สมาคมยารุกหนักหลังไทยทำซีแอล ซื้อพื้นที่โฆษณาไทย 5 ฉบับให้ข้อมูล นักกม.ไทยจวกกลับเอาเงินซื้อพื้นที่ไปวิจัยและพัฒนาดีกว่า "หมอวิชัย"ขู่พรีมา หากลงข้อมูลเสียหาย-บิดเบือนความจริงฟ้องกลับแน่ ด้านนักกม.มะกัน เผยไม่ได้เกิดกับไทยแห่งแรก แต่ที่โดนหนัก เพราะบริษัทยากลัวประเทศอื่นเลียนแบบ
วานนี้(23 พ.ย.) ที่โรงแรมเอเซีย นายจักรกฤษณ์ ควรพจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.วูลองกอง ประเทศออสเตรเลีย กล่าวในเวทีการประชุมนานาชาติ เรื่องการบังคับใช้สิทธิเพื่อผลิตยาที่ติดสิทธิบัตร (ซีแอล) นวัตกรรม และการเข้าถึงยา ว่า กรณีที่สมาคมผู้ผลิตและวิจัยเภสัชภัณฑ์(พรีม่า) ได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อลงเนื้อหาข้อความเกี่ยวกับเรื่องการทำซีแอลของไทยนั้น เป็นการกระทำเพื่อต้องการหยุดการกระทำซีแอล เพราะไทยเป็นตัวจุดประเด็นให้กับประเทศอื่นๆ เรียนรู้ประสบการณ์ ให้ประเทศอื่นๆ ดำเนินการตาม ซึ่งมีแนวโน้มว่า อินโดนีเซีย และประเทศในภูมิภาคนี้จะทำตาม เพราะไทยทำให้เกิดตัวอย่างที่ทำลายเศรษฐกิจภาพรวมของบริษัทยาในระยะยาว
"พรีมาไม่ได้กล้าที่จะเปิดเผยว่า เขาเสียเงินในการโฆษณาไปจำนวนเท่าใด ซึ่งการโฆษณาเป็นการทำการตลาด เพราะเหตุใดถึงไม่นำเงินที่ใช้ซื้อพื้นที่โฆษณากว่า 2 แสนบาท ต่อฉบับไปใช้ในการวิจัย และพัฒนายาแทน" นายจักรกฤษณ์ กล่าว
ด้านนพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า จากการดูข้อมูลในหนังสือพิมพ์ไทย พบว่า เนื้อหาก็เป็นเชิงสร้างสรรค์ ไม่ได้เกิดความเสียหายใด แต่ถ้าในอนาคตมีการลงข้อมูลที่เป็นผลกระทบผลเสียกับกระทรวงสาธารณสุข อภ. หรือประเทศ จะดำเนินการฟ้องร้องอย่างแน่นอน และจะไม่เป็นเหมือนยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่น ที่หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ เพราะองค์กรดังกล่าวไม่อยู่ในประเทศไทย ขณะที่โฆษณาของพรีมาได้ลงชื่อกำกับในพื้นที่โฆษณาอย่างชัดเจน
นายบรู๊ค เบเกอร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.นอร์ธอีสเทิร์น รัฐแมสซสชูเซส สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คาดว่าการลงโฆษณาดังกล่าว คงจะมีต่ออีก 2-3 ตอน ซึ่งไทยต้องทนทุกข์ทรมานกับการแก้แค้นของบริษัทยา ที่คอยป้อนข้อมูลบิดเบือนมาโดยตลอด ซึ่งข้อมูลที่บริษัทมักกล่าวคือการทำซีแอลของไทย ทำให้การพัฒนายาใหม่ถูกทำลาย ทั้งที่ความจริงไทยมีสิทธิที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งตลาดยาของไทยเล็กมากที่การทำซีแอล จะสร้างผลกระทบต่อนวัตกรรมยาได้ เพราะมีเพียง 0.05% ของตลาดยาโลก
“การกระทำแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งเคยเกิดขึ้นกับไทย เพราะบริษัทยาก็ดำเนินการแบบนี้กับประเทศบราซิล แอฟริกาด้วย เพราเพื่อปกป้องการผูกขาดตลาดยาของตัวเอง และการกระทำเช่นนี้เป็นการลงโทษไทยและข่มขู่เพื่อไม่ให้ประเทศอื่นดำเนินการตาม นับว่าเป็นวิธีอีกขั้นหลังจากที่วิธีเดิมคือการถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ในประเทศนั้นๆ และเหตุที่ไทยโดนหนักสุด เพราะไทยกล้าที่จะประกาศต่อชาวโลกให้รู้ว่า ไทยจะทำซีแอล” นายบรู๊คกล่าว
