจีน คือ ความเชื่อเรื่องรัฐ หรือการปกครอง และการจัดระบบครอบครัว และชุมชนแบบเข้มงวด รวมทั้งความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่ ด้านความเป็นหยิน คือ ความเชื่อสายเต๋าในเรื่อง สันติภาพ การมีชีวิตที่เรียบง่าย และรักธรรมชาติ
หลังจากยุคชุมชนโบราณ ระบบโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคจักรวรรดิการเมือง โดยเริ่มจากยุคเมืองขนาดใหญ่ หรือนครรัฐก่อน แล้วพัฒนาไปสู่การเกิดจักรวรรดิการเมืองขนาดใหญ่
ทฤษฎีระบบโลกไม่มียุคศักดินาอย่างของลัทธิ Marx เพราะทฤษฎีระบบโลกถือว่ายุคศักดินาก็คือ ช่วงกำเนิดเมือง หรือนครรัฐนั่นเอง นครรัฐถือว่าเป็นฐานการเมืองก่อนเกิดยุคจักรวรรดิการเมืองขนาดใหญ่
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า นอกจากแต่ละยุคจะมีหน้าตาที่ต่างกันแล้ว ยังมีขั้นตอนในการพัฒนาการหลายขั้นตอน
นครรัฐแบบเอเชีย อย่างเช่นของไทย ก็มีหน้าตาต่างจากแบบยุโรป ลองอ่านศิลาจารึก เราจะพบว่า นครรัฐแบบไทยเป็นแบบหยิน ที่ค่อนข้างให้อิสระแก่ชาวเมือง ดังมีคำกล่าวว่า ใครค้าช้าง ค้า ใครค้าม้า ค้า
นครรัฐแบบในยุโรป จะเป็นนครรัฐทหาร มีระบบการปกครองที่เข้มแข็งรวมศูนย์ มีกฎหมายรัดกุมยิ่ง มีการยึดครองที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของบรรดาเจ้านาย จนเป็นที่มาของการขูดรีดผ่านการถือครองที่ดินที่เรียกว่า ระบบศักดินา
นครรัฐแบบตะวันออก อย่างเช่นของไทย ระบบถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ชัดเจน ยังไม่เกิดขึ้น ราวกับว่าใครเพาะปลูกอะไร ที่ไหน คนคนนั้นก็เป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนั้น
แม้ในยุคจักรวรรดิการเมือง อย่างเช่น จักรวรรดิอยุธยา ฃที่ดินทั้งหมดอาจถูกถือในทางทฤษฎีว่าเป็นของพระจ้าแผ่นดิน แต่โดยประเพณีปฏิบัติ บรรดาที่ดินเหล่านี้จะถูกครองโดยประชาชน ดังนั้น การขูดรีดหลักจึงไม่ได้มาจากค่าเช่าที่ดิน แต่มักจะผ่านระบบการเก็บภาษี และระบบการเกณฑ์แรงงานเป็นสำคัญ
ในกรณีของยุโรป เมื่อจักรวรรดิโรมัน (แบบทาส) พังทลายลง ยุคเมือง หรือนครรัฐ (แบบเก่า) หรือที่เรียกว่า ระบอบศักดินา ได้กลับมามีอิทธิเหนือชีวิตผู้คนยุโรป
การอธิบายแบบนี้ ถือว่าเป็นการตั้งคำถามต่อความเชื่อว่า โลกต้องวิวัฒน์ไปข้างหน้าเท่านั้น ชาว ทฤษฎีระบบโลกเชื่อว่า ระบบสามารถเคลื่อนตัวแบบพลิกผันไปมาได้
ในกรณีของระบอบจักรวรรดิในโลกตะวันออก รัฐจักรวรรดิเหล่านี้มีความยั่งยืนกว่ารัฐโรมันแบบทาส เนื่องจากระบอบรัฐในประเทศเหล่านี้นำเอาความเชื่อทางศาสนา อย่างเช่น พุทธ และ เต๋า มาใช้เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมประชาชนกับชนชั้นนำเข้าด้วยกัน
ยกตัวเอย่างเช่น
