นัยแห่งคำ
“เล่ห์, ราคะ” ที่จะกล่าวถึงนี้คือ “เล่ห์, ราคะ” อันเป็นชื่อเรื่องสั้นขนาดยาวเรื่อง “เซ่อ, เจี้ย” ของ จางอ้ายหลิง จุดที่สะดุดความรู้สึกเบื้องต้นของชื่อเรื่องสั้นนี้ก็คือ จางอ้ายหลิง จงใจใช้เครื่องหมายจุดภาค (,) มาคั่นคำทั้งสองเอาไว้ ฉะนั้น หากว่ากันตามหลักภาษาแล้ว คำทั้งสองจึงถูกแยกออกจากกันเป็นคนละคำคนละภาวะ แต่ถ้าพิจารณาความหมายของคำแต่ละคำแล้ว เราก็จะพบว่า ทั้งสองคำนี้มีนัยที่สัมพันธ์กันยังไงอยู่
คำว่า “เซ่อ” ในภาษาจีนโดยทั่วไปจะแปลว่า สี สีสัน แต่ในบางบริบทของคำคำนี้กลับหมายถึงตัณหาหรือราคะ ความหมายหลังนี้จะว่าไปแล้วก็อิงอยู่กับความหมายแรก เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น สีมักจะมีบทบาทที่สัมพันธ์กับอารมณ์ของมนุษย์อย่างหลากหลายแตกต่างกันไป และในบรรดาบทบาทเหล่านี้ก็จะมีสีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ให้อารมณ์ไปในทางที่ยั่วยวนและสัมพันธ์กับกามราคะ
ส่วนคำว่า “เจี้ย” โดยทั่วไปจะหมายถึงระมัดระวัง และในบริบทที่ลึกมากไปกว่านั้น “เซ่อ” จะกินความหมายไปถึงการระงับยับยั้งชั่งใจ และถ้าลึกลงไปอีกก็อาจจะไปไกลถึงขั้นเลิก ห้าม หรือขจัดออกไป คล้ายๆ กับบริบทของคำว่า “เซ่อ” ที่คำว่า “เจี้ย” ทำให้เห็นว่า เวลาที่มนุษย์ระมัดระวังตัวนั้น บ่อยครั้งการระมัดระวังที่ว่าจะแสดงออกด้วยการยับยั้งชั่งใจ แต่ถ้าหนักข้อมากๆ เข้าก็อาจไปไกลถึงขั้นตัดขาด เลิก หรือห้าม (ตนเอง) อย่างเด็ดขาด
ที่สำคัญก็คือว่า สำนึกที่รู้ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลานี้ ยากนักที่มนุษย์จะไม่คิดถึงแผนการไว้ในใจเพื่อไม่ให้สิ่งที่ตนระมัดระวังอยู่ได้ย่างกรายเข้ามาใกล้ หรือไม่ก็วางแผนให้ตนเองอย่าได้มีเงื่อนไขที่จะเข้าใกล้สิ่งที่ตนระมัดระวังอยู่ แผนทำนองนี้บางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เล่ห์กลต่างๆ จนมนุษย์คนนั้นกลายเป็นคนซ่อนเงื่อนไปในที่สุด ส่วนเล่ห์กลที่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
จากความหมายของคำทั้งสอง จะเห็นได้ว่า เรื่องที่มนุษย์เราระมัดระวังมากเรื่องหนึ่งก็คือ กามราคะ คือหากใครตกอยู่ในบ่วงของมันมากเกินไปแล้วก็จะเสียผู้เสียคนไป แต่ในขณะเดียวกัน กามราคะก็เป็นเรื่องที่ยั่วยวนยากจะหักห้ามใจ ลงว่าได้สัมผัสมันเข้าไปแล้ว บ่อยครั้งก็ยากที่จะถอนตัวออกมาได้
เกี่ยวกับปัญหานี้จึงมีทางออกอยู่เพียงทางเดียว นั่นคือ มนุษย์พึงกุมสติของตัวเองให้มั่น แล้ววางตนอย่างระมัดระวังไม่ให้ตกอยู่ในบ่วงของมัน ซึ่งบางครั้งพอระมัดระวังตัวมากๆ เข้าจนไม่มีทางหนีอีก หนทางสุดท้ายก็อาจจำเป็นต้องตัดกามราคะนั้นออกไปอย่างเด็ดขาด และทำให้กามราคะกลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับตนเองไปในที่สุด
การที่ จางอ้ายหลิง จัดวางรูปคำทั้งสองโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคมาคั่นเอาไว้นั้น ในด้านหนึ่งจึงเป็นการสื่อไปในตัวว่า ทั้งสองคำต่างก็เป็นคนละคำที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน แต่พอมองลึกลงไปถึงความหมายแล้วก็จะพบอีกภาวะหนึ่งว่า ทั้งสองคำจะท้าทายคนอ่านเองว่าจะให้มันเกี่ยวข้องกันหรือไม่ และเมื่อคำทั้งสองถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ คำที่ใช้จึงตรงไปตรงมาเหมือนกับภาษาจีน คือแปลว่า “Lust, caution” คล้ายๆ กับคำไทยที่แปลโดยสลับคำกับคำจีนว่า “เล่ห์, ราคะ” อย่างเหมาะสมและพอดี
แต่กระนั้นก็ตาม ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “เซ่อ, เจี้ย” หรือ “เล่ห์, ราคะ” นี้เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว และได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังโดย หลี่อัน หรือ อั้งลี ผู้กำกับใหญ่จากไต้หวัน ความหมายของ “เล่ห์, ราคะ” จึงถูกบอกเล่าออกมาให้เห็นอย่างชวนเร้าใจ โดยทั้งวรรณกรรมและหนังต่างก็มีสภาพสังคมการเมืองของจีนในช่วงปลายทศวรรษ 1930 ต่อต้นทศวรรษ 1940 เป็นฉากหลังของการเล่าเรื่อง การทำความเข้าใจกับฉากหลังที่ว่านี้จึงสำคัญมาก เพราะนั่นจะทำให้เราเข้าใจความหมายนัยของ จางอ้ายหลิง ได้มากขึ้น
สังเขปชีวิต จางอ้ายหลิง
จางอ้ายหลิง เป็นชื่อของนักเขียนหญิงจีนคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั้งในจีนและนานาชาติ เธอเกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1920 ที่เมืองซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) ในตระกูลที่มีชื่อเสียง กล่าวคือ ปู่ของเธอเป็นบุตรบุญธรรมของมหาเสนาบดี หลี่หงจาง แห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) โดย หลี่หงจาง นี้ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของจีน ด้วยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญๆ ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงกำลังเสื่อมถอย โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นตัวแทนของจีนในการเจรจากับต่างชาติที่เข้ามาคุกคามจีน ด้วยเหตุนี้ หลี่หงจาง จึงเป็นที่รู้จักกันในหมู่ทูตานุทูตที่อยู่ในจีนขณะนั้นไปด้วย
ถึงแม้จะมาจากตระกูลที่มีชื่อเสียง แต่นั่นมิได้หมายความว่า จางอ้ายหลิง จะมีชีวิตที่ราบรื่นตามฐานะที่ว่านั้นไปด้วย เพราะลำพังเพียงแค่ปีที่เธอเกิด (1920) ก็บ่งบอกอย่างชัดเจนไปในตัวแล้วว่า เธอเกิดในยุคที่บรรดาขุนศึกของจีนขณะนั้นกำลังแก่งแย่งอำนาจกันอย่างเมามัน แต่หากถามว่า ฐานะตระกูลที่ดีจะมีประโยชน์อะไรกับเธอในเบื้องต้นบ้างแล้ว คำตอบก็น่าจะอยู่ตรงที่ฐานะนั้นได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เธอได้รับการศึกษาที่ดี ที่ในช่วงนั้นยากนักที่สตรีจีนจะได้รับโอกาสทำนองนี้
จางอ้ายหลิง ได้เข้าเรียนในขณะที่มีอายุเพียง 4 ขวบ ตอนนั้นครอบครัวของเธอได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเทียนจิน (เทียนสิน) อย่างไรก็ตาม ในปีรุ่งขึ้นที่เธอมีอายุ 5 ขวบนั้นเอง แม่ก็ทิ้งเธอไปยังอังกฤษ เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของผู้เป็นพ่อที่ไปมีเมียน้อยและติดฝิ่นอย่างหนัก แต่ในอีก 4 ปีต่อมา แม่ของเธอก็กลับมา เมื่อพ่อสัญญาว่าจะเลิกกับเมียน้อยและยาเสพติด
