ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์จำคุก"เฉลิม พรหมเลิศ"อดีต ส.ว.สุราษฎร์ธานี รวม 36 ปี ฐานอนาจาร-พรากผู้เยาว์ 5 ราย หลังสู้คดีนาน 5 ปี เจ้าตัวเดินคอตกเข้ารับกรรมในเรือนจำ
วานนี้(13 พ.ย.)เวลา 09.00 น.นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายจำเริญ วราภรณ์ ทนายความ และนายอทิพงษ์ คุณปัญญาพร คนสนิท ได้เดินทางมายังห้องพิจารณาคดีที่ 15 ศาลจังหวัดธัญบุรี เพื่อเข้ารับฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีพรากผู้เยาว์ ตามหมายเลขคดีที่ ด.1044/2544 โดยมีนางปราณี นามวงศ์ มารดาของ ด.ญ.ดาว(นามสมมุติ) ผู้เสียหาย พร้อมด้วยนายนรวิทย์ ลาไม้ ทนายฝ่ายโจทย์ และ นายมนตรี สินทวิชัย เลาขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก และอดีต ส.ว.สมุทรสงคราม เข้าร่วมรับฟังคำพิพากษา
ต่อมา นายสามารถ อาจณรงค์ ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา ระบุว่า นายเฉลิม ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาที่ศาลจังหวัดธัญบุรี 2 คดี คือคดีหมายเลขดำที่ 10442/ 2544 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 และคดีหมายเลขดำที่ 1347/ 2544 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2544
โดยทั้งสองคดีดังกล่าวนั้น ทางพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี เป็นโจทก์ แต่คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/ 2544 นายประพันธ์ คุ้มวงศ์ ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ร่วม
สำหรับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1347/2544 นางปราณี นามวงศ์ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 นางราตรี จรจิต ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 2 นายคมสันต์ สว่างภพ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ร่วมที่ 3 และนางศรีสุด สว่างภพ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 4
คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/2544 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเรื่องความผิดต่อเสรีภาพ คือพรากผู้เยาว์อายุกว่า15 ปี แต่ไม่เกิน18 ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร และความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี โจทก์ฟ้องรวม 8 กระทง โดยโจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2543 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2543
ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1347/ 2544 เป็นเรื่องข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี โดยความผิดตามคดีอาญาหมายเลขดำที่1347/2544 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับนางสาวปุ้ม(น.ส.สุริยาพร คุ้มวงศ์) ซึ่งได้แยกไปดำเนินคดีต่างหากยังศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว โจทก์ฟ้องรวม 19 กระทง
โดยโจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2544 ขณะยื่นฟ้องนายเฉลิม พรหมเลิศ เป็นสมาชิกวุฒิสภา แต่ต่อมาได้ลาออก ศาลจังหวัดธัญบุรี จึงพิจารณาคดีต่อไปได้ คดีทั้งสองส่วนดังกล่าว นายเฉลิม พรหมเลิศ ซึ่งเป็นจำเลยได้ให้การปฎิเสธ ศาลจังหวัดธัญบุรี มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน
ต่อมา ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 โดยพิพากษาให้ลงโทษนายเฉลิม พรหมเลิศ จำเลย ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก รวม 4 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 16 ปี โดยให้ยกฟ้องโจทย์คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/2544
โจทก์ร่วมทั้ง 5 และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ทำคำพิพากษาเสร็จและส่งมาให้ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่าน ศาลจังหวัดธัญบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้แก่คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรค 2 และมาตรา 317 วรรค 3 ด้วย ฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 317 วรรค 3 มีความผิดเพิ่มขึ้นอีก 4 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมเป็น 20 ปี เมื่อรวมโทษทั้งสิ้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำคุก 36 ปี
นายเฉลิม พรหมเลิศ จำเลย ได้ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2548 ต่อมาศาลฎีกา ได้ทำคำพิพากษาเสร็จและส่งมาให้ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่าน ศาลจังหวัดธัญบุรี ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา 09.00 น. ระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดธัญบุรี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกา จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตลอดมา
ศาลจังหวัดธัญบุรี อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรค 2 นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 คือ ให้จำคุก 36 ปี
หลังจากศาลอ่านคำพิพากษาจบ นายเฉลิม มีสีหน้าซีดเผือด และเซ็นชื่อในเอกสาร ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวส่งไปยังเรือนจำอำเภอธัญบุรี โดยทันที
ด้านนายจำเริญ วราภรณ์ ทนายความ กล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลฎีกา ถือว่าจบแล้ว ซึ่งทุกฝ่ายน้อมรับโดยดี ส่วนตัวในฐานะทนายความ ก็จะได้ขอสำเนาคำตัดสินของศาลฎีกา ไปศึกษาเพื่อหาแนวทางตามข้อกฎหมาย และหาช่องทางในการดำเนินการช่วยเหลือในด้านคดี โดยคงต้องศึกษาแนวทางตามข้อกฎหมายอย่างละเอียด รวมทั้งการทูลเกล้าถวายฎีกา ก็เป็นทางหนึ่ง ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาดำเนินการต่อไป
นางปราณี นามวงศ์ มารดาของ ด.ญ.ดาว ผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ตนเองเดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา แต่ก็ยังรู้สึกหวั่นเกรงว่า นายเฉลิม อาจจะหลุดจากข้อกล่าวหา แต่เมื่อผลออกมาแบบนี้ ตนเองก็รู้สึกดีใจ และยอมรับผลที่ออกมา พร้อมทั้งสบายใจด้วยที่ศาลได้ตัดสิน ซึ่งก็ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือมาตลอด
วานนี้(13 พ.ย.)เวลา 09.00 น.นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายจำเริญ วราภรณ์ ทนายความ และนายอทิพงษ์ คุณปัญญาพร คนสนิท ได้เดินทางมายังห้องพิจารณาคดีที่ 15 ศาลจังหวัดธัญบุรี เพื่อเข้ารับฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีพรากผู้เยาว์ ตามหมายเลขคดีที่ ด.1044/2544 โดยมีนางปราณี นามวงศ์ มารดาของ ด.ญ.ดาว(นามสมมุติ) ผู้เสียหาย พร้อมด้วยนายนรวิทย์ ลาไม้ ทนายฝ่ายโจทย์ และ นายมนตรี สินทวิชัย เลาขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก และอดีต ส.ว.สมุทรสงคราม เข้าร่วมรับฟังคำพิพากษา
ต่อมา นายสามารถ อาจณรงค์ ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา ระบุว่า นายเฉลิม ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาที่ศาลจังหวัดธัญบุรี 2 คดี คือคดีหมายเลขดำที่ 10442/ 2544 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 และคดีหมายเลขดำที่ 1347/ 2544 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2544
โดยทั้งสองคดีดังกล่าวนั้น ทางพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี เป็นโจทก์ แต่คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/ 2544 นายประพันธ์ คุ้มวงศ์ ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ร่วม
สำหรับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1347/2544 นางปราณี นามวงศ์ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 นางราตรี จรจิต ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 2 นายคมสันต์ สว่างภพ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ร่วมที่ 3 และนางศรีสุด สว่างภพ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมที่ 4
คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/2544 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเรื่องความผิดต่อเสรีภาพ คือพรากผู้เยาว์อายุกว่า15 ปี แต่ไม่เกิน18 ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร และความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี โจทก์ฟ้องรวม 8 กระทง โดยโจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2543 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2543
ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1347/ 2544 เป็นเรื่องข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี โดยความผิดตามคดีอาญาหมายเลขดำที่1347/2544 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับนางสาวปุ้ม(น.ส.สุริยาพร คุ้มวงศ์) ซึ่งได้แยกไปดำเนินคดีต่างหากยังศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว โจทก์ฟ้องรวม 19 กระทง
โดยโจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2544 ขณะยื่นฟ้องนายเฉลิม พรหมเลิศ เป็นสมาชิกวุฒิสภา แต่ต่อมาได้ลาออก ศาลจังหวัดธัญบุรี จึงพิจารณาคดีต่อไปได้ คดีทั้งสองส่วนดังกล่าว นายเฉลิม พรหมเลิศ ซึ่งเป็นจำเลยได้ให้การปฎิเสธ ศาลจังหวัดธัญบุรี มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน
ต่อมา ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 โดยพิพากษาให้ลงโทษนายเฉลิม พรหมเลิศ จำเลย ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก รวม 4 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 16 ปี โดยให้ยกฟ้องโจทย์คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1044/2544
โจทก์ร่วมทั้ง 5 และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ทำคำพิพากษาเสร็จและส่งมาให้ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่าน ศาลจังหวัดธัญบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้แก่คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรค 2 และมาตรา 317 วรรค 3 ด้วย ฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 317 วรรค 3 มีความผิดเพิ่มขึ้นอีก 4 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมเป็น 20 ปี เมื่อรวมโทษทั้งสิ้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำคุก 36 ปี
นายเฉลิม พรหมเลิศ จำเลย ได้ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2548 ต่อมาศาลฎีกา ได้ทำคำพิพากษาเสร็จและส่งมาให้ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่าน ศาลจังหวัดธัญบุรี ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา 09.00 น. ระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดธัญบุรี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกา จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตลอดมา
ศาลจังหวัดธัญบุรี อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรค 2 นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 คือ ให้จำคุก 36 ปี
หลังจากศาลอ่านคำพิพากษาจบ นายเฉลิม มีสีหน้าซีดเผือด และเซ็นชื่อในเอกสาร ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวส่งไปยังเรือนจำอำเภอธัญบุรี โดยทันที
ด้านนายจำเริญ วราภรณ์ ทนายความ กล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลฎีกา ถือว่าจบแล้ว ซึ่งทุกฝ่ายน้อมรับโดยดี ส่วนตัวในฐานะทนายความ ก็จะได้ขอสำเนาคำตัดสินของศาลฎีกา ไปศึกษาเพื่อหาแนวทางตามข้อกฎหมาย และหาช่องทางในการดำเนินการช่วยเหลือในด้านคดี โดยคงต้องศึกษาแนวทางตามข้อกฎหมายอย่างละเอียด รวมทั้งการทูลเกล้าถวายฎีกา ก็เป็นทางหนึ่ง ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาดำเนินการต่อไป
นางปราณี นามวงศ์ มารดาของ ด.ญ.ดาว ผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ตนเองเดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา แต่ก็ยังรู้สึกหวั่นเกรงว่า นายเฉลิม อาจจะหลุดจากข้อกล่าวหา แต่เมื่อผลออกมาแบบนี้ ตนเองก็รู้สึกดีใจ และยอมรับผลที่ออกมา พร้อมทั้งสบายใจด้วยที่ศาลได้ตัดสิน ซึ่งก็ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือมาตลอด