เหล่าพสกนิกรทั่วสารทิศ ผู้จงรักภักดีของพระองค์ ตลอดจนถึงทูตานุทูต ผู้แทนนานาประเทศ ยังพร้อมใจกันมาถวายพระพร ณ โรงพยาบาลศิริราชยิ่งทวีคูณ ภาพแห่งความกตัญญู ซาบซึ้ง ปีติ ในความดีมีคุณธรรมของพระองค์อย่างถ้วนหน้า พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ (ทศบารมี,ทศพิธราชธรรม, และจักรวรรดิวัตร 12 เป็นต้น) พระองค์เป็นแบบอย่างแก่พระมหากษัตริย์ทั่วโลก ทรงเป็นแบบอย่างแก่นักปกครองที่ดี ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เหล่าพสกนิกร และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือพระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าพสกนิกรอย่างคาดไม่ถึง ในการอุทิศตนกระทำในสิ่งนั้นๆ เพื่อถวายแด่พระองค์ ผู้เขียนก็เช่นกันทำให้คิดคิดถึงภาพในอดีตที่ตราตรึงใจต่อพระองค์
ข้าพเจ้าเติบโตขึ้นมาในท่ามกลางความทุกข์ยากของเพื่อนพี่น้องร่วมชาติอย่างแสนสาหัสทั่วทุกหัวระแหง เห็นความไม่ชอบธรรม การเอารัดเอาเปรียบในสังคม ความขัดแย้งทางการเมือง คนไทยทำลายล้างฆ่ากันเองด้วยอุดมการณ์ที่ได้รับการปลูกฝังมาจากต่างประเทศ ในช่วงปี 2508 - 2525 ได้เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศตนพลีชีพเพื่อชาติ ปีละ 3,000 - 4,000 ศพ ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน เกิดความสลดหดหู่ใจยิ่งหนัก สะเทือนใจฝังลึกต่อมโนสำนึก เป็นเหตุปัจจัยผลักดันให้ข้าพเจ้าครุ่นคิด อุทิศตนเพื่อเป็นกำลังให้พระองค์ แสวงหาปัญญาหาทางแก้ไขเหตุแห่งปัญหานั้น
เมื่อมีปัญญาจึงรู้ชัดว่าประเทศไทยดำรงอยู่ในสภาพการณ์มิจฉาทิฐิครอบงำ ด้วยความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกรู้ผิด และตั้งใจมั่นผิดมายาวนานร่วม 75 ปี การครอบงำด้วยแนวคิดร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย และเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงว่ารัฐธรรมนูญ รัฐสภา การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. คือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่เป็นเพียงรูปแบบและวิธีการปกครองเท่านั้น
ในอดีต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ทรงคัดค้านอย่างถึงที่สุดมาแล้ว ดังพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลาว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่ ในเวลาฐานะของบ้านเมืองเราอยู่ในขีดคับขันและยากจน...” และความตอนหนึ่งว่า ...การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อมๆ ไม่ใช่ Democracy จริงๆ เลย” และเมื่อพระองค์ไม่สามารถที่จะแนะนำให้คณะผู้ก่อการฯ สร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้ พระองค์ทรงต่อสู้อย่างถึงที่สุด โดยทรงเอาพระราชบัลลังก์เป็นเดิมพัน ดังพระราชหัตถเลขาความตอนหนึ่งว่า
...“เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเสีย ให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริงเพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้, ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้น โดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
นับแต่ 2475 เป็นต้นมา การเมืองไทยเต็มไปด้วยความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจกันด้วยรัฐประหาร 13 ครั้ง, กบฏเพราะทำรัฐประหารไม่สำเร็จ 14 ครั้ง, เกิดสงครามจรยุทธ์คอมมิวนิสต์ (2508 - 2512), สงครามกลางเมืองโดยพรรคคอมมิวนิสต์หลายสิบปี (2512 - 2525), จลาจลหลายครั้ง, รัฐบาลไร้เสถียรภาพ, เศรษฐกิจถูกครอบงำ ประเพณีวัฒนธรรมเสื่อมโทรมและต่ำทราม นักการเมืองคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง ยากที่จะแก้ไขได้ เป็นหนี้สาธารณะร่วมแสนบาทต่อหัว ฯลฯ และไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าประเทศไทยจะเสื่อมโทรม ตกต่ำ ล้าหลังกว่าประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลี เป็นต้น
นับถึงปัจจุบัน ได้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญมากถึง 18 ฉบับ ก็เป็นการสืบทอดแนวคิดมิจฉาทิฐิและเป็นการกระทำอย่างมิจฉาทิฐิซ้ำรอยเดิม โดยไม่ได้ฉุกคิดเฉลียวใจกันบ้างเลย จะเห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ก้าวหน้ากว่าใครสุดเวลานั้นทรงชี้ชัดว่า “...การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อม ไม่ใช่ Democracy จริงๆ เลย...เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่...”
ทั้งนี้ผู้ปกครองไทยส่วนใหญ่หลงผิดเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญ รัฐสภา การเลือกตั้ง(ซื้อเอา) ส.ส. ส.ว. คือระบอบประชาธิปไตย ขนาดสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญขึ้นกลางใจเมือง แล้วตั้งชื่อว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนผู้คนในบ้านเมืองทั้งผู้ปกครองและประชาชนรุ่นหลังหลงผิดเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญคือประชาธิปไตย” มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นในโลกนี้ที่เห็นผิดเช่นนี้ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงรูปแบบและวิธีการการปกครองเท่านั้น ต่างก็หลงเข้าใจว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตยแท้จริงแล้ว จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันจนเสียเลือดเสียเนื้อหลายครั้งหลายคราเช่นนั้น ความหลงผิดนี้จะยังครอบงำเหล่านักวิชาการบางกลุ่ม นักการเมืองบางเหล่า หนังสือพิมพ์และคอลัมนิสต์บางส่วนอีกนานเท่าใด ส่วนแนวทางที่ถูกต้องในการสร้างระบอบฯ ก็ได้นำเสนอไปเป็นลำดับแล้ว
ข้าพเจ้าเสนอแนวคิดแก้เหตุวิกฤตชาติ มิได้นำเสนอแนวคิดตามลัทธิการเมืองต่างๆ แต่เป็นการนำเสนอแนวคิดธรรมาธิปไตย อันเป็นสภาวะสูงสุดในกฎธรรมชาติ กล่าวโดยย่อเป็นผลจากการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาภาวนาอย่างจริงจัง จะเห็นว่าสภาวะขันธ์ 5 (รูปนาม) ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) และเมื่อเจาะลึกลงไปใน สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ไม่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา สักว่าเป็นสังขารปัจจัยปรุงแต่งที่กำลังเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่เนื่องนิตย์ เป็นเช่นนั้นเอง ดุจน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผา การใช้ความเพียรสังเกต เพ่ง จ้องดูลมหายใจเข้าออก, ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ, ยุบหนอ พองหนอ, จ้องดูเทียนและเปลวไฟ, นำใบไม้มาพิจารณา, พิจารณารูป (สิ่งที่เห็นด้วยตา) เสียง กลิ่น รส สัมผัส จิตกลัว โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ ปลื้มใจ รัก เกลียด ความนึกคิดต่างๆ ฯลฯ ล้วนแล้วเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง ดับไปในที่สุด สมดังอุทานธรรมที่ว่า “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา ใครแจ้งย่อมหน่ายในสังขาร ละอุปาทานได้เสียสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย แจ้งจริงแท้เอยเปิดเผยธรรมาธิปไตย”
การพิจารณาอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) เป็นนิจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สังขารทั้งปวงตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ไม่เป็นอื่น ตั้งอยู่ไม่ได้ ไร้แก่นสาร ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)
วันหนึ่ง (พฤษภาคม 2538) ณ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระบรมธาตุว่า “ข้าพเจ้าได้คิดทำภารกิจเพื่อบ้านเมืองอยู่นี้ มิได้หวังเพื่อประโยชน์แห่งตนเลย มุ่งคิดแก้ไขเหตุวิกฤตชาติและเพื่อประโยชน์แห่งชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยสัจวาจานี้ ถ้าที่นี่ เป็นที่สถิตพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงแล้วไซร้ ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เป็นพลังดลใจให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้งสัจธรรมคำสอนของพระองค์ด้วยเถิด” พร้อมทั้งได้บำเพ็ญพรหมวิหาร 4 (อัปปมัญญา 4) เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างไม่มีประมาณ “คุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ เกิดมาเพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ” ผ่านไปประมาณ 6 เดือน (9 พ.ย. 2538 ณ กลางใจเมืองโคราช) ได้เกิดความมหัศจรรย์ขึ้น เป็นปัจจัยให้อิสระจากลัทธิประชาธิปไตยที่เคยเชื่อมั่น หลุดอุทานออกมาว่า “ธรรมาธิปไตย” และ ฯลฯ
