ปรากฏการณ์ฟองสบู่สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทลูกค้าด้อยคุณภาพ หรือ "ซับไพรม์" ในสหรัฐฯเริ่มแตกกันมาตั้งแต่กลางปี 2005 ทว่าต้องรอจนถึงปี 2007 นั่นแหละ ปัญหาจึงทวีความร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็นวิกฤต สถาบันการเงินที่มุ่งเน้นปล่อยกู้สินเชื่อซับไพรม์จำนวนมากล้มละลายหรือประสบปัญหาหนัก
จากนั้นความยุ่งยากก็ไปปะทุขึ้นในบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งพัวพันกับตราสารหนี้อันอิงอยู่กับหลักทรัพย์ค้ำประกันของสินเชื่อซับไพรม์ ข้อมูลความเสียหายที่ทยอยประกาศกันออกมาอย่างกระมิดกระเมี้ยนทว่าถะถั่งพรั่งพรูเหมือนไม่รู้จักจบจักสิ้น ทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายเกิดความหวาดผวา หมดความไว้วางใจและไม่อยากปล่อยกู้ให้แก่กัน จนนำไปสู่ภาวะสินเชื่อตึงตัว วิกฤตซับไพรม์ซึ่งตอนต้นปีทำท่าจะสร้างความเสียหายเพียงวงจำกัด จึงกำลังบานปลายกลายเป็นวิกฤตสินเชื่อในตอนปลายปี และฤทธิ์เดชของมันอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถึงขั้นจมลงสู่ภาวะถดถอยทีเดียว รวมทั้งดึงลากเอาเศรษฐกิจทั่วโลกดำดิ่งลงไปด้วย
วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ปี 2007 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องย้อนเวลากลับไปจนถึงปลายปี 2001 เมื่อความหวาดกลัวการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในทั่วโลกภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ส่งผลกระทบกระเทือนหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งตอนนั้นอยู่ในอาการย่ำแย่อยู่แล้ว โดยเพิ่งเริ่มหลุดออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันบังเกิดขึ้นจากภาวะฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยีแตกในปลายทศวรรษ 1990
เพื่อช่วยเศรษฐกิจฟันฝ่าให้พ้นความลำบากดังกล่าว ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้เริ่มทยอยตัดลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมโหฬาร จนกระทั่งอัตราเฟดฟันด์เรตมาอยู่ที่ 1% ในปี 2003
พร้อมๆ กับที่ดอกเบี้ยต่ำลงเรื่อยๆ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯก็เริ่มคึกคักขึ้นทุกทีทั้งในเรื่องจำนวนบ้านที่ขายได้ และราคาบ้านซึ่งสูงเอาๆ
สหรัฐฯนั้นเป็นประเทศที่มีพัฒนาการในเรื่องการนำเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ มาออกเป็นตราสารหนี้ (ซีเคียวริไทเซชั่น) หรือหลักทรัพย์ที่หนุนหลังโดยสินทรัพย์ (เอบีเอส) เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
ยิ่งเมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์บูมกันสนั่นเช่นนี้ พวกสถาบันการเงินก็ได้คิดสร้างหลักทรัพย์เอบีเอสรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา มีการคิดค้นวิธีที่จะนำเอาสินเชื่อซึ่งปล่อยกู้แก่ลูกค้าประเภทซับไพรม์ เข้ามาผสมผเส ทว่ายังจะทำให้พวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ซึ่งมักจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้อยู่ด้วย) สามารถที่จะให้เรตติ้งระดับดีมากหรืออย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ถือว่าสามารถลงทุนได้ อย่างเช่นตราสารหนี้ collateralized debt obligations (CDOs)
ผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้แม้กระทั่งสถาบันการเงินที่มุ่งเน้นปล่อยกู้ประเภทซับไพรม์ ก็มีช่องทางที่จะขายต่อหนี้สินที่พวกตนให้ลูกค้าความเสี่ยงสูงกู้ยืม ดังนั้นจึงยิ่งเพิ่มแรงจูงใจที่จะหาลูกค้าในเชิงรุกกันมากขึ้น เกิดเป็นสภาพที่พวกสถาบันการเงินวอลล์สตรีทคอยรับซื้อหนี้สินซับไพรม์ นำเอามาจัดแพกเกจใหม่รวมไปกับเงินกู้ประเภทอื่นๆ ด้วยชั้นเชิงกลเม็ดที่จะทำให้ได้รับเรตติ้งดีๆ จากพวกบริษัทจัดอันดับ แล้วก็นำไปขายแก่นักลงทุน
