ผู้จัดการรายวัน - “สภาพัฒน์” รับรัฐบาลชุดใหม่ เล็งตั้งงบประมาณขาดดุลกลางปี 2551 เพิ่มเติมเพื่อขับเคลื่อนภาคลงทุนได้ หลังวิเคราะห์พบพรรคการเมืองชูนโยบายประชานิยมหาเสียงเพียบ แต่ต้องไม่ใช้เกิน 50% หวั่นหนี้สาธารณะเพิ่ม
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว รัฐบาลชุดใหม่สามารถที่จะตั้งงบประมาณขาดดุลกลางปี 2551 เพิ่มเติมได้ ตามที่พรรคการเมืองหลายพรรคได้ชูนโยบายหาเสียงกับประชาชนไว้ เช่น การลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า สาธารณูปโภค การชลประทาน และโลจิสติกส์ เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนภาคลงทุน แต่ลงทุนไม่ควรใช้เงินมากจนทำให้หนี้สาธารณะเกิน 50% ของรายได้ประชาชาติ เพราะหากเกินอาจทำให้เศรษฐกิจไทยกลับไปสู่ยุควิกฤติเหมือนปี 2540 ที่มีหนี้สาธารณะจำนวนมาก
ขณะเดียวกันหากรัฐบาลมีโครงการลงทุนใหม่จำนวนมากก็ควรพิจารณาสิ่งที่เร่งด่วนและมีความจำเป็นก่อนเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สูงสุด และที่สำคัญควรยึดแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่เน้นทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ส่วนการกู้เงินก็ต้องรอบคอบรวมถึงไม่ควรเพิ่มความเสี่ยงในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ สศช. เห็นว่าโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปี 2551 เช่น รถไฟฟ้า 5 สาย ส่วนขยายต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งตรงนี้จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวตัว ขณะเดียวกันควรลงทุนด้านวิจัย, การศึกษา, สาธารณสุข เป็นต้น แต่รัฐบาลไม่ควรตั้งงบขาดดุลเพียงต้องการกระตุ้นภาคบริโภคแม้หนี้สาธารณะยังไม่ถึง 50% ก็ตามเพราะไม่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
“รัฐบาลใหม่สามารถตั้งงบขาดดุลในหลายปีติดต่อก็ได้หากเศรษฐกิจช่วงนั้นอำนวย รวมถึงหนี้สาธารณะยังไม่เกิน 50% แต่ถ้าเกินเพดานแล้วก็ระมัดระวังเกี่ยวกับรายจ่ายให้มาก ท่ามกลางภาวะน้ำมันตลาดโลกปรับตัวสูง และปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เพราะหากไทยตั้งรายจ่ายมากเกินไปอาจเกิดวิกฤติอีกรอบหนึ่งก็ได้”
นายอำพน กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2550 ถือว่ารัฐบาลชุดนี้สามารถประคองได้ดีมาก เพราะมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันสูงเป็นประวัติศาสตร์ถึง 100 เหรียญฯต่อบาเรล รวมถึงภาวะการลงทุนที่ชะลออย่างมากโดยเฉพาะภาคเอกชน ซึ่งจากตัวเลขดัชนีในเดือน พ.ย. พบว่าทั้งปีเศรษฐกิจอาจขยายตัวได้ถึง 4.6% ก็ได้
ขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานของไทยก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะว่ากระแสของการปิดโรงงานบ้าง โดยในช่วงไตรมาส 3 ของปีคนมีงานทำมากถึง 37.12 ล้านคน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการจ้างงานเพียง 36.34 ล้านคน โดยมีปัจจัยจากภาคเกษตรมีการทำงานเพิ่มขึ้น 1.2% เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว และราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงมากในเดือน ก.ย. ทำให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต
ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 2.9% เพราะภาคอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคารมีการขยายตัว เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกปรับตัวดีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียง 1.2% ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเตรียมจัดตำแหน่งงานว่าง ให้ความช่วยเหลือนายจ้างให้สามารถดำเนินการกิจการต่อเนื่อง และพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด เช่น ฝึกภาษาต่างประเทศ, อบรมทักษะคอมพิวเตอร์
