ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจของสหรัฐฯบวกกับภาวะสินเชื่อตึงตัวจากปัญหา Sub-prime ที่ขยายตัวจากสหรัฐฯ สู่ยุโรป ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปเริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โภคภัณฑ์ และสินแร่มีค่าต่างๆ ทำให้อัตราเงินเฟ้อของเกือบทุกประเทศทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่า Stagflation คือการที่เศรษฐกิจชะลอตัวควบคู่ไปกับภาวะเงินเฟ้อที่ขยายตัวขึ้น เช่นที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 และ 2522 ที่ผ่านมา
ปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2545 เริ่มปะทุขึ้นจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยเมื่อต้นปี 2549 และต่อเนื่องจนเป็นปัญหา Sub-prime ที่รุนแรงในปี 2550 ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว ปัญหา Sub-prime ประกอบกับภาวะหนี้สินขยายตัวส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวลง ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาได้ลุกลามไปถึงทวีปยุโรปและส่งผลคล้ายกันกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ปัญหา Sub-prime ทำให้อุปสงค์ภาคเอกชนของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการบริโภคชะลอตัวลง ดังที่เอกสารแถลงข่าวของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯในการประชุมล่าสุดแสดงไว้ชัดเจนว่า อุปสงค์ภาคเอกชนทั้งการลงทุนและการบริโภคอ่อนตัวลง จากข้อมูลล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนดัชนี PMI ของภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 50.8 จุด ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐาน 50 จุดเพียงเล็กน้อย แสดงว่าภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมาก และข้อมูล On line shopping หรือการสั่งซื้อสินค้าทาง Internet ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 14 ธันวาคม ก็ขยายตัวเพียงร้อยละ 18 ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 26 การชะลอตัวของการบริโภคส่งผลให้สินค้าคงคลังปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้การผลิตชะลอตัวลงไปอีกหรือหดตัวลงในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัยก็ยังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีวี่แววว่าจะถึงจุดต่ำสุดในเร็วๆ นี้ จากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงอย่างมากในไตรมาสที่ 4 นี้ โดยการสำรวจของสำนักข่าว Bloomberg เมื่อต้นเดือนธันวาคม พบว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในจำนวน 63 คนที่ตอบคำถาม ต่างประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้น
ปัญหาสินเชื่อตึงตัวได้ขยายไปถึงยุโรปและนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน มีสัญญาณชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง โดยผลการประเมินเบื้องต้นของ Royal Bank of Scotland พบว่าทั้งดัชนีภาคอุตสาหกรรม (European Manufacturing Index) และดัชนีภาคบริการ (European Service Index) ของยุโรปต่างปรับตัวลดลงในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของธุรกิจเยอรมัน (ZEW Index) ในเดือนพฤศจิกายนก็ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 37.2 จุด จาก 42.0 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2536 ข้อมูลต่างๆข้างต้นแสดงถึงทิศทางชะลอตัวลงของทั้งเศรษฐกิจยุโรปและเยอรมนีที่เป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างชัดเจน
สำหรับญี่ปุ่นนั้น แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime เท่าใดนัก แต่เพราะว่าการบริโภคในประเทศยังอ่อนแอและการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัว ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องพึ่งการส่งออกเป็นหลักและอ่อนไหวต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ล่าสุดภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มแสดงทิศทางการชะลอตัวเหมือนกับสหรัฐฯ และยุโรป โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงเหลือ 39.8 จุด จาก 42.8 จุดในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จึงคาดได้ว่าการบริโภคจะยังขยายตัวในระดับที่ต่ำลงจากที่แทบไม่ได้ขยายตัวเลยในไตรมาสที่ 3 นอกจากนั้นจากการสำรวจภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Tankan survey) ยังพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Sentiment) ในเดือนธันวาคมลดลงอย่างมากเหลือเพียง 19 จุด จาก 23 จุดเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งผลการสำรวจดังกล่าวทำให้วาณิชธนกิจชั้นนำทั้ง CLSA และ Morgan Stanley ต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มไม่เติบโตหรือถดถอยในปี 2551
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวลง ราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นได้กดดันให้อัตราเงินเฟ้อของเกือบทุกประเทศสูงขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายนพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน เป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่ในเดือนเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 2.0 ในเดือนตุลาคม
แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2551 ขณะที่ยุโรปมีเศรษฐกิจชะลอมาก ทั้งหมดนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง โดยล่าสุด IMF ประมาณว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และอาจจะปรับลดการคาดการณ์ลงอีกจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯเป็นหลัก ในเวลาเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดสถานการณ์ Stagflation ซึ่งจะส่งผลให้การใช้มาตรการทางการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากลำบาก เนื่องจากมีภาวะเงินเฟ้อแทรกซ้อนอยู่ด้วย จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้ากว่าที่ควรจะเป็น คาดว่าในปีหน้าเราจะยังเห็นทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงอย่างช้าๆ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ อาจจะเกิดขึ้นในปลายปี 2551 เป็นอย่างเร็ว แต่ผมคาดว่าการฟื้นตัวจริงน่าจะเกิดได้ในปี 2552
ปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2545 เริ่มปะทุขึ้นจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยเมื่อต้นปี 2549 และต่อเนื่องจนเป็นปัญหา Sub-prime ที่รุนแรงในปี 2550 ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว ปัญหา Sub-prime ประกอบกับภาวะหนี้สินขยายตัวส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวลง ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาได้ลุกลามไปถึงทวีปยุโรปและส่งผลคล้ายกันกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ปัญหา Sub-prime ทำให้อุปสงค์ภาคเอกชนของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการบริโภคชะลอตัวลง ดังที่เอกสารแถลงข่าวของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯในการประชุมล่าสุดแสดงไว้ชัดเจนว่า อุปสงค์ภาคเอกชนทั้งการลงทุนและการบริโภคอ่อนตัวลง จากข้อมูลล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนดัชนี PMI ของภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 50.8 จุด ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐาน 50 จุดเพียงเล็กน้อย แสดงว่าภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมาก และข้อมูล On line shopping หรือการสั่งซื้อสินค้าทาง Internet ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 14 ธันวาคม ก็ขยายตัวเพียงร้อยละ 18 ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 26 การชะลอตัวของการบริโภคส่งผลให้สินค้าคงคลังปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้การผลิตชะลอตัวลงไปอีกหรือหดตัวลงในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัยก็ยังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีวี่แววว่าจะถึงจุดต่ำสุดในเร็วๆ นี้ จากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงอย่างมากในไตรมาสที่ 4 นี้ โดยการสำรวจของสำนักข่าว Bloomberg เมื่อต้นเดือนธันวาคม พบว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในจำนวน 63 คนที่ตอบคำถาม ต่างประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้น
ปัญหาสินเชื่อตึงตัวได้ขยายไปถึงยุโรปและนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน มีสัญญาณชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง โดยผลการประเมินเบื้องต้นของ Royal Bank of Scotland พบว่าทั้งดัชนีภาคอุตสาหกรรม (European Manufacturing Index) และดัชนีภาคบริการ (European Service Index) ของยุโรปต่างปรับตัวลดลงในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของธุรกิจเยอรมัน (ZEW Index) ในเดือนพฤศจิกายนก็ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 37.2 จุด จาก 42.0 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2536 ข้อมูลต่างๆข้างต้นแสดงถึงทิศทางชะลอตัวลงของทั้งเศรษฐกิจยุโรปและเยอรมนีที่เป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างชัดเจน
สำหรับญี่ปุ่นนั้น แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime เท่าใดนัก แต่เพราะว่าการบริโภคในประเทศยังอ่อนแอและการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัว ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องพึ่งการส่งออกเป็นหลักและอ่อนไหวต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ล่าสุดภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มแสดงทิศทางการชะลอตัวเหมือนกับสหรัฐฯ และยุโรป โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงเหลือ 39.8 จุด จาก 42.8 จุดในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จึงคาดได้ว่าการบริโภคจะยังขยายตัวในระดับที่ต่ำลงจากที่แทบไม่ได้ขยายตัวเลยในไตรมาสที่ 3 นอกจากนั้นจากการสำรวจภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Tankan survey) ยังพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Sentiment) ในเดือนธันวาคมลดลงอย่างมากเหลือเพียง 19 จุด จาก 23 จุดเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งผลการสำรวจดังกล่าวทำให้วาณิชธนกิจชั้นนำทั้ง CLSA และ Morgan Stanley ต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มไม่เติบโตหรือถดถอยในปี 2551
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวลง ราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นได้กดดันให้อัตราเงินเฟ้อของเกือบทุกประเทศสูงขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายนพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน เป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่ในเดือนเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 2.0 ในเดือนตุลาคม
แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2551 ขณะที่ยุโรปมีเศรษฐกิจชะลอมาก ทั้งหมดนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง โดยล่าสุด IMF ประมาณว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และอาจจะปรับลดการคาดการณ์ลงอีกจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯเป็นหลัก ในเวลาเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดสถานการณ์ Stagflation ซึ่งจะส่งผลให้การใช้มาตรการทางการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากลำบาก เนื่องจากมีภาวะเงินเฟ้อแทรกซ้อนอยู่ด้วย จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้ากว่าที่ควรจะเป็น คาดว่าในปีหน้าเราจะยังเห็นทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงอย่างช้าๆ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ อาจจะเกิดขึ้นในปลายปี 2551 เป็นอย่างเร็ว แต่ผมคาดว่าการฟื้นตัวจริงน่าจะเกิดได้ในปี 2552