ครม.แม้ว-บอร์ดกองสลากไม่รอด คตส. สรุปส่งอัยการสูงสุดเชือดใน14 วัน พร้อมติดดาบอนุฯไต่สวนบ้านเอื้ออาทร หลังพบขบวนการงาบแบบโควต้า ตั้งบริษัทผีฟอกเงิน 8.5 พันล้านข้ามประเทศ อายัดอีกเงินปันผลหุ้น"บรรณพจน์" กว่า 15 ล้าน พร้อมหุ้นอีก 3 รายการ
เมื่อวานนี้ (11ธ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) โดยหลังการประชุม นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. พร้อมด้วยนายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. และนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการคตส. ได้ร่วมแถลงผลการประชุม โดยนายอุดม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือ หวยบนดิน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่อนุกรรมการไต่สวน เสนอ คือให้ส่งสำนวนการไต่สวนในคดีดังกล่าวให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วัน เพื่อพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 47 ราย แบ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้าร่วมประชุม ครม.ในวันที่ 8 ก.ค. 46 จำนวน 30 ราย และคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 17 ราย โดยมีความผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา ทำให้รัฐเสียหายถึง 36,961,827,861.91 บาท แบ่งเป็น กระทรวงการคลัง 8,970,740,910.22 บาท กระทรวงมหาดไทย 12,792,152,581.50 บาท กรุงเทพมหานคร 336,635,594.25 บาท นอกจากนี้ในระหว่างการไต่สวน มีหน่วยงานที่คืนเงินให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงิน 1,165,206,560 บาท
สำหรับผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาที่จะต้องรับผิดชอบกับการดำเนินการครั้งนี้ จะแยกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1. ครม. ที่เข้าร่วมประชุมในวันที่ 8 ก.ค. 46 และมีมติให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว 2. คณะกรรมการกองสลาก ที่เข้าร่วมประชุม และมีมติให้ดำเนินการโครงการหวยบนดิน ซึ่งในส่วนของ ครม. ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบประกอบไปด้วย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายกร ทัพพะรังสี ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายวิษณุ เครืองาม พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ นายวราเทพ รัตนากร นายสนธยา คุณปลื้ม นายอนุรักษ์ จุรีมาศ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายเนวิน ชิดชอบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายพิเชษฐ สถิรชวาล นายนิกร จำนง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายอดิศัย โพธารามิก นายวัฒนา เมืองสุข นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นางอุไรวรรณ เทียนทอง นายพินิจ จารุสมบัติ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พล.ต.อ. ประชา พรมนอก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86,91,147,154,157 และ ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 8,9,10 และ 11
ทั้งนี้ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ อดีต รมว.คลัง และ นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะถูกตั้งข้อกล่าวหา ในมาตรา 152 ตามประมวลกฎหมายอาญา อีกหนึ่งกระทง ส่วนนายประมวล รุจนเสรี และนายปองพล อดิเรกสาร ไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม. ในวันนั้น
ส่วนคณะกรรมการกองสลาก เฉพาะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ในครั้งที่ 9/46 วันที่ 18 มิ.ย. 46 คือ นายสมใจนึก เองตระกูล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายพรชัย นุชสุวรรณ น.ส สุรีพร ดวงโต นายณัฐวิช อินทุภูมิ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี ถือว่าเป็นตัวการ และสนับสนุน ร่วมกับครม. ให้กระทำความผิด จะถูกตั้งข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86,91,147,152,153,154,157 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ ใน มาตรา 8,9,10 และ 11
ส่วนคณะกรรมการฯ ที่เข้าร่วมประชุม เฉพาะส่วนที่มีการอนุมัติเงินรายได้ ในโครงการนี้ จะต้องรับผิดเฉพาะส่วนที่อนุมัติเงินรายได้ไปใช้ประโยชน์ด้วย คือนายสมใจนึก เองตระกูล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายพรชัย นุชสุวรรณ น.ส. สุรีพร ดวงโต นายณัฐวิช อินทุภูมิ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี นายกำธร ตติยกวี พล.ต.ต. สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ พล.ต.อ. สมบัติ อมรวิวัฒน์ นางสตรี ประทีปปะเสน นายอำนวยศักดิ์ พูลศิริ พล.ต.ท. อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายบัณฑูร สุภัควณิช นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ จะถูกตั้งข้อกล่าวหา กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84, 86, 91,147 ,153,157 และ และพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 8,9,10 และ 11