เมื่อเวลาผ่านไป สถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มือต้น ชักย่อหย่อนแม้กระทั่งในการทำหน้าที่พื้นฐานในเรื่องการตรวจสอบฐานะของลูกค้าว่าจะผ่อนไหวหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรพวกเขาก็สามารถขายหนี้ต่อไปได้อยู่แล้ว ขณะเดียวกัน พวกเขาได้พัฒนากลเม็ดใหม่ๆ เพื่อชักจูงลูกค้ามาเซ็นสัญญาเงินกู้ อาทิ อัตราดอกเบี้ย teaser rate ที่เสนอดอกเบี้ยต่ำในระยะ 1-2 ปีแรก จากนั้นก็จะปรับให้สูงขึ้นซึ่งหลายกรณีจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทีเดียว หรือเงินกู้แบบจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้นในระยะปีแรกๆ ยิ่งตลาดคึกคักราคาบ้านขยับขึ้นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขายังแถมได้ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือ พวกเจ้าของบ้านที่มารีไฟแนนซ์เพื่อให้ได้เงินกู้เพิ่มเติม
ในส่วนของพวกสถาบันการเงินวอลล์สตรีทและนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ราคาบ้านที่มีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้พวกเขาไม่ค่อยกังวลใจกับการลงทุนซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะหากมีการผิดนัดชำระหนี้ ก็สามารถยึดบ้านที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันมาขายชนิดได้ราคาอยู่ดี ขณะที่สภาพคล่องซึ่งมีอยู่สูงในตลาดเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้สถาบันเหล่านี้สามารถที่จะหากู้ยืมได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์การลงทุนเพิ่มเติม และขายแก่นักลงทุนต่อไปอีก
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2004 เฟดได้เริ่มวงจรแห่งการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อพยายามชะลอภาวะเงินเฟ้อ โดยจะเพิ่มดอกเบี้ยถึง 17 ครั้งติดต่อกัน จากระดับ 1% ก็กลายมาเป็น 5.25% ในตอนกลางปี 2006
ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างแรง ตั้งแต่กลางปี 2005 ตลาดบ้านที่กำลังเฟื่องฟูในหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐฯ เกิดอาการชะงักไปอย่างกะทันหัน ยิ่งมาถึงกลางปี 2006 อาการเสื่อมทรุดก็เริ่มปรากฏชัด ยอดขายบ้านตกลงไป ส่วนราคากลางของบ้านที่ขายได้ก็ไม่ขยับขึ้นและเริ่มไหลลง อัตราการก่อสร้างลดฮวบจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และสินเชื่อลูกค้าซับไพรม์เริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นมาก
เข้าสู่ปี 2007 ยอดขายบ้านยังคงตกต่อไปอีก ในเดือนมีนาคม สมาคมนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ยอดขายบ้านที่ไม่ใช่บ้านสร้างใหม่ ทรุดตัวหนักที่สุดในรอบ 18 ปี ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ ของไตรมาสแรก ชี้ว่าราคาบ้านตกลงมากันทั่วทั้งประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี
เมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ทรุดตัวแรง ก็ส่งผลไปถึงภาคการเงินซึ่งพัวพันกับบ้านพักอาศัย โดยเฉพาะพวกสถาบันการเงินที่เน้นปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ลูกค้าซับไพรม์ เป็นพวกที่ได้รับผลกระทบกระเทือนเร็วและแรงกว่าเพื่อน จนถึงขั้นอยู่ในอาการพังพาบ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม สถาบันเหล่านี้ 20 กว่าแห่งประกาศขอล้มละลาย หรือเสนอขายกิจการ หรืออย่างน้อยก็ประกาศผลประกอบการขาดทุนหนัก แม้กระทั่ง นิว เซนจูรี ไฟแนนซ์ ผู้ปล่อยกู้ซับไพรม์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ยังต้องขอล้มละลายตอนต้นเดือนเมษายน ยูบีเอสที่เป็นแบงก์ยักษ์สัญชาติสวิส ปิดกิจการปล่อยกู้ซับไพรม์ในสหรัฐฯของตนที่ชื่อ ดิลลอน รีด แคปิตอล แมเนจเมนต์ ในต้นเดือนพฤษภาคม
ขณะเดียวกัน พวกสถาบันการเงินที่ครอบครองตราสารหนี้ซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ทั้งหลาย ก็พลอยย่ำแย่ไปตามๆ กัน เพราะเมื่อผู้กู้ยืมสินเชื่ออสังริมทรัพย์พากันผิดนัดชำระหนี้ แม้ยึดหลักประกันมาได้ ทว่าราคาบ้านกลับอยู่ในช่วงทรุดต่ำตลอดเวลา ดังนั้นบรรดาสินทรัพย์ซึ่งอิงกับสินเชื่อประเภทนี้ก็ต้องเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าในตอนที่คิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะพยายามวางกลเม็ดป้องกันเอาไว้อย่างไรก็ตามที