กล่าวกันว่า จากสภาพครอบครัวที่แตกแยกและไร้ความสุขเช่นนี้ นับว่าส่งผลต่องานเขียนของ จางอ้ายหลิง อยู่ไม่น้อยที่สะท้อนให้เห็นถึงการมองโลกในแง่ร้ายของเธอ
พอถึงปี 1928 ครอบครัวของเธอก็ย้ายกลับมาที่ซ่างไห่ และในวัยเพียง 8 ขวบนี้เองที่ จาง ได้ฉายแววของการเป็นนักวรรณกรรมออกมา เมื่อเธอเริ่มอ่านวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง “ความฝันในหอแดง” (หงโหลวเมิ่ง) อันเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ชิงที่ถือกันว่ามีวรรณศิลป์เป็นเลิศ และมิใช่จะอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ โดยเฉพาะกับเด็กอายุเพียง 8 ขวบอย่างเธอในขณะนั้น
ในอีก 2 ปีต่อมา จางอ้ายหลิง ก็ได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนฝรั่ง คือ โรงเรียนสตรี เซ็นต์ มาเรีย ที่โรงเรียนนี้เธอได้เปลี่ยนชื่อของเธอให้ดูเป็นฝรั่งว่า ไอลีน (Eileen) เพื่อล้อกับชื่อจีน (อ้ายหลิง) ของเธอ การเปลี่ยนชื่อให้ฟังดูเป็นฝรั่งนี้ถือเป็นธรรมเนียมปกติในสมัยนั้น ซึ่งหญิงจีน (รวมถึงชายด้วย) ที่เรียนโรงเรียนฝรั่งในจีนก็ดี เรียนที่เมืองฝรั่งก็ดี หรือมีความสัมพันธ์กับฝรั่งก็ดี ต่างก็นิยมทำกัน ซึ่งคงเป็นไปเพียงเพื่อให้สื่อสารกันได้ง่าย โดยวัฒนธรรมตะวันตกที่รับมามีผลกระทบกับความเป็นจีนน้อยมาก ยกเว้นก็แต่บางกลุ่มบางคนเท่านั้นที่อาจจะเห่อหรือหลงใหลจนเกินพอดี
อย่างเช่น ซ่งเหม่ยหลิง ในวัยสาว ที่ต่อมาเป็นศรีภรรยาของ เจี่ยงเจี้ยสือ หรือ เจียงไคเช็ก เป็นต้น ที่เคยประกาศว่า นอกจากใบหน้าของเธอที่ดูเป็นจีนแล้ว อย่างอื่นเธอเป็นฝรั่งหมด
จวบจนปี 1932 ในวัย 12 ปี จางอ้ายหลิง ก็มีเรื่องสั้นเรื่องแรกของเธอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นทิศทางชีวิตการเป็นนักเขียนของเธอ โดยหลังจากที่เธอก้าวขึ้นไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาแล้ว เธอก็มีงานเขียนตีพิมพ์ในวารสารของโรงเรียน และครั้นพอจบระดับมัธยมฯ จางอ้ายหลิง ก็เข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงในปี 1939 ซึ่งแน่นอนว่า เธอย่อมต้องเลือกเรียนสาขาวิชาวรรณกรรมนั่นเอง
ณ ที่ฮ่องกงนี้เองที่ จางอ้ายหลิง ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน แต่โอกาสนี้ก็ต้องถูกสละทิ้งไปเพราะให้พอดีกับที่เกิดสงครามในแปซิฟิก ห้วงสถานการณ์เช่นนี้เองที่บอกให้รู้ว่า ชีวิตช่วงนี้ของ จางอ้ายหลิง นั้น หากไม่ใช่เพราะครอบครัวของเธอมีฐานะที่ดีแล้ว เธอก็อาจไม่มีโอกาสแม้แต่ที่จะเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับการที่ต้องระเห็จมาเรียนถึงฮ่องกง เพราะในตอนนั้นสงครามจีน-ญี่ปุ่น (ค.ศ.1937-1945) ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นแต่ญี่ปุ่นยังไม่ได้บุกเข้ามายึดฮ่องกงเท่านั้น
