วานนี้ (10 ธ.ค.) ชมรมสมาชิกวุฒิสภา 2543-2549 รวมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯได้จัดเสวนา เรื่อง"อนาคตประเทศไทยหลัง 23 ธ.ค.50) ที่คณะรัฐศษสตร์ จุฬาฯ โดย รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นักวิชาการด้านนโยบายความมั่นคง กล่าวว่า ปีหน้าจะเป็นปีแห่งความท้าทายมากที่สุดของการเมืองไทย เพราะสถานการณ์ทุกอย่างจะหนักหน่วง อาจยิ่งกว่าการเมืองในช่วงปี 35 แต่วันนี้มีคำถามว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ถ้าไม่มีเลือกตั้งจะเป็นปีแห่งการพังทลายของประเทศ แต่ถ้าวันที่ 23 ธ.ค. มีการเลือกตั้ง แล้วพรรคการเมืองบางพรรคชนะการเลือกตั้ง ตามผลสำรวจ ก็จะมี 2 โมเดล ที่ต้องไปดูว่า หลังวันที่ 23 ธ.ค. จะมีการยุบพรรคหรือไม่ หรือหากว่าหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงแล้ว มีปัญหาการเมืองมาก จนถูกการดำเนินการบางอย่างจนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ถ้าเช่นนั้นก็เชื่อว่า สภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะย่ำแย่ แต่ความมั่นคงทางทหาร และกองทัพจะเข้มแข็ง แต่ประชาชนจะเครียดมาก
อย่างไรก็ตาม หากมีการยึดอำนาจหลังเลือกตั้ง สถานการณ์ของไทยจะไม่ต่างไปจากพม่า ที่เมื่อทหารให้มีการเลือกตั้งแล้วผลการเลือกตั้งออกมา ทหารไม่ยอมรับ แบบนี้เศรษฐกิจของประเทศจะพังทลาย แต่กองทัพจะมั่นคงแข็งแรงขึ้นมาก ถ้าหากเกิดเหตุเช่นนี้ ไม่ใช่แค่แจกยานอนหลับ แต่อาจต้องถึงขั้นแจกเชือก โดยเฉพาะคนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจ ดังนั้นโมเดลการเมืองหลังวันที่ 23 ธ.ค. คือการเมืองจะไร้เสถียรภาพ และสิ่งสำคัญอยู่ที่จะมีการยึดอำนาจหรือไม่ หลังการเลือกตั้ง
"หลัง 23 ธ.ค. คงไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่จะเป็นประชาธิปไตยแบบบงการ ประชาธิปไตยหลัง 23 ธ.ค. กองทัพเข้มแข็ง แต่ประชาธิปไตยอ่อนแอ การเมืองในระบบ และการเมืองภาคประชาชน จะต้องพึ่งพาอำนาจนอกระบบมากขึ้น ทุกอย่างหลัง 19 ก.ย. 49 ทำให้การเมืองในระบบอ่อนแอ วันนี้ แม้ผู้นำกองทัพจะบอกไม่ยึดอำนาจ แต่หากจำได้ก่อน 19 ก.ย. ก็มีการยืนยันหลายครั้งว่า ไม่ยึดอำนาจ วันนี้จะมาบอกว่า ทหารจะกลับกรมกรอง ก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพจะถอยจริงหรือไม่ ยิ่งหากไปดูจากเอกสารลับของกองทัพแล้ว เชื่อว่ากองทัพไม่ถอยออกไปแน่นอน ไม่ถอนออกไปจากการแทรกแซง เห็นได้จากตัวอย่าง เช่น กฎหมายความมั่นคง ที่คือรัฐประหารเงียบ ที่คาดว่าจะพยายามให้ประกาศใช้ก่อนเลือกตั้ง การเมืองจะอยู่ในสภาพถูกชี้นำ การเมืองหลัง 23 ธ.ค. จะเป็นการต่อสู้กันของสองแนวคิด สำคัญคือ ทหารนิยมกับเสรีนิยม จะขยายตัวมากขึ้น และเสถียรภาพรัฐบาลหลังเลือกตั้งก็จะเปราะบางมาก เพราะถูกบงการ" นายสุรชาติ กล่าว
นายสุรชาติ กล่าวว่า วันนี้อาจต้องมีการทำข้อตกลงปฏิญาณสามย่านขึ้น เพื่อสร้างแนวคิดทางการเมือง ว่าจะไม่ยอมรับการตั้งรัฐบาล ที่ไม่ผ่านกระบวนการรัฐสภา ไม่ยอมรับการแก้ปัญหาการเมืองนอกรัฐสภา และประชาธิปไตย ต้องเป็นวิถีทางเดียวของการต่อสู้ทางการเมือง ประเมินว่าในปี 51 ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะยิ่งกว่าเผาจริง จะไม่มีอะไรเหลือถ้าการจัดการบริหารการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะจะมีผลกระทบหลายอย่าง เช่น สภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หรือค่าเงินหยวน ของจีนและสภาวะน้ำมันราคาแพง วันนี้ภาควิชาการ และภาคประชาชน ต้องร่วมกันคิดแบบเอาจริงเอาจังว่า ต่อไปต้องเลิกเอาทหารมาเป็นเทศบาล เวลาท่อตัน แล้วเอาทหารมาล้างท่อ ถ้าท่อตันต้องล้างท่อตามระบบ ถ้าปี 51 ทำไม่ได้ เศรษฐกิจของประเทศไม่ใช่แค่ติดท้องช้าง แต่ติดท้องทรายเลย เพราะเหตุจากการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ถ้าเป็นแบบนี้ก็เตรียมสวดมนต์เยอะๆ สำหรับปีหน้า ที่เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของการเมืองไทย
* ชี้ล้ม ปตท. ไม่มีเลือกตั้ง
ด้านพล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีต รอง ผบ.ตร. กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญก่อนถึงวันเลือกตั้ง คือ การพิจารณาของศาลปกครอง ในวันที่ 14 ธ.ค. นี้ หากมีคำสั่งในคดี แปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ออกมา รูปแบบเดียวกับคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งให้กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดิม เชื่อว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นทำให้ไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 23 ธ.ค.นี้แน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. ระบอบประชาธิปไตยโดยรวม ยังมีความขัดแย้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ต่อบุคคล พรรคต่อพรรค หรือพวกต่อพวก ซึ่งสามารถแก้ไขได้ ยกเว้นกรณีที่มีการดึงเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องในเชิงเป็นการดิสเครดิต ที่จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง หากต้องการทำให้เกิดปกติกลับคืนมาในสังคม ต้องขับไล่คน 7 คน ออกไป ทุกอย่างก็จะกลับคืนมาในสภาพปกติ
"ผมยังเชื่อมั่นในตัวพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เพราะท่านเป็นคนไม่ปิดตัวเอง และไว้ใจได้ วันนี้เห็นว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขโดยด่วนคือ ที่ผ่านมาการเมืองมีการเอาเรื่องสถาบันฯ มาดิสเครดิตกัน ทำให้เสียหาย โดยเฉพาะการนำเรื่องความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อไม่ให้บุคคลที่ 3 นำเรื่องสถาบันฯ มากล่าวหากันว่าอีกฝ่ายไม่จงรักภักดี ถือเป็นอันตรายต่อสถาบันฯ ควรให้เป็นหน้าที่ของสำนักราชเลขา โดยเฉพาะรัฐบาลหลังเลือกตั้ง จะมีเสถียรภาพ ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ถ้าไม่แก้กฎหมายมาตรานี้ บ้านเมืองอยู่ไม่ได้" อดีตรอง ผบ.ตร.ระบุ
**แฉเอกสารลับมุ่งทำลายพรรค
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย หนึ่งใน 111กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กล่าวว่า หลังการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคใดจะได้รับการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะยังล้าหลังไปอีกอย่างน้อย 20-30 ปี แต่ก็ถือว่าดีกว่าปัจจุบัน เพราะอยู่ในกระบวนการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชน ระยะเวลาจากนี้ไปอีก 3-5 ปี