ช่วงนี้ท่านผู้อ่านที่ติดตามภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศอยู่บ้าง คงพอทราบว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงขาลง ทว่าก็ยังมีข้อถกเถียงกันต่อไปว่าภาวะเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯจะกระทบเศรษฐกิจของเอเชียรวมถึงไทยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของนักเศรษฐศาสตร์ที่จะมีการถกเถียงกันเพื่อหาเหตุผลที่ดีที่สุดและนำมาซึ่งการคาดการณ์ที่เที่ยงตรง สำหรับผมแล้ว ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในกลางปีหน้าอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ขาลงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย และเห็นค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ขาลงดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกของเอเชียและไทยเท่าใดนัก เพราะตัวเลขมูลค่าการส่งออกของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่รวมทั้งไทยยังคงขยายตัวดีอยู่
หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า ทำไมเมื่อเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่เช่นสหรัฐฯเริ่มมีปัญหา แต่ผลกระทบกลับยังไม่เกิดกับหลายประเทศในเอเชียที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ เหตุผลหลักก็คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังเป็นอยู่นั้น เกิดจากการหดตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัย แต่การบริโภคยังไม่ชะลอตัว จึงทำให้การส่งออกของเอเชียไปสหรัฐฯที่เกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภค ยังไม่ได้ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผมคาดว่าการใช้จ่ายในการบริโภคของสหรัฐฯจะเข้าสู่ขาลงในปี 2551 และจะส่งผลให้การส่งออกและเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลงตามมา
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯรวมทั้งสินเชื่อ Sub-prime ที่เกิดขึ้นนั้น ที่ผ่านมายังไม่ถึงจุดเลวร้ายที่สุดและยังไม่แสดงผลทำให้การใช้จ่ายของครัวเรือนสหรัฐฯลดลงเท่าใดนัก แต่ทว่าจากข้อมูลหลายแหล่งต่างชี้ตรงกันว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนสหรัฐฯที่จะเปลี่ยนจากแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ผู้กู้มีภาระเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3–5 และในบางกรณีอาจจะสูงถึงร้อยละ 7 ผลดังกล่าวจะทำให้จำนวนบ้านถูกยึดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จากข้อมูลของ Moody’s Investor Services และสมาคมธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Bankers’ Association: MBA) รวมทั้งวุฒิสภาของสหรัฐฯ ต่างแสดงว่า จำนวนบ้านที่จะถูกยึดในปี 2551 จะสูงถึง 2 ล้านหลัง จากปัญหาทั้งหมดจะส่งผลให้ราคาบ้านหดตัวลง ประกอบกับการสูญเสียที่อยู่อาศัยจำนวนมากจะทำให้ประชาชนสหรัฐฯ ชะลอการใช้จ่ายออกไป ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคชะลอตัวหรืออาจจะหดตัวลงได้ในปี 2551 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของเอเชียในที่สุด
เมื่อใดก็ตามที่การบริโภคของสหรัฐฯเกิดชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภคของเอเชียรวมถึงไทย นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมโดยผ่านการลดลงของการส่งออกและการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอื่นของสหรัฐฯ และส่งผลต่อเนื่องมายังเอเชียและไทยที่มีการค้าขายระหว่างกัน
การที่เอเชียและไทยดูเหมือนว่ายังไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของสหรัฐฯ ในปัจจุบันก็เนื่องจากการชะลอตัวของสหรัฐฯ เกิดจากการหดตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัยไม่ใช่จากการบริโภค อย่างไรก็ตาม คาดว่าการใช้จ่ายในการบริโภคของสหรัฐฯ จะเข้าสู่ขาลงในต้นปี 2551 และส่งผลให้การส่งออกของเอเชียเริ่มเข้าสู่ขาลงระดับหนึ่งในต้นปี 2551 และจะเข้าสู่ขาลงเต็มตัวในกลางปี 2551 จากผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นประเทศไทยจะหวังให้การส่งออกเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนปี 2550 คงเป็นไปได้ยาก ต้องรอดูว่ารัฐบาลหลังเลือกตั้งจะมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศอย่างไร ถ้าไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิผล ผมก็คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัวต่ำกว่าปีนี้อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ขาลงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย และเห็นค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ขาลงดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกของเอเชียและไทยเท่าใดนัก เพราะตัวเลขมูลค่าการส่งออกของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่รวมทั้งไทยยังคงขยายตัวดีอยู่
หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า ทำไมเมื่อเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่เช่นสหรัฐฯเริ่มมีปัญหา แต่ผลกระทบกลับยังไม่เกิดกับหลายประเทศในเอเชียที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ เหตุผลหลักก็คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังเป็นอยู่นั้น เกิดจากการหดตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัย แต่การบริโภคยังไม่ชะลอตัว จึงทำให้การส่งออกของเอเชียไปสหรัฐฯที่เกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภค ยังไม่ได้ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผมคาดว่าการใช้จ่ายในการบริโภคของสหรัฐฯจะเข้าสู่ขาลงในปี 2551 และจะส่งผลให้การส่งออกและเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลงตามมา
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯรวมทั้งสินเชื่อ Sub-prime ที่เกิดขึ้นนั้น ที่ผ่านมายังไม่ถึงจุดเลวร้ายที่สุดและยังไม่แสดงผลทำให้การใช้จ่ายของครัวเรือนสหรัฐฯลดลงเท่าใดนัก แต่ทว่าจากข้อมูลหลายแหล่งต่างชี้ตรงกันว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนสหรัฐฯที่จะเปลี่ยนจากแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ผู้กู้มีภาระเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3–5 และในบางกรณีอาจจะสูงถึงร้อยละ 7 ผลดังกล่าวจะทำให้จำนวนบ้านถูกยึดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จากข้อมูลของ Moody’s Investor Services และสมาคมธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Bankers’ Association: MBA) รวมทั้งวุฒิสภาของสหรัฐฯ ต่างแสดงว่า จำนวนบ้านที่จะถูกยึดในปี 2551 จะสูงถึง 2 ล้านหลัง จากปัญหาทั้งหมดจะส่งผลให้ราคาบ้านหดตัวลง ประกอบกับการสูญเสียที่อยู่อาศัยจำนวนมากจะทำให้ประชาชนสหรัฐฯ ชะลอการใช้จ่ายออกไป ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคชะลอตัวหรืออาจจะหดตัวลงได้ในปี 2551 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของเอเชียในที่สุด
เมื่อใดก็ตามที่การบริโภคของสหรัฐฯเกิดชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภคของเอเชียรวมถึงไทย นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมโดยผ่านการลดลงของการส่งออกและการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอื่นของสหรัฐฯ และส่งผลต่อเนื่องมายังเอเชียและไทยที่มีการค้าขายระหว่างกัน
การที่เอเชียและไทยดูเหมือนว่ายังไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของสหรัฐฯ ในปัจจุบันก็เนื่องจากการชะลอตัวของสหรัฐฯ เกิดจากการหดตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัยไม่ใช่จากการบริโภค อย่างไรก็ตาม คาดว่าการใช้จ่ายในการบริโภคของสหรัฐฯ จะเข้าสู่ขาลงในต้นปี 2551 และส่งผลให้การส่งออกของเอเชียเริ่มเข้าสู่ขาลงระดับหนึ่งในต้นปี 2551 และจะเข้าสู่ขาลงเต็มตัวในกลางปี 2551 จากผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นประเทศไทยจะหวังให้การส่งออกเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนปี 2550 คงเป็นไปได้ยาก ต้องรอดูว่ารัฐบาลหลังเลือกตั้งจะมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศอย่างไร ถ้าไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิผล ผมก็คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัวต่ำกว่าปีนี้อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก