กมธ.การยุติธรรมฯ สรุป “สุรยุทธ์-ท่านผู้หญิงจิตรวดี” รุกป่าเขายายเที่ยง พร้อมเสนอฟันร่วมกับ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ในคดีอาญา และกม.ป.ป.ช. ฐานละเว้นปฎิบัติหน้าที่หลังทราบเรื่องแต่ไม่ดำเนินการ ด้าน ป.ป.ช.เฉือด 3 อดีตผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ “ศาลรธน.-ผู้ตรวจการแผ่นดินฯ-กกต” ขึ้นเงินเดือนตัวเอง ส่งอัยการดำเนินคดี “อภัย” รอด เพราะเหตุเกิดก่อนรับตำแหน่ง “จุมพล” ไม่ยอมรับการชี้มูล ป.ป.ช.ย้อนถามจบเนติบัณฑิตมากี่คน กล้ามาบอกอดีตผู้พิพากษาว่าทำผิด
ที่รัฐสภา วานนี้ (11 ธ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การยุติธรรม การตำรวจ และสิทธิมนุษยชน ที่มี ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธาน โดยได้พิจารณารายงานการตรวจสอบที่ดินเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอนุ กมธ.การตำรวจและสิทธิมนุษยชน ที่มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน ได้ตรวจสอบเสร็จแล้ว
ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ที่ดินบ้านพักเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ อยู่ในเขตป่า ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2508 และยังเป็นพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 และ 17 มี.ค. 2535 อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าว อยู่ติดกับเขตหวงห้ามของกระทรวงกลาโหม ดังนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ที่เคยเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ย่อมทราบดีว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ
รายงานข่าวแจ้งว่า รายงานของอนุ กมธ.ชุด น.ต.ประสงค์ ได้สรุปว่า จากกรณี ที่เกิดขึ้น พล.อ.สุรยุทธ์ และท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา กระทำความผิดตาม มาตรา 14 และ 31 ของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ทราบเรื่องจากการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2549 แต่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างหนึ่งอย่างใด จึงถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ด้วย โดยที่ประชุม กมธ. ได้มีมติให้เสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุม สนช. และแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามผลการตรวจสอบของ กมธ.ต่อไป
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีความผิด 3 เรื่องคือ 1. เรื่องกล่าวหา นายกระมล ทองธรรมชาติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีก 13 คน ร่วมกันออกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ และค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ.2547โดยมิชอบ
ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของ 1.นายกระมล ทองธรรมชาติ 2.นายจิระ บุญพจนสุนทร 3.นายจุมพล ณ สงขลา 4.นายผัน จันทรปาน 5.นายมงคล สระฏัน 6.นายมานิต วิทยาเต็ม 7.นายศักดิ์ เตชาชาญ 8.นายสุจิต บุญบงการ 9.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ 10.พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช 11.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ 12.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ และ13.นาย อุระ หวังล้อมกลาง มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
สำหรับนายปรีชา เฉลิมวณิชย์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกผู้หนึ่งนั้น เนื่องจาก ได้ถึงแก่ความตายแล้ว สิทธิในการนำดำเนินคดีอาญาไปฟ้องย่อมระงับไป
2. เรื่องกล่าวหานายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ พล.อ. ธีรเดช มีเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และนายปราโมช โชติมงคล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ร่วมกันออกระเบียบฯว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ. 2547 โดยมิชอบ
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า 1.การกระทำของนายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันและปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฎิบัติหรือละเว้น การปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