ส่วนนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าเอดส์ กล่าวว่า เนื้อหาโฆษณาที่พรีม่า บอกว่าการลดภาษียาในไทยจะทำให้ราคายาลดลง และสาเหตุของยาราคาแพง เพราะกฎหมายของไทยเองนั้น ถือว่าเป็นข้อมูลที่บิดเบือนอย่างมาก เพราะภาษียาในไทยกับยาที่ใช้กับผู้ป่วยในสถานพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ และคลินิกไม่คิดภาษี แต่ยาที่จำหน่ายในร้ายขายยาเท่านั้นที่คิดภาษี และภาษียา 7% ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการที่มียาราคาแพง เพราะราคายาที่ตั้งไว้สูงมาตั้งแต่บริษัท ก็มีมูลค่าสูง 20-30 เท่าของราคายาสามัญ ทั้งนี้ เรื่องการให้ยกเลิกการเก็บภาษียา ภาคประชาชนได้เรียกร้องเรื่องดังกล่าวมานานมาก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเก่าๆ ที่กลับมาหลอกเด็กใหม่ๆ
“ขณะนี้ได้รับข้อมูลที่คาดว่ากลุ่มพรีมาจะนำมาใช้ในการเผยแพร่ต่อไป มีจำนวนกว่า 12 หน้า และถ้าหากพรีมา นำมาลงเป็นจริงจะยิ่งสร้างความปั่นป่วนในความเข้าใจกับคนไทย และเชื่อว่า การดำเนินการลงข้อความในโฆษณานั้น เป็นเพียงยกแรก และเชื่อว่ายังมีอีกหลายยก ซึ่งทางเครือข่ายผู้ทำงานด้านนี้จะไม่ซื้อพื้นที่โฆษณาลงตอบโต้แต่อย่างใด สิ่งที่จะดำเนินการคือ การเผยแพร่ข้อมูลความจริงต่อไป" นายนิมิตร์ กล่าว
นายจอน อึ้งภากรณ์ เลขานุการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่ทราบว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และไม่ทราบว่ารัฐบาลในชุดหน้าจะเดินหน้าเรื่องซีแอลอย่างไร เพราะหากขณะนี้จะพูดว่า ต่อไปจะทำซีแอลต่อไป พรรคการเมืองทั้งหลายก็อยากที่สัญญา เมื่อถึงคราวที่เป็นรัฐบาลแล้วจะทำตามที่สัญญาหรือไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ภาคประชาชนจะสู้ต่อไป
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเคยได้รับเอกสารเป็นข้อความการลงโฆษณาฉบับดังกล่าว แต่เป็นเพียงฉบับร่าง ซึ่งมีข้อมูลที่จะส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำซีแอล แต่เป็นข้อมูลประเด็นเดิมๆ ที่เคยใช้โจมตีไทย เช่นไทยจะทำซีแอลยา 14 ตัว หรือไทยไม่มีงบประมาณในการจัดหายา ซึ่งเป็นการใส่สี ตีไข่
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ นพ.วิชัย ตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาดังกล่าวหาก ส่งผลเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องร้องได้ทันที ซึ่งเข้าใจว่า การที่บริษัทต้องทำเช่นนั้น เพื่อต้องการรักษาผลประโยชน์ ส่วนความร่วมมือระหว่าง กระทรวงกับพรีม่านั้น คงไม่มีปัญหาเพราะ ปัจจุบันก็ไม่มีการเจรจา หรือมีความคืบหน้าในการหารืออยู่แล้ว
อนึ่ง พรีมาได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทย 3 ฉบับ ได้แก่โพสต์ทูเดย์ มติชน กรุงเทพธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 2 ฉบับคือ บางกอกโพสต์ และเนชั่น
วานนี้(23 พ.ย.) ที่โรงแรมเอเซีย นายจักรกฤษณ์ ควรพจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.วูลองกอง ประเทศออสเตรเลีย กล่าวในเวทีการประชุมนานาชาติ เรื่องการบังคับใช้สิทธิเพื่อผลิตยาที่ติดสิทธิบัตร (ซีแอล) นวัตกรรม และการเข้าถึงยา ว่า กรณีที่สมาคมผู้ผลิตและวิจัยเภสัชภัณฑ์(พรีม่า) ได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อลงเนื้อหาข้อความเกี่ยวกับเรื่องการทำซีแอลของไทยนั้น เป็นการกระทำเพื่อต้องการหยุดการกระทำซีแอล เพราะไทยเป็นตัวจุดประเด็นให้กับประเทศอื่นๆ เรียนรู้ประสบการณ์ ให้ประเทศอื่นๆ ดำเนินการตาม ซึ่งมีแนวโน้มว่า อินโดนีเซีย และประเทศในภูมิภาคนี้จะทำตาม เพราะไทยทำให้เกิดตัวอย่างที่ทำลายเศรษฐกิจภาพรวมของบริษัทยาในระยะยาว
"พรีมาไม่ได้กล้าที่จะเปิดเผยว่า เขาเสียเงินในการโฆษณาไปจำนวนเท่าใด ซึ่งการโฆษณาเป็นการทำการตลาด เพราะเหตุใดถึงไม่นำเงินที่ใช้ซื้อพื้นที่โฆษณากว่า 2 แสนบาท ต่อฉบับไปใช้ในการวิจัย และพัฒนายาแทน" นายจักรกฤษณ์ กล่าว
ด้านนพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า จากการดูข้อมูลในหนังสือพิมพ์ไทย พบว่า เนื้อหาก็เป็นเชิงสร้างสรรค์ ไม่ได้เกิดความเสียหายใด แต่ถ้าในอนาคตมีการลงข้อมูลที่เป็นผลกระทบผลเสียกับกระทรวงสาธารณสุข อภ. หรือประเทศ จะดำเนินการฟ้องร้องอย่างแน่นอน และจะไม่เป็นเหมือนยูเอสเอฟอร์อินโนเวชั่น ที่หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ เพราะองค์กรดังกล่าวไม่อยู่ในประเทศไทย ขณะที่โฆษณาของพรีมาได้ลงชื่อกำกับในพื้นที่โฆษณาอย่างชัดเจน
นายบรู๊ค เบเกอร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.นอร์ธอีสเทิร์น รัฐแมสซสชูเซส สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คาดว่าการลงโฆษณาดังกล่าว คงจะมีต่ออีก 2-3 ตอน ซึ่งไทยต้องทนทุกข์ทรมานกับการแก้แค้นของบริษัทยา ที่คอยป้อนข้อมูลบิดเบือนมาโดยตลอด ซึ่งข้อมูลที่บริษัทมักกล่าวคือการทำซีแอลของไทย ทำให้การพัฒนายาใหม่ถูกทำลาย ทั้งที่ความจริงไทยมีสิทธิที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งตลาดยาของไทยเล็กมากที่การทำซีแอล จะสร้างผลกระทบต่อนวัตกรรมยาได้ เพราะมีเพียง 0.05% ของตลาดยาโลก
“การกระทำแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งเคยเกิดขึ้นกับไทย เพราะบริษัทยาก็ดำเนินการแบบนี้กับประเทศบราซิล แอฟริกาด้วย เพราเพื่อปกป้องการผูกขาดตลาดยาของตัวเอง และการกระทำเช่นนี้เป็นการลงโทษไทยและข่มขู่เพื่อไม่ให้ประเทศอื่นดำเนินการตาม นับว่าเป็นวิธีอีกขั้นหลังจากที่วิธีเดิมคือการถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ในประเทศนั้นๆ และเหตุที่ไทยโดนหนักสุด เพราะไทยกล้าที่จะประกาศต่อชาวโลกให้รู้ว่า ไทยจะทำซีแอล” นายบรู๊คกล่าว