เดือนมิถุนายน แบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท เปิดเผยว่าต้องควักเงิน 3,200 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยไม่ให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ 2 กองทุนซึ่งตนเองบริหารอยู่ และขาดทุนหนักจากการพัวพันกับตลาดซับไพรม์ ต้องถึงกับล้มละลายไป นับเป็นกรณีการเข้าอุ้มกิจการในเครือที่ใหญ่ที่สุดของแบงก์ในรอบเกือบ 10 ปี ทว่าอีกเดือนเศษต่อมา แบร์สเติร์นส์ก็ต้องยื่นขอล้มละลายเฮดจ์ฟันด์ทั้ง 2 กองทุนนี้อยู่ดี แถมยังระงับไม่ให้ลูกค้าถอนเงินคืนจากเฮดจ์ฟันด์กองทุนที่ 3 ของตน หลังจากมีการแห่ขอไถ่ถอนกันมากมาย
กรณีของแบร์สเติร์นส์ นอกจากทำให้วาณิชธนกิจแห่งนี้ย่ำแย่ ต้องมีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับท็อปจำนวนหนึ่ง และราคาหุ้นตกฮวบแล้ว ยังทำให้ดัชนีหุ้นวอลล์สตรีทเซซวด และตลาดสินเชื่อทั่วโลก ปรากฏภาวะตึงตัวรุนแรง เพราะบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินชักไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ทราบชัดเจนว่าใครบ้างที่จะต้องเสียหายจากซับไพรม์กันอีกและเป็นจำนวนเท่าใด จึงไม่ค่อยยอมปล่อยกู้ให้แก่กัน
ตลาดเงิน หรือตลาดสินเชื่อระยะสั้น ซึ่งพวกเพลเยอร์คือแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ถึงขั้นชะงักงัน ในวันที่ 9 สิงหาคม หลังจาก บีเอ็นพี ปาริบาส์ แบงก์ยักษ์ฝรั่งเศสระงับการซื้อหรือไถ่ถอนกองทุน 3 กองทุนของตนที่มีมูลค่ารวม 2,000 ล้านยูโร เพราะปัญหาซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐฯ บีเอ็มพีบอกว่าตนไม่สามารถตีมูลค่าสินทรัพย์ในกองทุนเหล่านี้ เพราะตลาดได้เหือดหายไปในทางเป็นจริง
ในสภาพเช่นนี้ ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ได้เร่งอัดฉีดสภาพคล่อง 95,000 ล้านยูโรเข้าไปในระบบธนาคารของยูโรโซน เพื่อผ่อนคลายภาวะสินเชื่อตึงตัว จากนั้นเฟดและธนาคารกลางของญี่ปุ่นก็ทำอย่างเดียวกัน
หลังจากนี้ ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของอเมริกาเหนือและยุโรป ยังมีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบกันอีกหลายรอบ โดยเฉพาะตอนใกล้สิ้นปี เฟด, อีซีบี, และธนาคารชาติของอังกฤษ,แคนาดา, สวิส ได้จับมือกันเปิดช่องทางใหม่ในการปล่อยเงินสดเข้าระบบธนาคาร ซึ่งกำหนดเงื่อนไขผ่อนปรนมากขึ้น เพื่อให้แก้ไขภาวะสินเชื่อตึงตัวได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อีซีบีได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างดุดันกว่าเพื่อน โดยในวันที่ 18 ธันวาคม ได้ปล่อยสภาพคล่องระยะสั้นออกไปไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางทั้งหลายก็ได้ทำการลดดอกเบี้ย หรืออย่างน้อยก็ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟดนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง รวมเท่ากับ 1% ทำให้เฟดฟันด์เรตลงมาอยู่ที่ 4.25% ในตอนสิ้นปี
ทว่ามาตรการเหล่านี้อย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหา เพราะการที่ภาวะตึงตัวในตลาดจะสามารถคลี่คลายไปได้อย่างแท้จริงนั้น บรรดาแบงก์และสถาบันการเงินเองจะต้องกลับมีความมั่นใจในกันและกัน และกล้าปล่อยกู้ให้แก่กันอีกครั้งหนึ่ง
แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังคงมีข่าวร้ายออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯอาการยังไม่ดีขึ้น ราคาบ้านยังคงตกต่อ มีลูกค้าซับไพรม์อีกเกือบ 2 ล้านรายที่อัตราดอกเบี้ยของพวกเขาจะต้องถูกปรับขึ้นลิ่วในรอบ 1 ปีข้างหน้า และมีหวังถูกยึดบ้านกันมากมาย เนื่องจากเรื่องนี้กระทบกระเทือนประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลสหรัฐฯจึงพยายามเสนอมาตรการช่วยเหลือซึ่งเน้นที่การขอให้สถาบันการเงินยอมชะลอการปรับดอกเบี้ยออกไปก่อน
ทางด้านภาคการเงิน แบงก์แห่งนั้นสถาบันการเงินแห่งนี้ออกมาแถลงข่าวไม่หยุดหย่อน ว่าประสบการขาดทุนหนักจากสินเชื่อซับไพรม์และวิกฤตสินเชื่อตึงตัว แม้กระทั่งแห่งที่แจ้งความเสียหายออกมาแล้ว อีกไม่กี่วันก็ยังปรากฏความเสียหายงอกเพิ่มก้อนมหึมาขึ้นมาอีก โดยที่ความเสียหายทั้งหมดในภาคการเงินจะเป็นเท่าใดกันแน่ ดูจะไม่มีใครประเมินได้อย่างชัดเจน อาทิ เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดเคยพูดไว้ในเดือนกรกฎาคมว่า ความเสียหายจากวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯ คงจะถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ ทว่านักวิเคราะห์ของ โกลด์แมนแซคส์ วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทชื่อดัง พูดในเดือนพฤศจิกายนว่า น่าจะไปถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว นักวิเคราะห์บางเจ้าให้ตัวเลขกลมๆ ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว
นอกจากนั้น ความเสียหายจากซับไพรม์และวิกฤตสินเชื่อของภาคการเงิน ยังทำให้มีการปลดการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่บริหารระดับท็อปของแบงก์และสถาบันการเงินกันมาก โดยรายที่เป็นข่าวใหญ่กว่าเพื่อน คือ การเปลี่ยนตัวซีอีโอของ ซิตีกรุ๊ป และ เมอร์ริลลินช์
ความเสียหายที่ลุกลามบานปลายมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความเชื่อในตอนต้นปีที่ว่า พิษภัยของวิกฤตคราวนี้จะจำกัดอยู่เฉพาะในภาคการเงินของสหรัฐฯ ต้องหลีกทางให้กับความหวาดหวั่นที่ว่า มันจะแสดงฤทธิ์เดชทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถึงขั้นชะลอตัวลงในปีหน้า สถาบันต่างๆ ไม่ว่าระดับระหว่างประเทศหรือในสหรัฐฯ ตลอดจนของภาคเอกชน ต่างปรับลดตัวเลขพยากรณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกันในปีหน้า
ถึงแม้ความเห็นส่วนใหญ่ยังคงมองว่าเศรษฐกิจอเมริกาน่าจะมีการขยายตัวอยู่ แต่ก็มีเสียงแสดงความวิตกว่า หากความไว้เนื้อเชื่อใจในหมู่แบงก์และสถาบันการเงินยังไม่ฟื้นคืนมา เศรษฐกิจสหรัฐฯก็อาจย่ำแย่ถึงขึ้นเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ได้***ผลกระทบต่อประเทศไทยสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ด้วยเช่นกัน โดยส่อเค้ามาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2007 ก่อนจะทวีความรุนแรงสุดๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากระดับใกล้ 900 จุด ไหลรูดลงมาแตะที่ระดับ 750 จุด หรือเกือบ 150 จุด คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงเกือบ 17% ภายในระยะเพียง 1 เดือน
โดยในช่วงดังกล่าวนักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ออกมาประเมินผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกและลุกลามถึงตลาดหุ้นไทยด้วย แม้ว่าจะเป็นเพียงตลาดหุ้นขนาดเล็กในภูมิภาคนี้ แต่ได้เกิดแรงกดดันจากการขายหน่วยลงทุนรวมถึงหุ้นที่ถือครองของกองทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นทั่วโลก เพื่อนำเงินกลับไปชดเชยผลขาดทุนจากการดำเนินงานของกองทุนที่มีการถือครองสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากการไถ่ถอนหุ้นที่ลงทุนเพื่อนำกลับไปชดเชยผลขาดทุนแล้ว การขายหุ้นคืนเพื่อนำไปจ่ายคืนผู้ถือหุ้นลงทุนที่ต่างตื่นตระหนกจากเรื่องดังกล่าวจนทำให้กองทุนบางแห่งต้องประกาศปิดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนชั่วคราวเนื่องจากต้องบริหารจัดการกับสินทรัพย์ที่ลงทุนให้เรียบร้อยก่อน
"ผลจากทั้ง 2 เรื่องส่งผลโยงกลับเข้าสู่นักลงทุนในประเทศที่ไม่มั่นใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นต่างผสมโรงเทขายหุ้นที่ถือครองออกมาอย่างหนัก โดยหุ้นในกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์เป็นหุ้น 2 กลุ่มที่มีการขายออกมาอย่างชัดเจนเนื่องจากเป็นหุ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) สูงพอที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุน" นายปริทรรศน์ เหลืองอุทัย กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอสซีบี ควอนท์ กล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายรายมองว่า ปัญหาจากซับไพรม์แม้ว่าที่ผ่านนักลงทุนจะรับรู้ไปค่อนข้างเยอะแล้ว แต่สิ่งที่หลายฝ่ายยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน คือ ผลกระทบที่แท้จริงจากเรื่องดังกล่าวว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใดซึ่งจะส่งผลทำให้สามารถประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในสหรัฐฯไปจนถึงช่วงงบการเงินงวดไตรมาส 2/2008 ว่าจะยังมีตัวเลขผลกระทบจากซับไพรม์มากขึ้นหรือลดลงอย่างไร แม้ว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/2007 จะมีการประกาศความเสียหายจากซับไพรม์ จนทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก จนบางแห่งต้องประกาศปิดกิจการ แต่เรื่องดังกล่าว ณ ปัจจุบันยังไม่ถือว่าจบอย่างแท้จริง
ประมวลข่าว : พิษซับไพรม์สหรัฐ สะเทือนทั้งโลก!!
จากนั้นความยุ่งยากก็ไปปะทุขึ้นในบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งพัวพันกับตราสารหนี้อันอิงอยู่กับหลักทรัพย์ค้ำประกันของสินเชื่อซับไพรม์ ข้อมูลความเสียหายที่ทยอยประกาศกันออกมาอย่างกระมิดกระเมี้ยนทว่าถะถั่งพรั่งพรูเหมือนไม่รู้จักจบจักสิ้น ทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายเกิดความหวาดผวา หมดความไว้วางใจและไม่อยากปล่อยกู้ให้แก่กัน จนนำไปสู่ภาวะสินเชื่อตึงตัว วิกฤตซับไพรม์ซึ่งตอนต้นปีทำท่าจะสร้างความเสียหายเพียงวงจำกัด จึงกำลังบานปลายกลายเป็นวิกฤตสินเชื่อในตอนปลายปี และฤทธิ์เดชของมันอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถึงขั้นจมลงสู่ภาวะถดถอยทีเดียว รวมทั้งดึงลากเอาเศรษฐกิจทั่วโลกดำดิ่งลงไปด้วย
วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ปี 2007 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องย้อนเวลากลับไปจนถึงปลายปี 2001 เมื่อความหวาดกลัวการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในทั่วโลกภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ส่งผลกระทบกระเทือนหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งตอนนั้นอยู่ในอาการย่ำแย่อยู่แล้ว โดยเพิ่งเริ่มหลุดออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันบังเกิดขึ้นจากภาวะฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยีแตกในปลายทศวรรษ 1990
เพื่อช่วยเศรษฐกิจฟันฝ่าให้พ้นความลำบากดังกล่าว ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้เริ่มทยอยตัดลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมโหฬาร จนกระทั่งอัตราเฟดฟันด์เรตมาอยู่ที่ 1% ในปี 2003
พร้อมๆ กับที่ดอกเบี้ยต่ำลงเรื่อยๆ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯก็เริ่มคึกคักขึ้นทุกทีทั้งในเรื่องจำนวนบ้านที่ขายได้ และราคาบ้านซึ่งสูงเอาๆ
สหรัฐฯนั้นเป็นประเทศที่มีพัฒนาการในเรื่องการนำเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ มาออกเป็นตราสารหนี้ (ซีเคียวริไทเซชั่น) หรือหลักทรัพย์ที่หนุนหลังโดยสินทรัพย์ (เอบีเอส) เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
ยิ่งเมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์บูมกันสนั่นเช่นนี้ พวกสถาบันการเงินก็ได้คิดสร้างหลักทรัพย์เอบีเอสรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา มีการคิดค้นวิธีที่จะนำเอาสินเชื่อซึ่งปล่อยกู้แก่ลูกค้าประเภทซับไพรม์ เข้ามาผสมผเส ทว่ายังจะทำให้พวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ซึ่งมักจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้อยู่ด้วย) สามารถที่จะให้เรตติ้งระดับดีมากหรืออย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ถือว่าสามารถลงทุนได้ อย่างเช่นตราสารหนี้ collateralized debt obligations (CDOs)
ผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้แม้กระทั่งสถาบันการเงินที่มุ่งเน้นปล่อยกู้ประเภทซับไพรม์ ก็มีช่องทางที่จะขายต่อหนี้สินที่พวกตนให้ลูกค้าความเสี่ยงสูงกู้ยืม ดังนั้นจึงยิ่งเพิ่มแรงจูงใจที่จะหาลูกค้าในเชิงรุกกันมากขึ้น เกิดเป็นสภาพที่พวกสถาบันการเงินวอลล์สตรีทคอยรับซื้อหนี้สินซับไพรม์ นำเอามาจัดแพกเกจใหม่รวมไปกับเงินกู้ประเภทอื่นๆ ด้วยชั้นเชิงกลเม็ดที่จะทำให้ได้รับเรตติ้งดีๆ จากพวกบริษัทจัดอันดับ แล้วก็นำไปขายแก่นักลงทุน
เมื่อเวลาผ่านไป สถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มือต้น ชักย่อหย่อนแม้กระทั่งในการทำหน้าที่พื้นฐานในเรื่องการตรวจสอบฐานะของลูกค้าว่าจะผ่อนไหวหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรพวกเขาก็สามารถขายหนี้ต่อไปได้อยู่แล้ว ขณะเดียวกัน พวกเขาได้พัฒนากลเม็ดใหม่ๆ เพื่อชักจูงลูกค้ามาเซ็นสัญญาเงินกู้ อาทิ อัตราดอกเบี้ย teaser rate ที่เสนอดอกเบี้ยต่ำในระยะ 1-2 ปีแรก จากนั้นก็จะปรับให้สูงขึ้นซึ่งหลายกรณีจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทีเดียว หรือเงินกู้แบบจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้นในระยะปีแรกๆ ยิ่งตลาดคึกคักราคาบ้านขยับขึ้นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขายังแถมได้ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือ พวกเจ้าของบ้านที่มารีไฟแนนซ์เพื่อให้ได้เงินกู้เพิ่มเติม