และ 2.การกระทำของนาย ปราโมทย์ โชติมงคล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา) มีมูลเป็นความผิดทางวินัยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และความผิดวินัยอาญาร้ายแรงและฐานกระทำการอื่นใด อันได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
3. เรื่องกล่าวหา พล.ต.อ.เอก วาสนา เพิ่มลาภ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้งหรือ (กกต.) กับพวกรวม 5 คน ร่วมกันออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนการปฎิบัติงานของกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 โดยมิชอบ
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่าการกระทำของ 1.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 2.นาย ปริญญา นาคฉัตรีย์ 3.นายวีระชัย แนวบุญเนียร 4.นายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และ5.พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฎิบัติหรือละเว้น การปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฎิบัติหรือละเวัน การปฎิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
สำหรับนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี กกต.อีกผู้หนึ่ง เนื่องจากได้ถึงแก่ความตายแล้ว สิทธิในการดำเนินคดีอาญาไปฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณา ความอาญา
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ทั้ง 3 คดี ให้ส่งรายงานเอกสารไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ส่วนกรณีของนายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ถูกถูกพาดพิงในขณะทำการสอบสวนนั้นไม่ปรากฏรายชื่อเนื่องจาก นายอภัยเข้ารับตำแหน่งหลังจากที่มีการโปรดเกล้าฯ ไปแล้ว ถึงแม้จะได้รับผลประโยชน์ก็ตาม
ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคคลที่มีตำแหน่งประจำแต่ละองค์กรอยู่ในขณะนี้จะต้องยุติบทบาทการทำงานหรือไม่ นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าแค่มีมูลความผิดแต่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมาชัดเจน และถึงแม้ศาลจะตัดสินแล้วว่ามีความผิดก็สามารถอุทธรณ์ต่อได้
ขณะที่นายจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าตนไม่ยอมรับมติของ ป.ป.ช. อยากถามว่า ป.ป.ช.เป็นใคร มาจากไหนและใช้อำนาจอะไรมาตัดสินว่าอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความผิด อยากรู้ว่า ป.ป.ช.มีคนจบเนติบัญญัติกี่คน มีหรือไม่ และรู้กฎหมายดีแค่ไหนพวกตนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรศาลที่ใช้อำนาจฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะมีอดีตผู้พิพากษาศาลฏีการะดับรองประธานศาลฏีกาถึง 6 คน แต่ก็ไม่เป็นไรก็ยินดีด้วย เมื่อออกมาแบบนี้ก็จะสู้คดีจนถีงที่สุด
“ผมเป็นศาล ศาลมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจพิจารณาตีความกฎหมายได้เอง เพราะศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจในทางฝ่ายตุลาการที่จะวินัยฉัยข้อกฎหมายได้เอง แล้วมาบอกว่าศาลวินิจกฎหมายผิดในเรื่องการขึ้นเบี้ยประชุมได้อย่างไร ศาลจะทำผิดได้อย่างไรในเรื่องนี้ ยืนยันว่าการออกระเบียบดังกล่าวไม่มีความผิดแน่นอน แล้วที่ออกระเบียบก็ออกโดยการประชุมอย่างดีแล้ว โดยตุลาการทั้งหมด ได้พิจารณาอย่างรอบคอบโดยดูระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะข้อกฎหมายเรื่องค่าตอบแทน แล้วระเบียบเขาให้ขึ้นได้ถึง 4 หมื่นบาท แต่เราขึ้นแค่ 2 หมื่นบาท ไม่ใช่มาขึ้นแบบสุ่มสี่สุมห้า เพราะรัฐบาลเขาจัดสรรเงินค่าตอบแทนให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็อยู่ตามข้อกำหนดนั้น แบบนี้ก็คือมาหาเรื่องแกล้งเรา จะมาหาเรื่องกัน เพราะระเบียบนี้หากใครไม่เข้าประชุมก็ไม่ได้ จะได้เฉพาะคนที่เข้าประชุมเท่านั้น ถึงอยากรู้ว่าป.ป.ช.เอาบรรทัดฐานอะไรมาบอกว่าผิด แล้วอย่างนี้ถามว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ไปทำงานให้กับคมช.ที่มีทั้งรัฐมนตรีและคตส.เขาจะทำอย่างไร”
แหล่งข่าวกล่าวว่าหลังจาก ป.ป.ช.มีมติออกมาดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจาก นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ คตส.และเป็นประธานฯไต่สวนคดีปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย และประะานอนุฯสอบสวนคดีเซ็นทรัลแลป หากไม่ลาออกจาก คตส.อาจมีปัญหาฝ่ายที่ถูกตรวจสอบจะนำมาเป็นข้อต่อสู้ทางคดีได้ว่ากรรมการคตส.ก็มีปัญหาเรื่องการทำผิดกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีกรรมการ คตส.ออกมาบอกว่านางเสาวณีย์ไม่ต้องลาออกแต่โดยหลักแล้วฝ่ายที่ตรวจสอบไม่ควรมีปัญหาจึงควรลาออก