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว รัฐบาลชุดใหม่สามารถที่จะตั้งงบประมาณขาดดุลกลางปี 2551 เพิ่มเติมได้ ตามที่พรรคการเมืองหลายพรรคได้ชูนโยบายหาเสียงกับประชาชนไว้ เช่น การลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า สาธารณูปโภค การชลประทาน และโลจิสติกส์ เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนภาคลงทุน แต่ลงทุนไม่ควรใช้เงินมากจนทำให้หนี้สาธารณะเกิน 50% ของรายได้ประชาชาติ เพราะหากเกินอาจทำให้เศรษฐกิจไทยกลับไปสู่ยุควิกฤติเหมือนปี 2540 ที่มีหนี้สาธารณะจำนวนมาก
ขณะเดียวกันหากรัฐบาลมีโครงการลงทุนใหม่จำนวนมากก็ควรพิจารณาสิ่งที่เร่งด่วนและมีความจำเป็นก่อนเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สูงสุด และที่สำคัญควรยึดแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่เน้นทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ส่วนการกู้เงินก็ต้องรอบคอบรวมถึงไม่ควรเพิ่มความเสี่ยงในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ สศช. เห็นว่าโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปี 2551 เช่น รถไฟฟ้า 5 สาย ส่วนขยายต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งตรงนี้จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวตัว ขณะเดียวกันควรลงทุนด้านวิจัย, การศึกษา, สาธารณสุข เป็นต้น แต่รัฐบาลไม่ควรตั้งงบขาดดุลเพียงต้องการกระตุ้นภาคบริโภคแม้หนี้สาธารณะยังไม่ถึง 50% ก็ตามเพราะไม่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
“รัฐบาลใหม่สามารถตั้งงบขาดดุลในหลายปีติดต่อก็ได้หากเศรษฐกิจช่วงนั้นอำนวย รวมถึงหนี้สาธารณะยังไม่เกิน 50% แต่ถ้าเกินเพดานแล้วก็ระมัดระวังเกี่ยวกับรายจ่ายให้มาก ท่ามกลางภาวะน้ำมันตลาดโลกปรับตัวสูง และปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เพราะหากไทยตั้งรายจ่ายมากเกินไปอาจเกิดวิกฤติอีกรอบหนึ่งก็ได้”
นายอำพน กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2550 ถือว่ารัฐบาลชุดนี้สามารถประคองได้ดีมาก เพราะมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันสูงเป็นประวัติศาสตร์ถึง 100 เหรียญฯต่อบาเรล รวมถึงภาวะการลงทุนที่ชะลออย่างมากโดยเฉพาะภาคเอกชน ซึ่งจากตัวเลขดัชนีในเดือน พ.ย. พบว่าทั้งปีเศรษฐกิจอาจขยายตัวได้ถึง 4.6% ก็ได้
ขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานของไทยก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะว่ากระแสของการปิดโรงงานบ้าง โดยในช่วงไตรมาส 3 ของปีคนมีงานทำมากถึง 37.12 ล้านคน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการจ้างงานเพียง 36.34 ล้านคน โดยมีปัจจัยจากภาคเกษตรมีการทำงานเพิ่มขึ้น 1.2% เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว และราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงมากในเดือน ก.ย. ทำให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต
ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 2.9% เพราะภาคอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคารมีการขยายตัว เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกปรับตัวดีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียง 1.2% ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเตรียมจัดตำแหน่งงานว่าง ให้ความช่วยเหลือนายจ้างให้สามารถดำเนินการกิจการต่อเนื่อง และพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด เช่น ฝึกภาษาต่างประเทศ, อบรมทักษะคอมพิวเตอร์