สำหรับความรับผิดทางแพ่งนั้น ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐมนตรี ที่เข้าร่วมประชุม ครม. บางส่วน รวมถึงบอร์ดกองสลากที่ร่วมประชุมอนุมัติครั้งแรก จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเต็มจำนวน ส่วนคณะกรรมการกองสลาก ที่เข้าร่วมประชุม และมีมติอนุมัติในแต่ละเรื่อง จะต้องรับผิดชอบตามจำนวนเงิน ที่ตนเองอนุมัติไป
นายอุดม กล่าวว่า สำหรับการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง 4 หน่วยงานที่เสียหายคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กทม. และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเอาเอง โดยอาจจะฟ้องร้องเลยก็ได้ หรืออาจรอให้ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนจากนั้นค่อยเรียกค่าเสียหายภายหลังก็ได้
**ขอ อสส.ไม่ต้องมีผู้ต้องหาปรากฏตัว
นอกจากนี้ คตส. ยังเห็นชอบให้เสนอไปยังอัยการสูงสุดว่า เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงต้องส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นในชั้นที่ศาลนัดพิจารณารับคำร้อง หรือไม่ ไม่ต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาปรากฏตัวต่อหน้าศาลก่อนที่ศาลจะประทับรับฟ้อง เพียงแต่ให้ระบุชื่อที่อยู่จริงตามทะเบียนราษฎร์ เพื่อไม่ให้กระบวนการต้องหยุดชะงักเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะได้มีการหารือกับอัยการสูงสุดต่อไป อย่างไรก็ตาม หากอัยการสูงสุดเห็นไม่ตรงกับ คตส. ก็จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
**ไม่หวั่นถูกตามเช็กบิล
ผู้สื่อข่าวถามว่าเกรงว่าผลทางการเมืองจะกระทบต่อผลของคดีหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า เราไม่เคยกลัวที่จะสู้ โดยหลักเหตุผลของกฎหมาย แต่เรากลัวการต่อสู้นอกระบบ โดยเฉพาะนิสัยคนที่ติดการวิ่งเต้นนอกระบบ โดยต้องวางโครงข่ายนอกระบบให้ได้ 100% ก่อน จากนั้นจึงจะเข้ามาสู้ เรานับถือทนายที่สู้ความ แต่เราไม่นับถือหรือไว้ใจทนายที่วิ่งความ ถ้าสู้ตามกติกาที่เปิดเผยเราไม่กลัวแต่การวิ่งเต้นนอกระบบจะมีผลต่อคดี ในบางครั้งขึ้นอยู่กับว่าคนที่ถูกวิ่งเต้นจะแข็งหรือไม่แข็ง ซึ่งต้องแล้วแต่ฟ้าดิน แต่ตนเชื่อว่า คนที่\ทำงานเพื่อแผ่นดินยังมีอยู่บ้างในแผ่นดินนี้
"ผมไม่กลัวการถูกเชคบิล เพราะไม่ได้ทำอะไรผิดและไม่เคยอาฆาตมาดร้ายกับใคร คตส. ตรวจสอบตามความถูกต้องเพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน ไม่ใช่ความเป็นธรรมของคนใดคนหนึ่ง แต่ที่ผ่านมามักจะเอาเรื่องตัวบุคคลมาอยู่เหนือความเป็นธรรมของแผ่นดิน" นายอุดม กล่าว
เมื่อวานนี้ (11ธ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) โดยหลังการประชุม นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. พร้อมด้วยนายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. และนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการคตส. ได้ร่วมแถลงผลการประชุม โดยนายอุดม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือ หวยบนดิน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่อนุกรรมการไต่สวน เสนอ คือให้ส่งสำนวนการไต่สวนในคดีดังกล่าวให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วัน เพื่อพิจารณาส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 47 ราย แบ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้าร่วมประชุม ครม.ในวันที่ 8 ก.ค. 46 จำนวน 30 ราย และคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 17 ราย โดยมีความผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา ทำให้รัฐเสียหายถึง 36,961,827,861.91 บาท แบ่งเป็น กระทรวงการคลัง 8,970,740,910.22 บาท กระทรวงมหาดไทย 12,792,152,581.50 บาท กรุงเทพมหานคร 336,635,594.25 บาท นอกจากนี้ในระหว่างการไต่สวน มีหน่วยงานที่คืนเงินให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงิน 1,165,206,560 บาท
สำหรับผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาที่จะต้องรับผิดชอบกับการดำเนินการครั้งนี้ จะแยกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1. ครม. ที่เข้าร่วมประชุมในวันที่ 8 ก.ค. 46 และมีมติให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว 2. คณะกรรมการกองสลาก ที่เข้าร่วมประชุม และมีมติให้ดำเนินการโครงการหวยบนดิน ซึ่งในส่วนของ ครม. ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบประกอบไปด้วย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายกร ทัพพะรังสี ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายวิษณุ เครืองาม พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ นายวราเทพ รัตนากร นายสนธยา คุณปลื้ม นายอนุรักษ์ จุรีมาศ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายเนวิน ชิดชอบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายพิเชษฐ สถิรชวาล นายนิกร จำนง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายอดิศัย โพธารามิก นายวัฒนา เมืองสุข นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นางอุไรวรรณ เทียนทอง นายพินิจ จารุสมบัติ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พล.ต.อ. ประชา พรมนอก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86,91,147,154,157 และ ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 8,9,10 และ 11
