ผู้จัดการรายวัน-บอร์ดแข่งขันสั่งตั้งกรรมการสอบสวนไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของเบียร์อาชา หลังพบมูลความผิดมีการขายเหล้าพ่วงเบียร์ และขายต่ำกว่าทุนจริง ส่วนแอบบอตถอนทะเบียนยารักษาโรคเอดส์รอด ไม่เข้าข่ายความผิด
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วานนี้ (20 ธ.ค.) ว่า คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน หลังจากคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่าข้อร้องเรียนของบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ร้องเรียนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทำการจำหน่ายเหล้าพ่วงเบียร์ และขายต่ำกว่าทุน มีมูลความจริง เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 25 (2) และมาตรา 29 ตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
“จากนี้ไปคณะอนุกรรมการสอบสวน จะทำหน้าที่เหมือนตำรวจที่จะต้องไปสอบสวน ทั้งประเด็นการขายพ่วง และขายต่ำกว่าทุน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ให้เสนอกรรมการชุดใหญ่พิจารณา ก่อนที่จะส่งอัยการเพื่อฟ้องร้องต่อไป”นายยรรยงกล่าว
ทั้งนี้ กรณีร้องเรียนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ได้ขายสินค้าเบียร์อาชาในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง โดยขายในราคาขายปลีกลังละ 240 บาท หรือตก 5 ขวด 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาโรงงาน ตามประกาศกรมสรรพสามิตที่กำหนดไว้ลังละ 326.40 บาท หรือขวดละ 27.20 บาท และต่ำกว่าราคาขายส่งที่ลังละ 371 บาท
นายยรรยงกล่าวว่า ส่วนกรณีการร้องเรียนบริษัท แอบบอต แลบอราทอรี่ส์ จำกัด ประจำประเทศไทย ได้ยื่นขอถอนการขึ้นทะเบียนยา Aluvia tablet ซึ่งเป็นยารักษาโรคเอดส์นั้น คณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องได้มีการพิจารณาแล้ว เห็นว่าแอบบอต ไม่เข้าข่ายความผิดตามาตรา 25 (3) เพราะไม่ได้จำกัดการแข่งขัน และไม่มีอำนาจเหนือตลาด ส่วนความผิดตามมาตรา 28 ที่คนที่อยู่ในต่างประเทศ (บริษัทแม่แอบบอต) บังคับให้บริษัทแอบบอตในประเทศไทยจำกัดการขาย เห็นว่าไม่เข้าข่ายเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้มีการถกเถียงในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และเห็นตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ เพราะการถอนการขึ้นทะเบียนยา ไม่ใช่การจำกัดการแข่งขัน การซื้อยา แต่การขึ้นทะเบียนยา เป็นความประสงค์ของเจ้าของยาที่ต้องการให้ทางการยืนยันว่ายาเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ที่สำคัญ ยังมีกฎหมายอื่นที่ดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายสิทธิบัตร
สำหรับกรณีที่บริษัท กานดา ซัปพลาย ได้ฟ้องชมรมเอเย่นที่เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกประมาณ 60 ราย ว่าทำผิดกฎหมายแข่งขัน เพราะไปต่อรองให้สำนักพิมพ์ และบริษัทรวมห่อไม่จัดส่งหนังสือให้บริษัท กานดา ทำให้สูญเสียรายได้ ซึ่งกรมการค้าภายในในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีมูล คณะกรรมการฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเพื่อสอบสวนในกรณีนี้ว่ามีความผิดตามมาตรา 27 และ 29 หรือไม่
นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณากรณีบริษัท เจียเม้ง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของข้าวถุงหงส์ทอง ได้ร้องเรียนบริษัท เซ็นคาร์ ผู้บริหารห้างค้าปลีกคาร์ฟูร์ว่ามีการจำหน่ายข้าวถุง 5 กก. ในราคาต่ำกว่าทุน เป็นความผิดตามมาตรา 29 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าจะตรวจสอบได้ไม่ยาก เพราะมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับการค้าปลีกค้าส่ง (ไกด์ไลน์) อยู่แล้ว
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วานนี้ (20 ธ.ค.) ว่า คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน หลังจากคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่าข้อร้องเรียนของบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ร้องเรียนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทำการจำหน่ายเหล้าพ่วงเบียร์ และขายต่ำกว่าทุน มีมูลความจริง เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 25 (2) และมาตรา 29 ตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
“จากนี้ไปคณะอนุกรรมการสอบสวน จะทำหน้าที่เหมือนตำรวจที่จะต้องไปสอบสวน ทั้งประเด็นการขายพ่วง และขายต่ำกว่าทุน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ให้เสนอกรรมการชุดใหญ่พิจารณา ก่อนที่จะส่งอัยการเพื่อฟ้องร้องต่อไป”นายยรรยงกล่าว
ทั้งนี้ กรณีร้องเรียนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ได้ขายสินค้าเบียร์อาชาในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง โดยขายในราคาขายปลีกลังละ 240 บาท หรือตก 5 ขวด 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาโรงงาน ตามประกาศกรมสรรพสามิตที่กำหนดไว้ลังละ 326.40 บาท หรือขวดละ 27.20 บาท และต่ำกว่าราคาขายส่งที่ลังละ 371 บาท
นายยรรยงกล่าวว่า ส่วนกรณีการร้องเรียนบริษัท แอบบอต แลบอราทอรี่ส์ จำกัด ประจำประเทศไทย ได้ยื่นขอถอนการขึ้นทะเบียนยา Aluvia tablet ซึ่งเป็นยารักษาโรคเอดส์นั้น คณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องได้มีการพิจารณาแล้ว เห็นว่าแอบบอต ไม่เข้าข่ายความผิดตามาตรา 25 (3) เพราะไม่ได้จำกัดการแข่งขัน และไม่มีอำนาจเหนือตลาด ส่วนความผิดตามมาตรา 28 ที่คนที่อยู่ในต่างประเทศ (บริษัทแม่แอบบอต) บังคับให้บริษัทแอบบอตในประเทศไทยจำกัดการขาย เห็นว่าไม่เข้าข่ายเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้มีการถกเถียงในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และเห็นตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ เพราะการถอนการขึ้นทะเบียนยา ไม่ใช่การจำกัดการแข่งขัน การซื้อยา แต่การขึ้นทะเบียนยา เป็นความประสงค์ของเจ้าของยาที่ต้องการให้ทางการยืนยันว่ายาเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ที่สำคัญ ยังมีกฎหมายอื่นที่ดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายสิทธิบัตร
สำหรับกรณีที่บริษัท กานดา ซัปพลาย ได้ฟ้องชมรมเอเย่นที่เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกประมาณ 60 ราย ว่าทำผิดกฎหมายแข่งขัน เพราะไปต่อรองให้สำนักพิมพ์ และบริษัทรวมห่อไม่จัดส่งหนังสือให้บริษัท กานดา ทำให้สูญเสียรายได้ ซึ่งกรมการค้าภายในในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีมูล คณะกรรมการฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเพื่อสอบสวนในกรณีนี้ว่ามีความผิดตามมาตรา 27 และ 29 หรือไม่
นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณากรณีบริษัท เจียเม้ง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของข้าวถุงหงส์ทอง ได้ร้องเรียนบริษัท เซ็นคาร์ ผู้บริหารห้างค้าปลีกคาร์ฟูร์ว่ามีการจำหน่ายข้าวถุง 5 กก. ในราคาต่ำกว่าทุน เป็นความผิดตามมาตรา 29 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าจะตรวจสอบได้ไม่ยาก เพราะมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับการค้าปลีกค้าส่ง (ไกด์ไลน์) อยู่แล้ว