"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" ยื่น สนช.-ป.ป.ช. สอบ"โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์" เอื้อประโยชน์เอกชน เข้าข่ายความผิด มาตรา 100 กฎหมาย ป.ป.ช. ระบุเคยนั่งบอร์ดบริษัทฯ ใช้อำนาจรองนายกฯ คุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เสนอ รมว.อุตฯ ชงเข้าครม.เตรียมไฟเขียว"ผาแดงอินดัสทรี" รับประทานบัตรเพิ่ม เหมืองสังกะสี บนพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ด้าน "ผาแดงฯ" ชี้แจงขอประทานบัตรตามขั้นตอนอย่างถูกต้องมาตั้งแต่ปี 46 โดยใช้เวลาในการทำอีไอเอนาน เนื่องจากรัฐเข้มงวดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
วานนี้ (12 ธ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักธุรกิจ เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนผ่าน น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ประธานคณะกรรมาธิการจริยธรรมและคุณธรรมนักการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำของ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และ รมว.อุตสาหกรรม ฐานเข้าข่ายกระทำความผิด เนื่องจากเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเอกชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายโฆสิต เคยเป็นกรรมการของผาแดงฯ ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จนถึงวันที่ 9 ต.ค.49
ทั้งนี้ นายเรืองไกร ยังได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบนายโฆสิตด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า เอกสารที่ยื่นให้กับ ประธาน กมธ.จริยธรรมและคุณธรรมนักการเมือง สนช. และป.ป.ช. นั้น ระบุว่า ก่อนหน้านั้น ผาแดงฯ ได้ดำเนินการยื่นขอประทานบัตรใหม่ พร้อมใบอนุญาตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 46 เพื่อขยายเวลาสัมปทาน แต่ไม่ได้รับอนุมัติจากรมว.อุตสาหกรรม หรือรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลที่แล้ว หลังจากที่ประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสี และพื้นที่กิจกรรมเกี่ยวเนื่องของผาแดงฯ หมดอายุสัมปทานในวันที่ 17 ต.ค.50
จนกระทั่ง นายโฆสิต เข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นผู้เร่งรัดดำเนินการเริ่มตั้งแต่ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ให้ความเห็นชอบตามที่ผาแดงฯ ต้องการในวันที่ 26 มี.ค. 50 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเข้าข่ายเป็นการดำเนินการโดยไม่ชอบ
ตามข้อเรียกร้อง ยังเชื่อว่า การกระทำของ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อันมีลักษณะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 มาตรา 122 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์สว่นรวม ที่นายโฆสิตได้อาศัยตำแหน่งรมว.อุตสาหกรรม ทำหนังสือถึงเลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 50 เรื่องผาแดงฯ ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เพื่อการทำเหมืองแร่ท้องที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
โดยนายโฆสิต ได้ทำความเห็นในฐานะรมว.อุตสาหกรรม ว่าเห็นควรเสนอ ครม.ผ่อนผันให้ผาแดงฯใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี ซึ่งเป็นเพื่อทำเหมืองแร่สังกะสีได้ จากที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 50 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
อีกทั้งนายกรัฐมนตรี เคยได้ให้สัมภาษณ์ว่า นายโฆสิต ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง รมว.คลัง เพราะต้องการกลับไปรับตำแหน่งกรรมการในธนาคารกรุงเทพ เมื่อพ้นจากตำแหน่งในรัฐบาลปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า นายโฆสิต มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัท ผาแดงฯ อยู่อย่างต่อเนื่อง และอาจจะเป็นการจงใจ อาจเข้าข่ายทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย และเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จึงเชื่อได้ว่า เป็นการเร่งรัดที่ถือว่าผิดปกติในลักษณะ"ชงเอง กินเอง"
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ขณะนี้ผาแดงฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติผ่อนผันให้ใช้พื้นที่ป่าไม้จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังไม่ได้เสนอคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.แร่ เพื่อการออกประทานบัตร แต่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรมว.อุตสาหกรรม ก็ต้องเซ็นอนุมัติ เพราะได้รับการผ่อนผันไปแล้ว ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผาแดงฯ อย่างชัดเจน