ในส่วนของพวกสถาบันการเงินวอลล์สตรีทและนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ราคาบ้านที่มีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้พวกเขาไม่ค่อยกังวลใจกับการลงทุนซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะหากมีการผิดนัดชำระหนี้ ก็สามารถยึดบ้านที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันมาขายชนิดได้ราคาอยู่ดี ขณะที่สภาพคล่องซึ่งมีอยู่สูงในตลาดเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้สถาบันเหล่านี้สามารถที่จะหากู้ยืมได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์การลงทุนเพิ่มเติม และขายแก่นักลงทุนต่อไปอีก
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2004 เฟดได้เริ่มวงจรแห่งการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อพยายามชะลอภาวะเงินเฟ้อ โดยจะเพิ่มดอกเบี้ยถึง 17 ครั้งติดต่อกัน จากระดับ 1% ก็กลายมาเป็น 5.25% ในตอนกลางปี 2006
ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างแรง ตั้งแต่กลางปี 2005 ตลาดบ้านที่กำลังเฟื่องฟูในหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐฯ เกิดอาการชะงักไปอย่างกะทันหัน ยิ่งมาถึงกลางปี 2006 อาการเสื่อมทรุดก็เริ่มปรากฏชัด ยอดขายบ้านตกลงไป ส่วนราคากลางของบ้านที่ขายได้ก็ไม่ขยับขึ้นและเริ่มไหลลง อัตราการก่อสร้างลดฮวบจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และสินเชื่อลูกค้าซับไพรม์เริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นมาก
เข้าสู่ปี 2007 ยอดขายบ้านยังคงตกต่อไปอีก ในเดือนมีนาคม สมาคมนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ยอดขายบ้านที่ไม่ใช่บ้านสร้างใหม่ ทรุดตัวหนักที่สุดในรอบ 18 ปี ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ ของไตรมาสแรก ชี้ว่าราคาบ้านตกลงมากันทั่วทั้งประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี
เมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ทรุดตัวแรง ก็ส่งผลไปถึงภาคการเงินซึ่งพัวพันกับบ้านพักอาศัย โดยเฉพาะพวกสถาบันการเงินที่เน้นปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ลูกค้าซับไพรม์ เป็นพวกที่ได้รับผลกระทบกระเทือนเร็วและแรงกว่าเพื่อน จนถึงขั้นอยู่ในอาการพังพาบ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม สถาบันเหล่านี้ 20 กว่าแห่งประกาศขอล้มละลาย หรือเสนอขายกิจการ หรืออย่างน้อยก็ประกาศผลประกอบการขาดทุนหนัก แม้กระทั่ง นิว เซนจูรี ไฟแนนซ์ ผู้ปล่อยกู้ซับไพรม์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ยังต้องขอล้มละลายตอนต้นเดือนเมษายน ยูบีเอสที่เป็นแบงก์ยักษ์สัญชาติสวิส ปิดกิจการปล่อยกู้ซับไพรม์ในสหรัฐฯของตนที่ชื่อ ดิลลอน รีด แคปิตอล แมเนจเมนต์ ในต้นเดือนพฤษภาคม
ขณะเดียวกัน พวกสถาบันการเงินที่ครอบครองตราสารหนี้ซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ทั้งหลาย ก็พลอยย่ำแย่ไปตามๆ กัน เพราะเมื่อผู้กู้ยืมสินเชื่ออสังริมทรัพย์พากันผิดนัดชำระหนี้ แม้ยึดหลักประกันมาได้ ทว่าราคาบ้านกลับอยู่ในช่วงทรุดต่ำตลอดเวลา ดังนั้นบรรดาสินทรัพย์ซึ่งอิงกับสินเชื่อประเภทนี้ก็ต้องเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าในตอนที่คิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะพยายามวางกลเม็ดป้องกันเอาไว้อย่างไรก็ตามที
เดือนมิถุนายน แบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท เปิดเผยว่าต้องควักเงิน 3,200 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยไม่ให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ 2 กองทุนซึ่งตนเองบริหารอยู่ และขาดทุนหนักจากการพัวพันกับตลาดซับไพรม์ ต้องถึงกับล้มละลายไป นับเป็นกรณีการเข้าอุ้มกิจการในเครือที่ใหญ่ที่สุดของแบงก์ในรอบเกือบ 10 ปี ทว่าอีกเดือนเศษต่อมา แบร์สเติร์นส์ก็ต้องยื่นขอล้มละลายเฮดจ์ฟันด์ทั้ง 2 กองทุนนี้อยู่ดี แถมยังระงับไม่ให้ลูกค้าถอนเงินคืนจากเฮดจ์ฟันด์กองทุนที่ 3 ของตน หลังจากมีการแห่ขอไถ่ถอนกันมากมาย