ทั้งนี้ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ อดีต รมว.คลัง และ นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะถูกตั้งข้อกล่าวหา ในมาตรา 152 ตามประมวลกฎหมายอาญา อีกหนึ่งกระทง ส่วนนายประมวล รุจนเสรี และนายปองพล อดิเรกสาร ไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม. ในวันนั้น
ส่วนคณะกรรมการกองสลาก เฉพาะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ในครั้งที่ 9/46 วันที่ 18 มิ.ย. 46 คือ นายสมใจนึก เองตระกูล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายพรชัย นุชสุวรรณ น.ส สุรีพร ดวงโต นายณัฐวิช อินทุภูมิ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี ถือว่าเป็นตัวการ และสนับสนุน ร่วมกับครม. ให้กระทำความผิด จะถูกตั้งข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86,91,147,152,153,154,157 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ ใน มาตรา 8,9,10 และ 11
ส่วนคณะกรรมการฯ ที่เข้าร่วมประชุม เฉพาะส่วนที่มีการอนุมัติเงินรายได้ ในโครงการนี้ จะต้องรับผิดเฉพาะส่วนที่อนุมัติเงินรายได้ไปใช้ประโยชน์ด้วย คือนายสมใจนึก เองตระกูล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายพรชัย นุชสุวรรณ น.ส. สุรีพร ดวงโต นายณัฐวิช อินทุภูมิ นายชัยวัฒน์ พสกภักดี นายกำธร ตติยกวี พล.ต.ต. สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ พล.ต.อ. สมบัติ อมรวิวัฒน์ นางสตรี ประทีปปะเสน นายอำนวยศักดิ์ พูลศิริ พล.ต.ท. อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายบัณฑูร สุภัควณิช นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ จะถูกตั้งข้อกล่าวหา กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84, 86, 91,147 ,153,157 และ และพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 8,9,10 และ 11
สำหรับความรับผิดทางแพ่งนั้น ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐมนตรี ที่เข้าร่วมประชุม ครม. บางส่วน รวมถึงบอร์ดกองสลากที่ร่วมประชุมอนุมัติครั้งแรก จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเต็มจำนวน ส่วนคณะกรรมการกองสลาก ที่เข้าร่วมประชุม และมีมติอนุมัติในแต่ละเรื่อง จะต้องรับผิดชอบตามจำนวนเงิน ที่ตนเองอนุมัติไป
นายอุดม กล่าวว่า สำหรับการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง 4 หน่วยงานที่เสียหายคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กทม. และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเอาเอง โดยอาจจะฟ้องร้องเลยก็ได้ หรืออาจรอให้ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนจากนั้นค่อยเรียกค่าเสียหายภายหลังก็ได้
**ขอ อสส.ไม่ต้องมีผู้ต้องหาปรากฏตัว
นอกจากนี้ คตส. ยังเห็นชอบให้เสนอไปยังอัยการสูงสุดว่า เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงต้องส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นในชั้นที่ศาลนัดพิจารณารับคำร้อง หรือไม่ ไม่ต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาปรากฏตัวต่อหน้าศาลก่อนที่ศาลจะประทับรับฟ้อง เพียงแต่ให้ระบุชื่อที่อยู่จริงตามทะเบียนราษฎร์ เพื่อไม่ให้กระบวนการต้องหยุดชะงักเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะได้มีการหารือกับอัยการสูงสุดต่อไป อย่างไรก็ตาม หากอัยการสูงสุดเห็นไม่ตรงกับ คตส. ก็จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
**ไม่หวั่นถูกตามเช็กบิล
ผู้สื่อข่าวถามว่าเกรงว่าผลทางการเมืองจะกระทบต่อผลของคดีหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า เราไม่เคยกลัวที่จะสู้ โดยหลักเหตุผลของกฎหมาย แต่เรากลัวการต่อสู้นอกระบบ โดยเฉพาะนิสัยคนที่ติดการวิ่งเต้นนอกระบบ โดยต้องวางโครงข่ายนอกระบบให้ได้ 100% ก่อน จากนั้นจึงจะเข้ามาสู้ เรานับถือทนายที่สู้ความ แต่เราไม่นับถือหรือไว้ใจทนายที่วิ่งความ ถ้าสู้ตามกติกาที่เปิดเผยเราไม่กลัวแต่การวิ่งเต้นนอกระบบจะมีผลต่อคดี ในบางครั้งขึ้นอยู่กับว่าคนที่ถูกวิ่งเต้นจะแข็งหรือไม่แข็ง ซึ่งต้องแล้วแต่ฟ้าดิน แต่ตนเชื่อว่า คนที่\ทำงานเพื่อแผ่นดินยังมีอยู่บ้างในแผ่นดินนี้
"ผมไม่กลัวการถูกเชคบิล เพราะไม่ได้ทำอะไรผิดและไม่เคยอาฆาตมาดร้ายกับใคร คตส. ตรวจสอบตามความถูกต้องเพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน ไม่ใช่ความเป็นธรรมของคนใดคนหนึ่ง แต่ที่ผ่านมามักจะเอาเรื่องตัวบุคคลมาอยู่เหนือความเป็นธรรมของแผ่นดิน" นายอุดม กล่าว