"ขิงแก่" ล้มโครงการโคเนื้อล้านครอบครัวแน่นอนแล้ว อ้างขาดทุนยับ ประเมินค่าชดเชยจ่ายตัวละพัน เผยค่าชดเชยอาจทะลุ 50 ล้าน ส่วนจะยุบ สธท. หรือไม่ โยนให้รัฐบาลหน้าตัดสิน
พ.อ.ประชาสัณห์ ชนะสงคราม ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวานนี้(20 พ.ย.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอดังนี้ 1.ให้ยกเลิกการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว 2. ให้กรมปศุสัตว์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ดูแลเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวที่เหลือ และยังเลี้ยงโคอยู่จำนวน 8,962 ราย จำนวนโค 17,835 ตัว จนกว่าจะขายโคในโครงการเสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทำไว้กับเกษตรกร
3.กรณีที่มีการนำโคในโครงการไปขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้บริษัทส่งเสริมธุรกิจไทย (สธท.) พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดรายเช่นว่านั้นโดยเคร่งครัด 4. ให้บริษัท สธท. จ่ายเงินต่างชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการให้แก่ ธ.ก.ส. ตามที่จ่ายจริง
นอกจากนี้ ยังให้ยกเลิกหลักการจัดสรรผลกำไรจากการขายโคในโครงการตามมติ ครม. 9 พ.ย.47 และกำหนดแนวทางการจัดสรรผลกำไรให้เกษตรกรรายใหม่ คือ นำมูลค่าโคที่ขายได้หักด้วยมูลค่าโคที่ซื้อมา และต้นทุน สธท.เฉพาะรายการที่จำเป็น และจัดสรรเงินส่วนที่เหลือเป็นกำไรให้เกษตรกรทั้งหมด โดยไม่ต้องจัดสรรผลกำไรให้บริษัทสธท. และถ้าเกษตรกรได้รับจัดสรรผลกำไรจากการขายโคต่ำกว่าตัวละ 1,000 บาท ให้บริษัท สธท.จ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการจนครบตัวละ 1,000 บาท
ทั้งนี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท สธท.นั้น ให้ดำเนินการตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง คณะที่ 2 ที่เห็นว่า เนื่องจากการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท สธท. มีขั้นตอนต้องดำเนินการในด้านกฎหมาย เช่น การชำระบัญชี ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และอาจจะไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันรัฐบาลชุดนี้ ดังนั้นการจะยุบเลิกบริษัท สธท. หรือไม่ ควรให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณา โดยชั้นนี้ให้ระงับดำเนินการของบริษัท สธท. เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการถกเถียงกันมากเรื่องของค่าชดเชย โดยกระทรวงเกษตรฯได้พูดถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องจ่ายค่าชดเชยตัวละ 1,000 บาท โดยคิดจากหลักการที่ว่า คนเลี้ยง 1 คนจะดูแลโคประมาณ 50 ตัว คิดเป็น 3 บาท ต่อวัน ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท และการที่รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ ก็เป็นเพราะโครงการดังกล่าวขาดทุน
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. ชี้แจงว่า การยกเลิกโครงการนี้ มีการประเมินการชดเชยความเสียหาย หรือความเสียโอกาสของเกษตรกร ที่อยู่ในโครงการนี้ คาดว่า ต้องใช้งบประมาณกว่า 50 ล้านบาท หรือมากว่านั้น
ขณะเดียวกัน บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทยจำกัด ( สธท. ) ที่ ครม.มีมติให้ยุติการดำเนินงานไปก่อน จนกว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรนั้น เชื่อว่า อาจจะพิจารณาไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากความเสียหายมีจำนวนมาก ขณะเดียวกัน สธท. นอกจากจะดำเนินการในเรื่องโคเนื้อล้านครอบครัวแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับโครงการปาล์มน้ำมัน และสินค้าเกษตรอีกหลายชนิด
ทั้งนี้นโยบายจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Vehicle : SPV หรือบริษัทส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด จัดตั้งเพื่อเป็นตัวกลางในการบริหารโครงการ และระดมทุน ช่วยเหลือภาคเกษตร และพยุงราคาสินค้า ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ สธท. หรือ เอสพีวี ยังมีการนำเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร ซึ่งเข้ามามีบทบาทในกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรอีกด้วย ทำให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นว่า การบริหารหนี้ และสินค้าเกษตรที่เกิดขึ้น มีการขาดทุนอย่างมาก
พ.อ.ประชาสัณห์ ชนะสงคราม ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวานนี้(20 พ.ย.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอดังนี้ 1.ให้ยกเลิกการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว 2. ให้กรมปศุสัตว์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ดูแลเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวที่เหลือ และยังเลี้ยงโคอยู่จำนวน 8,962 ราย จำนวนโค 17,835 ตัว จนกว่าจะขายโคในโครงการเสร็จสิ้นตามสัญญาที่ทำไว้กับเกษตรกร
3.กรณีที่มีการนำโคในโครงการไปขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้บริษัทส่งเสริมธุรกิจไทย (สธท.) พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดรายเช่นว่านั้นโดยเคร่งครัด 4. ให้บริษัท สธท. จ่ายเงินต่างชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการให้แก่ ธ.ก.ส. ตามที่จ่ายจริง
นอกจากนี้ ยังให้ยกเลิกหลักการจัดสรรผลกำไรจากการขายโคในโครงการตามมติ ครม. 9 พ.ย.47 และกำหนดแนวทางการจัดสรรผลกำไรให้เกษตรกรรายใหม่ คือ นำมูลค่าโคที่ขายได้หักด้วยมูลค่าโคที่ซื้อมา และต้นทุน สธท.เฉพาะรายการที่จำเป็น และจัดสรรเงินส่วนที่เหลือเป็นกำไรให้เกษตรกรทั้งหมด โดยไม่ต้องจัดสรรผลกำไรให้บริษัทสธท. และถ้าเกษตรกรได้รับจัดสรรผลกำไรจากการขายโคต่ำกว่าตัวละ 1,000 บาท ให้บริษัท สธท.จ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการจนครบตัวละ 1,000 บาท
ทั้งนี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท สธท.นั้น ให้ดำเนินการตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง คณะที่ 2 ที่เห็นว่า เนื่องจากการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท สธท. มีขั้นตอนต้องดำเนินการในด้านกฎหมาย เช่น การชำระบัญชี ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และอาจจะไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทันรัฐบาลชุดนี้ ดังนั้นการจะยุบเลิกบริษัท สธท. หรือไม่ ควรให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณา โดยชั้นนี้ให้ระงับดำเนินการของบริษัท สธท. เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการถกเถียงกันมากเรื่องของค่าชดเชย โดยกระทรวงเกษตรฯได้พูดถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องจ่ายค่าชดเชยตัวละ 1,000 บาท โดยคิดจากหลักการที่ว่า คนเลี้ยง 1 คนจะดูแลโคประมาณ 50 ตัว คิดเป็น 3 บาท ต่อวัน ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท และการที่รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ ก็เป็นเพราะโครงการดังกล่าวขาดทุน
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. ชี้แจงว่า การยกเลิกโครงการนี้ มีการประเมินการชดเชยความเสียหาย หรือความเสียโอกาสของเกษตรกร ที่อยู่ในโครงการนี้ คาดว่า ต้องใช้งบประมาณกว่า 50 ล้านบาท หรือมากว่านั้น
ขณะเดียวกัน บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทยจำกัด ( สธท. ) ที่ ครม.มีมติให้ยุติการดำเนินงานไปก่อน จนกว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรนั้น เชื่อว่า อาจจะพิจารณาไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากความเสียหายมีจำนวนมาก ขณะเดียวกัน สธท. นอกจากจะดำเนินการในเรื่องโคเนื้อล้านครอบครัวแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับโครงการปาล์มน้ำมัน และสินค้าเกษตรอีกหลายชนิด
ทั้งนี้นโยบายจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Vehicle : SPV หรือบริษัทส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด จัดตั้งเพื่อเป็นตัวกลางในการบริหารโครงการ และระดมทุน ช่วยเหลือภาคเกษตร และพยุงราคาสินค้า ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ สธท. หรือ เอสพีวี ยังมีการนำเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร ซึ่งเข้ามามีบทบาทในกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรอีกด้วย ทำให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นว่า การบริหารหนี้ และสินค้าเกษตรที่เกิดขึ้น มีการขาดทุนอย่างมาก