นายเรืองไกร ยอมรับว่า นอกจากการยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนแล้ว ในส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีปัญหาเรื่องการเป็นทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ในช่วงที่มีการทำหนังสือชี้ชวนจูงใจให้นักลงทุนทั่วไปซื้อหุ้น ซึ่งตนจะเปิดเผยให้ทราบเร็วๆ นี้ เพราะเกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศในลักษณะที่เป็น นอมินี ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นที่แท้จริง
ผาแดงฯ ยันขั้นตอนถูกต้องโปร่งใส
ด้านบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบนายโฆสิต ฐานเอื้อประโยชน์ในการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสีให้กับบริษัท ผาแดงฯนั้น บริษัทฯได้มีการขอประทานบัตรตามขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติทุกหน่วยงานอย่างถูกต้องบนพื้นฐานการควบคุมกิจการที่ดี ซึ่งบริษัทฯได้ขอประทานบัตรมาตั้งแต่ปี 46 โดจัดทำรายงานการประเมินศักยภาพลุ่มน้ำ เสนอสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ) เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 46 ต่อมาครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 48 ให้ปรับปรุงกระบวนการขอประทานบัตรใหม่ โดยให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) เสนอ สผ. ก่อน ทางบริษัทฯจึงได้เริ่มจัดทำรายงาน EIA ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้มงวดในเรื่องของมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 มี.ค.50
หลังจากนั้น สผ.จึงได้นำเสนอรายงาน EIA ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 50 ซึ่ง กก.วล. มีมติให้บริษัทฯจัดทำข้อมูล และเสนอมาตรการเพิ่มเติม และได้ให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 9/2550 เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเห็นชอบให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี
กพร. จึงได้เสนอเรื่องให้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอ ครม. โดยครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ต.ค.50 เห็นชอบผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ เพื่อเสนอคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.แร่ เพื่อการออกประทานบัตรต่อไป ซึ่งรวมระยะเวลาที่บริษัทฯได้ดำเนินการขอประทานบัตรดังกล่าวนานเกือบ 5 ปี และยังไม่ได้มีการนำเสนอ รมว.อุตสาหกรรมพิจารณาอนุมัติประทานบัตรแต่อย่างใด
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้หยุดกิจกรรมการทำเหมืองแม่สอดชั่วคราว หลังสิ้นสุดอายุประทานบัตรตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องนำเข้าแร่สังกะสีจากต่างประเทศมากขึ้นระหว่างรอประทานบัตรใหม่ ที่คาดว่าจะได้รับภายในสิ้นปีนี้
วานนี้ (12 ธ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักธุรกิจ เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนผ่าน น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ประธานคณะกรรมาธิการจริยธรรมและคุณธรรมนักการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำของ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และ รมว.อุตสาหกรรม ฐานเข้าข่ายกระทำความผิด เนื่องจากเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเอกชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายโฆสิต เคยเป็นกรรมการของผาแดงฯ ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จนถึงวันที่ 9 ต.ค.49
ทั้งนี้ นายเรืองไกร ยังได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบนายโฆสิตด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า เอกสารที่ยื่นให้กับ ประธาน กมธ.จริยธรรมและคุณธรรมนักการเมือง สนช. และป.ป.ช. นั้น ระบุว่า ก่อนหน้านั้น ผาแดงฯ ได้ดำเนินการยื่นขอประทานบัตรใหม่ พร้อมใบอนุญาตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 46 เพื่อขยายเวลาสัมปทาน แต่ไม่ได้รับอนุมัติจากรมว.อุตสาหกรรม หรือรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลที่แล้ว หลังจากที่ประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสี และพื้นที่กิจกรรมเกี่ยวเนื่องของผาแดงฯ หมดอายุสัมปทานในวันที่ 17 ต.ค.50
จนกระทั่ง นายโฆสิต เข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นผู้เร่งรัดดำเนินการเริ่มตั้งแต่ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ให้ความเห็นชอบตามที่ผาแดงฯ ต้องการในวันที่ 26 มี.ค. 50 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเข้าข่ายเป็นการดำเนินการโดยไม่ชอบ
ตามข้อเรียกร้อง ยังเชื่อว่า การกระทำของ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อันมีลักษณะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 มาตรา 122 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์สว่นรวม ที่นายโฆสิตได้อาศัยตำแหน่งรมว.อุตสาหกรรม ทำหนังสือถึงเลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 50 เรื่องผาแดงฯ ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เพื่อการทำเหมืองแร่ท้องที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
โดยนายโฆสิต ได้ทำความเห็นในฐานะรมว.อุตสาหกรรม ว่าเห็นควรเสนอ ครม.ผ่อนผันให้ผาแดงฯใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี ซึ่งเป็นเพื่อทำเหมืองแร่สังกะสีได้ จากที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 50 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
อีกทั้งนายกรัฐมนตรี เคยได้ให้สัมภาษณ์ว่า นายโฆสิต ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง รมว.คลัง เพราะต้องการกลับไปรับตำแหน่งกรรมการในธนาคารกรุงเทพ เมื่อพ้นจากตำแหน่งในรัฐบาลปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า นายโฆสิต มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัท ผาแดงฯ อยู่อย่างต่อเนื่อง และอาจจะเป็นการจงใจ อาจเข้าข่ายทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย และเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จึงเชื่อได้ว่า เป็นการเร่งรัดที่ถือว่าผิดปกติในลักษณะ"ชงเอง กินเอง"
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ขณะนี้ผาแดงฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติผ่อนผันให้ใช้พื้นที่ป่าไม้จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังไม่ได้เสนอคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.แร่ เพื่อการออกประทานบัตร แต่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรมว.อุตสาหกรรม ก็ต้องเซ็นอนุมัติ เพราะได้รับการผ่อนผันไปแล้ว ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผาแดงฯ อย่างชัดเจน
นายเรืองไกร ยอมรับว่า นอกจากการยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนแล้ว ในส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีปัญหาเรื่องการเป็นทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ในช่วงที่มีการทำหนังสือชี้ชวนจูงใจให้นักลงทุนทั่วไปซื้อหุ้น ซึ่งตนจะเปิดเผยให้ทราบเร็วๆ นี้ เพราะเกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศในลักษณะที่เป็น นอมินี ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นที่แท้จริง
ผาแดงฯ ยันขั้นตอนถูกต้องโปร่งใส
ด้านบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบนายโฆสิต ฐานเอื้อประโยชน์ในการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสีให้กับบริษัท ผาแดงฯนั้น บริษัทฯได้มีการขอประทานบัตรตามขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติทุกหน่วยงานอย่างถูกต้องบนพื้นฐานการควบคุมกิจการที่ดี ซึ่งบริษัทฯได้ขอประทานบัตรมาตั้งแต่ปี 46 โดจัดทำรายงานการประเมินศักยภาพลุ่มน้ำ เสนอสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ) เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 46 ต่อมาครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 48 ให้ปรับปรุงกระบวนการขอประทานบัตรใหม่ โดยให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) เสนอ สผ. ก่อน ทางบริษัทฯจึงได้เริ่มจัดทำรายงาน EIA ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้มงวดในเรื่องของมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 มี.ค.50
หลังจากนั้น สผ.จึงได้นำเสนอรายงาน EIA ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 50 ซึ่ง กก.วล. มีมติให้บริษัทฯจัดทำข้อมูล และเสนอมาตรการเพิ่มเติม และได้ให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 9/2550 เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเห็นชอบให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี
กพร. จึงได้เสนอเรื่องให้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอ ครม. โดยครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ต.ค.50 เห็นชอบผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ เพื่อเสนอคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.แร่ เพื่อการออกประทานบัตรต่อไป ซึ่งรวมระยะเวลาที่บริษัทฯได้ดำเนินการขอประทานบัตรดังกล่าวนานเกือบ 5 ปี และยังไม่ได้มีการนำเสนอ รมว.อุตสาหกรรมพิจารณาอนุมัติประทานบัตรแต่อย่างใด
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้หยุดกิจกรรมการทำเหมืองแม่สอดชั่วคราว หลังสิ้นสุดอายุประทานบัตรตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องนำเข้าแร่สังกะสีจากต่างประเทศมากขึ้นระหว่างรอประทานบัตรใหม่ ที่คาดว่าจะได้รับภายในสิ้นปีนี้