รัฐจักรวรรดิอยุธยาของไทยในอดีต สงครามทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นนำ (เจ้านาย) และประชาชน (ไพร่ และข้าทาส) มีน้อยมาก และที่สำคัญ เราพบว่าความสัมพันธ์ทางชนชั้นระหว่างคนต่างชนชั้นกันจะมีลักษณะที่ “พึ่งพา”และขึ้นต่อกัน มากกว่าจะปะทะกัน
หมายความว่า รัฐจักรวรรดิของจีนและของไทยไม่ได้ล่มสลายเหมือนกับรัฐจักรวรรดิโรมัน (แบบทาส) สังคมไทยจึงไม่ได้พลิกกลับไปสู่ยุคนครรัฐ หรือยุคศักดินาแบบยุโรป
จะมีปรากฏการณ์ ที่คล้ายกับการพลิกกลับบ้าง อย่างเช่น ช่วงเสียกรุง (แก่พม่า) แต่ก็ช่วงสั้นๆ เท่านั้น
นี่หมายความว่า ระบบรัฐจักรวรรดิ ก็มีหลายแบบ บางรัฐก็เป็นรัฐทาสแบบหยาง อย่างเช่น จักรวรรดิโรมัน รัฐแบบนี้จะกดขี่ทางชนชั้นอย่างหนัก และมีชีวิตอยู่กับการทำสงครามไล่ล่าอาณานิคม
บางรัฐก็เป็นรัฐจักรวรรดิแบบหยิน หรือรัฐจักรวรรดิศาสนา อย่างเช่นรัฐจักรวรรดิสุโขทัย รัฐล้านนา และรัฐอยุธยา
รัฐจีนโบราณ ก็เป็นรัฐจักรวรรดิเช่นกัน มีทั้งวัฒนธรรมหยิน และหยางผสมกัน ไม่ได้เป็นรัฐที่ก่อสงครามไล่ล่าอาณานิคมอย่างเดียวกับรัฐทาสโรมัน มีเพียงยุคเดียวเท่านั้นที่รัฐจักรวรรดิจีนขยายอำนาจไปทั่วโลก นั่นคือ ยุคที่ชนเผ่าเร่ร่อนตอนเหนือ หรือพวกมองโกล (วัฒนธรรมแบบหยาง) ขึ้นครองอำนาจเหนือแผ่นดินจีน
ในเมื่อ รัฐจักรวรรดิแบบเอเชียมีชีวิตที่ยั่งยืนกว่ารัฐโรมัน ส่งผลทำให้รัฐจักรวรรดิแบบนี้ สามารถมีชีวิตที่ต่อเนื่อง และยาวมาก (บางช่วงอาจจะล้มลง แต่จะพลิกกลับมาอีกได้) จนในที่สุด บรรดารัฐเหล่านี้มีชีวิตถึงยุคระบบเศรษฐกิจโลก (ทุนนิยม และสังคมนิยม) และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก
หลังยุคจักรวรรดิการเมือง มนุษยชาติก็ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจโลก ยุโรปซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมจากโรมัน และมีฐานวัฒนธรรมแบบหยาง (สงคราม และการปล้นชิง) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก
ระบบโลกนอกจากจะมีหน้าตาที่หลากหลายดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีขั้นตอนการวิวัฒน์หลายขั้นตอน
ขั้นตอนแรก คือ ขั้นตอนตัวอ่อน เริ่มจากกำเนิดรัฐพาณิชย์ และการขยายตัวของการค้า และวัฒนธรรมการค้า ตามด้วยก่อตัวเป็นระบบเศรษฐกิจโลก โดยมีศูนย์ที่ยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึง 18
ขั้นตอนที่สองคือ ช่วงเติบใหญ่ นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 หลังสงครามโลก ในช่วงนี้ระบบโลกแตกตัวเป็น 2 ค่ายใหญ่ คือ ค่ายทุนนิยม และค่ายสังคมนิยม
ขั้นตอนที่สาม คือ ช่วงวิกฤตใหญ่ หรือช่วงหลังยุคอุตสาหกรรม บางทีเรียกว่า ช่วงโลกาภิวัตน์
พอคุยมาถึงตรงนี้
เพื่อนคนหนึ่งถามว่า
“อะไรคือ พลังในการเปลี่ยนยุคสมัยประวัติศาสตร์”
ผมตอบว่า