ที่รัฐสภา วานนี้ (11 ธ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การยุติธรรม การตำรวจ และสิทธิมนุษยชน ที่มี ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธาน โดยได้พิจารณารายงานการตรวจสอบที่ดินเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอนุ กมธ.การตำรวจและสิทธิมนุษยชน ที่มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน ได้ตรวจสอบเสร็จแล้ว
ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ที่ดินบ้านพักเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ อยู่ในเขตป่า ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2508 และยังเป็นพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 และ 17 มี.ค. 2535 อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าว อยู่ติดกับเขตหวงห้ามของกระทรวงกลาโหม ดังนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ที่เคยเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ย่อมทราบดีว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ
รายงานข่าวแจ้งว่า รายงานของอนุ กมธ.ชุด น.ต.ประสงค์ ได้สรุปว่า จากกรณี ที่เกิดขึ้น พล.อ.สุรยุทธ์ และท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา กระทำความผิดตาม มาตรา 14 และ 31 ของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ทราบเรื่องจากการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2549 แต่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างหนึ่งอย่างใด จึงถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ด้วย โดยที่ประชุม กมธ. ได้มีมติให้เสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุม สนช. และแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามผลการตรวจสอบของ กมธ.ต่อไป
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีความผิด 3 เรื่องคือ 1. เรื่องกล่าวหา นายกระมล ทองธรรมชาติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีก 13 คน ร่วมกันออกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ และค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ.2547โดยมิชอบ
ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของ 1.นายกระมล ทองธรรมชาติ 2.นายจิระ บุญพจนสุนทร 3.นายจุมพล ณ สงขลา 4.นายผัน จันทรปาน 5.นายมงคล สระฏัน 6.นายมานิต วิทยาเต็ม 7.นายศักดิ์ เตชาชาญ 8.นายสุจิต บุญบงการ 9.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ 10.พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช 11.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ 12.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ และ13.นาย อุระ หวังล้อมกลาง มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
สำหรับนายปรีชา เฉลิมวณิชย์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกผู้หนึ่งนั้น เนื่องจาก ได้ถึงแก่ความตายแล้ว สิทธิในการนำดำเนินคดีอาญาไปฟ้องย่อมระงับไป
2. เรื่องกล่าวหานายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ พล.อ. ธีรเดช มีเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และนายปราโมช โชติมงคล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ร่วมกันออกระเบียบฯว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ. 2547 โดยมิชอบ
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า 1.การกระทำของนายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันและปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฎิบัติหรือละเว้น การปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
และ 2.การกระทำของนาย ปราโมทย์ โชติมงคล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา) มีมูลเป็นความผิดทางวินัยฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และความผิดวินัยอาญาร้ายแรงและฐานกระทำการอื่นใด อันได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
3. เรื่องกล่าวหา พล.ต.อ.เอก วาสนา เพิ่มลาภ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้งหรือ (กกต.) กับพวกรวม 5 คน ร่วมกันออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนการปฎิบัติงานของกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 โดยมิชอบ
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติว่าการกระทำของ 1.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 2.นาย ปริญญา นาคฉัตรีย์ 3.นายวีระชัย แนวบุญเนียร 4.นายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และ5.พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฎิบัติหรือละเว้น การปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฎิบัติหรือละเวัน การปฎิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83
สำหรับนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี กกต.อีกผู้หนึ่ง เนื่องจากได้ถึงแก่ความตายแล้ว สิทธิในการดำเนินคดีอาญาไปฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณา ความอาญา
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ทั้ง 3 คดี ให้ส่งรายงานเอกสารไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ส่วนกรณีของนายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ถูกถูกพาดพิงในขณะทำการสอบสวนนั้นไม่ปรากฏรายชื่อเนื่องจาก นายอภัยเข้ารับตำแหน่งหลังจากที่มีการโปรดเกล้าฯ ไปแล้ว ถึงแม้จะได้รับผลประโยชน์ก็ตาม
ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคคลที่มีตำแหน่งประจำแต่ละองค์กรอยู่ในขณะนี้จะต้องยุติบทบาทการทำงานหรือไม่ นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าแค่มีมูลความผิดแต่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมาชัดเจน และถึงแม้ศาลจะตัดสินแล้วว่ามีความผิดก็สามารถอุทธรณ์ต่อได้
ขณะที่นายจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าตนไม่ยอมรับมติของ ป.ป.ช. อยากถามว่า ป.ป.ช.เป็นใคร มาจากไหนและใช้อำนาจอะไรมาตัดสินว่าอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความผิด อยากรู้ว่า ป.ป.ช.มีคนจบเนติบัญญัติกี่คน มีหรือไม่ และรู้กฎหมายดีแค่ไหนพวกตนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรศาลที่ใช้อำนาจฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะมีอดีตผู้พิพากษาศาลฏีการะดับรองประธานศาลฏีกาถึง 6 คน แต่ก็ไม่เป็นไรก็ยินดีด้วย เมื่อออกมาแบบนี้ก็จะสู้คดีจนถีงที่สุด
“ผมเป็นศาล ศาลมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจพิจารณาตีความกฎหมายได้เอง เพราะศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจในทางฝ่ายตุลาการที่จะวินัยฉัยข้อกฎหมายได้เอง แล้วมาบอกว่าศาลวินิจกฎหมายผิดในเรื่องการขึ้นเบี้ยประชุมได้อย่างไร ศาลจะทำผิดได้อย่างไรในเรื่องนี้ ยืนยันว่าการออกระเบียบดังกล่าวไม่มีความผิดแน่นอน แล้วที่ออกระเบียบก็ออกโดยการประชุมอย่างดีแล้ว โดยตุลาการทั้งหมด ได้พิจารณาอย่างรอบคอบโดยดูระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะข้อกฎหมายเรื่องค่าตอบแทน แล้วระเบียบเขาให้ขึ้นได้ถึง 4 หมื่นบาท แต่เราขึ้นแค่ 2 หมื่นบาท ไม่ใช่มาขึ้นแบบสุ่มสี่สุมห้า เพราะรัฐบาลเขาจัดสรรเงินค่าตอบแทนให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็อยู่ตามข้อกำหนดนั้น แบบนี้ก็คือมาหาเรื่องแกล้งเรา จะมาหาเรื่องกัน เพราะระเบียบนี้หากใครไม่เข้าประชุมก็ไม่ได้ จะได้เฉพาะคนที่เข้าประชุมเท่านั้น ถึงอยากรู้ว่าป.ป.ช.เอาบรรทัดฐานอะไรมาบอกว่าผิด แล้วอย่างนี้ถามว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ไปทำงานให้กับคมช.ที่มีทั้งรัฐมนตรีและคตส.เขาจะทำอย่างไร”
แหล่งข่าวกล่าวว่าหลังจาก ป.ป.ช.มีมติออกมาดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจาก นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ คตส.และเป็นประธานฯไต่สวนคดีปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย และประะานอนุฯสอบสวนคดีเซ็นทรัลแลป หากไม่ลาออกจาก คตส.อาจมีปัญหาฝ่ายที่ถูกตรวจสอบจะนำมาเป็นข้อต่อสู้ทางคดีได้ว่ากรรมการคตส.ก็มีปัญหาเรื่องการทำผิดกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีกรรมการ คตส.ออกมาบอกว่านางเสาวณีย์ไม่ต้องลาออกแต่โดยหลักแล้วฝ่ายที่ตรวจสอบไม่ควรมีปัญหาจึงควรลาออก