ประเทศไทยก็จะยังไม่เข้าสู่ภาวะสมดุล ซึ่งเกิดจากผลของการกระทำรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่มีการล้มรัฐธรรมนูญ และยังมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ได้อำนาจจากการยึดอำนาจได้เข้าแทรกแซงการเมืองอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค ให้จับขั้วกัน และต้องการทำลายพรรคการเมืองบางพรรคสังเกตได้จาก การพูดของ "บิ๊กบัง" (พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน อดีตประธานคมช.) ที่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีใบเหลือง ใบแดง มาก ถามว่ารู้ได้อย่างไร และมีสัญญาณว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลกันล่วงหน้าไว้แล้ว
“สิ่งที่ยืนยันชัดเจนคือ เอกสารลับทั้งสองฉบับ โดยฉบับที่สองนั้น เนื้อหาแรงกว่าฉบับแรกหลายเท่า แค่เห็นก็หนาวแล้ว เพราะเป็นบันทึกคำพูดกับคนระดับพันโท ขึ้นไป ที่ว่าพรรคการเมืองถือเป็นศัตรูหมายเลข 1 ต้องทำสงครามแย่งชิงประชาชนกลับมา ขณะที่ กกต.ไม่มีความเป็นกลาง เป๋ไปเป๋มา ตอบคำถาม 2 เรื่อง คือ วีซีดีทักษิณ กับเอกสารลับ โดยใช้ 2 มาตรฐาน"
**ยุบพรรคง่ายเป็นจุดอ่อนการเมือง
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถานการณ์หลัง 23 ธ.ค. จะยังคงมีความขัดแย้งที่แหลมคมมากขึ้น เนื่องจากการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เช่น ยังมีการประกาศกฎอัยการศึก ในบางพื้นที่ ดังนั้นจึงหวังไม่ได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะพอเราออกจากวิกฤต แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาโดยไม่มีความผิดปกติมากนัก ทุกฝ่ายต้องยอมรับผลที่ออกมาเพื่อจะทำให้สังคมปรับเปลี่ยนไปอย่างราบรื่น ที่ผ่านมา เราเคยทำลายต้นทุนของประชาธิปไตยไปแล้วด้วยการตัดสินว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย.เป็นโมฆะ ซึ่งหลังจากนั้น ก็ยังไม่มีการวิเคราะห์กันว่าเป็นคำวินิจฉัยที่เหมาะสมแล้วหรือไม่
ส่วนปัญหาที่ทำให้สังคมออกจากวิกฤตไม่ได้ เกิดจากปัญญาชน และชนชั้นนำในสังคมไทยสูญเสียต้นทุนไปมากในเวลา 1-2 ปี ที่ผ่านมาโดยใช้เกณฑ์ความรู้สึกส่วนบุคคลชี้นำสังคมไปในทางที่ผิด รวมถึงกลไกของรัฐธรรมนูญ ที่ผิดพลาดเปิดช่องให้มีการยุบพรรคง่ายเกินไป ทำให้สภาพการเมืองไม่มีเสถียรภาพ เพราะหลังเลือกตั้งจะมีการกล่าวหากันถึงขั้นให้ยุบพรรคอยู่ตลอดเวลา
นายจอน อึ้งภากรณ์ อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวว่าในวันพุธที่ 12 ธ.ค.นี้ ขอแจ้งให้ทราบว่า จะเดินทางไปปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันเป็นการเคลื่อนไหวแบบสันติวิธี เพราะเห็นว่า สนช.ชุดนี้ มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม เช่น สนช.