แนวคิดแบบ Marx จะกล่าวว่า พลังที่ผลักดันประวัติศาสตร์ คือการปฏิวัติการผลิต แนวคิดของชาวระบบโลก จะเน้นที่การปฏิวัติการสื่อสาร และวัฒนธรรม (รวมทั้งภูมิปัญญา)
ปฏิวัติในความหมายของทฤษฎีระบบโลกคือ การปฏิวัติในเรื่อง พื้นที่ (Space) เมื่อขนาดพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ยุคสมัย หรือเวลา (Time) ก็จะเปลี่ยนไปด้วย
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้หลักมิติที่สี่ ของไอน์สไตน์ เป็นฐานในการอธิบายการแปรเปลี่ยน
พลังที่มีบทบาททำให้ขนาดพื้นที่ และยุคสมัยเปลี่ยนไป เป็นเรื่องของการปฏิวัติทางด้านสื่อสาร วัฒนธรรม รวมทั้งการปฏิวัติด้านอาวุธเป็นสำคัญ
ตัวอย่างเช่น
ย้อนไปยุคกำเนิดรัฐจักรวรรดิอินเดีย ในช่วงประวัติศาสตร์นี้ ชาวอารยันผู้รุกรานอินเดีย ได้ค้นพบการเดินทางด้วยล้อรถที่ใช้ม้าลากรถ ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสาร และการเดินทาง นอกจากนี้ ชาวอารยันยังค้นพบอาวุธที่สำคัญ นั่นคือ ธนู ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธที่สำคัญ ใช้ในการรุกราน และสุดท้าย ชาวอารยันยังมีความเชื่อทางศาสนาซึ่งสามารถผนึกชาวอารยันให้รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน นี่คือที่มาของลัทธิฮินดู
หลังจากก่อสงครามรุกราน ชาวอารยันได้สร้างรัฐจักรวรรดิขึ้น นี่คือจุดเริ่มของการปฏิวัติทางการเมือง ตามด้วยการปฏิวัติพลังการผลิต และตามด้วยการจัดวางความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่เป็นระบบขึ้น
มองในแง่นี้ การปฏิวัติทางการผลิตเป็นผลที่ต่อเนื่องจากการปฏิวัติทางด้านการสื่อสาร และวัฒนธรรม รวมทั้งการปฏิวัติด้านอาวุธ และระบบกองทัพ
ในยุคกำเนิดระบบเศรษฐกิจโลกก็ไม่ต่างกัน การปฏิวัติการผลิต หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็เกิดขึ้นทีหลัง หลังการปฏิวัติทางการสื่อสาร (การสร้างเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่) การปฏิวัติอาวุธสงคราม (ปืน) และการปฏิวัติความคิดที่ปัจจุบันเรียกว่า วิทยาศาสตร์
มองในอีกแง่หนึ่ง ฐานะทางชนชั้น ไม่ได้เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติทางการผลิตอย่างที่ทฤษฎีแบบซ้ายเก่าๆ เข้าใจเท่านั้น แต่เป็นผลผลิตจากการสร้างรัฐ และเป็นผลผลิตของความเชื่อทางวัฒนธรรมด้วย
ในกรณีของรัฐจักรวรรดิอยุธยา ชนชั้นปกครองของไทยโบราณไม่ได้อาศัยการถือครอง หรือกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน และไม่ได้ใช้อำนาจเหนือที่ดินควบคุมไพร่ หรือทาส แต่อาศัยอำนาจในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ (เจ้านาย) ในการควบคุมดูแลไพร่ และข้าทาส