“เล่ห์, ราคะ” ที่จะกล่าวถึงนี้คือ “เล่ห์, ราคะ” อันเป็นชื่อเรื่องสั้นขนาดยาวเรื่อง “เซ่อ, เจี้ย” ของ จางอ้ายหลิง จุดที่สะดุดความรู้สึกเบื้องต้นของชื่อเรื่องสั้นนี้ก็คือ จางอ้ายหลิง จงใจใช้เครื่องหมายจุดภาค (,) มาคั่นคำทั้งสองเอาไว้ ฉะนั้น หากว่ากันตามหลักภาษาแล้ว คำทั้งสองจึงถูกแยกออกจากกันเป็นคนละคำคนละภาวะ แต่ถ้าพิจารณาความหมายของคำแต่ละคำแล้ว เราก็จะพบว่า ทั้งสองคำนี้มีนัยที่สัมพันธ์กันยังไงอยู่
คำว่า “เซ่อ” ในภาษาจีนโดยทั่วไปจะแปลว่า สี สีสัน แต่ในบางบริบทของคำคำนี้กลับหมายถึงตัณหาหรือราคะ ความหมายหลังนี้จะว่าไปแล้วก็อิงอยู่กับความหมายแรก เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น สีมักจะมีบทบาทที่สัมพันธ์กับอารมณ์ของมนุษย์อย่างหลากหลายแตกต่างกันไป และในบรรดาบทบาทเหล่านี้ก็จะมีสีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ให้อารมณ์ไปในทางที่ยั่วยวนและสัมพันธ์กับกามราคะ
ส่วนคำว่า “เจี้ย” โดยทั่วไปจะหมายถึงระมัดระวัง และในบริบทที่ลึกมากไปกว่านั้น “เซ่อ” จะกินความหมายไปถึงการระงับยับยั้งชั่งใจ และถ้าลึกลงไปอีกก็อาจจะไปไกลถึงขั้นเลิก ห้าม หรือขจัดออกไป คล้ายๆ กับบริบทของคำว่า “เซ่อ” ที่คำว่า “เจี้ย” ทำให้เห็นว่า เวลาที่มนุษย์ระมัดระวังตัวนั้น บ่อยครั้งการระมัดระวังที่ว่าจะแสดงออกด้วยการยับยั้งชั่งใจ แต่ถ้าหนักข้อมากๆ เข้าก็อาจไปไกลถึงขั้นตัดขาด เลิก หรือห้าม (ตนเอง) อย่างเด็ดขาด
ที่สำคัญก็คือว่า สำนึกที่รู้ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลานี้ ยากนักที่มนุษย์จะไม่คิดถึงแผนการไว้ในใจเพื่อไม่ให้สิ่งที่ตนระมัดระวังอยู่ได้ย่างกรายเข้ามาใกล้ หรือไม่ก็วางแผนให้ตนเองอย่าได้มีเงื่อนไขที่จะเข้าใกล้สิ่งที่ตนระมัดระวังอยู่ แผนทำนองนี้บางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เล่ห์กลต่างๆ จนมนุษย์คนนั้นกลายเป็นคนซ่อนเงื่อนไปในที่สุด ส่วนเล่ห์กลที่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
จากความหมายของคำทั้งสอง จะเห็นได้ว่า เรื่องที่มนุษย์เราระมัดระวังมากเรื่องหนึ่งก็คือ กามราคะ คือหากใครตกอยู่ในบ่วงของมันมากเกินไปแล้วก็จะเสียผู้เสียคนไป แต่ในขณะเดียวกัน กามราคะก็เป็นเรื่องที่ยั่วยวนยากจะหักห้ามใจ ลงว่าได้สัมผัสมันเข้าไปแล้ว บ่อยครั้งก็ยากที่จะถอนตัวออกมาได้
เกี่ยวกับปัญหานี้จึงมีทางออกอยู่เพียงทางเดียว นั่นคือ มนุษย์พึงกุมสติของตัวเองให้มั่น แล้ววางตนอย่างระมัดระวังไม่ให้ตกอยู่ในบ่วงของมัน ซึ่งบางครั้งพอระมัดระวังตัวมากๆ เข้าจนไม่มีทางหนีอีก หนทางสุดท้ายก็อาจจำเป็นต้องตัดกามราคะนั้นออกไปอย่างเด็ดขาด และทำให้กามราคะกลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับตนเองไปในที่สุด