หลายคนเห็นว่า มีความเลวร้ายในการเสนอกฎหมายต่าง ๆ แต่ก็ไม่ยอมลาออก การเมืองวันนี้มีเรื่องตลกหลายเรื่อง เช่น เรื่องที่เพี้ยนมากคือ การที่นายสมัคร สุนทรเวช ไปจับมือกับพวกคนผ่านเหตุการณ์เดือนตุลาคมกันได้ ทั้งที่นายสมัคร เป็นคนปากพล่อย และพูดโกหกมาตลอด เช่น บอกว่า ธรรมศาสตร์ สะสมอาวุธเอาไว้ในมหาวิทยาลัย ก็ไม่รู้ว่าเจออาวุธที่พ่อผม (ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เก็บไว้หรือไม่ หรือบอกว่า การฆ่ากันที่สนามหลวง เป็นฝีมือของคนเวียดนาม ปัญหาการเมืองวันนี้ คือเราไม่สนใจประวัติศาสตร์ จึงทำให้คนผ่าน 14 ตุลาฯ 16 ไปจับมือกับ นายสมัครได้ และทุกพรรคการเมืองก็ล้วนพึ่งพาเจ้าแม่ เจ้าพ่อ ในต่างจังหวัด พรรคการเมือง แต่ละพรรคเช่นของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็น่าหัวเราะ หรือประชาธิปัตย์ ที่แม้จะหนักแน่น ทำงานเป็นระบบ แต่ก็พบว่าประชาธิปัตย์ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนส่วนใหญ่ วันนี้รู้สึกผิดหวังมาก ที่เห็นคนในภาคประชาชน และเอ็นจีโอ มีความคิดเห็นที่แตกแยกกัน ทั้งที่ภาคประชาชนต้องมีจุดยืนคือต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ
"ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้เกิดความสามัคคี สมานฉันท์ ซึ่งไม่ใช่หลักการของประชาธิปไตยที่สามารถเห็นแตกต่างกันได้ โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง ทั้งนี้เชื่อว่าหลังการเลือกตั้งคงจะไม่ใช่การยูเทิร์นประเทศไทยอีกแล้ว เพราะช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับการยูเทิร์นเล็ก น้อยมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการ ไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเมือง การสนับสนุนวิธีการทำงานที่ผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ การทำลายกระบวนการตรวจสอบในระบอบประชาธิปไตย จนมาถึงการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 49 คิด ว่าหลังเลือกตั้ง 23 ธ.ค. คงไม่ใช่การยูเทิร์น กลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ยังคงเป็นการวกกลับแบบเฉียง ๆ และอีกนานกว่าที่จะเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยังมีรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ กับฝ่ายตุลาการ ราชการมากกเกินไป ถือเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ นอกจากให้ประชาชนคนไทยออกมารวมพลังสร้างการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง และต้องดูบทเรียนที่ผ่านมา ภาคประชาชนต้องไม่ไปอิงกับขั้วการเมืองใดขั้วหนึ่ง แต่ต้องเป็นตัวของตัวเอง" อดีต ส.ว.กทม.กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากมีการยึดอำนาจหลังเลือกตั้ง สถานการณ์ของไทยจะไม่ต่างไปจากพม่า ที่เมื่อทหารให้มีการเลือกตั้งแล้วผลการเลือกตั้งออกมา ทหารไม่ยอมรับ แบบนี้เศรษฐกิจของประเทศจะพังทลาย แต่กองทัพจะมั่นคงแข็งแรงขึ้นมาก ถ้าหากเกิดเหตุเช่นนี้ ไม่ใช่แค่แจกยานอนหลับ แต่อาจต้องถึงขั้นแจกเชือก โดยเฉพาะคนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจ ดังนั้นโมเดลการเมืองหลังวันที่ 23 ธ.ค. คือการเมืองจะไร้เสถียรภาพ และสิ่งสำคัญอยู่ที่จะมีการยึดอำนาจหรือไม่ หลังการเลือกตั้ง
"หลัง 23 ธ.ค. คงไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่จะเป็นประชาธิปไตยแบบบงการ ประชาธิปไตยหลัง 23 ธ.ค. กองทัพเข้มแข็ง แต่ประชาธิปไตยอ่อนแอ การเมืองในระบบ และการเมืองภาคประชาชน จะต้องพึ่งพาอำนาจนอกระบบมากขึ้น ทุกอย่างหลัง 19 ก.ย. 49 ทำให้การเมืองในระบบอ่อนแอ วันนี้ แม้ผู้นำกองทัพจะบอกไม่ยึดอำนาจ แต่หากจำได้ก่อน 19 ก.ย. ก็มีการยืนยันหลายครั้งว่า ไม่ยึดอำนาจ วันนี้จะมาบอกว่า ทหารจะกลับกรมกรอง ก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพจะถอยจริงหรือไม่ ยิ่งหากไปดูจากเอกสารลับของกองทัพแล้ว เชื่อว่ากองทัพไม่ถอยออกไปแน่นอน ไม่ถอนออกไปจากการแทรกแซง เห็นได้จากตัวอย่าง เช่น กฎหมายความมั่นคง ที่คือรัฐประหารเงียบ ที่คาดว่าจะพยายามให้ประกาศใช้ก่อนเลือกตั้ง การเมืองจะอยู่ในสภาพถูกชี้นำ การเมืองหลัง 23 ธ.ค. จะเป็นการต่อสู้กันของสองแนวคิด สำคัญคือ ทหารนิยมกับเสรีนิยม จะขยายตัวมากขึ้น และเสถียรภาพรัฐบาลหลังเลือกตั้งก็จะเปราะบางมาก เพราะถูกบงการ" นายสุรชาติ กล่าว
นายสุรชาติ กล่าวว่า วันนี้อาจต้องมีการทำข้อตกลงปฏิญาณสามย่านขึ้น เพื่อสร้างแนวคิดทางการเมือง ว่าจะไม่ยอมรับการตั้งรัฐบาล ที่ไม่ผ่านกระบวนการรัฐสภา ไม่ยอมรับการแก้ปัญหาการเมืองนอกรัฐสภา และประชาธิปไตย ต้องเป็นวิถีทางเดียวของการต่อสู้ทางการเมือง ประเมินว่าในปี 51 ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะยิ่งกว่าเผาจริง จะไม่มีอะไรเหลือถ้าการจัดการบริหารการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะจะมีผลกระทบหลายอย่าง เช่น สภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หรือค่าเงินหยวน ของจีนและสภาวะน้ำมันราคาแพง วันนี้ภาควิชาการ และภาคประชาชน ต้องร่วมกันคิดแบบเอาจริงเอาจังว่า ต่อไปต้องเลิกเอาทหารมาเป็นเทศบาล เวลาท่อตัน แล้วเอาทหารมาล้างท่อ ถ้าท่อตันต้องล้างท่อตามระบบ ถ้าปี 51 ทำไม่ได้ เศรษฐกิจของประเทศไม่ใช่แค่ติดท้องช้าง แต่ติดท้องทรายเลย เพราะเหตุจากการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ถ้าเป็นแบบนี้ก็เตรียมสวดมนต์เยอะๆ สำหรับปีหน้า ที่เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของการเมืองไทย
* ชี้ล้ม ปตท. ไม่มีเลือกตั้ง
ด้านพล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีต รอง ผบ.ตร. กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญก่อนถึงวันเลือกตั้ง คือ การพิจารณาของศาลปกครอง ในวันที่ 14 ธ.ค. นี้ หากมีคำสั่งในคดี แปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ออกมา รูปแบบเดียวกับคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งให้กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดิม เชื่อว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นทำให้ไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 23 ธ.ค.นี้แน่นอน
อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. ระบอบประชาธิปไตยโดยรวม ยังมีความขัดแย้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ต่อบุคคล พรรคต่อพรรค หรือพวกต่อพวก ซึ่งสามารถแก้ไขได้ ยกเว้นกรณีที่มีการดึงเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องในเชิงเป็นการดิสเครดิต ที่จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง หากต้องการทำให้เกิดปกติกลับคืนมาในสังคม ต้องขับไล่คน 7 คน ออกไป ทุกอย่างก็จะกลับคืนมาในสภาพปกติ
"ผมยังเชื่อมั่นในตัวพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เพราะท่านเป็นคนไม่ปิดตัวเอง และไว้ใจได้ วันนี้เห็นว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขโดยด่วนคือ ที่ผ่านมาการเมืองมีการเอาเรื่องสถาบันฯ มาดิสเครดิตกัน ทำให้เสียหาย โดยเฉพาะการนำเรื่องความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อไม่ให้บุคคลที่ 3 นำเรื่องสถาบันฯ มากล่าวหากันว่าอีกฝ่ายไม่จงรักภักดี ถือเป็นอันตรายต่อสถาบันฯ ควรให้เป็นหน้าที่ของสำนักราชเลขา โดยเฉพาะรัฐบาลหลังเลือกตั้ง จะมีเสถียรภาพ ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ถ้าไม่แก้กฎหมายมาตรานี้ บ้านเมืองอยู่ไม่ได้" อดีตรอง ผบ.ตร.ระบุ
**แฉเอกสารลับมุ่งทำลายพรรค
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย หนึ่งใน 111กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กล่าวว่า หลังการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคใดจะได้รับการเลือกตั้ง ประเทศไทยจะยังล้าหลังไปอีกอย่างน้อย 20-30 ปี แต่ก็ถือว่าดีกว่าปัจจุบัน เพราะอยู่ในกระบวนการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชน ระยะเวลาจากนี้ไปอีก 3-5 ปี ประเทศไทยก็จะยังไม่เข้าสู่ภาวะสมดุล ซึ่งเกิดจากผลของการกระทำรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่มีการล้มรัฐธรรมนูญ และยังมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ได้อำนาจจากการยึดอำนาจได้เข้าแทรกแซงการเมืองอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค ให้จับขั้วกัน และต้องการทำลายพรรคการเมืองบางพรรคสังเกตได้จาก การพูดของ "บิ๊กบัง" (พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน อดีตประธานคมช.) ที่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีใบเหลือง ใบแดง มาก ถามว่ารู้ได้อย่างไร และมีสัญญาณว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลกันล่วงหน้าไว้แล้ว
“สิ่งที่ยืนยันชัดเจนคือ เอกสารลับทั้งสองฉบับ โดยฉบับที่สองนั้น เนื้อหาแรงกว่าฉบับแรกหลายเท่า แค่เห็นก็หนาวแล้ว เพราะเป็นบันทึกคำพูดกับคนระดับพันโท ขึ้นไป ที่ว่าพรรคการเมืองถือเป็นศัตรูหมายเลข 1 ต้องทำสงครามแย่งชิงประชาชนกลับมา ขณะที่ กกต.ไม่มีความเป็นกลาง เป๋ไปเป๋มา ตอบคำถาม 2 เรื่อง คือ วีซีดีทักษิณ กับเอกสารลับ โดยใช้ 2 มาตรฐาน"
**ยุบพรรคง่ายเป็นจุดอ่อนการเมือง
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถานการณ์หลัง 23 ธ.ค. จะยังคงมีความขัดแย้งที่แหลมคมมากขึ้น เนื่องจากการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เช่น ยังมีการประกาศกฎอัยการศึก ในบางพื้นที่ ดังนั้นจึงหวังไม่ได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะพอเราออกจากวิกฤต แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาโดยไม่มีความผิดปกติมากนัก ทุกฝ่ายต้องยอมรับผลที่ออกมาเพื่อจะทำให้สังคมปรับเปลี่ยนไปอย่างราบรื่น ที่ผ่านมา เราเคยทำลายต้นทุนของประชาธิปไตยไปแล้วด้วยการตัดสินว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย.เป็นโมฆะ ซึ่งหลังจากนั้น ก็ยังไม่มีการวิเคราะห์กันว่าเป็นคำวินิจฉัยที่เหมาะสมแล้วหรือไม่
ส่วนปัญหาที่ทำให้สังคมออกจากวิกฤตไม่ได้ เกิดจากปัญญาชน และชนชั้นนำในสังคมไทยสูญเสียต้นทุนไปมากในเวลา 1-2 ปี ที่ผ่านมาโดยใช้เกณฑ์ความรู้สึกส่วนบุคคลชี้นำสังคมไปในทางที่ผิด รวมถึงกลไกของรัฐธรรมนูญ ที่ผิดพลาดเปิดช่องให้มีการยุบพรรคง่ายเกินไป ทำให้สภาพการเมืองไม่มีเสถียรภาพ เพราะหลังเลือกตั้งจะมีการกล่าวหากันถึงขั้นให้ยุบพรรคอยู่ตลอดเวลา
นายจอน อึ้งภากรณ์ อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวว่าในวันพุธที่ 12 ธ.ค.นี้ ขอแจ้งให้ทราบว่า จะเดินทางไปปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันเป็นการเคลื่อนไหวแบบสันติวิธี เพราะเห็นว่า สนช.ชุดนี้ มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม เช่น สนช.หลายคนเห็นว่า มีความเลวร้ายในการเสนอกฎหมายต่าง ๆ แต่ก็ไม่ยอมลาออก การเมืองวันนี้มีเรื่องตลกหลายเรื่อง เช่น เรื่องที่เพี้ยนมากคือ การที่นายสมัคร สุนทรเวช ไปจับมือกับพวกคนผ่านเหตุการณ์เดือนตุลาคมกันได้ ทั้งที่นายสมัคร เป็นคนปากพล่อย และพูดโกหกมาตลอด เช่น บอกว่า ธรรมศาสตร์ สะสมอาวุธเอาไว้ในมหาวิทยาลัย ก็ไม่รู้ว่าเจออาวุธที่พ่อผม (ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เก็บไว้หรือไม่ หรือบอกว่า การฆ่ากันที่สนามหลวง เป็นฝีมือของคนเวียดนาม ปัญหาการเมืองวันนี้ คือเราไม่สนใจประวัติศาสตร์ จึงทำให้คนผ่าน 14 ตุลาฯ 16 ไปจับมือกับ นายสมัครได้ และทุกพรรคการเมืองก็ล้วนพึ่งพาเจ้าแม่ เจ้าพ่อ ในต่างจังหวัด พรรคการเมือง แต่ละพรรคเช่นของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็น่าหัวเราะ หรือประชาธิปัตย์ ที่แม้จะหนักแน่น ทำงานเป็นระบบ แต่ก็พบว่าประชาธิปัตย์ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนส่วนใหญ่ วันนี้รู้สึกผิดหวังมาก ที่เห็นคนในภาคประชาชน และเอ็นจีโอ มีความคิดเห็นที่แตกแยกกัน ทั้งที่ภาคประชาชนต้องมีจุดยืนคือต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ
"ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้เกิดความสามัคคี สมานฉันท์ ซึ่งไม่ใช่หลักการของประชาธิปไตยที่สามารถเห็นแตกต่างกันได้ โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง ทั้งนี้เชื่อว่าหลังการเลือกตั้งคงจะไม่ใช่การยูเทิร์นประเทศไทยอีกแล้ว เพราะช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับการยูเทิร์นเล็ก น้อยมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการ ไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเมือง การสนับสนุนวิธีการทำงานที่ผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ การทำลายกระบวนการตรวจสอบในระบอบประชาธิปไตย จนมาถึงการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 49 คิด ว่าหลังเลือกตั้ง 23 ธ.ค. คงไม่ใช่การยูเทิร์น กลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ยังคงเป็นการวกกลับแบบเฉียง ๆ และอีกนานกว่าที่จะเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยังมีรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ กับฝ่ายตุลาการ ราชการมากกเกินไป ถือเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ นอกจากให้ประชาชนคนไทยออกมารวมพลังสร้างการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง และต้องดูบทเรียนที่ผ่านมา ภาคประชาชนต้องไม่ไปอิงกับขั้วการเมืองใดขั้วหนึ่ง แต่ต้องเป็นตัวของตัวเอง" อดีต ส.ว.กทม.กล่าว