ส่วนนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าเอดส์ กล่าวว่า เนื้อหาโฆษณาที่พรีม่า บอกว่าการลดภาษียาในไทยจะทำให้ราคายาลดลง และสาเหตุของยาราคาแพง เพราะกฎหมายของไทยเองนั้น ถือว่าเป็นข้อมูลที่บิดเบือนอย่างมาก เพราะภาษียาในไทยกับยาที่ใช้กับผู้ป่วยในสถานพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ และคลินิกไม่คิดภาษี แต่ยาที่จำหน่ายในร้ายขายยาเท่านั้นที่คิดภาษี และภาษียา 7% ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการที่มียาราคาแพง เพราะราคายาที่ตั้งไว้สูงมาตั้งแต่บริษัท ก็มีมูลค่าสูง 20-30 เท่าของราคายาสามัญ ทั้งนี้ เรื่องการให้ยกเลิกการเก็บภาษียา ภาคประชาชนได้เรียกร้องเรื่องดังกล่าวมานานมาก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเก่าๆ ที่กลับมาหลอกเด็กใหม่ๆ
“ขณะนี้ได้รับข้อมูลที่คาดว่ากลุ่มพรีมาจะนำมาใช้ในการเผยแพร่ต่อไป มีจำนวนกว่า 12 หน้า และถ้าหากพรีมา นำมาลงเป็นจริงจะยิ่งสร้างความปั่นป่วนในความเข้าใจกับคนไทย และเชื่อว่า การดำเนินการลงข้อความในโฆษณานั้น เป็นเพียงยกแรก และเชื่อว่ายังมีอีกหลายยก ซึ่งทางเครือข่ายผู้ทำงานด้านนี้จะไม่ซื้อพื้นที่โฆษณาลงตอบโต้แต่อย่างใด สิ่งที่จะดำเนินการคือ การเผยแพร่ข้อมูลความจริงต่อไป" นายนิมิตร์ กล่าว
นายจอน อึ้งภากรณ์ เลขานุการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่ทราบว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และไม่ทราบว่ารัฐบาลในชุดหน้าจะเดินหน้าเรื่องซีแอลอย่างไร เพราะหากขณะนี้จะพูดว่า ต่อไปจะทำซีแอลต่อไป พรรคการเมืองทั้งหลายก็อยากที่สัญญา เมื่อถึงคราวที่เป็นรัฐบาลแล้วจะทำตามที่สัญญาหรือไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ภาคประชาชนจะสู้ต่อไป
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเคยได้รับเอกสารเป็นข้อความการลงโฆษณาฉบับดังกล่าว แต่เป็นเพียงฉบับร่าง ซึ่งมีข้อมูลที่จะส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำซีแอล แต่เป็นข้อมูลประเด็นเดิมๆ ที่เคยใช้โจมตีไทย เช่นไทยจะทำซีแอลยา 14 ตัว หรือไทยไม่มีงบประมาณในการจัดหายา ซึ่งเป็นการใส่สี ตีไข่
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ นพ.วิชัย ตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาดังกล่าวหาก ส่งผลเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องร้องได้ทันที ซึ่งเข้าใจว่า การที่บริษัทต้องทำเช่นนั้น เพื่อต้องการรักษาผลประโยชน์ ส่วนความร่วมมือระหว่าง กระทรวงกับพรีม่านั้น คงไม่มีปัญหาเพราะ ปัจจุบันก็ไม่มีการเจรจา หรือมีความคืบหน้าในการหารืออยู่แล้ว
อนึ่ง พรีมาได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทย 3 ฉบับ ได้แก่โพสต์ทูเดย์ มติชน กรุงเทพธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 2 ฉบับคือ บางกอกโพสต์ และเนชั่น