ไพร่ในสังคมไทยสามารถเปลี่ยนฐานะทางชนชั้นได้ แต่ไม่ใช่ด้วยการเข้าถือครองที่ดิน แต่ทำได้ด้วยการเข้าไปเป็นทหาร หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือกล่าวแบบสรุปคือ ทฤษฎีระบบโลกเชื่อว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปด้วยการปฏิวัติหลายๆ อย่าง ที่สืบทอดกันเป็นลูกโซ่ ไม่ใช่การปฏิวัติทางการผลิตเท่านั้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านยุคสมัยประวัติศาสตร์ ก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่มาจากการต่อสู้ หรือสงครามทางชนชั้นเท่านั้น
สงคราม และการเผชิญหน้าทางชนชั้น (ภายในประเทศ) ที่ผ่านมามักจะทำหน้าที่ในการปรับดุลยภาพ หรืออำนาจภายในระบบมากกว่าทำหน้าที่ในการทำลายล้างระบบ
ระบบจักรวรรดิสมัยโบราณ ก้าวสู่หายนะได้ มักจะเกิดจากการเสียดุลยภาพทั้งภายในและภายนอก ในเวลาเดียวกัน
อย่างเช่น จักรวรรดิโรมัน ไม่สามารถปรับดุลยภาพ หรือสร้างดุลยภาพระหว่างชนชั้นเจ้ากับทาสได้ และไม่สามารถปรับดุลยภาพกับอำนาจภายนอก อย่างเช่น การปกครองอาณานิคมอย่างป่าเถื่อน จึงนำสู่การก่อกบฏของประเทศราช
นอกจากนี้ เราพบว่า รัฐจักรวรรดิโบราณบางรัฐล่มสลายลง เพราะไม่สามารถปรับดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น อาณาจักรอินคา และอาณาจักรขอม เป็นต้น
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นว่า
“ฟังๆ ดู คุณยุค กำลังใช้ปรัชญาเต๋าเรื่องดุลยภาพ และการปรับดุลมาใช้ เป็นหลักในการอธิบายโลก”
ผมตอบว่า
“ถูกต้อง” ยิ้มและกล่าวต่อว่า
“ปัจจุบัน ผมใช้ศาสตร์โบราณแบบตะวันออก จำนวนหนึ่งมาใช้ในการอธิบายระบบโลก หรือ สร้างทฤษฎี อธิบายโลกแบบของผมเอง”
ความจริง ผมใช้ทั้งหลักเต๋า และพุทธ ประสานกับแนวคิดฟิสิกส์ใหม่
เพื่อนถามว่า
“ผมฟังมาตลอด ผมเริ่มรู้สึกว่า จะเข้าใจโลกได้ ต้องเริ่มศึกษาโลกทางความคิด และปรัชญาใหม่หมดเลย”
์
เพื่อนกล่าวต่อว่า
“ผมเริ่มสงสัยว่า คุณยุคคิดแบบวัตถุนิยมแบบ Marx ที่ว่า วัตถุกำหนดจิตหรือเปล่า หรือว่า คิดแบบจิตนิยม ผมเคยอ่านงานของวิถีทรรศน์เล่มหนึ่งเขียนโดย คุณหมอประสาน ต่างใจ ชื่อเรื่อง จิตสูงสุด
คุณยุคคิดว่า จิตสูงสุดหรือเปล่า”
ผมตอบว่า
ผมกับหมอประสาน มีทั้งเหมือนกัน และต่างกัน แต่ที่ต่างกันมากคือ การใช้ภาษาอธิบายเรื่องต่างๆ มักจะต่างกัน อาจเนื่องมาจากผมเป็นนักสังคมศาสตร์ คุณหมอเป็นนักวิทยาศาสตร์
อย่างเช่น ท่านเรียกทั้งหมด หรือทั้งเอกภพว่า จิตจักรวาล
ผมเป็นชาวเต๋า ผมจะกล่าวว่า ผมไม่รู้ว่าเป็นอะไร จะเรียกชื่อว่าเป็นอะไรก็ไม่ได้ เพราะเอกภพ หรือทั้งหมด มีความซับซ้อนมาก และมีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย และมีรูปแบบอย่างเป็นอนันต์
จะบอกว่าเป็นอะไร อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ผิดทั้งนั้น (ยังมีต่อ)