การที่ จางอ้ายหลิง จัดวางรูปคำทั้งสองโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคมาคั่นเอาไว้นั้น ในด้านหนึ่งจึงเป็นการสื่อไปในตัวว่า ทั้งสองคำต่างก็เป็นคนละคำที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน แต่พอมองลึกลงไปถึงความหมายแล้วก็จะพบอีกภาวะหนึ่งว่า ทั้งสองคำจะท้าทายคนอ่านเองว่าจะให้มันเกี่ยวข้องกันหรือไม่ และเมื่อคำทั้งสองถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ คำที่ใช้จึงตรงไปตรงมาเหมือนกับภาษาจีน คือแปลว่า “Lust, caution” คล้ายๆ กับคำไทยที่แปลโดยสลับคำกับคำจีนว่า “เล่ห์, ราคะ” อย่างเหมาะสมและพอดี
แต่กระนั้นก็ตาม ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “เซ่อ, เจี้ย” หรือ “เล่ห์, ราคะ” นี้เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว และได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังโดย หลี่อัน หรือ อั้งลี ผู้กำกับใหญ่จากไต้หวัน ความหมายของ “เล่ห์, ราคะ” จึงถูกบอกเล่าออกมาให้เห็นอย่างชวนเร้าใจ โดยทั้งวรรณกรรมและหนังต่างก็มีสภาพสังคมการเมืองของจีนในช่วงปลายทศวรรษ 1930 ต่อต้นทศวรรษ 1940 เป็นฉากหลังของการเล่าเรื่อง การทำความเข้าใจกับฉากหลังที่ว่านี้จึงสำคัญมาก เพราะนั่นจะทำให้เราเข้าใจความหมายนัยของ จางอ้ายหลิง ได้มากขึ้น
สังเขปชีวิต จางอ้ายหลิง
จางอ้ายหลิง เป็นชื่อของนักเขียนหญิงจีนคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั้งในจีนและนานาชาติ เธอเกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1920 ที่เมืองซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) ในตระกูลที่มีชื่อเสียง กล่าวคือ ปู่ของเธอเป็นบุตรบุญธรรมของมหาเสนาบดี หลี่หงจาง แห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) โดย หลี่หงจาง นี้ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของจีน ด้วยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญๆ ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงกำลังเสื่อมถอย โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นตัวแทนของจีนในการเจรจากับต่างชาติที่เข้ามาคุกคามจีน ด้วยเหตุนี้ หลี่หงจาง จึงเป็นที่รู้จักกันในหมู่ทูตานุทูตที่อยู่ในจีนขณะนั้นไปด้วย
ถึงแม้จะมาจากตระกูลที่มีชื่อเสียง แต่นั่นมิได้หมายความว่า จางอ้ายหลิง จะมีชีวิตที่ราบรื่นตามฐานะที่ว่านั้นไปด้วย เพราะลำพังเพียงแค่ปีที่เธอเกิด (1920) ก็บ่งบอกอย่างชัดเจนไปในตัวแล้วว่า เธอเกิดในยุคที่บรรดาขุนศึกของจีนขณะนั้นกำลังแก่งแย่งอำนาจกันอย่างเมามัน แต่หากถามว่า ฐานะตระกูลที่ดีจะมีประโยชน์อะไรกับเธอในเบื้องต้นบ้างแล้ว คำตอบก็น่าจะอยู่ตรงที่ฐานะนั้นได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เธอได้รับการศึกษาที่ดี ที่ในช่วงนั้นยากนักที่สตรีจีนจะได้รับโอกาสทำนองนี้
จางอ้ายหลิง ได้เข้าเรียนในขณะที่มีอายุเพียง 4 ขวบ ตอนนั้นครอบครัวของเธอได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเทียนจิน (เทียนสิน) อย่างไรก็ตาม ในปีรุ่งขึ้นที่เธอมีอายุ 5 ขวบนั้นเอง แม่ก็ทิ้งเธอไปยังอังกฤษ เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของผู้เป็นพ่อที่ไปมีเมียน้อยและติดฝิ่นอย่างหนัก แต่ในอีก 4 ปีต่อมา แม่ของเธอก็กลับมา เมื่อพ่อสัญญาว่าจะเลิกกับเมียน้อยและยาเสพติด
กล่าวกันว่า จากสภาพครอบครัวที่แตกแยกและไร้ความสุขเช่นนี้ นับว่าส่งผลต่องานเขียนของ จางอ้ายหลิง อยู่ไม่น้อยที่สะท้อนให้เห็นถึงการมองโลกในแง่ร้ายของเธอ
พอถึงปี 1928 ครอบครัวของเธอก็ย้ายกลับมาที่ซ่างไห่ และในวัยเพียง 8 ขวบนี้เองที่ จาง ได้ฉายแววของการเป็นนักวรรณกรรมออกมา เมื่อเธอเริ่มอ่านวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง “ความฝันในหอแดง” (หงโหลวเมิ่ง) อันเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ชิงที่ถือกันว่ามีวรรณศิลป์เป็นเลิศ และมิใช่จะอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ โดยเฉพาะกับเด็กอายุเพียง 8 ขวบอย่างเธอในขณะนั้น
ในอีก 2 ปีต่อมา จางอ้ายหลิง ก็ได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนฝรั่ง คือ โรงเรียนสตรี เซ็นต์ มาเรีย ที่โรงเรียนนี้เธอได้เปลี่ยนชื่อของเธอให้ดูเป็นฝรั่งว่า ไอลีน (Eileen) เพื่อล้อกับชื่อจีน (อ้ายหลิง) ของเธอ การเปลี่ยนชื่อให้ฟังดูเป็นฝรั่งนี้ถือเป็นธรรมเนียมปกติในสมัยนั้น ซึ่งหญิงจีน (รวมถึงชายด้วย) ที่เรียนโรงเรียนฝรั่งในจีนก็ดี เรียนที่เมืองฝรั่งก็ดี หรือมีความสัมพันธ์กับฝรั่งก็ดี ต่างก็นิยมทำกัน ซึ่งคงเป็นไปเพียงเพื่อให้สื่อสารกันได้ง่าย โดยวัฒนธรรมตะวันตกที่รับมามีผลกระทบกับความเป็นจีนน้อยมาก ยกเว้นก็แต่บางกลุ่มบางคนเท่านั้นที่อาจจะเห่อหรือหลงใหลจนเกินพอดี
อย่างเช่น ซ่งเหม่ยหลิง ในวัยสาว ที่ต่อมาเป็นศรีภรรยาของ เจี่ยงเจี้ยสือ หรือ เจียงไคเช็ก เป็นต้น ที่เคยประกาศว่า นอกจากใบหน้าของเธอที่ดูเป็นจีนแล้ว อย่างอื่นเธอเป็นฝรั่งหมด
จวบจนปี 1932 ในวัย 12 ปี จางอ้ายหลิง ก็มีเรื่องสั้นเรื่องแรกของเธอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นทิศทางชีวิตการเป็นนักเขียนของเธอ โดยหลังจากที่เธอก้าวขึ้นไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาแล้ว เธอก็มีงานเขียนตีพิมพ์ในวารสารของโรงเรียน และครั้นพอจบระดับมัธยมฯ จางอ้ายหลิง ก็เข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงในปี 1939 ซึ่งแน่นอนว่า เธอย่อมต้องเลือกเรียนสาขาวิชาวรรณกรรมนั่นเอง
ณ ที่ฮ่องกงนี้เองที่ จางอ้ายหลิง ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน แต่โอกาสนี้ก็ต้องถูกสละทิ้งไปเพราะให้พอดีกับที่เกิดสงครามในแปซิฟิก ห้วงสถานการณ์เช่นนี้เองที่บอกให้รู้ว่า ชีวิตช่วงนี้ของ จางอ้ายหลิง นั้น หากไม่ใช่เพราะครอบครัวของเธอมีฐานะที่ดีแล้ว เธอก็อาจไม่มีโอกาสแม้แต่ที่จะเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับการที่ต้องระเห็จมาเรียนถึงฮ่องกง เพราะในตอนนั้นสงครามจีน-ญี่ปุ่น (ค.ศ.1937-1945) ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นแต่ญี่ปุ่นยังไม่ได้บุกเข้ามายึดฮ่องกงเท่านั้น