กรณีของแบร์สเติร์นส์ นอกจากทำให้วาณิชธนกิจแห่งนี้ย่ำแย่ ต้องมีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับท็อปจำนวนหนึ่ง และราคาหุ้นตกฮวบแล้ว ยังทำให้ดัชนีหุ้นวอลล์สตรีทเซซวด และตลาดสินเชื่อทั่วโลก ปรากฏภาวะตึงตัวรุนแรง เพราะบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินชักไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ทราบชัดเจนว่าใครบ้างที่จะต้องเสียหายจากซับไพรม์กันอีกและเป็นจำนวนเท่าใด จึงไม่ค่อยยอมปล่อยกู้ให้แก่กัน
ตลาดเงิน หรือตลาดสินเชื่อระยะสั้น ซึ่งพวกเพลเยอร์คือแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ถึงขั้นชะงักงัน ในวันที่ 9 สิงหาคม หลังจาก บีเอ็นพี ปาริบาส์ แบงก์ยักษ์ฝรั่งเศสระงับการซื้อหรือไถ่ถอนกองทุน 3 กองทุนของตนที่มีมูลค่ารวม 2,000 ล้านยูโร เพราะปัญหาซึ่งอิงกับสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐฯ บีเอ็มพีบอกว่าตนไม่สามารถตีมูลค่าสินทรัพย์ในกองทุนเหล่านี้ เพราะตลาดได้เหือดหายไปในทางเป็นจริง
ในสภาพเช่นนี้ ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ได้เร่งอัดฉีดสภาพคล่อง 95,000 ล้านยูโรเข้าไปในระบบธนาคารของยูโรโซน เพื่อผ่อนคลายภาวะสินเชื่อตึงตัว จากนั้นเฟดและธนาคารกลางของญี่ปุ่นก็ทำอย่างเดียวกัน
หลังจากนี้ ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของอเมริกาเหนือและยุโรป ยังมีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบกันอีกหลายรอบ โดยเฉพาะตอนใกล้สิ้นปี เฟด, อีซีบี, และธนาคารชาติของอังกฤษ,แคนาดา, สวิส ได้จับมือกันเปิดช่องทางใหม่ในการปล่อยเงินสดเข้าระบบธนาคาร ซึ่งกำหนดเงื่อนไขผ่อนปรนมากขึ้น เพื่อให้แก้ไขภาวะสินเชื่อตึงตัวได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อีซีบีได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างดุดันกว่าเพื่อน โดยในวันที่ 18 ธันวาคม ได้ปล่อยสภาพคล่องระยะสั้นออกไปไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางทั้งหลายก็ได้ทำการลดดอกเบี้ย หรืออย่างน้อยก็ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟดนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง รวมเท่ากับ 1% ทำให้เฟดฟันด์เรตลงมาอยู่ที่ 4.25% ในตอนสิ้นปี
ทว่ามาตรการเหล่านี้อย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหา เพราะการที่ภาวะตึงตัวในตลาดจะสามารถคลี่คลายไปได้อย่างแท้จริงนั้น บรรดาแบงก์และสถาบันการเงินเองจะต้องกลับมีความมั่นใจในกันและกัน และกล้าปล่อยกู้ให้แก่กันอีกครั้งหนึ่ง
แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังคงมีข่าวร้ายออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯอาการยังไม่ดีขึ้น ราคาบ้านยังคงตกต่อ มีลูกค้าซับไพรม์อีกเกือบ 2 ล้านรายที่อัตราดอกเบี้ยของพวกเขาจะต้องถูกปรับขึ้นลิ่วในรอบ 1 ปีข้างหน้า และมีหวังถูกยึดบ้านกันมากมาย เนื่องจากเรื่องนี้กระทบกระเทือนประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลสหรัฐฯจึงพยายามเสนอมาตรการช่วยเหลือซึ่งเน้นที่การขอให้สถาบันการเงินยอมชะลอการปรับดอกเบี้ยออกไปก่อน
ทางด้านภาคการเงิน แบงก์แห่งนั้นสถาบันการเงินแห่งนี้ออกมาแถลงข่าวไม่หยุดหย่อน ว่าประสบการขาดทุนหนักจากสินเชื่อซับไพรม์และวิกฤตสินเชื่อตึงตัว แม้กระทั่งแห่งที่แจ้งความเสียหายออกมาแล้ว อีกไม่กี่วันก็ยังปรากฏความเสียหายงอกเพิ่มก้อนมหึมาขึ้นมาอีก โดยที่ความเสียหายทั้งหมดในภาคการเงินจะเป็นเท่าใดกันแน่ ดูจะไม่มีใครประเมินได้อย่างชัดเจน อาทิ เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดเคยพูดไว้ในเดือนกรกฎาคมว่า ความเสียหายจากวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯ คงจะถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ ทว่านักวิเคราะห์ของ โกลด์แมนแซคส์ วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทชื่อดัง พูดในเดือนพฤศจิกายนว่า น่าจะไปถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว นักวิเคราะห์บางเจ้าให้ตัวเลขกลมๆ ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว
นอกจากนั้น ความเสียหายจากซับไพรม์และวิกฤตสินเชื่อของภาคการเงิน ยังทำให้มีการปลดการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่บริหารระดับท็อปของแบงก์และสถาบันการเงินกันมาก โดยรายที่เป็นข่าวใหญ่กว่าเพื่อน คือ การเปลี่ยนตัวซีอีโอของ ซิตีกรุ๊ป และ เมอร์ริลลินช์
ความเสียหายที่ลุกลามบานปลายมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความเชื่อในตอนต้นปีที่ว่า พิษภัยของวิกฤตคราวนี้จะจำกัดอยู่เฉพาะในภาคการเงินของสหรัฐฯ ต้องหลีกทางให้กับความหวาดหวั่นที่ว่า มันจะแสดงฤทธิ์เดชทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถึงขั้นชะลอตัวลงในปีหน้า สถาบันต่างๆ ไม่ว่าระดับระหว่างประเทศหรือในสหรัฐฯ ตลอดจนของภาคเอกชน ต่างปรับลดตัวเลขพยากรณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกันในปีหน้า
ถึงแม้ความเห็นส่วนใหญ่ยังคงมองว่าเศรษฐกิจอเมริกาน่าจะมีการขยายตัวอยู่ แต่ก็มีเสียงแสดงความวิตกว่า หากความไว้เนื้อเชื่อใจในหมู่แบงก์และสถาบันการเงินยังไม่ฟื้นคืนมา เศรษฐกิจสหรัฐฯก็อาจย่ำแย่ถึงขึ้นเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ได้***ผลกระทบต่อประเทศไทยสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ด้วยเช่นกัน โดยส่อเค้ามาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2007 ก่อนจะทวีความรุนแรงสุดๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากระดับใกล้ 900 จุด ไหลรูดลงมาแตะที่ระดับ 750 จุด หรือเกือบ 150 จุด คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงเกือบ 17% ภายในระยะเพียง 1 เดือน
โดยในช่วงดังกล่าวนักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ออกมาประเมินผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกและลุกลามถึงตลาดหุ้นไทยด้วย แม้ว่าจะเป็นเพียงตลาดหุ้นขนาดเล็กในภูมิภาคนี้ แต่ได้เกิดแรงกดดันจากการขายหน่วยลงทุนรวมถึงหุ้นที่ถือครองของกองทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นทั่วโลก เพื่อนำเงินกลับไปชดเชยผลขาดทุนจากการดำเนินงานของกองทุนที่มีการถือครองสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากการไถ่ถอนหุ้นที่ลงทุนเพื่อนำกลับไปชดเชยผลขาดทุนแล้ว การขายหุ้นคืนเพื่อนำไปจ่ายคืนผู้ถือหุ้นลงทุนที่ต่างตื่นตระหนกจากเรื่องดังกล่าวจนทำให้กองทุนบางแห่งต้องประกาศปิดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนชั่วคราวเนื่องจากต้องบริหารจัดการกับสินทรัพย์ที่ลงทุนให้เรียบร้อยก่อน
"ผลจากทั้ง 2 เรื่องส่งผลโยงกลับเข้าสู่นักลงทุนในประเทศที่ไม่มั่นใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นต่างผสมโรงเทขายหุ้นที่ถือครองออกมาอย่างหนัก โดยหุ้นในกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์เป็นหุ้น 2 กลุ่มที่มีการขายออกมาอย่างชัดเจนเนื่องจากเป็นหุ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) สูงพอที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุน" นายปริทรรศน์ เหลืองอุทัย กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอสซีบี ควอนท์ กล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายรายมองว่า ปัญหาจากซับไพรม์แม้ว่าที่ผ่านนักลงทุนจะรับรู้ไปค่อนข้างเยอะแล้ว แต่สิ่งที่หลายฝ่ายยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน คือ ผลกระทบที่แท้จริงจากเรื่องดังกล่าวว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใดซึ่งจะส่งผลทำให้สามารถประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในสหรัฐฯไปจนถึงช่วงงบการเงินงวดไตรมาส 2/2008 ว่าจะยังมีตัวเลขผลกระทบจากซับไพรม์มากขึ้นหรือลดลงอย่างไร แม้ว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/2007 จะมีการประกาศความเสียหายจากซับไพรม์ จนทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก จนบางแห่งต้องประกาศปิดกิจการ แต่เรื่องดังกล่าว ณ ปัจจุบันยังไม่ถือว่าจบอย่างแท้จริง
ประมวลข่าว : พิษซับไพรม์สหรัฐ สะเทือนทั้งโลก!!