มีข้าราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลังหลายท่านที่กำลังประสบวิบากกรรมอยู่ขณะนี้
เป็นวิบากกรรมที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจลงเพราะการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะพวกเขารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะโดยไม่รู้ ไม่ตั้งใจหรือเพราะเห็นว่า ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีอำนาจครอบคลุมไปทุกกระทรวงทบวงกรม มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษได้ จึงลืมศึกษาหรือถึงรู้ก็ทำเป็นไม่รู้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 22/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเสียภาษีในกรณีที่ได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ
คำวินิจฉัยดังกล่าว นายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรสั่งเอาไว้ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
คำวินิจฉัย 28/2538 มีสาระสำคัญคือ
กรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร วินิจฉัยว่า กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกหรือขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดให้กับพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ จำนวนเท่าใด
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและได้มีคำวินิจฉัยในการประชุมครั้งที่ 33/2538 หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน หรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าว ตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีนี้ย่อมถือได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินพึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น ไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินให้ถือตามมูลค่าหุ้นดังนี้
1. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้ประชาชนทั่วไป
(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเดือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น
2. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป
(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะเสนอหุ้นให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าว และประสงค์ที่จะทำความตกลงเกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าหุ้นเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีของบุคคลดังกล่าว ให้ยื่นคำขอต่อกรมสรรพากรเพื่อเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
ถ้าหากข้าราชการกรมสรรพากรในเวลาต่อมา หลังจากที่มีการวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ซึ่งมีนายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ประชุมวินิจฉัย 10 มกราคม 2538 และสั่งไว้ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 ก็จะไม่ประสบกับวิบากกรรม ถูกสอบสวนความผิดอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานตอบข้อหารือกรณีไม่จัดเก็บภาษีอากร ซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ ชินวัตร และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร จากบริษัท Ample Rich Investment Limited ฐานเป็นเจ้าพนักงานช่วยกันเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้อง หรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษี และปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งไม่อาจคาดเดาชะตากรรมของข้าราชการกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ว่า ในที่สุดแล้วจะลงเอยอย่างไร
แม้บางคนจะวิ่งจนขาขวิด เพื่อจะให้ตัวเองรอดพ้นชะตากรรม เพราะคงไม่มีใครกล้าเสี่ยงกล้าปกป้องคนผิด (ถ้าข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้อกล่าวหา)
ถ้าหากยึดหลักการที่นายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลังมีคำสั่งเอาไว้เมื่อมีหนังสือเรื่องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ
และจะไม่ตอบเขาไปว่า
1. ตามข้อเท็จจริงการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ในราคาหุ้นละ 1 บาทให้นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา กรณีเรื่องของการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างบริษัท ซึ่งเป็นผู้ขายกับนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นผู้ซื้ออันเป็นเรื่องปกติในการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงกันได้ โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สินตามที่ตกลงนั้น ตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับประเด็นภาระภาษีการซื้อขายดังกล่าว
(1) บริษัทซึ่งเป็นผู้ขาย ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หากการขายหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนหุ้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากข้อเท็จจริงบริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลใน British Virgins Islands ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย และไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ดังนั้น หากบริษัทมิได้เข้ามาในประเทศไทยเพื่อการขายหุ้นดังกล่าว หรือได้ขายหุ้นดังกล่าวผ่านลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่า บริษัทกระทำกิจการในประเทศไทยที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 66 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อมีการจ่ายเงินค่าหุ้นดังกล่าวไปให้กับบริษัทซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากเงินที่ได้รับไม่เข้าลักษณะตามเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นผู้ซื้อ การได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดจึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ที่บริษัทได้ถือไว้ให้กับนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หุ้นที่บริษัทได้ซื้อไว้เป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัท มิใช่เป็นหุ้นของบริษัทเป็นผู้ออกเอง กรณีจึงไม่เข้าลักษณะตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีในกรณีได้รับการแจกหุ้น หรือได้ถือหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
(หนังสือตอบที่ นางเบญจา หลุยเจริญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร)
ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้วก็จะเห็นว่าเป็นคำชี้แจงพยายามที่จะให้ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีภาระภาษีแต่อย่างใด
การซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาดก็มองว่า เป็นการตกลงซื้อขายที่ทำได้ปกติ ก็ถ้าหากที่ดินราคา 100 ล้านบาท ตกลงซื้อขายกันเพียง 1 ล้านบาท หรือต่ำกว่านี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระภาษี กรมสรรพากร ยอมไหมเล่า? (ในกรณีที่เป็นประชาชนทั้งหลายทั้งปวง)
แปลกที่คนระดับอธิบดี นายศิโรฒม์ สวัสดิพาณิชย์ รองอธิบดี นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร กลับไม่เป็นเป็นเรื่องผิดปกติ
ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร (31 มกราคม 2549)
ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตวุฒิสภา
นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดี ซึ่งไปชี้แจงแทนอธิบดี ก็ยึดเอาแนวคิดที่นางเบญจา หลุยเจริญ แทนที่จะยึดหลักของนายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลัง
วิบากกรรมจึงได้เกิดขึ้นเช่นนี้แหละครับ
เป็นวิบากกรรมที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจลงเพราะการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะพวกเขารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะโดยไม่รู้ ไม่ตั้งใจหรือเพราะเห็นว่า ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีอำนาจครอบคลุมไปทุกกระทรวงทบวงกรม มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษได้ จึงลืมศึกษาหรือถึงรู้ก็ทำเป็นไม่รู้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 22/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเสียภาษีในกรณีที่ได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ
คำวินิจฉัยดังกล่าว นายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรสั่งเอาไว้ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
คำวินิจฉัย 28/2538 มีสาระสำคัญคือ
กรมสรรพากรได้ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร วินิจฉัยว่า กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกหรือขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดให้กับพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ จำนวนเท่าใด
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและได้มีคำวินิจฉัยในการประชุมครั้งที่ 33/2538 หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน หรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าว ตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีนี้ย่อมถือได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้รับเงินพึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น ไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินให้ถือตามมูลค่าหุ้นดังนี้
1. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้ประชาชนทั่วไป
(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเดือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น
2. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป
(2) หากหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะเสนอหุ้นให้พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าว และประสงค์ที่จะทำความตกลงเกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าหุ้นเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีของบุคคลดังกล่าว ให้ยื่นคำขอต่อกรมสรรพากรเพื่อเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
ถ้าหากข้าราชการกรมสรรพากรในเวลาต่อมา หลังจากที่มีการวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ซึ่งมีนายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ประชุมวินิจฉัย 10 มกราคม 2538 และสั่งไว้ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 ก็จะไม่ประสบกับวิบากกรรม ถูกสอบสวนความผิดอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานตอบข้อหารือกรณีไม่จัดเก็บภาษีอากร ซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ ชินวัตร และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร จากบริษัท Ample Rich Investment Limited ฐานเป็นเจ้าพนักงานช่วยกันเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้อง หรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษี และปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งไม่อาจคาดเดาชะตากรรมของข้าราชการกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ว่า ในที่สุดแล้วจะลงเอยอย่างไร
แม้บางคนจะวิ่งจนขาขวิด เพื่อจะให้ตัวเองรอดพ้นชะตากรรม เพราะคงไม่มีใครกล้าเสี่ยงกล้าปกป้องคนผิด (ถ้าข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้อกล่าวหา)
ถ้าหากยึดหลักการที่นายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลังมีคำสั่งเอาไว้เมื่อมีหนังสือเรื่องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ
และจะไม่ตอบเขาไปว่า
1. ตามข้อเท็จจริงการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ในราคาหุ้นละ 1 บาทให้นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา กรณีเรื่องของการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างบริษัท ซึ่งเป็นผู้ขายกับนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นผู้ซื้ออันเป็นเรื่องปกติในการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงกันได้ โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สินตามที่ตกลงนั้น ตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับประเด็นภาระภาษีการซื้อขายดังกล่าว
(1) บริษัทซึ่งเป็นผู้ขาย ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หากการขายหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนหุ้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากข้อเท็จจริงบริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลใน British Virgins Islands ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย และไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ดังนั้น หากบริษัทมิได้เข้ามาในประเทศไทยเพื่อการขายหุ้นดังกล่าว หรือได้ขายหุ้นดังกล่าวผ่านลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่า บริษัทกระทำกิจการในประเทศไทยที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 66 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อมีการจ่ายเงินค่าหุ้นดังกล่าวไปให้กับบริษัทซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากเงินที่ได้รับไม่เข้าลักษณะตามเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นผู้ซื้อ การได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดจึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ที่บริษัทได้ถือไว้ให้กับนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หุ้นที่บริษัทได้ซื้อไว้เป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัท มิใช่เป็นหุ้นของบริษัทเป็นผู้ออกเอง กรณีจึงไม่เข้าลักษณะตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีในกรณีได้รับการแจกหุ้น หรือได้ถือหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
(หนังสือตอบที่ นางเบญจา หลุยเจริญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร)
ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้วก็จะเห็นว่าเป็นคำชี้แจงพยายามที่จะให้ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีภาระภาษีแต่อย่างใด
การซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาดก็มองว่า เป็นการตกลงซื้อขายที่ทำได้ปกติ ก็ถ้าหากที่ดินราคา 100 ล้านบาท ตกลงซื้อขายกันเพียง 1 ล้านบาท หรือต่ำกว่านี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระภาษี กรมสรรพากร ยอมไหมเล่า? (ในกรณีที่เป็นประชาชนทั้งหลายทั้งปวง)
แปลกที่คนระดับอธิบดี นายศิโรฒม์ สวัสดิพาณิชย์ รองอธิบดี นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร กลับไม่เป็นเป็นเรื่องผิดปกติ
ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร (31 มกราคม 2549)
ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตวุฒิสภา
นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดี ซึ่งไปชี้แจงแทนอธิบดี ก็ยึดเอาแนวคิดที่นางเบญจา หลุยเจริญ แทนที่จะยึดหลักของนายอรัญ ธรรมโน ปลัดกระทรวงการคลัง
วิบากกรรมจึงได้เกิดขึ้นเช่นนี้แหละครับ