คตส.ได้ฤกษ์ ส่งฟ้อง"ครม.แม้ว" งาบหวยบนดิน "อุดม" เผย เป็นคดีแรกที่ส่ง อสส. สังฟ้องทั้งคณะ ด้าน"สมัคร" ส่งทีมทนายแก้ต่าง กรณีงาบรถดับเพลิง พยายามเล่นเกมยื้อโดยขอให้ คตส. สอบพยานเพิ่มอีก 20 ปาก ลาก "วัฒนา-สุรเกียรติ์-จาตุรนต์-ทูตออสเตรีย"ร่วมเป็นพยาน ส่วนอนุฯ ซีทีเอ็กซ์ เรียกพยานสอบเพิ่ม หลังเจอปม บทม.รับรองผลติดตั้ง ทั้งที่ยังไม่ติดตั้งจริง แจกสมุดปกเหลือง สรุปความผิด ครม.แม้ว วันนี้
วานนี้ (20 ธ.ค.) นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีการออกสลากเลขท้ายพิเศษ 2 และ 3 ตัว หรือ หวยบนดิน กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส.และเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เดินทางไปยื่นเอกสารผลสรุปคดีหวยบนดิน และมติของ คตส. ให้อัยการสูงสุดดำเนินการพิจารณาก่อนที่จะส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งฟ้องหรือไม่ ในเวลา 10.00 น. วันนี้(21ธ.ค.)
สำหรับเอกสารทั้งหมดมี 2 ชุด ชุดละ 32 แฟ้ม รวมกว่า 1 หมื่นหน้า โดย 1 แฟ้ม เป็นรายงานผลการสรุปและมติของ คตส.ส่วนที่เหลือเป็นหลักฐานและเอกสารประกอบการพิจารณาในสำนวน พยานบุคคล โดยตามขั้นตอน อัยการสูงสุดมีเวลาในการพิจารณาว่า จะฟ้องหรือไม่ภายใน 30 วัน ส่วนจะทันหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอัยการ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นในเรื่องของกฎหมาย จึงต้องใช้เวลาในการถกเถียงกัน โดยส่วนตัวยอมรับว่า คดีนี้ถือเป็นคดีที่ยากมาก เพราะถือเป็นคดีแรกที่มีการส่งอัยการสูงสุดสั่งฟ้องทั้งคณะ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน แต่อย่างไรก็ตาม หาก อัยการสูงสุด ยังมีประเด็นข้อสงสัย อนุกรรมการไต่สวนพร้อมที่จะให้ข้อมูล และชี้แจงตลอดเวลา
"สมัคร"หาทางยื้อคดีรถดับเพลิงฉาว
ช่วงบ่ายวานนี้ (20 ธ.ค.) มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง กทม. ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้นัดให้ผู้ถูกกล่าวหา 2 คน เข้าชี้แจง คือนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าฯ กทม. และนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย ทั้งนี้นายโภคิน เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง ขณะที่ นายสมัคร ได้ส่งนายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายความเข้าชี้แจงแทน
นายสมหมาย เปิดเผยว่า ได้นำเอกสารการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายสมัคร โดยชี้แจงเรียงตามประเด็นที่ คตส.ได้ตั้งข้อกล่าวหา และยืนยันว่านายสมัคร ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ทำตามมติ ครม. ก่อนลงนามในสัญญาได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลาย ฝ่ายหลายครั้ง และการกระทำไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มาตรา 157 ตามที่คตส. ตั้งข้อกล่าวหา ส่วนที่นายสมัคร เซ็นสัญญาก่อนพ้นวาระการเป็นผู้ว่าฯกทม.เพียง 1 วัน ก็ไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญ เพราะ คตส.ไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหาในเรื่องนี้
นอกจากนี้นายสมัคร ยังมอบให้ทีมทนายความ ยื่นหนังสือต่ออนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อให้เรียกพยานบุคคลมาสอบเพิ่มเติมในหลายประเด็นอีก 20 ปาก อาทิ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรมว.ต่างประเทศ นาย จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี อดีตทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ที่ติดต่อขายรถดับเพลิง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช อดีตเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการที่เคยสอบเรื่องนี้ทั้ง 3 ชุด ซึ่งเป็นชุดที่ ดีเอสไอ. กระทรวงมหาดไทย และกทม. ตั้งขึ้น เช่น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการบริหารโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิงด้วย
โดยทีมทนายได้ขอให้ คตส.ใช้อำนาจเรียกพยานดังกล่าวเข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติม แต่ คตส.ได้ให้ทีมทนายพยายามติดต่อก่อน และให้มาหารือร่วมกันกับ คตส.อีกครั้งในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ว่าจะเรียกพยานกลุ่มแรกเข้าได้ถ้อยคำได้เมื่อใด และกี่คน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่กระชั้นชิด เนื่องจากมีวันหยุดหลายวัน อาจทำให้ติดต่อพยานได้ลำบาก แต่ก็จะพยายาม ทั้งนี้ ประเด็นที่ทีมทนายต้องการให้สอบเพิ่ม เช่น การจัดซื้อ ข้อตกลงซึ่งรวมถึง เอโอยู. และการทำควอเตอร์เทรด เป็นต้น
เจอปม บทม.รับรอง CTX ตั้งแต่ยังไม่ติดตั้ง
วันเดียวกันนี้ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่มีนายอำนวย ธันธรา กรรมการ คตส. เป็นประธาน
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เรียกพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) มาสอบปากคำเพิ่มเติม เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯได้ติดใจสงสัยในบางประเด็น โดยเฉพาะ การที่ บทม.ออกหนังสือรับรองผลการติดตั้งเครื่องซีทีเอ็กซ์ ของบริษัท จีอี อินวิชั่น ทั้งที่จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวยังไม่มีการติดตั้งเครื่องแต่เหตุใด บทม.จึงได้ออกหนังสือรับรองผลการติดตั้ง ซึ่งจากคำให้การพยานได้ยอมรับว่า มีการออกหนังสือรับรองให้จริง ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการไม่มีความจำเป็นต้องเชิญพยานมาสอบปากคำเพิ่มเติมแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการย่อคำให้การของพยาน และผู้ถูกกล่าวหา และการตรวจสอบติดตามเส้นทางการเงิน คาดว่าจะสามารถสรุปผลการไต่สวนได้ในเร็วๆ นี้
แจกปกเหลืองประจาน ครม.แม้ว
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส. กล่าวถึง การออกสมุดปกเหลืองผลงาน คตส.ว่า ไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ เพื่อขุดคุ้ยให้คนได้รับทราบว่า มีอะไรที่ไม่ชอบ แต่บังเอิญ เพราะมาเสร็จในช่วงนี้พอดี โดยจะมีการแจกในวันนี้ หากประชาชนหรือหน่วยงานรัฐและเอกชนสนใจ สามารถเดินทางมาขอรับได้ที่อาคาร สตง. ซึ่งมีการพิมพ์เอาไว้ 5 หมื่นชุด
สำหรับเนื้อหาของสมุดปกเหลือง ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานของคตส. ในการพิจารณาเรื่องทุจริต ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนี้
1.กรณีภาษีเงินได้เกี่ยวกับการซื้อขาย และโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการแล้ว 2.กรณีการหลีกเลี่ยงภาษี โดย คุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่ง คตส. ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีแล้ว
3.กรณีไต่สวนทางวินัยและอาญา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการไต่สวนข้าราชการกระทรวงการคลัง และกรมสรรพากร (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล และพวก) ที่ได้แถลง ข่าวและตอบข้อหารือกรณีไม่เรียกเก็บภาษีเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ ชินวัตร และ นางสาวพินทองทา ชินวัตร จากบริษัทแอมเพิ่ลริช 4.กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และภริยา เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ที่ดินถนนรัชดาภิเษก) คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง โดยอัยการสูงสุดได้เป็นโจทก์ฟ้องคดี แต่จำเลยไม่มาศาล จึงมีการออกหมายจับอยู่ในขณะนี้
5.โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบ วัตถุระเบิด ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ 6.โครงการจัดซื้อจัดจ้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน สนามบินสุวรรณภูมิ 7.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่ง 8.กรณีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้เงินกู้เพื่อซื้อเครื่องจักร และพัฒนาการประเทศ แก่รัฐบาลสหภาพพม่า
9.โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การตรวจสอบพบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับพวก รวม 49 คน กระทำการที่เป็นความผิดทางอาญา และก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ จึงเตรียมสรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดพิจารณา ในวันที่ 21 ธ.ค.
10.โครงการจัดซื้อต้นกล้ายาง และการดำเนินการโครงการปลูกยาง 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 11.โครงการจัดก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ของ บริษัท ห้องปฎิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตร และอาหาร จำกัด (Central Lab) 12.กรณีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติเงินกู้ให้แก่บริษัท ในเครือกฤษดามหานคร เกินวงเงินที่ต้องใช้จริง เป็นจำนวน 3,500 ล้านบาท
13.โครงการบ้านเอื้ออาทร 14.การจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกทม. 15.การกระทำผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจตนเองและพวกพ้อง โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 16 . การอายัดทรัพย์สินที่ครอบครัว บุตร บริวาร ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับจากการขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่กลุ่มกองทุนเทมาเส็ก
วานนี้ (20 ธ.ค.) นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีการออกสลากเลขท้ายพิเศษ 2 และ 3 ตัว หรือ หวยบนดิน กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส.และเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เดินทางไปยื่นเอกสารผลสรุปคดีหวยบนดิน และมติของ คตส. ให้อัยการสูงสุดดำเนินการพิจารณาก่อนที่จะส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งฟ้องหรือไม่ ในเวลา 10.00 น. วันนี้(21ธ.ค.)
สำหรับเอกสารทั้งหมดมี 2 ชุด ชุดละ 32 แฟ้ม รวมกว่า 1 หมื่นหน้า โดย 1 แฟ้ม เป็นรายงานผลการสรุปและมติของ คตส.ส่วนที่เหลือเป็นหลักฐานและเอกสารประกอบการพิจารณาในสำนวน พยานบุคคล โดยตามขั้นตอน อัยการสูงสุดมีเวลาในการพิจารณาว่า จะฟ้องหรือไม่ภายใน 30 วัน ส่วนจะทันหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอัยการ เพราะส่วนใหญ่เป็นประเด็นในเรื่องของกฎหมาย จึงต้องใช้เวลาในการถกเถียงกัน โดยส่วนตัวยอมรับว่า คดีนี้ถือเป็นคดีที่ยากมาก เพราะถือเป็นคดีแรกที่มีการส่งอัยการสูงสุดสั่งฟ้องทั้งคณะ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน แต่อย่างไรก็ตาม หาก อัยการสูงสุด ยังมีประเด็นข้อสงสัย อนุกรรมการไต่สวนพร้อมที่จะให้ข้อมูล และชี้แจงตลอดเวลา
"สมัคร"หาทางยื้อคดีรถดับเพลิงฉาว
ช่วงบ่ายวานนี้ (20 ธ.ค.) มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง กทม. ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้นัดให้ผู้ถูกกล่าวหา 2 คน เข้าชี้แจง คือนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าฯ กทม. และนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย ทั้งนี้นายโภคิน เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง ขณะที่ นายสมัคร ได้ส่งนายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายความเข้าชี้แจงแทน
นายสมหมาย เปิดเผยว่า ได้นำเอกสารการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายสมัคร โดยชี้แจงเรียงตามประเด็นที่ คตส.ได้ตั้งข้อกล่าวหา และยืนยันว่านายสมัคร ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ทำตามมติ ครม. ก่อนลงนามในสัญญาได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลาย ฝ่ายหลายครั้ง และการกระทำไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มาตรา 157 ตามที่คตส. ตั้งข้อกล่าวหา ส่วนที่นายสมัคร เซ็นสัญญาก่อนพ้นวาระการเป็นผู้ว่าฯกทม.เพียง 1 วัน ก็ไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญ เพราะ คตส.ไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหาในเรื่องนี้
นอกจากนี้นายสมัคร ยังมอบให้ทีมทนายความ ยื่นหนังสือต่ออนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อให้เรียกพยานบุคคลมาสอบเพิ่มเติมในหลายประเด็นอีก 20 ปาก อาทิ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรมว.ต่างประเทศ นาย จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี อดีตทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ที่ติดต่อขายรถดับเพลิง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช อดีตเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการที่เคยสอบเรื่องนี้ทั้ง 3 ชุด ซึ่งเป็นชุดที่ ดีเอสไอ. กระทรวงมหาดไทย และกทม. ตั้งขึ้น เช่น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการบริหารโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิงด้วย
โดยทีมทนายได้ขอให้ คตส.ใช้อำนาจเรียกพยานดังกล่าวเข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติม แต่ คตส.ได้ให้ทีมทนายพยายามติดต่อก่อน และให้มาหารือร่วมกันกับ คตส.อีกครั้งในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ว่าจะเรียกพยานกลุ่มแรกเข้าได้ถ้อยคำได้เมื่อใด และกี่คน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่กระชั้นชิด เนื่องจากมีวันหยุดหลายวัน อาจทำให้ติดต่อพยานได้ลำบาก แต่ก็จะพยายาม ทั้งนี้ ประเด็นที่ทีมทนายต้องการให้สอบเพิ่ม เช่น การจัดซื้อ ข้อตกลงซึ่งรวมถึง เอโอยู. และการทำควอเตอร์เทรด เป็นต้น
เจอปม บทม.รับรอง CTX ตั้งแต่ยังไม่ติดตั้ง
วันเดียวกันนี้ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่มีนายอำนวย ธันธรา กรรมการ คตส. เป็นประธาน
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เรียกพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) มาสอบปากคำเพิ่มเติม เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯได้ติดใจสงสัยในบางประเด็น โดยเฉพาะ การที่ บทม.ออกหนังสือรับรองผลการติดตั้งเครื่องซีทีเอ็กซ์ ของบริษัท จีอี อินวิชั่น ทั้งที่จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวยังไม่มีการติดตั้งเครื่องแต่เหตุใด บทม.จึงได้ออกหนังสือรับรองผลการติดตั้ง ซึ่งจากคำให้การพยานได้ยอมรับว่า มีการออกหนังสือรับรองให้จริง ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการไม่มีความจำเป็นต้องเชิญพยานมาสอบปากคำเพิ่มเติมแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการย่อคำให้การของพยาน และผู้ถูกกล่าวหา และการตรวจสอบติดตามเส้นทางการเงิน คาดว่าจะสามารถสรุปผลการไต่สวนได้ในเร็วๆ นี้
แจกปกเหลืองประจาน ครม.แม้ว
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส. กล่าวถึง การออกสมุดปกเหลืองผลงาน คตส.ว่า ไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ เพื่อขุดคุ้ยให้คนได้รับทราบว่า มีอะไรที่ไม่ชอบ แต่บังเอิญ เพราะมาเสร็จในช่วงนี้พอดี โดยจะมีการแจกในวันนี้ หากประชาชนหรือหน่วยงานรัฐและเอกชนสนใจ สามารถเดินทางมาขอรับได้ที่อาคาร สตง. ซึ่งมีการพิมพ์เอาไว้ 5 หมื่นชุด
สำหรับเนื้อหาของสมุดปกเหลือง ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานของคตส. ในการพิจารณาเรื่องทุจริต ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนี้
1.กรณีภาษีเงินได้เกี่ยวกับการซื้อขาย และโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการแล้ว 2.กรณีการหลีกเลี่ยงภาษี โดย คุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่ง คตส. ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีแล้ว
3.กรณีไต่สวนทางวินัยและอาญา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการไต่สวนข้าราชการกระทรวงการคลัง และกรมสรรพากร (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล และพวก) ที่ได้แถลง ข่าวและตอบข้อหารือกรณีไม่เรียกเก็บภาษีเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ ชินวัตร และ นางสาวพินทองทา ชินวัตร จากบริษัทแอมเพิ่ลริช 4.กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และภริยา เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ที่ดินถนนรัชดาภิเษก) คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง โดยอัยการสูงสุดได้เป็นโจทก์ฟ้องคดี แต่จำเลยไม่มาศาล จึงมีการออกหมายจับอยู่ในขณะนี้
5.โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบ วัตถุระเบิด ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ 6.โครงการจัดซื้อจัดจ้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน สนามบินสุวรรณภูมิ 7.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่ง 8.กรณีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้เงินกู้เพื่อซื้อเครื่องจักร และพัฒนาการประเทศ แก่รัฐบาลสหภาพพม่า
9.โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การตรวจสอบพบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับพวก รวม 49 คน กระทำการที่เป็นความผิดทางอาญา และก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ จึงเตรียมสรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดพิจารณา ในวันที่ 21 ธ.ค.
10.โครงการจัดซื้อต้นกล้ายาง และการดำเนินการโครงการปลูกยาง 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 11.โครงการจัดก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ของ บริษัท ห้องปฎิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตร และอาหาร จำกัด (Central Lab) 12.กรณีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติเงินกู้ให้แก่บริษัท ในเครือกฤษดามหานคร เกินวงเงินที่ต้องใช้จริง เป็นจำนวน 3,500 ล้านบาท
13.โครงการบ้านเอื้ออาทร 14.การจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกทม. 15.การกระทำผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจตนเองและพวกพ้อง โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 16 . การอายัดทรัพย์สินที่ครอบครัว บุตร บริวาร ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับจากการขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่กลุ่มกองทุนเทมาเส็ก