นับแต่วันที่ 9 พ.ย. 2538 เป็นต้นมา ข้าพเจ้าได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้น สภาวธรรมผุดขึ้นในใจ ต้องรีบบันทึกไว้ และเริ่มภารกิจลิขิต “ธรรมาธิปไตย” นับแต่นั้นมา ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังคำว่า “ธรรมาธิปไตย” มาก่อน มารู้ภายหลังเมื่อได้เรียนนักธรรมชั้นโท นี่เองว่า ธรรมาธิปไตย เป็นคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้ามาก่อน ก็เข้าใจว่าสัจอธิษฐานนั้นได้ปรากฏขึ้นแล้ว มหัศจรรย์ยิ่งนัก
การนำเสนอ ธรรมาธิปไตยในขันธ์ 5 เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมาธิปไตยในกฎธรรมชาติ (อสังขตธรรม) และได้ประยุกต์เป็นธรรมาธิปไตย 9 ทางการเมืองอย่างรอบด้าน เป็น 3 ประสานร้อยเป็นหนึ่งเดียวในลักษณะเดียวกับกฎธรรมชาติ ท่านสามารถศึกษาและปฏิบัติ พิสูจน์ได้ “พระธรรมจัดสรรให้ทุกท่านมีโอกาสสร้างสรรค์ปัญญาบารมี บำเพ็ญธรรมเพื่อประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติแล้วเสมอกัน”
พระสงฆ์พุทธสาวก ย่อมเป็นผู้นำทางสัจจะ เป็นผู้นำทางจิต มโน วิญญาณ เป็นผู้นำทางปัญญา มุ่งแก้ปัญหาเหตุวิกฤตบุคคล ครอบครัว ถึงระดับชาติและโลก ตามแบบอย่างพระศาสดา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของพุทธสาวกองค์นั้นๆ
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางธรรมาธิปไตย อันเกิดจากแรงบันดาลใจนี้ จะเป็นพลังทางปัญญา จะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ชาวพุทธทั่วไป และสาธุชนในศาสนาทั้งหลาย ได้สร้างเสริมความก้าวหน้าทันสมัย จะสรรค์สร้างพลังใจให้แก่ท่านอย่างมหัศจรรย์ ทั้งได้ขัดเกลาจิตใจ สร้างเสริมปัญญาบารมีธรรมในทัศนะใหม่ ร่วมภารกิจแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ สร้างธรรมาธิปไตย สู่อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน เพื่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความผาสุกของปวงชนไทยสืบไป
ข้าพเจ้าเติบโตขึ้นมาในท่ามกลางความทุกข์ยากของเพื่อนพี่น้องร่วมชาติอย่างแสนสาหัสทั่วทุกหัวระแหง เห็นความไม่ชอบธรรม การเอารัดเอาเปรียบในสังคม ความขัดแย้งทางการเมือง คนไทยทำลายล้างฆ่ากันเองด้วยอุดมการณ์ที่ได้รับการปลูกฝังมาจากต่างประเทศ ในช่วงปี 2508 - 2525 ได้เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศตนพลีชีพเพื่อชาติ ปีละ 3,000 - 4,000 ศพ ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน เกิดความสลดหดหู่ใจยิ่งหนัก สะเทือนใจฝังลึกต่อมโนสำนึก เป็นเหตุปัจจัยผลักดันให้ข้าพเจ้าครุ่นคิด อุทิศตนเพื่อเป็นกำลังให้พระองค์ แสวงหาปัญญาหาทางแก้ไขเหตุแห่งปัญหานั้น
เมื่อมีปัญญาจึงรู้ชัดว่าประเทศไทยดำรงอยู่ในสภาพการณ์มิจฉาทิฐิครอบงำ ด้วยความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกรู้ผิด และตั้งใจมั่นผิดมายาวนานร่วม 75 ปี การครอบงำด้วยแนวคิดร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย และเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงว่ารัฐธรรมนูญ รัฐสภา การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. คือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่เป็นเพียงรูปแบบและวิธีการปกครองเท่านั้น
ในอดีต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ทรงคัดค้านอย่างถึงที่สุดมาแล้ว ดังพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลาว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่ ในเวลาฐานะของบ้านเมืองเราอยู่ในขีดคับขันและยากจน...” และความตอนหนึ่งว่า ...การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อมๆ ไม่ใช่ Democracy จริงๆ เลย” และเมื่อพระองค์ไม่สามารถที่จะแนะนำให้คณะผู้ก่อการฯ สร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้ พระองค์ทรงต่อสู้อย่างถึงที่สุด โดยทรงเอาพระราชบัลลังก์เป็นเดิมพัน ดังพระราชหัตถเลขาความตอนหนึ่งว่า
...“เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเสีย ให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริงเพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้, ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้น โดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
นับแต่ 2475 เป็นต้นมา การเมืองไทยเต็มไปด้วยความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจกันด้วยรัฐประหาร 13 ครั้ง, กบฏเพราะทำรัฐประหารไม่สำเร็จ 14 ครั้ง, เกิดสงครามจรยุทธ์คอมมิวนิสต์ (2508 - 2512), สงครามกลางเมืองโดยพรรคคอมมิวนิสต์หลายสิบปี (2512 - 2525), จลาจลหลายครั้ง, รัฐบาลไร้เสถียรภาพ, เศรษฐกิจถูกครอบงำ ประเพณีวัฒนธรรมเสื่อมโทรมและต่ำทราม นักการเมืองคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง ยากที่จะแก้ไขได้ เป็นหนี้สาธารณะร่วมแสนบาทต่อหัว ฯลฯ และไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าประเทศไทยจะเสื่อมโทรม ตกต่ำ ล้าหลังกว่าประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลี เป็นต้น
นับถึงปัจจุบัน ได้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญมากถึง 18 ฉบับ ก็เป็นการสืบทอดแนวคิดมิจฉาทิฐิและเป็นการกระทำอย่างมิจฉาทิฐิซ้ำรอยเดิม โดยไม่ได้ฉุกคิดเฉลียวใจกันบ้างเลย จะเห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ก้าวหน้ากว่าใครสุดเวลานั้นทรงชี้ชัดว่า “...การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อม ไม่ใช่ Democracy จริงๆ เลย...เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่...”
ทั้งนี้ผู้ปกครองไทยส่วนใหญ่หลงผิดเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญ รัฐสภา การเลือกตั้ง(ซื้อเอา) ส.ส. ส.ว. คือระบอบประชาธิปไตย ขนาดสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญขึ้นกลางใจเมือง แล้วตั้งชื่อว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนผู้คนในบ้านเมืองทั้งผู้ปกครองและประชาชนรุ่นหลังหลงผิดเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญคือประชาธิปไตย” มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นในโลกนี้ที่เห็นผิดเช่นนี้ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงรูปแบบและวิธีการการปกครองเท่านั้น ต่างก็หลงเข้าใจว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตยแท้จริงแล้ว จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันจนเสียเลือดเสียเนื้อหลายครั้งหลายคราเช่นนั้น ความหลงผิดนี้จะยังครอบงำเหล่านักวิชาการบางกลุ่ม นักการเมืองบางเหล่า หนังสือพิมพ์และคอลัมนิสต์บางส่วนอีกนานเท่าใด ส่วนแนวทางที่ถูกต้องในการสร้างระบอบฯ ก็ได้นำเสนอไปเป็นลำดับแล้ว
ข้าพเจ้าเสนอแนวคิดแก้เหตุวิกฤตชาติ มิได้นำเสนอแนวคิดตามลัทธิการเมืองต่างๆ แต่เป็นการนำเสนอแนวคิดธรรมาธิปไตย อันเป็นสภาวะสูงสุดในกฎธรรมชาติ กล่าวโดยย่อเป็นผลจากการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาภาวนาอย่างจริงจัง จะเห็นว่าสภาวะขันธ์ 5 (รูปนาม) ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) และเมื่อเจาะลึกลงไปใน สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ไม่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา สักว่าเป็นสังขารปัจจัยปรุงแต่งที่กำลังเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่เนื่องนิตย์ เป็นเช่นนั้นเอง ดุจน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผา การใช้ความเพียรสังเกต เพ่ง จ้องดูลมหายใจเข้าออก, ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ, ยุบหนอ พองหนอ, จ้องดูเทียนและเปลวไฟ, นำใบไม้มาพิจารณา, พิจารณารูป (สิ่งที่เห็นด้วยตา) เสียง กลิ่น รส สัมผัส จิตกลัว โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ ปลื้มใจ รัก เกลียด ความนึกคิดต่างๆ ฯลฯ ล้วนแล้วเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง ดับไปในที่สุด สมดังอุทานธรรมที่ว่า “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกขะ ธรรมะทั้งปวงเป็นอนัตตา ใครแจ้งย่อมหน่ายในสังขาร ละอุปาทานได้เสียสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย แจ้งจริงแท้เอยเปิดเผยธรรมาธิปไตย”
การพิจารณาอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) เป็นนิจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สังขารทั้งปวงตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ไม่เป็นอื่น ตั้งอยู่ไม่ได้ ไร้แก่นสาร ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)
วันหนึ่ง (พฤษภาคม 2538) ณ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระบรมธาตุว่า “ข้าพเจ้าได้คิดทำภารกิจเพื่อบ้านเมืองอยู่นี้ มิได้หวังเพื่อประโยชน์แห่งตนเลย มุ่งคิดแก้ไขเหตุวิกฤตชาติและเพื่อประโยชน์แห่งชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยสัจวาจานี้ ถ้าที่นี่ เป็นที่สถิตพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงแล้วไซร้ ขออำนาจแห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เป็นพลังดลใจให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้งสัจธรรมคำสอนของพระองค์ด้วยเถิด” พร้อมทั้งได้บำเพ็ญพรหมวิหาร 4 (อัปปมัญญา 4) เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างไม่มีประมาณ “คุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ เกิดมาเพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ” ผ่านไปประมาณ 6 เดือน (9 พ.ย. 2538 ณ กลางใจเมืองโคราช) ได้เกิดความมหัศจรรย์ขึ้น เป็นปัจจัยให้อิสระจากลัทธิประชาธิปไตยที่เคยเชื่อมั่น หลุดอุทานออกมาว่า “ธรรมาธิปไตย” และ ฯลฯ
นับแต่วันที่ 9 พ.ย. 2538 เป็นต้นมา ข้าพเจ้าได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้น สภาวธรรมผุดขึ้นในใจ ต้องรีบบันทึกไว้ และเริ่มภารกิจลิขิต “ธรรมาธิปไตย” นับแต่นั้นมา ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังคำว่า “ธรรมาธิปไตย” มาก่อน มารู้ภายหลังเมื่อได้เรียนนักธรรมชั้นโท นี่เองว่า ธรรมาธิปไตย เป็นคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้ามาก่อน ก็เข้าใจว่าสัจอธิษฐานนั้นได้ปรากฏขึ้นแล้ว มหัศจรรย์ยิ่งนัก
การนำเสนอ ธรรมาธิปไตยในขันธ์ 5 เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมาธิปไตยในกฎธรรมชาติ (อสังขตธรรม) และได้ประยุกต์เป็นธรรมาธิปไตย 9 ทางการเมืองอย่างรอบด้าน เป็น 3 ประสานร้อยเป็นหนึ่งเดียวในลักษณะเดียวกับกฎธรรมชาติ ท่านสามารถศึกษาและปฏิบัติ พิสูจน์ได้ “พระธรรมจัดสรรให้ทุกท่านมีโอกาสสร้างสรรค์ปัญญาบารมี บำเพ็ญธรรมเพื่อประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติแล้วเสมอกัน”
พระสงฆ์พุทธสาวก ย่อมเป็นผู้นำทางสัจจะ เป็นผู้นำทางจิต มโน วิญญาณ เป็นผู้นำทางปัญญา มุ่งแก้ปัญหาเหตุวิกฤตบุคคล ครอบครัว ถึงระดับชาติและโลก ตามแบบอย่างพระศาสดา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของพุทธสาวกองค์นั้นๆ
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางธรรมาธิปไตย อันเกิดจากแรงบันดาลใจนี้ จะเป็นพลังทางปัญญา จะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ชาวพุทธทั่วไป และสาธุชนในศาสนาทั้งหลาย ได้สร้างเสริมความก้าวหน้าทันสมัย จะสรรค์สร้างพลังใจให้แก่ท่านอย่างมหัศจรรย์ ทั้งได้ขัดเกลาจิตใจ สร้างเสริมปัญญาบารมีธรรมในทัศนะใหม่ ร่วมภารกิจแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ สร้างธรรมาธิปไตย สู่อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน เพื่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความผาสุกของปวงชนไทยสืบไป